อยากเป็นทนายความต้องเก่งอะไร

1.ค้นหาความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง ถามตัวเองว่าอยากได้อะไร อยากมีอะไร อยากเป็นอะไร (ถ้าคุณคิดว่าความอยากมีอยากได้อยากเป็นนั้นเป็นกิเลสเป็นสิ่งไม่ดี แนะนำให้ไปบวชที่เหลือไม่ต้องอ่านต่อ)

2.กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าอยากได้อะไร อยากมีอะไร อยากเป็นอะไร เช่น ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นผู้พิพากษา หรืออัยการ หรือเป็นทนายเงินล้าน หรือเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น

3.กำหนดระยะเวลาว่าต้องการไปถึงเป้าหมายนั้นเมื่อไหร่ โดยระบุวันเดือนปีให้ชัดเจน พยายามระบุเวลาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะ “เป็นไปได้” จำไว้ว่ายิ่งกำหนดเร็วยิ่งต้องขยัน ยิ่งกำหนดช้ายิ่งเรื่อยเปื่อย

4.กำหนดแผนการที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนั้น คนทั่วไปจะชอบสอบถามแผนการจากคนที่เขาประสบความสำเร็จแล้วซึ่งก็มีข้อดีคือไม่เหนื่อยไม่เสียเวลา แต่สำหรับผมแล้วผมชอบคิดแผนการเองมากกว่าแม้จะเหนื่อย แม้อาจเสียเวลาลองผิดลองถูก แต่ถ้าทำสำเร็จผมจะภูมิใจมากและจะรู้ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีทำให้บรรลุเป้าหมายต่อไปได้ง่ายขึ้น

5.ลงมือทำตามแผนที่คิดไว้ โดยให้ลงมือทำ “เดี๋ยวนี้” ไม่ใช่ “เดี๋ยวก่อน” ให้เริ่มต้นทำจากสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็นในปัจจุบัน “อย่ารออนาคต แต่จงสร้างอนาคตขึ้นมา”

6.รักษาความตั้งใจไว้ให้ดี ไม่ลดเป้าหมายง่ายๆเว้นแต่จะเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ ไม่เปลี่ยนแผนการง่ายๆเว้นแต่จะพิสูจน์แล้วว่าไม่เวิร์คแน่ๆ

สำหรับผมแล้วคนที่มีความมุ่งมั่นไม่ควรเปลี่ยนเป้าหมายหรือแผนการเลยด้วยซ้ำ หากเปลี่ยนคุณจะไม่รู้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่คิดหรือสิ่งที่ทำมันถูกต้องจริงๆหรือไม่

อย่าลืมว่าความสำเร็จต้องเป็นเรื่องคนทั่วไปคิดว่าทำไม่ได้แน่หรือเป็นไปได้ยาก

7.หาที่ปรึกษาไว้ถามเวลามีปัญหา โดยมีเงื่อนไขว่าที่ปรึกษาคนนั้นต้องประสบความสำเร็จในเรื่องนั้นแล้วเท่านั้น

ถ้าหาที่ปรึกษาไม่ได้ผมมีอีกวิธีหนึ่งคือให้ถามคนทั่วไปหรือคนที่ล้มเหลวว่าเค้าคิดอย่างไรแล้วทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม

8.หาเพื่อนร่วมอุดมการณ์ จำไว้ว่าสองหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว การมีคนช่วยคิดหรือเชื่อมั่นในความคิดของเราจะช่วยให้เรามีกำลังใจและมีความมั่นใจที่จะทำเป้าหมายให้สำเร็จ ข้อนี้ถ้ามีก็ดีมาก ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรเพียงแค่ต้องเชื่อมั่นในตัวเองเท่านั้น

ผมโชคดีที่มีอ.ตูนเชื่อมั่นในตัวผมตั้งแต่วันที่ผมมีรายได้ 4,000บ./เดือน ในวันนั้นผมยังไม่อะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย ถ้าไม่มีอ.ตูนคอยให้กำลังใจคอยช่วยคิดผมอาจตะไม่มีวันนี้ก็ได้

9.อย่าไขว้เขว้ เมื่อเรามีเป้าหมายแล้วลองเล่าเป้าหมายให้ใครสักคนหนึ่งฟัง แน่นอนว่าต้องมีทั้งคนว่า “คุณทำได้แน่” และต้องมีบางคนบอกว่า “คุณทำไม่ได้หรอก” หรือ “เป็นไปไม่ได้หรอก” หรือ “มันเป็นไปได้ยากนะ” ถ้าเจอ 3 คำหลังให้ยิ้มและบอกตัวเองว่า “ความสำเร็จต้องเป็นสิ่งที่คนทั่วไปคิดว่าทำไม่ได้หรือเป็นไม่ได้หรือเป็นไปได้ยากเท่านั้น”

10.แบ่งปัน คนจะประสบความสำเร็จได้จิตใจต้องกว้าง ต้องรู้จักให้ ต้องพยายามคิดว่าถ้าเราประสบความสำเร็จแล้วเราจะกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่อย่างไร แบ่งปันสิ่งดีๆให้กับคนอื่นอย่างไร การให้จะช่วยให้ความคิดและจิตใจของเรามีพลังเพิ่มขึ้น

หลายคนชอบเพลง Live and Learn ที่บอกว่า “อยู่กับสิ่งที่มีไม่ใช่สิ่งที่ฝันและทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด”

แต่ผมกลับคิดตรงกันข้ามว่า “อยู่กับสิ่งที่ฝันไม่ใช่แค่สิ่งที่มี และทำความฝันนั้นให้เป็นความจริงให้เร็วที่สุด”

__________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อยากเข้าคณะนิติศาสตร์ต้องใช้เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่?

ตอบ : ต้องใช้เกดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75 แต่ถ้าจะให้ดีเลยแนะนำเป็น 3.00 ขึ้นจะดีมาก

__________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะนิติศาสตร์เรียนยากมั้ย?

ตอบ : เรียนยากมั้ย ตอบได้เลยว่ายาก แต่ถ้าอยากเรียนจริง ๆ ไม่มีอะไรยากเกินความพยายาม ตั้งใจเรียนขยันอ่านหนังสือแค่นี้ก็ไม่เหนื่อยมากสำหรับการเรียน

__________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนจบนิติศาสตร์ต้องเป็นทนายอย่างเดียวเลยใช่ไหม?

ตอบ : คนที่เรียนจบนิติศาสตร์ ไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานกฎหมายอย่างเดียว สามารถทำงานอย่างอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเป็นทนายความทุกคน เช่น อาชีพตำรวจ, นิติกร, เจ้าหน้าที่สินเชื่อ หรือ ที่ปรึกษากฎหมาย เป็นต้น

__________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนจบนิติศาสตร์ ทํางานอะไรได้บ้าง?

ตอบ : เรียนจบคณะนิติศาสตร์มีอาชีพมากมายให้เลือกทำ เช่น ทนายความ อาชีพทนายความ คือ  สายตรงที่เรียนกฎหมายมาทั้งหมดจะได้ใช้อย่างแน่นอน,ที่ปรึกษากฎหมาย,นิติกร,อัยการ,ผู้พิพากษา ผู้พิพากษา ถือว่าเป็นจุดสูงสุดของการประกอบอาชีพนักกฎหมายเลยก็ว่าได้ โดยทำหน้าที่ตัดสินคดีความต่าง ๆ ที่มีการฟ้องร้องมายังศาลยุติธรรม หรือจะเป็นอาจารย์ ในส่วนอาชีพงานราชการอื่น ๆ เช่น ไม่ว่าจะเป็น ปลัดอำเภอ ตำรวจ ทหาร พนักงานคุมประพฤติ เจ้าพนักงานบังคดี หรือในกรมต่าง ๆ เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพากร เป็นต้น และงานธนาคารงานในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความนิยม สำหรับผู้ที่ชื่นชอบสายงานเอกชน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่สินเชื่อ

__________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะนิติศาสตร์เรียนกี่ปี?

ตอบ : นิติศาสตร์ ถ้าน้องตั้งใจเรียนไม่เปลี่ยนใจที่จะย้ายคณะเรียนตามแผนการเรียนก็จะเรียน 4 ปี

__________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนไม่เก่งสามารถเรียนนิติศาสตร์ได้ไหม?

ตอบ : คณะนิติศาสตร์ไม่ได้ต้องการคนที่เรียนเก่งและฉลาดที่สุด  หรือความจำดีที่สุด แต่ต้องการคนที่นำกฎหมายไปใช้ได้อย่างถูกต้องและยุติธรรม

__________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะนิติศาสตร์เรียนแค่กฎหมายอย่างเดียวใช่ไหม?

ตอบ : เรียนนิติศาสตร์ก็ไม่ได้เรียนแค่ตัวบทกฎหมายอย่างเดียว แต่จะเรียนเป็นประวัติศาสตร์ ภาษา เศรษฐศาสตร์ สถิติพื้นฐาน หรือแม้แต่จิตวิทยา ก็ได้เรียนด้วย เพราะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ทั้งกฎหมายของแต่ละยุคสมัย กฎหมายระหว่างประเทศ การค้าขาย การเสียภาษี รวมถึงจิตวิทยาในการทำงาน

__________________________________________________________________________________________________________________________

สาขาของคณะนิติศาสตร์มีสาขาไหนบ้าง ?

 สำหรับคณะนิติศาสตร์ มีสาขาต่าง ๆ ดังนี้

  1. สาขากฎหมายอาญา

            เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดและกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้นๆเป็นการศึกษาประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 2 พาท คือ

  1. ภาคทั่วไป จะเป็นการอธิบายว่าการกระทำใดที่จะมีความรับผิดทางอาญา เหตุยกเว้นโทษต่าง ๆ
  2. ภาคความผิด เป็นการเรียนรู้ฐานความผิดต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา ว่าการกระทำใดเป็นความผิดฐานใด

2. สาขากฎหมายเอกชน

            สำหรับเนื้อหาของสาขานี้จะเป็นเรื่องกฎหมายเน้นกำหนดสถานะระหว่างเอกชน เช่น การตั้งห้างหุ้นส่วน บริษัท การจัดหาทุน หรือการทำนิติกรรมทางพาณิชย์ เป็นต้น

3. สาขากฎหมายธุรกิจ

            สาขานี้เกี่ยงข้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะเน้นไปที่กฎหมายที่เกี่ยวกับ การซื้อขายแลกเปลี่ยน การเช่าซื้อการจ้างแรงงาน การค้ำประกัน การจำนอง-จำนำ การประนีประนอมต่าง ๆ เพื่อให้ไม่เสียเปรียบ

4. สาขากฎหมายมหาชน

            กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ รัฐกับองค์กรของรัฐหรือรัฐกับเอกชน เพื่อประโยชน์มหาชนทั่วไป เช่น ประโยชน์จากการป้องกันภัยของประเทศโดยกำลังทหาร การรักษาความปลอดภัยของตำรวจการคุ้มครองทางภาษี เป็นต้น

5. สาขากฎหมายระหว่างประเทศ

            สำหรับสาขากฎหมายระหว่างประเทศจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับหลักกฎหมายหรือข้อตกลงร่วมกัน ที่บังคับใช้ระหว่างประเทศต่างๆ รวมไปถึงมีเนื้อหาครอบคลุมหลายเรื่อง ตั้งแต่สิทธิมนุษยชนไปจนถึงข้อตกลงทางการค้า  กฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูต เช่น การทำสนธิสัญญา การได้สัญชาติ เป็นต้น

6. สาขากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

            สาขานี้จะเน้นกฎหมายที่ดูเกี่ยวข้องทางด้านทรัพย์สินที่ไม่ใช่วัตถุทางกายภาพ แต่เป็นของมีสิทธิโดยชอบธรรม เช่น เครื่องหมายการค้า ชื่อทางการค้าออกแบบความลับทางการค้าสิทธิบัตร ไม่ว่าจะเป็นสิทธบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยสาขานี้

7. สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำหรับสาขากฎหมายสิ่งแวดล้อม เนื้อหาจะครอบคลุมปัญหาในด้านกฎหมาย การเมือง และสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการป้องกันสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

8. สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ

            สาขานี้จะเรียนเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับด้านการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการระหว่างบุคคลซึ่งอยู่กันคนละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนำเข้าหรือส่งออก

9. สาขากฎหมายภาษี

            จะเน้นไปที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การเงิน หลักทรัพย์และภาษีอากร เป็นต้น

คณะนี้เรียนอะไรในแต่ละปี ?

ปี 1

เรียนวิชาพื้นฐานทั่ว ๆ ไป

ในช่วงปี 1 จะเรียนจิตวิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ในด้านภาษาและการสื่อสาร เน้นการ ฟัง พูด อ่าน เขียน และเรียนเกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย ทำความเข้าใจข้อบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ศึกษาเกี่ยวกับ กฎเกณฑ์ ความประพฤติ ของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคมจะเน้นการปูพื้นฐานช่วงเทอมแรก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย กฎหมายลักษณะบุคคล เพื่อเป็นการปูทางไว้ต่อยอดในปี 2 และในเทอม 2 เนื้อหาจะเข้มข้นขึ้นก็ ซึ่งจะมีวิชากฎหมายเพิ่มเข้ามาเยอะ หลัก ๆจะเป็นกฎหมายแพ่ง และกฎหมายมหาชน แต่ยังมีวิชาพื้นฐานอยู่

ปี 2

เริ่มเรียนวิชาบังคบเพิ่มขึ้น

ปี 2 ปีนี้จะเริ่มเรียนกฎหมายในลักษณะหนี้ กฎหมายลักษณะละเมิด เช่นซื้อขาย เช่า จำนอง จำนำ กู้ยืม เรียนกฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายมหาชนเบื้องต้น และเรียนวิชาเลือกที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่นการใช้ศัพท์และสำนวนกฎหมายภาษาอังกฤษวิชากฎหมายเข้ามาแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของน้อง ๆคณะนิติศาสตร์ และยังมีวิชาพื้นฐานของมหาวิทยาลัยอยู่แต่น้อยลง จะได้เริ่มเรียนกฎหมายหลากหลายสาขามาก

ปี 3

เรียนเนื้อหาด้านกฎหมายที่เข้มข้นขึ้น

ปี 3 ในปีนี้หากใครที่ผ่านวิชาพื้นฐานหมดแล้วจะเป็นการศึกษากฎหมายล้วนๆ ลึกขึ้นกว่าเดิม และมีวิชาใหม่เข้าจะได้เรียนเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายภาษีและวิชาเลือก

ปี 4

เรียนเนื้อหาเชิงลึกขึ้นกว่าเดิม

ปี 4 ปีสุดท้ายของการศึกษาความเข้มข้นก็ยังคงมีอยู่แต่จะมีกฎหมายพิเศษต่างๆมากมายให้เราได้ศึกษาก็จะมีเรียนกฎหมายนิติปรัชญา เช่น แนวความคิดปรัชญาทางกฎหมายตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันและเรียนหลักวิชาชีพนักกฎหมาย กฎหมายแรงงาน หลักวิชาชีพนักกฎหมาย กฎหมายการคลัง การภาษีอากร และวิชาเลือกทางกฎหมายที่คณะกำหนดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพต่อไป

เป็นทนายต้องทำยังไง

ทนายความ คือ.
จบปริญญาตรี คณะ “นิติศาสตร์”.
เป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมจากสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ.
ผ่านการสอบปากเปล่า.
ผ่านการอบรมจริยธรรมทนายความ.
ผ่านการสมัครเป็นสามัญ หรือวิสามัญสมาชิก แห่งเนติบัณฑิตยสภา.
ผ่านการยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ.

ต้องเรียนอะไรถึงจะได้เป็นทนาย

จะประกอบอาชีพทนายความจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ 2. ต้องขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความ 3. มีสัญชาติไทย 4. อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ในวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาต

คณะนิติศาสตร์ต้องเก่งอะไรบ้าง

7 ลักษณะนิสัย เหมาะที่จะเรียนด้านกฎหมาย.
1. ไม่กลัว และไม่เบื่อที่จะต้องอ่านหนังสือเป็นร้อยๆ หน้า ... .
2. มีระเบียบ จุดแข็ง คือความละเอียด รอบคอบ ... .
3. แบ่งเวลาเก่ง ... .
4. ไม่กลัวที่จะยืนหยัดในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ... .
5. ชอบที่จะวิเคราะห์ปัญหา จากหลายๆ มุมมอง ... .
6. เขียนวิเคราะห์ได้เก่ง… ... .
7. นอกจากจะมั่นใจในตัวเองแล้ว…ยังชอบการแข่งขันด้วย.

อยากเป็นทนายต้องเรียนกี่ปี

เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าต้องเข้ารับการอบรมจากสภาทนายความ โดยอบรมภาคทฤษฎีหลักสูตร 6 เดือน และอบรมภาคปฏิบัติ หลักสูตร 6 เดือน จึงสมัครเข้าสอบขอ ใบอนุญาตว่าความผ่านการทดสอบจะได้รับใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักรจากสภาทนายความ