การจัดเก็บข้อมูลที่ควรมีลักษณะอย่างไร

ความจุของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่ได้ขึ้นอยู่กับความจุทางกายภาพของคอมพิวเตอร์อีกต่อไป คุณมีตัวเลือกมากมายในการเก็บไฟล์ไปพร้อมกับการประหยัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต หากอุปกรณ์ทำงานช้าและเหลือพื้นที่ไม่มาก คุณก็สามารถถ่ายโอนไฟล์ไปยังอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกได้ หรือจะใช้ทางเลือกที่ดีกว่าอย่างการใช้เทคโนโลยีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ดีที่สุดและบันทึกไฟล์ของคุณไว้บนคลาวด์ 

บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์

แม้ว่าโดยหลักแล้วพื้นที่จัดเก็บข้อมูลนี้จะไม่ได้อยู่ในรูแบบของอุปกรณ์ แต่บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ก็เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลใหม่ล่าสุดและอเนกประสงค์ที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์ “ระบบคลาวด์” ไม่ใช่สถานที่หรือสิ่งของ แต่เป็นกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ศูนย์ข้อมูลทั่วโลก เมื่อคุณบันทึกเอกสารลงในระบบคลาวด์ คุณจะจัดเก็บเอกสารไว้บนเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้

เนื่องจากบริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์จัดเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ทางออนไลน์ บริการนี้จึงจะไม่ใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองในคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยให้คุณประหยัดพื้นที่ได้ 

บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูงกว่าแฟลชไดรฟ์ USB และตัวเลือกอื่นๆ อย่างมาก จึงช่วยให้คุณไม่ต้องไล่ดูข้อมูลในอุปกรณ์ทีละชิ้นเพื่อหาไฟล์ที่ต้องการ

ในขณะที่ HDD และ SSD ภายนอกเคยเป็นที่นิยมเนื่องจากสามารถพกพาได้ แต่ก็ยังขาดประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับบริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกที่ราคาสบายกระเป๋าเองก็มีไม่มากนัก และแม้ว่าจะมีขนาดเล็กและเบากว่าไดรฟ์จัดเก็บข้อมูลภายในของคอมพิวเตอร์ แต่ก็ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่คุณต้องดูแลอยู่ดี แต่ในทางกลับกัน ระบบคลาวด์ไปกับคุณได้ทุกที่โดยไม่ต้องเบียดพื้นที่ในกระเป๋าและไม่มีความเสี่ยงแบบไดรฟ์ภายนอก

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกก็เคยเป็นที่นิยมเพราะเป็นโซลูชันที่รวดเร็วสำหรับการโอนย้ายไฟล์ แต่จะมีประโยชน์เฉพาะเมื่อคุณมีอุปกรณ์อยู่กับตัวเท่านั้น การประมวลผลแบบคลาวด์กำลังได้รับความสนใจในช่วงเวลาที่ธุรกิจจำนวนมากในตอนนี้มีการดำเนินการจากระยะไกล คุณคงไม่ส่งไดรฟ์ USB ผ่านทางไปรษณีย์ไปต่างประเทศเพียงเพื่อจะส่งไฟล์ขนาดใหญ่ไปให้เพื่อนร่วมงาน บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์จึงทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างคนทำงานจากระยะไกล โดยทำให้การทำงานร่วมกันจากระยะไกลเป็นเรื่องง่าย

ถ้าคุณลืมนำฮาร์ดไดรฟ์ที่มีเอกสารสำคัญไปเข้าร่วมการประชุม คุณคงทำอะไรไม่ได้นอกจากกลับไปหยิบ ถ้าคุณทำฮาร์ดไดรฟ์พังหรือทำหาย คุณก็คงจะไม่มีวันได้ข้อมูลนั้นกลับมาอีก บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ไม่มีความเสี่ยงเหล่านี้ ระบบจะสำรองข้อมูลของคุณและคุณจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาตราบใดที่คุณเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

เมื่อใช้ Dropbox คุณจะสามารถเข้าถึงทุกไฟล์ในบัญชีของคุณได้จากเดสก์ท็อปของคุณ ก็เหมือนกับการจัดเก็บไฟล์ไว้ในเครื่อง แต่จะไม่กินพื้นที่ดิสก์ของคุณแม้แต่น้อย การเก็บไฟล์ทั้งหมดของคุณไว้ใน Dropbox ทำให้สามารถใช้งานไฟล์ได้เสมอในคลิกเดียว คุณจะเข้าถึงไฟล์ได้จากอุปกรณ์ใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแบ่งปันไฟล์ได้ในทันที

การสำรองข้อมูลทางออนไลน์

บริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์เป็นโซลูชันที่ยอดเยี่ยมสำหรับจัดเก็บไฟล์และโฟลเดอร์แต่ละรายการ แต่ถ้าหากคุณต้องการตัวเลือกที่แข็งแกร่งกว่านี้เพื่อรักษาความปลอดภัยเนื้อหาทั้งหมดของคุณ คุณต้องสำรองข้อมูลทางออนไลน์ Dropbox Backup ออกแบบมาเพื่อขจัดเรื่องน่าปวดหัวเมื่อคอมพิวเตอร์เสีย สูญหาย หรือถูกขโมย โดยการสำรองสำเนาของไฟล์และโฟลเดอร์ของคุณโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถกู้คืนจากระบบคลาวด์ได้อย่างรวดเร็วเมื่อจำเป็น นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในเวลาที่คุณต้องการตั้งค่าคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อปเครื่องใหม่อีกด้วย แทนที่จะต้องค้นหาข้อมูลทั้งหมดจากไดรฟ์หรือบัญชีระบบคลาวด์ต่างๆ Backup จะจัดการให้คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ของคุณเริ่มทำงานได้ในไม่กี่คลิก

วิดีโออธิบายวิธีที่ Backup ช่วยให้การย้ายไฟล์ไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่เป็นเรื่องง่าย

การจัดเก็บข้อมูลที่ควรมีลักษณะอย่างไร

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก

นอกจากสื่อจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์แล้ว ยังมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลที่อยู่ภายนอกคอมพิวเตอร์อีกด้วย อุปกรณ์เหล่านี้มักใช้เพื่อขยายความจุในการจัดเก็บเมื่อคอมพิวเตอร์มีพื้นที่เหลือน้อย เพื่อให้สามารถพกพาได้สะดวกขึ้น และเพื่อให้สามารถโอนย้ายไฟล์จากอุปกรณ์หนึ่งไปอีกอุปกรณ์หนึ่งได้ง่าย

นอกจากนี้ หากคุณต้องการโอนย้ายไฟล์จากไดรฟ์ภายนอกไปยังคลาวด์ คุณก็สามารถใช้การสำรองข้อมูลไดรฟ์ภายนอกและเข้าถึงไฟล์ของคุณได้จากทุกที่

HDD และ SSD ภายนอก

คุณสามารถใช้ทั้งอุปกรณ์ HDD และ SSD เป็นไดรฟ์ภายนอกได้ โดยทั่วไปแล้ว ไดรฟ์เหล่านี้มีความจุสูงสุดในบรรดาตัวเลือกไดรฟ์ภายนอก โดย HDD ภายนอกมีพื้นที่จัดเก็บสูงถึง 20 TB และ SSD ภายนอก (ราคาเหมาะสม) มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสูงถึง 8 TB

HDD และ SSD ภายนอกทำงานเหมือนกับไดรฟ์ภายใน ไดรฟ์ภายนอกส่วนใหญ่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ไม่ได้ผูกกับอุปกรณ์เครื่องเดียว จึงเป็นโซลูชันที่ดีสำหรับการโอนย้ายไฟล์ข้ามอุปกรณ์

อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลช

เราได้กล่าวถึงหน่วยความจำแฟลชก่อนหน้านี้แล้วเมื่อพูดถึง SSD อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลชประกอบด้วยเซลล์หน่วยความจำแฟลชที่เชื่อมต่อกันหลายล้านล้านเซลล์ซึ่งจัดเก็บข้อมูลไว้ เซลล์เหล่านี้มีทรานซิสเตอร์หลายล้านตัวซึ่งเมื่อเปิดหรือปิดจะแสดงค่า 1 และ 0 เป็นรหัสไบนารี ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้

อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลชประเภทที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือแฟลชไดรฟ์ USB หรือที่เรียกกันว่าไดรฟ์พกพาหรือแท่งหน่วยความจำ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาขนาดเล็กเหล่านี้เป็นตัวเลือกยอดนิยมเพิ่มเติมสำหรับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานาน ก่อนที่จะมีการแบ่งปันไฟล์ได้ง่ายและรวดเร็วทางออนไลน์ แฟลชไดรฟ์ USB เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการย้ายไฟล์จากอุปกรณ์หนึ่งไปอีกอุปกรณ์หนึ่งได้อย่างง่ายดาย แต่จะใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ต USB เท่านั้น ซึ่งคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าส่วนใหญ่มีพอร์ต USB แต่รุ่นใหม่ๆ อาจต้องใช้อะแดปเตอร์

ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์ USB มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ถึง 2 TB แม้จะมีราคาต่อกิกะไบต์แพงกว่าฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะเป็นโซลูชันที่ง่ายและสะดวกสำหรับการจัดเก็บและถ่ายโอนไฟล์ขนาดเล็ก

นอกเหนือจากไดรฟ์ USB แล้ว อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลชยังมี SD การ์ดและการ์ดหน่วยความจำ ซึ่งรู้จักกันว่าเป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในกล้องดิจิทัล

สื่อจัดเก็บข้อมูลด้วยแสง

แผ่น CD, DVD และ Blu-Ray ใช้สำหรับทำอย่างอื่นได้มากกว่าการเล่นเพลงและวิดีโอ เนื่องจากยังใช้เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลด้วยเช่นกัน และเรียกรวมกันว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลด้วยแสงหรือสื่อเก็บข้อมูลด้วยแสง

รหัสไบนารีจะได้รับการจัดเก็บไว้ในดิสก์เหล่านี้ในรูปแบบของส่วนนูนขนาดเล็กไปตามแทร็กที่หมุนวนออกจากจุดศูนย์กลางของดิสก์ เมื่อดิสก์ทำงาน ดิสก์จะหมุนด้วยความเร็วคงที่ ในขณะที่เลเซอร์ที่อยู่ภายในดิสก์ไดรฟ์จะสแกนส่วนนูนบนดิสก์ วิธีที่เลเซอร์สะท้อนหรือเด้งออกจากส่วนนูนเป็นตัวกำหนดว่าแสดงถึง 0 หรือ 1 ในไบนารี

ดีวีดีมีแทร็กเกลียวที่แน่นกว่าซีดี ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้นแม้ว่าจะมีขนาดเท่ากันก็ตาม และในไดรฟ์ดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงที่ละเอียดกว่าในไดรฟ์ซีดี ดีวีดียังช่วยให้มีการแบ่งชั้นคู่เพื่อเพิ่มความจุมากขึ้น บลูเรย์พัฒนาขึ้นอีกระดับ โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในหลายชั้นโดยมีส่วนนูนขนาดเล็กกว่าที่ต้องใช้เลเซอร์สีน้ำเงินที่ละเอียดกว่าในการอ่าน

  • CD-ROM, DVD-ROM และ BD-ROM หมายถึงดิสก์จัดเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบอ่านอย่างเดียว ข้อมูลที่เขียนบนดิสก์เป็นข้อมูลถาวรและไม่สามารถลบออกหรือเขียนทับได้ จึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลส่วนตัว แต่โดยทั่วไปจะใช้เก็บโปรแกรมติดตั้งซอฟต์แวร์
  • ดิสก์รูปแบบ CD-R, DVD-R และ BD-R สามารถบันทึกได้ แต่ไม่สามารถเขียนทับได้ ข้อมูลใดก็ตามที่คุณบันทึกลงในดิสก์เปล่าที่บันทึกได้จะถูกจัดเก็บอย่างถาวรในดิสก์นั้น จึงสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ แต่ไม่ค่อยยืดหยุ่นเท่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอื่นๆ
  • CD-RW, DVD-RW และ BD-RE สามารถเขียนซ้ำได้ คุณจึงสามารถเขียนข้อมูลใหม่และลบข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไปได้ตามที่คุณต้องการ ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น หน่วยความจำแฟลชเข้ามาแทนที่ดิสก์เหล่านี้ แต่ CD-RW ก็เคยเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายนอก คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแล็ปท็อปส่วนใหญ่จะมีไดรฟ์ CD หรือ DVD

CD จัดเก็บข้อมูลได้สูงสุด 700 MB ในขณะที่ DVD-DL จัดเก็บข้อมูลได้ถึง 8.5 GB และ Blu-Ray จัดเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 25 ถึง 128 GB

ฟลอปปีดิสก์

แม้ว่าฟลอปปีดิสก์จะล้าสมัยไปแล้ว แต่เราไม่สามารถพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยไม่กล่าวถึงฟลอปปีดิสก์เจ้าเก่าหรือที่เรียกกันว่าดิสก์เก็ตได้เลย ฟลอปปีดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาและถอดได้แบบแรกที่ใช้กันทั่วไป สาเหตุที่ไอคอน "บันทึก" ส่วนใหญ่เป็นรูปที่ใช้กันอยู่ก็เพราะจำลองมาจากฟลอปปีดิสก์ ดิสก์ประเภทนี้ทำงานในลักษณะเดียวกับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก 

พื้นที่จัดเก็บข้อมูลของฟลอปปีดิสก์มีความจุไม่เกิน 200 MB ก่อนที่ CD-RW และแฟลชไดรฟ์จะกลายเป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยม iMac เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกที่เปิดตัวโดยไม่มีฟลอปปีดิสก์ไดรฟ์ในปี 1998 และหลังจากนั้นการใช้ฟลอปปีดิสก์มายาวนานกว่า 30 ปีก็ลดลงอย่างรวดเร็ว

พื้นที่จัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลคือฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่งที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป แล็ปท็อป แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนทุกเครื่อง จะมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบางประเภทอยู่ภายใน และคุณยังสามารถมีไดรฟ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกแบบแยกต่างหากสำหรับใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้อีกด้วย

พื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่เพียงจำเป็นสำหรับการบันทึกไฟล์เท่านั้น แต่ยังจำเป็นสำหรับการเรียกใช้งานและแอปพลิเคชันด้วย ไฟล์ทั้งหมดที่คุณสร้างหรือบันทึกบนคอมพิวเตอร์ของคุณจะถูกบันทึกลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลนี้ยังจะจัดเก็บแอปพลิเคชันและระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์อีกด้วย

เนื่องจากเทคโนโลยีก้าวหน้าไปตามกาลเวลา อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลก็ได้พัฒนาไปอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ทุกวันนี้ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมีหลายรูปทรงและขนาด และมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหลายประเภทที่เหมาะสำหรับอุปกรณ์และฟังก์ชันต่างๆ

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเรียกอีกอย่างว่าสื่อจัดเก็บข้อมูล พื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลมีหน่วยวัดเป็นเมกะไบต์ (MB) กิกะไบต์ (GB) และทุกวันนี้ก็มีเป็นเทราไบต์ (TB) แล้ว

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์บางประเภทสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร ในขณะที่อุปกรณ์อื่นสามารถเก็บข้อมูลได้เพียงชั่วคราว คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีทั้งพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักและพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรอง โดยพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำระยะสั้นของคอมพิวเตอร์ และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองเป็นหน่วยความจำระยะยาวของคอมพิวเตอร์

พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลัก: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access Memory: RAM)

Random Access Memory หรือ RAM เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์

เมื่อคุณทำงานกับไฟล์บนคอมพิวเตอร์ของคุณ ไฟล์จะจัดเก็บข้อมูลไว้ใน RAM ของคุณชั่วคราว RAM ช่วยให้คุณสามารถทำงานประจำวัน เช่น การเปิดแอปพลิเคชัน การโหลดหน้าเว็บ การแก้ไขเอกสาร หรือการเล่นเกม และช่วยให้คุณสามารถสลับจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่งได้อย่างรวดเร็วโดยไม่สูญเสียความคืบหน้า โดยหลักแล้ว ยิ่ง RAM ของคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ การทำงานหลายอย่างพร้อมกันของคุณก็ยิ่งราบรื่นขึ้นและรวดเร็วขึ้น

RAM เป็นหน่วยความจำชั่วคราวซึ่งหมายความว่าจะไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อปิดระบบ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณคัดลอกกลุ่มข้อความ รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ จากนั้นลองวางข้อความกลุ่มนั้นลงในเอกสาร คุณจะพบว่าคอมพิวเตอร์ของคุณลืมข้อความที่คัดลอกไว้ไปแล้ว นั่นเป็นเพราะข้อความนั้นได้รับการจัดเก็บไว้ชั่วคราวใน RAM ของคุณ

RAM ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าถึงข้อมูลได้แบบสุ่ม จึงอ่านและเขียนได้เร็วกว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองของคอมพิวเตอร์มาก

พื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรอง: ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) และโซลิดสเทตไดรฟ์ (SSD)

นอกจาก RAM แล้ว คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องยังมีไดรฟ์เก็บข้อมูลอื่นที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลในระยะยาว เรียกว่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรอง ไฟล์ทั้งหมดที่คุณสร้างหรือดาวน์โหลดจะบันทึกไว้ในพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองในคอมพิวเตอร์มีสองประเภท ได้แก่ HDD และ SSD แม้ HDD จะเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิมจากทั้งสองประเภท แต่ SSD กลับกลายเป็นเทคโนโลยีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรองที่เป็นที่ต้องการมากกว่าอย่างรวดเร็ว

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรองมักจะเป็นแบบถอดได้ คุณจึงสามารถเปลี่ยนหรืออัพเกรดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือย้ายไดรฟ์เก็บข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นที่ควรทราบ เช่น MacBook ซึ่งไม่มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบถอดได้

ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD)

ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) คือฮาร์ดไดรฟ์แบบดั้งเดิม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบแม่เหล็กที่มีมาตั้งแต่ปี 1950 ที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมตามกาลเวลา

ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ประกอบด้วยชั้นดิสก์โลหะที่หมุนได้ซึ่งเรียกว่า แพลตเตอร์ ดิสก์ที่หมุนแต่ละแผ่นมีส่วนย่อยเล็กๆ เป็นล้านล้านชิ้นที่สามารถดูดเพื่อแทนบิตได้ (เลข 1 และ 0 ในรหัสไบนารี แขนแอคชูเอเตอร์ที่มีหัวอ่าน/เขียนจะสแกนแพลตเตอร์หมุน และดูดส่วนย่อยเพื่อเขียนข้อมูลดิจิทัลลงใน HDD หรือตรวจจับประจุแม่เหล็กเพื่ออ่านข้อมูลจาก HDD

HDD ใช้สำหรับเครื่องบันทึกทีวี เซิร์ฟเวอร์ และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์ส่วนตัว

โซลิดสเทตไดรฟ์ (SSD)

โซลิดสเทตไดรฟ์เพิ่งพัฒนาขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ในช่วงทศวรรษที่ 90 SSD ไม่ได้ใช้แม่เหล็กและดิสก์ แต่ใช้หน่วยความจำแฟลชชนิดหนึ่งที่เรียกว่า NAND แทน เซมิคอนดักเตอร์ใน SSD จะจัดเก็บข้อมูลโดยการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าของวงจรที่มีอยู่ภายในไดรฟ์ ซึ่งทำให้ SSD ไม่จำเป็นต้องใช้ชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในการทำงาน ซึ่งต่างจาก HDD

ด้วยเหตุนี้ SSD จึงไม่เพียงทำงานได้เร็วและราบรื่นกว่า HDD (HDD ใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลนานกว่าเนื่องจากลักษณะเชิงกลของแพลตเตอร์และส่วนหัว) แต่ยังมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า HDD ด้วย (HDD มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยงที่จะเสียหายและสึกหรอ)

นอกจากคอมพิวเตอร์ส่วนตัวรุ่นใหม่ๆ และแล็ปท็อประดับไฮเอนด์แล้ว ในบางครั้งก็อาจมีการใช้ SSD ในสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกล้องวิดีโอ

วิธีที่ดีที่สุดในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก

หากพื้นที่บนอุปกรณ์ของคุณใกล้จะหมดแล้ว ก็ถึงเวลามองหาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอื่นเป็นทางเลือก แต่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอกอย่างแฟลชไดรฟ์ก็มีพื้นที่จำกัด มีวันหมดอายุขัย หรือสูญหายได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการเก็บไฟล์ทั้งหมดไว้บนคลาวด์ ที่ทั้งปลอดภัย รวดเร็ว และเข้าถึงได้ง่ายกว่า

การจัดเก็บข้อมูลมีลักษณะอย่างไร

การจัดเก็บข้อมูล หมายถึง การเก็บรักษาข้อมูลเพื่อการบริหาร โดยการเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะทำด้วยมือ ซึ่งเป็นแฟ้ม เอกสารหรือ ด้วยคอมพิวเตอร์ ในรูปของแฟ้มข้อมูล พอจะแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1.แฟ้มข้อมูลหลัก เป็นที่เก็บข้อมูลที่บรรจุข้อมูลหลักซึ่งอาจจะแยกออกเป็นแต่ละงาน

ข้อใดคือลักษณะของข้อมูลที่ดี

1. มีความถูกต้องและแม่นยา (Accuracy) 2. มีความเป็นปัจจุบันและทันสมัยอยู่เสมอ (Up to date) 3. มีความกระชับ ชัดเจน และสมบูรณ์ครบถ้วน (Conciseness and Completeness) 4. สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้(Relevance) 5. ปราศจากความลาเอียงหรืออคติ(Reliable and Verifiable)

ข้อมูล (Data) มีลักษณะอย่างไร

ข้อมูล (data) คือ หน่วยหรือกลุ่มของข้อเท็จจริง (fact) ที่ยังไม่ได้ถูกจัดการ จัดกลุ่ม หรือถูกตีความ ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านั้นอาจจะมีหรือไม่มีความหมายในตัวเอง ถูกจัดเก็บในรูปแบบที่สามารถใช้สื่อสาร แปลความหมาย ประมวลผล หรือใช้ประโยชน์ต่อได้

การจัดเก็บข้อมูลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

เมื่อจำแนกประเภทของข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) และ ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)