หากจำเป็นต้องออกกำลังกายเกิน 1 ช.ม. ควรทำอย่างไร

การแสดงผลภาษา

ขณะนี้เว็บไซต์แสดงผลบนภาษา: ภาษาไทย

คุณอยู่ที่

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ในการแบ่ง Zone การออกกำลังกายสามารถแบ่งได้ 5 โชน ตั้งแต่ออกเบาสุดจนหนักสุด โดยแบ่งระดับตาม percent ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดในแต่ละอายุซึ่งคำนวณได้จากสูตร จากที่ 220- อายุ

          โอ้ยเหนื่อย อุตส่าไปออกกำลังกาย แต่ทำม้ายทำไมน้ำหนักไม่ลด  เเต่คุณทราบหรือไม่ว่าปัญหาเหล่านี้อาจจะเกิดจากการกินที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานสำรองออกไป

           อธิบายได้ดังนี้ 15 นาทีแรกของการออกกำลังกาย ร่างกายจะดึงพลังงานหลัก(น้ำตาลจากตับ)ไปใช้ ซึ่งเป็นพลังงานที่เตรียมไว้ใช้ในกิจกรรมปกติของร่างกาย เมื่อถึงนาทีที่ 15 – 30 นาที เมื่อร่างกายรู้แล้วว่า กิจกรรมนี้ใช้พลังงานมากกว่าที่เตรียมไว้ก็จะเริ่มไปดึงแป้งมาเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเพื่อให้ได้พลังงาน 30 นาทีขึ้นไป ก็ยังไม่พออีก คราวนี้แหละจะเริ่มไปดึงพลังงานสำรอง ซึ่งเก็บไว้ในรูปของไขมันมาใช้

            จึงอธิบายว่า ทำไมต้องออกกำลังกายไม่ต่ำกว่าครั้งละ 45 นาที เพราะถ้าต่ำกว่านี้ พลังงานสำรอง ยังไม่ได้ใช้อะไรเลยภายหลังหยุดออกกำลังกาย ร่างกายจะผลิตกรดชนิดนึงออกมา ทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (คนที่ออกกำลังกายบ่อย จะมีความต้านทานต่อกรดชนิดนี้ได้มาก จึงปวดเมื่อยน้อยกว่า) แต่กระบวนการผลิตที่ว่านี้ จะต้องใช้พลังงานค่อนข้างมาก ร่างกายจึงยังคงต้องการพลังงานต่อเนื่องต่อไปอีกอย่างน้อย 15 นาที ดังนั้นร่างกายก็ยังคงดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานต่อไป อธิบายว่า ทำไมหลังจากหยุดออกกำลังกาย เราถึงปวดเมื่อย อุณหภูมิร่างกายสูง เหงื่อออกต่อเนื่องต่อไปอีกประมาณ 15 นาที

แต่ทะว่า….

           ใน 15 นาทีหลังหยุด หากมีการกินอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาลลงไปแม้แต่นิดเดียว (ลูกอม 1 เม็ดก็มีผลทันที) ร่างกายจะตรวจพบว่า มีน้ำตาลในแหล่งพลังงานหลักแล้ว ร่างกายก็จะหยุดดึงเอาไขมันมาใช้และหันไปใช้น้ำตาลจากพลังงานหลักทันที ดังนั้น หลังออกกำลังกาย 15 นาที หากดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน ชาเขียว กินข้าว ขนมปัง  หรืออะไรก็ตามแต่ที่มีแป้งและน้ำตาล คุณกำลังสูญโอกาสที่จะลดไขมันในตัวไปอย่างน่าเสียดาย ไม่คุ้มค่าเหนื่อย

คำแนะนำในการดื่มกินต่อกิจกรรมออกกำลังกาย

ก่อนออกกำลัง 1 ชั่วโมง

ไม่ควรกินอาหาร เพราะจะทำให้ร่างกายสะสมพลังงานหลักไว้มากเกิน ทำให้ช่วงเวลาที่จะดึงไขมันมาใช้ยืดออกไปอีก

ก่อนออกกำลัง 15 นาที

ให้เริ่มดื่มน้ำเปล่า ทีละอึกไปเรื่อยๆ เพราะขณะออกกำลังร่างกายจะเสียน้ำไปเร็วมาก จึงควรดื่มเพื่อสะสมน้ำเอาไว้ล่วงหน้าก่อน

ขณะออกกำลัง

หมั่นดื่มน้ำทีละน้อยๆ บ่อยๆ เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป จากข้อมูลนักฟุตบอลต้องการน้ำขณะเล่นฟุตบอลถึง 2 ลิตรต่อคนทีเดียว ดังนั้นดื่มทีละน้อยๆ ให้มากที่สุดเป็นการดี

หลังออกกำลังกาย

นั่งพักเฉยๆ ดื่มน้ำเปล่าไปเรื่อยๆ จนกว่าเหงื่อจะแห้ง ค่อยอาบน้ำ (การอาบน้ำทันที ร่างกายจะถูกลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การเผาผลาญพลังงานหยุดได้เหมือนกัน) และห้ามดื่มน้ำตาลหรือแป้งเด็ดขาด

บางคนบอกว่า ก่อนออกกำลังรู้สึกหิว ควรจะกินหรือไม่

ตอบ ไม่ต้องกิน เพราะถึงจะรู้สึกหิว แต่เมื่อร่างกายเริ่มกิจกรรมไปประมาณ 10 นาที จะถูกสั่งให้หยุดหิวทันที และจะสั่งให้หิวอีกครั้ง เมื่อร่างกายเริ่มหยุดกิจกรรม แต่ 15 นาทีแรกที่หยุด อย่าเพิ่งกินเด็ดขาด ให้ดื่มน้ำประทังไปก่อน… เป็นเคล็ดลับในการกินและดื่ม เพื่อให้ร่างกายเกิดผลต่อการออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่

ที่มา : lovefitt.com

ส่งต่อ

1.  กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูกบาดเจ็บ
     กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูกเป็นส่วนสำคัญที่ร่างกายใช้ระหว่างการออกกำลังกาย  หากถูกใช้งานอย่างหนักเกินไป  ก็จะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บได้  เช่น เอ็นอักเสบ ฉีกขาด  กล้ามเนื้ออักเสบ กระดูกร้าว  หากคุณมีอาการบาดเจ็บดังกล่าว  ควรหยุดและพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและรับโปรแกรมที่เหมาะสมในการเริ่มออกกำลังกายครั้งต่อไป  จำไว้ ” เจ็บแล้วอย่าฝืน เพราะจะทำให้เจ็บเรื้อรังได้ “

2.  นอนไม่หลับ จิตใจว้าวุ่น
     เนื่องจากการออกกำลังกายอย่างหนัก  ส่งผลให้ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่ผลดี เพราะร่างกายคนเราต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ  หากคุณมีอาการนอนไม่หลับ จิตใจว้าวุ่น  กระสับกระส่าย นั่นอาจเป็น 1 ในสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังออกกำลังกายหนักเกินไป

3.  ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
     งงไหม ? ทำไมระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง  นั่นเป็นเพราะการออกกำลังกายหนักเกินไป  ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานหนัก  ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและนั่นทำให้คุณป่วยง่าย  ตรงกันข้ามกับการออกกำลังกายที่พอดีที่จะทำให้คุณแข็งแรง

4.  ภาวะหัวใจล้มเหลว
     คุณอาจเคยได้ยินข่าวร้ายแบบนี้มาบ้าง  นั่นเป็นเพราะหัวใจคนเรานั้นก็คือ กล้ามเนื้อ  การออกกำลังกายหนักเกินไปทำให้หัวใจทำงานหนักและอ่อนล้าได้  นี่เป็นผลกระทบร้ายแรงที่เราไม่อยากให้เกิดเพราะฉะนั้นเรามาออกกำลังกายแบบพอดีกันเถอะ

แล้วแค่ไหนที่เรียกว่า  ออกกำลังกายแบบ พอดี และ ดีพอ ?
     การออกกำลังแบบคาร์ดิโอ  ควรทำ 150 นาทีต่อสัปดาห์  นี่คือพื้นฐานสำหรับคนทั่วไป  โดยคุณอาจจะแบ่งเป็นวิ่ง 30 นาทีต่อวัน  รวม 5 วันต่อสัปดาห์ หรือปรับตามความเหมาะสม  เท่านี้ก็เพียงพอให้ร่างกายคุณแข็งแรงแล้ว  แต่จริง ๆ แล้วโปรแกรมการออกกำลังกายจะแตกต่างกัน ตามความต้องการและสภาพร่างกายของแต่ละคน  เช่น คนที่ต้องการลดน้ำหนัก, นักวิ่งมาราธอนคนที่ต้องการเพิ่มความฟิตของร่างกายคนที่อยากเทรนกล้ามเนื้อ, ผู้สูงอายุ  หรือแม้กระทั่งผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ  ควรได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่เฉพาะเจาะจงและการดูแลที่เหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อผลลัพธ์ที่ตรงเป้าหมายและปลอดภัย

__________________________________________

บทความจาก แพทย์หญิง สุวรรณิการ์ ปาลี
.
ทำนัดแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลรวมแพทย์พิษณุโลก
.
เช็คเวลาออกตรวจแพทย์ได้ที่นี่ >> https://bit.ly/2Uh4bcY
.
—————————————-
โทรสายด่วนสุขภาพ☎️
055-219307-16 , 055-259631-34
โรงพยาบาลรวมแพทย์ พิษณุโลก