การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

��ѡ 3 ��ǧ 2 ���͹�

 �繺���ػ�ͧ���ɰ�Ԩ����§ ����ͧ ��� ��ػ������������� �ѧ���仹��

 3 ��ǧ ��� �ҧ��¡�ҧ ��Сͺ仴��� �ѧ���
           ��ǧ��� 1 ��� �ͻ���ҳ ���¶֧ �ͻ���ҳ㹷ء���ҧ �����ʹ�����ҡ������ҹ��¨��Թ��µ�ͧ�����´��¹���ͧ ���ͼ����������ʹ��͹
          
��ǧ��� 2 ��� ���˵ؼ� ���¶֧ ��õѴ�Թ�����ǡѺ�дѺ�ͧ��������§��� �е�ͧ������ҧ���˵ؼ��¾Ԩ�óҨҡ�˵ػѨ��·������Ǣ�ͧ ��ʹ���ӹ֧�֧�ŷ��Ҵ��Ҩ��Դ��鹨ҡ��á�зӹ��� ���ҧ�ͺ�ͺ
          
��ǧ��� 3 ��� �����Ԥ����ѹ����㹵���ͧ ���¶֧ �������������������Ѻ�š�з���С������¹�ŧ��ҹ��õ�ҧ� �����Դ����¤ӹ֧�֧���������ͧʶҹ��ó��ҧ� ���Ҵ��Ҩ��Դ����͹Ҥ������������


  2 ���͹� ��������ɰ�Ԩ����§ ����
           
���͹䢷�� 1 ���͹䢤������ ��� �դ����ͺ�������ǡѺ �Ԫҡ�õ�ҧ�������Ǣ�ͧ���ҧ�ͺ��ҹ �����ͺ�ͺ���йӤ����������ҹ���ҾԨ�ó����������§�ѹ ���ͻ�Сͺ��� �ҧἹ ��Ф������Ѵ���ѧ㹢�鹵͹��Ժѵ� �س������Сͺ���� �դ������˹ѡ㹤س���� �դ��������ѵ���ب�Ե ����դ���ʹ�� �դ������� ��ʵԻѭ��㹡�ô��Թ���Ե
           
���͹䢷�� 2 ���͹䢤س���� ��� �դ������˹ѡ㹤س���� �դ��������ѵ���ب�Ե����դ���ʹ�� �դ������� ��ʵԻѭ��㹡�ô��Թ���Ե


  “���ɰ�Ԩ����§��ԧ� ��� ��ѡ��ô��Թ���Ե����ԧ�����ش ��ͺ�ǤԴ�ͧ��ѡ��Ѫ������鹤�����蹤���Ф�������׹�ͧ��þѲ�� �ѹ�դس�ѡɳз���Ӥѭ ��� ����ö����ء����㹷ء�дѺ ��ʹ���������Ӥѭ�Ѻ����Ҥ�������§ ����Сͺ���� �����ͻ���ҳ �������˵��ռ� �����Ԥ����ѹ����㹵�� ��������͹䢢ͧ��õѴ�Թ���С�ô��Թ�Ԩ��������ͧ��������͹䢤������������͹䢤س����”


  “�ҡ�ء�������㨡�ͺ�ǤԴ �س�ѡɳ� �ӹ�����ͧ���ɰ�Ԩ����§���ҧ����Ѵ���� ��Ч��¢��㹡�ù�任���ء�������Ƿҧ��Ժѵ� ��Шй�����ŷ��Ҵ��Ҩ����Ѻ ��� ��þѲ�ҷ��������������׹ ������Ѻ��͡������¹�ŧ㹷ء��ҹ ��駴�ҹ���ɰ�Ԩ �ѧ�� ����Ǵ���� ����������෤�����”

�����: http://���ɰ�Ԩ����§.net/


​       หากพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารธุรกิจ ผู้ประกอบการหลายท่านอาจส่ายหน้าว่าสวนทางไม่สามารถไปด้วยกันได้ เนื่องจากการทำธุรกิจทุกคนต่างก็มุ่งหวังกำไรและความก้าวหน้า แต่ไม่ได้คำนึงถึงความมั่นคงในระยะยาวของธุรกิจ จึงทำให้เป็นการเติบโตที่ตั้งอยู่บนความเสี่ยง แต่หากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้พิจารณาถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ลึกซึ้งจะพบว่าเป็นสัจธรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตหรือการทำธุรกิจ โดยมีหลักการสำคัญ 3 ข้อที่ต้องยึดให้มั่นดังนี้

       1. พอประมาณ หมายถึง ความพอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตัวเองและคนอื่น ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้นอาจจะคิดว่าการทำยอดขายให้ได้มากๆ คือสิ่งสำคัญที่สุด จึงทุ่มเทแรงกายแรงใจทั้งหมดทำทุกทางเพื่อให้ได้ยอดขายมา โดยไม่คำนึงถึงความเป็นไปได้หรือต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเกินพอดี หรือแม้กระทั่งความโลภจนทำให้เกิดการทุจริต อย่างนี้เรียกว่าไม่พอดี ผู้ประกอบการควรวางแผนการผลิตและแผนการขาย ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน สามารถบริหารจัดการได้ ทั้งยังมีเวลาเหลือให้ครอบครัว รวมถึงเวลาในการออกกำลังกายเพื่อดูแลตัวเองด้วย

       2. มีเหตุผล หมายถึง ทุกครั้งที่ตัดสินใจต้องทำอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล อย่าใช้อารมณ์เป็นตัวนำในการตัดสิน ควรคิดว่าหากตัดสินใจทำอะไรลงไปแล้ว ผลกระทบที่ตามมาจะมีอะไรบ้าง เช่น ในการผลิตสินค้าขึ้นมาอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องศึกษาโอกาสทางการตลาดมาอย่างดีแล้ว ไม่ใช่ตัดสินใจสั่งผลิตเพียงเพราะตัวเองชอบ หรือแค่มองว่าน่าจะขายได้แต่ไม่มีข้อมูลมารองรับ นอกจากนี้ต้องฟังเสียงจากพนักงานหรือเพื่อนร่วมงานบ้าง เพราะเป็นเหมือนเสียงสะท้อนจากความหวังดีที่ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้

       3. มีภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยผู้ประกอบการต้องมีแผนสำรองในการทำธุรกิจ แม้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นมาจริงๆ แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดเช่นนี้ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ลูกค้าหลักยกเลิกคำสั่งซื้อ ผู้ประกอบการจึงควรมีทางออกฉุกเฉินให้กับธุรกิจ หากเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมาจะได้มีทางประคับประคองให้ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้

       จะเห็นได้ว่าแก่นของความพอเพียงนั้นไม่ได้สอนให้ใครจน แต่สอนให้เรารู้จักพอดีอย่างมีความรู้และมีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ และอดทน ซึ่งเป็นแนวคิดที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยสัจธรรมที่ลึกซึ้ง ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปเช่นไรก็ยังสามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่มีคำว่าตกยุคหรือล้าสมัย

สินเชื่อที่เกี่ยวข้อง :สินเชื่อและบริการยอดฮิต​​

เศรษฐกิจพอเพียง

"เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป"

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา


"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชายไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง

การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
"

เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่ได้มีในตำราเศรษฐกิจ. จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ ...Sufficiency Economy นั้นไม่มีในตำรา เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่... และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่าเราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น."

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี ผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
"

อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า
ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป
แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร
บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้
แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก "

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาส
วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
"

ถ้าไม่มีเศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ...
จะพังหมด จะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.
...หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่
ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ใช้ปั่นไฟ
หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน
คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ.
...ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆ
แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้
ให้เพียงพอเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้.

จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน.
.....พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้. "

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาส
วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้

๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติคนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

๓. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กันดังนี้

  • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

  • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
"

...ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธาน ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...
ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความคิด และมีอิทธิพล มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล "

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกันและความสามัคคี

เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม

ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดังนี้

ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกร ที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า ที่ที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำจะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่นๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว

อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชน ราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม

ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๒ เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่างๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ

กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่างๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้นๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง

ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่าววิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่างๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง กลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่นควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

หลักธรรมข้อใด สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับหลักธรรม สัปปุริสธรรม 7.

การประกอบธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร

หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้ 1. การบริหารความเสี่ยงทางการตลาดที่ชัดเจน โดยมีความรู้จริงในการทําตลาด และมีตลาดที่ หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยง 2. ไม่ให้ความสําคัญกับการสร้างกําไรสูงสุด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่คํานึงถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของธุรกิจ

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ