ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) วัดได้ด้วยมาตราวัดอะไร

ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น ” ริกเตอร์” ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด ได้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับเรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก การวัดขนาดและความรุนแรงเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ทำให้ทราบว่าแผ่นดินไหวที่เกิดจะสร้างความเสียหายได้ขนาดไหนแบ่งได้เป็น 2 มาตรา


5.1 มาตราเมอร์คัลลี แผ่นดินไหวแต่ละครั้งมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งไม่สามารถรู้สึกได้ แต่บางครั้งก็ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น อาคารถล่ม ถนนขาด แผ่นดินทรุด ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ระบบวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เข้าใจง่ายที่สุดคือมาตราเมอร์คัลลี (Mercalli scale) ซึ่งกำหนดจากความรู้สึกหรือการตอบสนองของผู้คนโดยจำแนกได้ดังนี้

I           มนุษย์ไม่รู้สึก ตรวจวัดได้เฉพาะเครื่องมือ

II         รู้สึกได้เฉพาะกับผู้ที่อยู่นิ่งกับที่ สิ่งของแกว่งไกวเล็กน้อย

III        คนอยู่ในบ้านรู้สึกได้เหมือนรถบรรทุกแล่นผ่าน

IV        คนส่วนใหญ่รู้สึกได้เหมือนรถบรรทุกแล่นผ่าน

V          ทุกคนรู้สึกได้ สิ่งของขนาดเล็กเคลื่อนที่

VI        คนเดินเซ สิ่งของขนาดใหญ่เคลื่อนที่

VII       คนยืนนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ อาคารเสียหายเล็กน้อย

VIII     อาคารเสียหายปานกลาง

IX         อาคารเสียหายอย่างมาก

X           อาคารถูกทำลายพร้อมฐานราก

XI          แผ่นดินแยกถล่มและเลื่อนไหล สะพานขาด รางรถไฟบิดงอ ท่อใต้ดินชำรุดเสียหาย

XII        สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดถูกทำลาย พื้นดินเป็นลอนคลื่น


5.2 มาตราริกเตอร์ มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์ (The Richter Magnitude Scale) พัฒนาโดย ชาร์ล เอฟ ริกเตอร์ นักธรณีวิทยาชาวอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2478 เป็นมาตราที่วัดขนาดของแผ่นดินไหว ซึ่งบันทึกได้จากเครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือนโดยใช้หน่วย “ริกเตอร์” (Richter) เป็นตัวเลขที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวต่างๆ กันได้ โดยคำนวณจากสูตรทางคณิตศาสตร์เป็น logarithm ของความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้  ขนาดของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์บอกเป็นตัวเลข จำนวนเต็มและจุดทศนิยม ดังนี้

ขนาดแผ่นดินไหว(ริกเตอร์)         ประเภท

<3.0                                     แผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก (Micro)

3.0 – 3.9                             แผ่นดินไหวขนาดเล็ก (Minor)

4.0 – 4.9                             แผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างเล็ก (Light)

5.0 – 5.9                              แผ่นดินไหวขนาดปานกลาง (Moderate)

6.0 – 6.9                              แผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างใหญ่ (Strong)

7.0 – 7.9                              แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (Major)

>8.0                                      แผ่นดินไหวใหญ่มาก (Great)

นักธรณีวิทยาระบุว่า ในแต่ละวันเกิดแผ่นดิวไหวบ่อยครั้ง เพียงแต่ความรุนแรงแผ่วเบา จนไม่สามารถรู้สึกได้ สำหรับการวัดขนาดสามารถวัดด้วยเครื่องมือตรวจจับและวัดแรงสั่นสะเทือน (Seismograph) โดยความร้ายแรงความขึ้นอยู่กับ จุดศูนย์กลาง (Epicenter) ซึ่งนิยมวัดอยู่ 2 แบบ อาทิ การวัดขนาด (Magnitude) วัดกำลังหรือพลังงานในการเกิดแผ่นดินไหว และการวัดความรุนแรง (Intensity) วัดผลกระทบของแผ่นดินไหว...

การวัดขนาด (Magnitude) มีหน่วยเป็น " ริคเตอร์" แบ่งสเกลความรุนแรงออกหลายระดับ คำนวณจากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว โดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง จำแนกได้ดังนี้

ระดับ  1.0-2.9      เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย รู้สึกถึงการสั่นไหว
ระดับ  3.0-3.9     เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกได้
ระดับ  4.0-4.9     เกิดการสั่นไหวปานกลาง รู้สึกถึงการสั่นสะเทือน เมื่ออยู่ทั้งในและนอกอาคาร วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
ระดับ  5.0-5.9     เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นวงกว้าง วัตถุมีการเคลื่อนที่
ระดับ  6.0-6.9     เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารพังทลายได้รับความเสียหาย
ระดับ  7.0-7.9      เกิดการสั่นไหวร้ายแรง สิ่งก่อสร้างเสียหายมาก แผ่นดินแยก
ระดับ  8.0-8.9     เกิดการสั่นไหวร้ายแรง ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร
ระดับ  9.0-9.9     เกิดการสั่นไหวร้ายแรง ทำลายล้างในรัศมีนับพันกิโลเมตร
ระดับ  10.0          ยังไม่เคยเกิดขึ้น

การวัดความรุนแรง (Intensity) วัด จากปรากฏการณ์ ระหว่างเกิดและหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน สิ่งก่อสร้างเสียหาย สภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ใช้มาตราทั้งเมอคัลลีเปรียบเทียบ โดยมีเลขโรมันทั้งหมด 12 อันดับเป็นสัญลักษณ์

I          วัดได้ด้วยเครื่องมือตรวจจับแผ่นดินไหว แต่ไม่ได้รับความรู้สึก 
II        พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง
III       พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในอาคาร แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
IV       บางคนเริ่มรู้สึกถึงความสั่นไหว
V         รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
VI       ทุกคนรับรู้ถึงความไหว ของหนักในบ้านเคลื่อนที่
VII      สิ่งก่อสร้างเสียหาย
VIII     เกิดเสียหายค่อนข้างมาก 
IX        สิ่งก่อสร้างที่ได้รับการออกแบบอย่างดี เสียหายใหญ่หลวง
X          อาคารพังทลาย
XI        อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกเลื่อนและปูดนูน
XII      ทำลายหมดทุกอย่าง

อนึ่ง ประเทศไทยเริ่มมีการตรวจแผ่นดินไหว เมื่อพ.ศ. 2506 ปัจจุบันใช้ระบบเครือข่าย Incorporated Research Institution of Seismology : IRIS โดยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ด้านประเทศญี่ปุ่น วัดความรุนแรงด้วยมาตราขนาดโมเมนต์ ( Moment Magnitude Scale) เพราะแม้การวัดขนาดด้วยมาตรา ริคเตอร์ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่วิธีการของ ริคเตอร์ ยังไม่ตรงนักในเชิงวิทยาศาสตร์ วิธีการของ ริคเตอร์ ใช้ได้ดีเฉพาะช่วงความถี่และระยะทางหนึ่งเท่านั้น นักธรณีฟิสิกส์ ชาวญี่ปุ่น ฮิรู คะนะโมะริ จึงเสนอวิธีวัดพลังงานโดยตรง จากการ "วัดการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน" ตั้งแต่พ.ศ. 2520

มาตราที่ใช้วัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวคืออะไร

มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์ (The Richter Magnitude Scale) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478) โดย Charles F.Richter แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เราจึงนิยมใช้หน่วยของขนาดแผ่นดินไหวว่า ริกเตอร์ (Richter) เป็นตัวเลขที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวต่าง ๆ กันได้ เป็นมาตราที่วัด ...

มาตราเมอร์คัลลี วัดจากอะไร

มาตราเมร์กัลลี (อังกฤษ: Mercalli scale) เป็นมาตราสำหรับใช้กำหนดขั้นความรุนแรงของแผ่นดินไหว คิดค้นโดยจูเซปเป เมร์กัลลี (Giuseppe Mercalli) ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชาวอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยแบ่งไว้ 10 อันดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 แฮร์รี โอ. วูด และแฟรงก์ นิวแมนน์ นักวิทยาแผ่นดินไหวชาวอเมริกันได้นำมาตราเมร์กัลลีมาปรับปรุง ...

การ วัดความรุนแรงของ แผ่นดินไหว ตาม มาตรา เม อ ร์ คัล ลี ใช้ ข้อมูล ใด ใน การ พิจารณา

มาตราเมร์คัลลี (Mercalli scale) เป็นมาตราสำหรับใช้กำหนดขั้นความรุนแรงของแผ่นดินโดยพิจารณาจากผลกระทบของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก โดยที่พิจารณาจากการตอบสนองของผู้คน และผลกระทบที่สามารถสังเกตเห็นได้ คิดค้นโดยจูเซปเป เมร์คัลลี (Giuseppe Mercalli) ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชาวอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยแบ่งไว้ 10 อันดับ ...

การวัดขนาดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวมีวิธีการอย่างไร

มาตราริกเตอร์ เป็นการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้จากการคำนวณปริมาณพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว โดยวัดจากความสูงของคลื่น (amplitude) จากเส้นไซสโมแกรม ซึ่งแอมพลิจูดยิ่งสูงเท่าไรก็เท่ากับพื้นดินสะเทือนมากเท่านั้น หรือแผ่นดินไหวรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น วิธีการนี้ ชาร์ล เอฟ ริกเตอร์ (Charles F. Richter ...