ประมง น้ำเค็ม อยู่ ภาค อะไร

ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) 

ประมง น้ำเค็ม อยู่ ภาค อะไร
 คลังความรู้  ความรู้ด้านการประมง

ประมง น้ำเค็ม อยู่ ภาค อะไร

ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asian Fisheries Development Centre: SEAFDEC)

ที่ตั้งสำนักงาน

ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งส่วนการบริหาร ซึ่งมีที่ตั้งในระหว่างประเทศสมาชิก ดังนี้ คือ

1.สำนักเลขาธิการ (Secretariat) ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย

2.สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม (Training Department:TD) ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย

3.สำนักเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture Department:AQD) ตั้งอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์

4.สำนักงานฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์ประมง และการแปรรูปสัตว์น้ำ (Marine Fisheries Research Department:MFRD) ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์

5.สำนักงานฝ่ายพัฒนาและการจัดการทรัพยากรประมงทะเล (Marine Fishery Resources Development and Management Department:MFRDMD) ตั้งอยู่ที่ประเทศมาเลเชีย

ภูมิหลัง

ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นตามข้อตกลงระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการอันก่อให้เกิดการพัฒนาการประมงให้เจริญรุดหน้า เพื่อให้สามารถนำสัตว์ทะเลมาใช้เป็นอาหารได้เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางการประมงมาประยุกต์และเผยแพร่ต่อชาวประมงภายในภูมิภาค

SEAFDEC เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีหน้าที่หลักในด้านฝึกอบรม ศึกษากลวิธีการประมง ซึ่งเหมาะแก่การประมงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ประมงและทำการสำรวจแหล่งทำการประมง และค้นคว้าสมุทรศาสตร์การประมงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประมงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจัดส่งผลการศึกษาและการวิจัยให้แก่ประเทศสมาชิก

ปัจจุบันศูนย์ฯ มีสมาชิกรวม 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า สิงคโปร์ บรูไน และไทย

วัตถุประสงค์

-เพื่อพัฒนาการประมงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เจริญรุดหน้า เพื่อให้สามารถนำสัตว์ทะเลมาใช้เป็นอาหารได้เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงให้เกิดความยั่งยืน และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางการประมงมาประยุกต์และเผยแพร่ต่อชาวประมงภายในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ

กลไกการทำงานของ SEAFDEC

การบริหารงานของ SEAFDEC ประกอบด้วย

1.การประชุมคณะมนตรี (Council Director Meeting) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อร่วมกันพิจารณาวินิจฉัยแผนการปฏิบัติงาน โครงการประจำปีงบประมาณในการปฏิบัติงาน โดยประเทศสมาชิกเวียนเป็นเจ้าภาพ

2.การประชุมคณะกรรมการโครงการของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Program Committee Meeting : PCM) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยแต่ละประเทศสมาชิกจะส่งผู้ทำหน้าที่ National Coordinator และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านแผนงานและงบประมาณของประเทศตนเองเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้การประชุม PCM จะเกิดขึ้นก่อนการประชุม Council Director เพื่อประชุมหารือเตรียมการด้านงบประมาณการดำเนินโครงการของแต่ละปีก่อนนำเสนออย่างเป็นทางการในการประชุม Council Director

บทบาทของไทย

โดยเหตุที่ประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มเสนอโครงการก่อตั้งศูนย์ฯ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2509 ประเทศไทยจึงได้รับเกียรติให้เป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการและสำนักงานฝ่ายฝึกอบรม และให้ผู้แทนไทยทำหน้าที่เป็นเลขาธิการและผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรม มานับตั้งแต่แรกตั้งจนถึงปัจจุบัน เลขาธิการทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน และประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกและประเทศหรือองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทบาทของกรมประมง

1.กรมประมงได้มีส่วนใช้ประโยชน์ จากการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของ SEAFDEC อาทิ

-โครงการรวบรวมข้อมูลสำหรับการทำการประมงน้ำลึกอย่างยั่งยืนในทะเลจีนใต้

-โครงการสำรวจทรัพยากรทูน่า และ by-catch จากการทำประมงทูน่าในมหาสมุทรอินเดีย

-โครงการสารนิเทศและเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร

-โครงการจัดการประมงชายฝั่ง

-โครงการเทคโนโลยีการทำประมงอย่างรับผิดชอบ

2.นักวิชาการของไทยได้เข้าร่วมประชุม สัมมนา ดูงานและฝึกอบรมที่จัดโดย SEAFDEC ปีละไม่น้อยกว่า 50 รายการ

3.ชาวประมงของไทยได้รับบริการให้คำแนะนำ และเข้าร่วมรับการฝึกอบรมในหลายหลักสูตร อาทิ หลักสูตรการดูแลรักษาเครื่องยนต์สำหรับชาวประมง ปีละไม่น้อยกว่า 4 รุ่น

4. นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้เข้าร่วมฝึกอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการประมงทะเลและการจัดการประมงชายฝั่ง ปีละไม่น้อยกว่า 2 รุ่น รวมประมาณ 100 คน

การให้บริการของกรมประมงแก่ SEAFDEC

กรมประมงโดยกองประมงต่างประเทศได้ให้การบริการให้แก่ SEAFDEC ดังนี้

1.การบริการในการขยายเวลาพำนักให้แก่เจ้าหน้าที่ SEAFDEC รวมถึงครอบครัวกว่า 50 ราย

2.การขออนุมัติตัวบุคคล เพื่อร่วมประชุม ฝึกอบรมในและนอกประเทศ

3.จัดทำการอนุมัติตัวบุคคล การขอหนังสือเดินทาง การออกหนังสือนำในการตรวจลงตรา

4.แปล สรุปจดหมายจาก SEAFDEC ถึงกรมประมง

5.จัดทำเอกสารการขอยกเว้นภาษีครุภัณฑ์ และวัสดุนำเข้าเพื่อกิจกรรมของ SEAFDEC

6.จัดทำเอกสารต่อทะเบียนและใบอนุญาตรถยนต์/เรือของ SEAFDEC

7.จัดทำเอกสารขอความเห็นชอบการจำหน่ายรถ และอุปกรณ์ของ SEAFDEC

8.จัดเอกสารแจ้งสถานทูตเพื่อขอให้เรือ SEAFDEC ผ่านน่านน้ำ

9.ประสานงานกับหน่วยงานของ SEAFDEC ในประเทศต่างๆ กรณีที่ต้นเรื่องไม่ได้ผ่านทางสำนักงานเลขาธิการ SEAFDEC

การประมงน้ำเค็มมีอะไรบ้าง

การทำประมงน้ำเค็ม หรือการทำประมงทะเล หมายถึง การจับกุ้งทะเล ปลา และปลาหมึก ตลอดจนการเลี้ยงหอยทะเลต่างๆเช่น การเลี้ยงหอยแมลงภู่ การเลี้ยงหอยนางรม เป็นต้น การทำประมงน้ำกร่อย หมายถึง การทำประมงในบริเวณเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่น้ำเค็ม และน้ำจืด เช่น การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง การเลี้ยงปลานวลจันทร์เป็นต้น

แหล่งประมงน้ําเค็มที่สําคัญของโลก อยู่บริเวณใด

บ 2. แหล่งประมงน้ำเค็ม เป็นการประมงตั้งแต่เขตชายฝั่งทะเล ผ่านเขตน้ำตื้นชาย ฝั่งทวีป ลาดทวีป และท้องทะเลลึก ที่สำคัญมี 4 แหล่งคือ อ่าวไทย ทะเลอันดามัน ทะเลจีน ใต้ และอ่าวเบงกอล 1. อ่าวไทย ลักษณะอ่าวไทยรูปตัว ก. นี้มีพื้นที่เชื่อมต่อตอนใต้ของทะเลจีนใต้

งานประมงมีอะไรบ้าง

1. จับปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในแหล่งน้ำด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น อวน แห 2. เลี้ยงและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อการบริโภค 3. แปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปลาตากแห้ง 4. ขายผลิตภัณฑ์ประมงให้กับผู้ค้ารายย่อยและโรงงาน เพื่อการบริโภค

แหล่งการประมงน้ำจืดที่สำคัญในภาคกลางคือข้อใด

บึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ในภาคกลางของประเทศ จึงจัดได้ว่าเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าวิจัยที่สำคัญ ซึ่งผลจากงานวิจัยที่ได้ ทำให้ทราบถึงชนิดและปริมาณของประชากรปลา, ชนิดและปริมาณของแพลงค์ตอนและสัตว์หน้าดิน, ชนิดและการแพร่กระจายของพันธุ์ไม้น้ำ, อุปนิสัยการกินอาหารของปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจ, ...