การเป็นผู้นำที่ดีสอดคล้องกับหลักธรรมข้อใด

คำว่า ผู้นำ เป็นการมองเน้นที่ตัวบุคคล มักจะได้ยินคำพูดที่ใช้เรียกแทนผู้นำไปในทิศทางที่ต่างกันและมีขอบเขตที่กว้างขวางตามทัศนะของผู้พบเห็น เพื่อความเข้าใจความหมายเกี่ยวกับผู้นำให้ชัดเจน นักวิชาการได้ให้นิยามความหมายไว้หลายท่านพอสังเขป ดังต่อไปนี้

คุณลักษณะผู้นำ หมายถึงองค์ประกอบทั้งภายนอกและภายในที่ผู้นำควรมี เช่นองค์ประกอบภายนอก เช่น บุคลิกภาพที่แสดงออก องค์ประกอบภายใน เช่น การมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

บทบาทผู้นำ หมายถึง สิ่งที่ผู้นำแสดงออกมาในการบริหาร และการจัดการต่างๆ ภายในองค์กรเพื่อให้องค์กรปฏิบัติภารกิจได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงภาวะผู้นำไว้ในหนังสือเรื่อง ภาวะผู้นำ :ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศสรุปว่า ภาวะผู้นำ ก็คือ คุณสมบัติ เช่น สติปัญญาความดีงาม ความรู้ ความสามารถของบุคคล ที่ชักนำให้คนทั้งหลายมาประสานกันและพากันไปสู่จุดหมายที่ดีงามและกล่าวถึงลักษณะผู้นำไว้ ๓ ข้อ คือ มองกว้าง คิดไกล และใฝ่สูง

ผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนา (มองมุมใหม่)

หลักธรรมคำสั่งสอนตามหลักพระพุทธศาสนานั้นเป็นสิ่งที่ทันสมัย เป็นวิทยาศาสตร์ และสามารถนำมาปรับใช้ได้กับการดำรงชีวิต และการทำงานในปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องของภาวะผู้นำหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เกี่ยวข้องกับผู้นำที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

หลักผู้นำจากพระพุทธศาสนาประการแรก คือ บทบาทของผู้นำกับการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะจากปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ ผู้นำขององค์กร ต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยผู้บริหารต้องใช้หลักกัลยาณมิตรธรรมหรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ วัตตา หรือเป็นผู้รู้จักพูด โดยการที่จะเป็นนักพูดที่ดีนั้นต้องพูดให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจได้ พูดให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ หรือพูดให้ผู้อื่นช่วยกันสร้างสรรค์ประโยชน์ ไม่ใช่การพูดเพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ลักษณะของนักสื่อสาร หรือนักพูดที่ดีไว้๔ ประการด้วยกัน ได้แก่ พูดแจ่มแจ้ง(อธิบายให้เข้าใจได้ชัดเจน) พูดจูงใจ(พูดจนคนยอมรับและอยากจะลงมือทำ) พูดเร้าใจ(พูดให้เกิดความคึกคัก กระตือรือร้น) และพูดให้ร่าเริง(พูดให้เกิดความร่าเริง มีความหวัง ในผลดีและทางที่จะสำเร็จ) การเป็นผู้รู้จักพูดตามหลักการข้างต้น สามารถนำมาปรับใช้กับการพูดเนื่องในโอกาสต่าง ๆ ไม่จำเป็นแต่ต้องเป็นการพูดของผู้นำเท่านั้น แม้กระทั่งครูบาอาจารย์ที่สอนหนังสือเอง ก็ต้องรู้จักพูดให้แจ่มแจ้ง จูงใจ เร้าใจ และ ร่าเริง เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความเข้าใจ กระตือรือร้น และสนใจที่จะเรียนหนังสือ สำหรับตัวผู้นำ นอกเหนือจากการรู้จักที่จะพูดแล้วยังต้องรู้จักที่จะฟังด้วย โดยท่านใช้คำว่า วจนักขโม แปลว่าควรทนหรือฟังต่อถ้อยคำของคนอื่นด้วย ไม่ใช่ว่าเอาแต่พูดแก่เขาอย่างเดียวโดยไม่ยอมรับฟังใคร ซึ่งการเป็นผู้ฟังที่ดีนั้น ถือเป็นสิ่งที่ยากและท้าทายสำหรับผู้นำหลาย ๆ ท่าน เนื่องจากผู้นำจำนวนมากมักจะชอบพูดมากกว่าฟัง โดยเฉพาะการรับฟังจากผู้ที่ตํ่ากว่าหรือเป็นลูกน้อง นอกจากนี้ ยังมีหลักธรรมว่าไว้ว่า คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา แปลว่ารู้จักแถลงเรื่องราวต่าง ๆ ที่ลึกซึ้ง โดยประเด็นหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่สำคัญ ก็ต้องสามารถอธิบาย ทำให้ผู้ที่ร่วมงานมีความเข้าใจ

ผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาประการแรก คือ บทบาทของผู้นำกับการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะจากปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ ทำให้ผู้นำขององค์กรต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยภายใต้หลักกัลยาณมิตรธรรมหรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการนั้นมีอยู่ข้อหนึ่ง คือ วัตตา หรือเป็นผู้รักจักพูด โดยการที่จะเป็นนักพูดที่ดีนั้นต้องพูดให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจได้ พูดให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ หรือพูดให้ผู้อื่นช่วยกันสร้างสรรค์ประโยชน์ ไม่ใช่การพูดเพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ลักษณะของนักสื่อสาร หรือนักพูดที่ดีไว้ ๔ ประการด้วยกัน ได้แก่ พูดแจ่มแจ้ง (อธิบายให้เข้าใจได้ชัดเจน) พูดจูงใจ (พูดจนคนยอมรับและอยากจะลงมือทำ) พูดเร้าใจ (พูดให้เกิดความคึกคัก กระตือรือร้น) และพูดให้ร่าเริง (พูดให้เกิดความร่าเริง มีความหวัง ในผลดีและทางที่จะสำเร็จ)

หลักผู้นำจากพระพุทธศาสนาประการที่สอง คือหลักพรหมวิหาร ๔ประการ ซึ่งถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ผู้บริหารจะต้องมีอยู่ประจำในจิตใจ เพื่อนำไปสู่การแสดงออกที่ดีและเหมาะสม สำหรับตัวผู้นำ ถ้าสามารถแสดงออกได้อย่างดีและเหมาะสมแล้ว ก็จะนำไปสู่ศรัทธาจากบุคคล ต่าง ๆ ในองค์กร และทำให้สามารถนำพาทุกคนไปในทิศทางเดียวกันได้ พรหมวิหาร ๔นั้นประกอบด้วย เมตตา ความเป็นมิตรไมตรีต่อผู้อื่น มีนํ้าใจ ปรารถนาดีต่อผู้อื่น กรุณา คือ ความต้องการช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อน โดยเมื่อผู้อื่นมีทุกข์นั้นผู้นำจะต้องมีกรุณา ช่วยบำบัดทุกข์ให้ มุทิตา คือ เมื่อพนักงาน เพื่อนร่วมงานมีความสุข ความสำเร็จมากขึ้น ผู้นำก็จะต้องพลอยยินดี ช่วยส่งเสริมสนับสนุน และสุดท้าย คือ อุเบกขา คือ การรักษาความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง หลักพรหมวิหารสี่นั้นเป็นสิ่งที่ผู้นำควรจะยึดเป็นหลักธรรมในการบริหารงานเป็นระจำวันทั่วไป โดยเฉพาะกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ กับองค์กร โดยเมื่อบุคคลอื่นมีปัญหา มีทุกข์ เดือดร้อน ผู้นำก็ต้องมีความกรุณาที่จะแก้ไขปัญหา ในขณะเดียวกัน เมื่อบุคคลอื่นประสบความสำเร็จ มีความสุข ก็ต้องมีมุทิตา ที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุน และยินดีในความสำเร็จของผู้อื่น ในช่วงสถานการณ์ปกตินั้นก็ต้องคอยดูแล เอาใจใส่ให้บุคคลต่าง ๆ ในองค์กรมีความสุขในการทำงาน และสุดท้าย ในการบริหารงานทุกอย่างผู้นำจะต้องมีและสามารถรักษาความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งหลักของอุเบกขานั้นจะคุมเมตตา กรุณา มุทิตา ไว้อีกด้วย โดยการปฏิบัติหรือช่วยเหลือผู้อื่นนั้น ก็จะต้องมีความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ปัจจุบันเรารับอิทธิพลในแนวคิดทางด้านการบริหารจากโลกตะวันตกมามากขึ้น ทำให้เรามักจะละเลยการนำหลักธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปรับใช้กับการนำองค์กรของเรา แต่จริง ๆ แล้ว การนำหลักธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปรับใช้กับการบริหารองค์กรนั้น น่าจะเหมาะกับบริบทของประเทศไทยมากกว่าการนำหลักของตะวันตกมาใช้แต่เพียงอย่างเดียว

คุณลักษณะของผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนา

หากพิจารณาถึงสังคมของประเทศไทยพระพุทธศาสนาถือเป็นศาสนาหลักประจำชาติ การนำเอาหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ก็น่าจะเอื้อกับวัฒนธรรมไทยไม่มากก็น้อย การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ก็เพื่อการเป็นผู้นำที่ดีและคำสั่งสอนที่สำคัญๆของพระพุทธองค์ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของผู้นำที่ดีหรือวิถีทางของการที่จะเป็นผู้นำที่ดีเพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทางที่จะนำไปปฏิบัติได้แก่ ทศพิธราชธรรม ๑o ประการ, อธิษฐานธรรม ๔, พรหมวิหารธรรม ๔, อคติ ๔, คหิสุข ๔,สังคหะวัตถุ ๔, ขันติโสรัจจะ หิริโอตัปปะ, อิทธิบาท ๔, เวสารัธชกรณะ ๕,ยุติธรรม ๕, อปริหานิยธรรม ๗,นาถกรณธรรม ๑o, กัลยาณมิตรธรรม ๗ และบารมี ๑o ประการ(ทศบารมี) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารและจัดการสมัยใหม่ได้

ทศพิธราชธรรม ๑o ประการ

๑.ทาน มีจิตในเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักแบ่งปัน คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองต้องไม่มีความอยากและความติดยึดในความมั่งคั่งและทรัพย์สมบัติ แต่จักต้องจำหน่ายจ่ายแจกความมั่งคั่งและทรัพย์สมบัตินั้นเพื่อความกินดีอยู่ของประชาชน ข้อนี้ก็ยังมีหมายถึงการจัดสรรค่านิยมทางสังคมอย่างยุติธรรม อันจะส่งผลให้เกิดการกระจายความมั่งคั่งไปทั่วทั้งทุกภาคส่วนของสังคม

๒. ศีล มีลักษณะทางศีลธรรมที่สูง คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองอย่างน้อยต้องรักษาศีล ๕ ให้ได้ กล่าวคือ

๑.เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

๒. เว้นจากการถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้

๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๔. เว้นจากการพูดปด

๕. เว้นจากการเสพเครื่องดองของเมา

๓.ปริจจาคะ การเสียสละได้ทุกสิ่ง เพื่อความดีของประชาชน คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองจักต้องเตรียมตัวที่จะเสียสละความสะดวกสบาย เสียสละชื่อเสียง เกียรติภูมิส่วนตนทุกสิ่งทุกอย่าง และแม้กระทั่งยอมเสียชีวิตเพื่อผลประโยชน์และความสุขของประชาชน

๔. อาชชวะ มีความเชื่อตรงดำรงสัตย์ คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองจักต้องปลอดพ้นจากกลัวหรืออคติใดๆในการปฏิบัติหน้าที่การงาน จักต้องมีความจริงใจในการทำงาน และจักต้องไม่หลอกลวงประชาชน

๕. มัททวะ มีความกรุณาและความสุภาพ คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองจักต้องมีความอ่อนโยนละมุนละไม ไม่ทำตัวกระด้าง แสดงตนออกมาในทางกร่างวางกล้ามจนถึงน่าเกลียด

๖. ตปะ มีความแผดเผาจิตใจให้คลายจากความชั่ว คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองจักต้องนำเดินชีวิตแบบง่ายๆ จักต้องไม่ดำเนินชีวิตแบบฟุ้งเฟ้อ จักต้องรู้จักควบคุมตนเองในเรื่องนี้ให้ได้

๗.อักโกธะ ไม่โกรธ ไม่ประสงค์ร้าย ไม่เป็นปฏิปักษ์ คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองจักต้องไม่โกรธแค้น ไม่อาฆาตมาตรร้ายต่อผู้ใด

๘. อวิหิงสา การไม่ใช้ความรุนแรง คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองจะต้องไม่เพียงแต่จะไม่ทำร้ายผู้อื่นเท่านั้น แต่จักต้องพยายามส่งเสริมสันติภาพด้วยการงดเว้นการใช้สงครามเป็นเครื่องมือในนโยบายต่างประเทศและป้องกันมิให้เกิดสงคราม ตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงและการทำลายล้างชีวิต

๙. ขันติ ความอดทน ความอดกลั้น ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองจะต้องมีความอดทนต่อความยากลำบากและรวมไปถึงการคำพูดด่าว่าแดกดันที่ออกมาจากปากของผู้อื่นให้ได้

๑o. อวิโนธนะ ความไม่ขัดขวาง ความไม่เป็นอุปสรรค คือ ผู้นำหรือผู้ปกครองจักต้องไม่ขัดขวางเจตจำนงของประชาชน จักต้องไม่ขัดขวางมาตรการใดๆอันจะนำไปสู่สวัสดิภาพของประชาชน กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือจักต้องปกครองโดยสอดประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประชาชนเท่านั้นหากประเทศชาติใดมีผู้นำหรือผู้ปกครองที่ปฏิบัติตามหลักทศราชธรรม หรือ ทศพิธราชธรรมข้างต้น ก็เป็นที่หวังได้ว่าประเทศชาติบ้านเมืองนั้นก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข หลักการที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อเลื่อนลอย เพราะในอดีตก็เคยมีกษัตริย์หรือผู้นำหลายพระองค์/หลายคนที่สามารถปฏิบัติตามธรรมะนี้ได้สำเร็จ อย่างเช่น พระเจ้าอโศกซึ่งได้ทรงสถาปนาอาณาจักรของพระองค์ในประเทศอินเดียบนหลักการของทศพิธราชธรรมนี้

สรุปผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา หมายถึงความเป็นผู้นำ หรือ คุณสมบัติตลอดจนความสามารถของผู้นำในการนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้เพื่อการเป็นผู้นำที่ดี มีความสามารถชักนำคนทั้งหลายให้ประสานกันและนำพาไปสู่จุดมุ่งหมายที่ดีงามและยั่งยืนได้

คุณลักษณะของผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนาหากพิจารณาถึงสังคมของประเทศไทย
พระพุทธศาสนาถือเป็นศาสนาหลักประจำชาติ
การนำเอาหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ก็น่าจะเอื้อกับวัฒนธรรมไทยไม่มากก็น้อย
การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ก็เพื่อการเป็นผู้นำที่ดี
และคำสั่งสอนที่สำคัญๆของพระพุทธองค์ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของผู้นำที่ดี
หรือวิถีทางของการที่จะเป็นผู้นำที่ดีเพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทางที่จะนำไปปฏิบัติ
ได้แก่ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ, อธิษฐานธรรม 4, พรหมวิหารธรรม 4, อคติ 4, คหิสุข 4,
สังคหะวัตถุ 4, ขันติโสรัจจะ หิริโอตัปปะ, อิทธิบาท 4, เวสารัธชกรณะ 5,
ยุติธรรม 5, อปริหานิยธรรม 7,
นาถกรณธรรม 10, กัลยาณมิตรธรรม 7 และบารมี 10 ประการ
(ทศบารมี) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารและจัดการสมัยใหม่ได้ (ที่มา : http://www.rin.ac.th/article)
ตัวอย่างเพียงบางหลักธรรมมาอธิบาย ดังนี้อคติ 4 (Prejudice)
คือ ความเอนเอียงแห่งอารมณ์ ผุดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง และช่องว่างในสังคม มี
4 ประการ 1. ฉันทาคติ (prejudice caused by love or desire) ลำเอียงโดยสนับสนุนพรรคพวกที่ชอบพอ
หรือผู้จ่ายสินจ้างแก่ตน 2.โทสาคติ (prejudice caused by hatred or enmity) ลำเอียงเข้าข้างหรือลงโทษฝ่ายที่ตนเกลียดชังให้หนักกว่าฝ่ายที่ตนชอบพอ
3.โมหาคติ (prejudice caused by delusion or stupidity)
ลำเอียงเสียความยุติธรรมเพราะโฉดเขลา ไม่รู้ทันเหตุการณ์ที่แท้จริง 4.ภยาคติ (prejudice
caused by fear)
ขาดดุลย์ยอมร่วมด้วยเพราะเกรงอำนาจอิทธิพลหรือกลัวจะขาดผลประโยชน์

17สังคหวัตถุ 4 (Base of sympathy) ธรรมเพื่อให้คน เป็นที่รักของคนทั่วไป ซึ่งได้แก่ 1.ทาน (giving
offering) คือการให้ เสียสละ แบ่งปันแก่ผู้อื่น เช่น การให้รางวัล
สวัสดิการที่ดี เป็นต้น 2.ปิยวาจา (Kindly speech) คือ
พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ นุ่มนวล เหมาะแก่บุคคล เวลา สถานที่
พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดในทางสร้างสรรค์ และเกิดกำลังใจ เช่น การควบคุม
การจูงใจ เป็นต้น 3.อัตถจริยา (useful conduct)
ทำตนให้เป็นประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญา ความรู้ความสามารถ กำลังทรัพย์ และเวลา เช่น
การพัฒนาคน การบริหารงานตามวัตถุประสงค์ เป็นต้น 4. สมานัตตตา (even and
equal treatment) คือทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย วางตนเหมาะสมกับ ฐานะ
ตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุข เช่น การสื่อสาร
การมอบอำนาจ เป็นต้น หลักธรรมทั้งหลายนี้หากผู้นำและบุคคลใดนำไปปฏิบัติก็จะเกิดความมั่นคงและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
เป็นที่รักและเคารพของผู้อื่น ผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุคโลกาภิวัตน์

ตัวอย่างเกียรติบัตร

การเป็นผู้นำที่ดีสอดคล้องกับหลักธรรมข้อใด

กดทำแบบทดสอบ ที่นี้


ที่มา

โดย นาย วรุตม์ สุนนทราช
https://www.gotoknow.org/posts/456973

โดย นายศิริพงษ์ ขำแก้ว ชั้นปีที่ ๔ เลขที่ ๙
https://www.gotoknow.org/posts/640318

เมนูนำทาง เรื่อง

แบบประเมินความรู้ หัวข้อ การศึกษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อนำไปประยุกต์ให้ใช้ได้จริง

การเป็นผู้นำที่ดีสอดคล้องกับหลักธรรมใด

นอกจาก ทศพิธราชธรรม 10 อคติ 4 และพรหมวิหาร 4 แล้ว ยังมีหลักธรรมของผู้นำอื่นๆเช่น สัปปุริสธรรม 7 ราชสังคหวัตถุ 4 เป็นต้น รวมถึงสติสัมปชัญญะ และหิริโอตตัปปะ ที่ผู้นำจะขาดไม่ได้ ไม่อย่างนั้นจะเป็นผู้นำที่ดีไม่ได้

คุณธรรมของผู้นำที่ดีคืออะไร

คุณธรรมสำหรับผู้นำ.
ทานคือการให้ ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของ ช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะด้วย.
ถือมั่นในศีลได้แก่ มั่นความประพฤติดีงาม เช่น การสำรวมกาย วาจา โดยมีกรอบคือสุจริตเป็นแนวปฏิบัติเพื่อรักษาเกียรติคุณของผู้นำ และผู้นำควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา.

ธรรมะของนักปกครองที่ควรยึดถือปฏิบัติ คือข้อใด

เมตตา คือ การเห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา กรุณา คือ การช่วยเหลือ มุทิตา คือ รู้สึกยินดีหรือดีใจ และ อุเบกขา คือ การวางเฉยกับปัญหาที่เล็กน้อย หลักธรรมแห่งความเป็นจริง "อริยสัจ 4" ทุกข์คือ ปัญหาที่เกิด สมุหทัย คือ สาเหตุแห่งปัญหา นิโรธ คือ การดับปัญหา และมรรค คือ การแก้ไข ปัญหา

หลักธรรมมีอะไรบ้าง

ธรรมะ 4 ประการนั้น ก็มีสัจจะ - ความจริงใจ มีทมะ - การบังคับตัวเอง ขันติ - ความ อดกลั้น อดทน จาคะ - บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน ก็เรียกว่า มีฆราวาสธรรมที่สมบูรณ์ จะเป็น เด็กก็ดี ผู้ใหญ่ก็ดี ผู้หญิงก็ดี ผู้ชายก็ดี คนหนุ่ม คนสาว คนแก่ คนเฒ่าก็ดี เป็นฆราวาสก็ดี เป็นพระเจ้า พระสงฆ์ก็ดี ล้วนแต่อาศัยธรรมะทั้ง 4 อย่างนี้ ...