เครื่องดนตรีชนิดใดที่มีการบรรเลงคล้ายเปียโน

เครื่องดนตรีชนิดใดที่มีการบรรเลงคล้ายเปียโน

ดนตรีไทย
จากการสันนิษฐานของท่านผู้รู้ทางด้าน ดนตรีไทย โดยการพิจารณาหาเหตุผล เกี่ยวกับกำเนิด 
หรือที่มาของ ดนตรีไทย ก็ได้มีผู้เสนอแนวทัศนะในเรื่องนี้ไว้ 2 ทัศนะ ที่แตกต่างกันคือ 
         ทัศนะที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดีย 
เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่าง ๆ ของอินเดีย
ได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก 
ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจน ศิลปะ แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี ปรากฎรูปร่างลักษณะ เครื่องดนตรี ของประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย 
มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากประเทศเหล่านั้นต่างก็
ยึดแบบฉบับดนตรี ของอินเดีย เป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้
ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ
เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า

ทัศนะที่ 2 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย เกิดจากความคิด และ สติปัญญา ของคนไทย
 เกิดขึ้นมาพร้อมกับคนไทย ตั้งแต่ สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนแล้ว 
ทั้งนี้เนื่องจาก ดนตรี เป็นมรดกของมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มี ดนตรี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของตนด้วยกันทั้งนั้น 
ถึงแม้ว่าในภายหลัง จะมีการรับเอาแบบอย่าง ดนตรี ของต่างชาติเข้ามาก็ตาม แต่ก็เป็น การนำเข้ามาปรับปรุง 
เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับลักษณะและนิสัยทางดนตรีของคนในชาตินั้น ๆ 
ไทยเราตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้
ของประเทศจีน ก็คงจะมี ดนตรี ของเราเองเกิดขึ้นแล้ว เช่น เกราะ, โกร่ง, กรับฉาบ, ฉิ่งปี่, ขลุ่ย ฆ้อง, กลอง


เครื่องดีด เช่น
พิณน้ำเต้า ป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดที่มีสายเดียวชนิดนี้เข้าใจว่าชาวอินเดียนำมาแพร่หลายอยู่ในดินแดนแหลมอินโดจีก่อนแล้วขอมโบราณหรือเขมรรับช่วงไว้ก่อนที่ชาวไทยจะอพยพลงมาถึงที่เรียกพิณน้ำเต้าก็เพราะนำผลเปลือกน้ำเต้ามาทำเป็นกระพุ้ง
• พิณเพี๊ยะ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดที่เก่าแก่ของชาวลานนา ( เหนือ ) มีสายตั้งแต่ 2 สาย ถึง 7 สาย เดิมใช้เป็นเครื่องดีดสำหรับแอ่วสาว นิยมดีดเพลงที่มีทำนองช้าๆ เช่น เพลงปราสาทไหว 
กระจับปี่  แต่เดิมคงใช้ดีดเล่นเป็นสามัญเช่นเดียวกับพิณเพี๊ยะและเครื่องดนตรีอื่นๆ ในกฏมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงกระจับปี่ไว้ตอนหนึ่งว่า " ร้องเพลงเรือ เป่าปี่ เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ ตีโทนทับโห่ร้องนี่นั่น" ต่อมาพบว่านำไปดีดร่วมกับวงขับไม้เรียกชื่อวงภายหลังว่า "วงมโหรีเครื่องสี่และวงมโหรีเครื่องหก"

เครื่องสี เช่น 
• ซอด้วง เดิมเป็นเครื่องดนตรีของจีน ร่วมบรรเลงในวงเครื่องสายเมื่อราวต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หรือถ้าก่อนนั้นก็คงราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมกันกับซออู้ มีหน้าที่เป็นผู้ทำทำนองเพลง สีเก็บถี่ๆบ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง และเป็นผู้นำวง ด้วยเหตุที่เรียก "ซอด้วง" ก็เพราะว่ากะโหลกซอนั้น มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ด้วงดักแย้"
• ซออู้ เป็นเครื่องสีอีกประเภทหนึ่งที่เป็นคู่มากับซอด้วง เข้าใจว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ชนชาติจีนเล่นมาก่อนมารวมเล่นเป็นวงเครื่องสายในระยะเดียวกับซอด้วง มีหน้าที่สีดำเนินทำนองเพลงในลักษณะหยอกยั่วเย้าไปกับผู้ทำทำนองเพลงบางครั้งใช้สีคลอไปกับร้อง ด้วยภายหลังเมื่อมีวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์และวงปี่พาทย์ไม้นวม จึงได้นำซออู้เข้ามาบรรเลงร่วมด้วย 
• ซอสามสาย  เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่เก่ามาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยมีวิธีการประดิษฐ์ลักษณะของซอได้อย่างปราณีต สวยงาม มีเสียงไพเราะนุ่มนวล เดิมใช้เป็นเครื่องประกอบในพระราชพิธีโดยเฉพาะในวงขับไม้ “ ซึ่งใช้บรรเลงขับกล่อมในพระราชพิธี กล่อมพระอู่ หรือพระราชพิธีกล่อมช้าง


เครื่องตี เช่น 
 กรับคู่ กรับ ทำด้วยไม้ไผ่ซีก เหลาให้เรียบและเกลี้ยงเกลา เพื่อมิให้ผิวและเสี้ยนบาดและตำมือ รูปร่างแบนตามซีกไม้ ไผ่และหนาตามขนาดของเนื้อไม่ เช่นหนาสัก ๑.๕ ซม. กว้างสัก ๓-๔ ซม. และตามยาวประมาณ ๔๐ ซม. ทำเป็น ๒ อัน หรือคู่ ใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบ เกิดเสียงได้ยินเป็น"กรับ-กรับ-กรับ"
• ระนาดเอกทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่คิดสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์เลียนแบบ ระนาดเอก แต่ลูกระนาดก็คงทำด้วยไม้ชนิดเดียวกับระนาดเอก เป็นแต่เหลาลูกระนาด ให้มีขนาด กว้างและยาวกว่าลูกระนาดเอก และประดิษฐ์รางให้มีรูปร่างต่างจากราง ระนาด คือมีรูปคล้ายหีบไม้ แต่เว้ากลางเป็นทางโค้งมี"โขน"ปิดทางด้านหัวและด้านท้าย
• ระนาดเอก มีวิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมก็คงใช้ไม้กรับ ๒ อันตีเป็นจังหวะแล้วต่อมาเกิดความรู้เอาไม้มาทำอย่างกรับหลายๆอัน วางเรียงตีให้เกิดเสียงหยาบๆขึ้นก่อนแล้วคิดทำไม้ รองรับเป็นรางวางเรียงราดไป เมื่อเกิดความรู้ความชำนาญขึ้นก็แก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน

เครื่องเป่า เช่น
 ปี่ชวา เป็นเครื่องเป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีลิ้น ซึ่งนำแบบอย่างมาจากชวา เข้าใจว่าเข้ามา เมืองไทยในคราวเดียวกับกลองแขก โดยเฉพาะในการเป่าเพลงประกอบการรำ " กริช "ในเพลง " สะระหม่า" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 
• แคน เครื่องเป่าพื้นเมืองของชาวอีสานเหนือที่ใช้ไม้ซาขนาดต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน แคนเป็นสัญลักษณ์ของภาคอีสาน เป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร 
• ขลุ่ยเพียงออ เป็นขลุ่ยที่มีเสียงปานกลางมีขนาดกลาง ใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ ไม้นวม และวงปี่พาทย์ ดึกดำบรรพ์เป็นเครื่อง
ดนตรีที่น่าส่งเสริมให้ฝึกหัดกันมากๆ


เครื่องดนตรีชนิดใดที่มีการบรรเลงคล้ายเปียโน

ดนตรีสากล
 ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล
การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มี
รูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่  วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม  ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป  เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน  
  เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบันสามารถจำแนกหรือจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ
 ตามลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกัน และลักษณะของเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
เครื่องสาย  เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง เครื่องลิ่มนิ้ว  เครื่องกระทบ

เครื่องสาย เช่น 
• ไวโอลิน (Violin) เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นท่วงทำนอง ประกอบด้วยสาย 4 สาย แต่ละสายเทียบเสียงห่างกันคู่ 5 เพอร์เฟค คือ เสียง G-D-A-E
• วิโอลา (Viola) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินทุกประการ แต่มีขนาดใหญ่กว่าไวโอลิน ตั้งเสียงต่ำกว่าไวโอลินลงไปอีกคู่ 5 เพอร์เฟค คือ C-G-D-A มีเสียงทุ้มและนุ่มนวลกว่าไวโอลิน
• เชลโล (Cello) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินและวิโอลา แต่มีขนาดโตกว่ามาก ขณะเล่นต้องนั่งเก้าอี้ เอาเครื่องไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง เสียงต่ำกว่าวิโอลา 1 ช่วงคู่ 8 คือ C-G-D-A

เครื่องลมไม้ เช่น
• ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) เป็นเครื่องเป่าดนตรีสากลจัดอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมไม้ชนิดไม่มีลิ้น เป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็ก โครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน
• ฟลูต (Flute) เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่คิดใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่า ให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูตเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง มีความยาว 26 นิ้วมีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางจนถึง C สูงขึ้นไปอีก 3 ออคเทฟ เสียงแจ่มใสจึงเหมาะสำหรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนองใช้เลียนเสียงนกเล็ก ๆ ได้ดี
•  คลาริเนต (Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดาเครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภท และเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส


เครื่องลมทองเหลือง เช่น
• ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง(แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์
• ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน
•  ซูซ่าโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องลมทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับทูบา  ลักษณะของเสียงจะต่ำทุ้มลึก เหมาะที่จะบรรเลงในแนวเสียงเบสมากกว่าแนวอื่น   ชื่อซูซ่าโฟน  ตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติกับ  จอห์น ฟิลิป ซูซ่า (John Philip Sousa) นักประพันธ์เพลงผู้ควบคุมวงดนตรีที่มีชื่อเสียงของอเมริกา

เครื่องลิ่มนิ้ว เช่น
• เปียโน(piano) เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต(pianoforte)-ออกเสียงว่า (ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า “เบาดัง” มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์
• แอคคอร์เดียน (Accordion) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วเช่นเดียวกับเปียโนเสียงของ แอคคอร์เดียนเกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่องอันเนื่องมาจากการเล่น ผ่านเข้า – ออกของลมซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้า – ออก
 คลาวิคอร์ด (clavichord) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายเปียโน เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (Keybroad instruments) ในยุคแรก ๆ ประเภทเกิดเสียงได้ จากการดีดโดยมีสายเสียงที่ขึงไปตามส่วนรูปของกล่องไม้สี่เหลี่ยม

เครื่องกระทบ เช่น
• ไซโลโฟน (Xylophone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ(Percussion Instruments) ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมาริมบา หรือไวบราโฟน แต่ไวบราโฟนทำจากโลหะ และมีขนาดใหญ่กว่าไซโลโฟน ลูกระนาดของไซโลโฟนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น โร้สวูด เป็นต้น จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกน ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา และเอเชีย
 ไวบราโฟน (Vibraphone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดโลหะขนาดใหญ่ ลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไซโลโฟน  ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะเพื่อเป็นตัวขยายเสียง มีแกนใบพัดเล็กๆ ประจำอยู่แต่ละท่อ  ใช้ระบบมอร์เตอร์หมุนใบพัดทำให้เกิดคลื่นเสียงสั่นรัว ดังก้องกังวาลอย่างต่อเนื่อง
• มาริมบา(Marimba) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) ลักษณะเหมือนกับระนาดไม้ขนาดใหญ่  ลูกระนาดทำด้วยไม้พิเศษที่มีชื่อว่า “rosewood”  ใต้ลูกระนาดจะมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง