Mac เป็น ซอฟต์แวร์ประเภทใด

หัวใจสำคัญของ Mac ทุกเครื่องก็คือ macOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ทั้งทรงพลัง สวยงาม และใช้ง่าย ทั้งยังออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับ Apple Silicon เรียกได้ว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่มากความสามารถที่สุดเท่าที่เราเคยมีมา และยังทำงานบนฮาร์ดแวร์ที่ล้ำหน้าที่สุดของเราด้วย

อุปกรณ์ไอทีทุกชิ้น ล้วนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งควรเลือกใช้ให้เหมาะกับรูปแบบของการทำงานด้วย เพื่อให้การใช้งานนั้นคุ้มค่า และสร้างผลลัพธ์ที่ดี และเหมาะสมที่สุด

ซึ่งระบบภายในของอุปกรณ์ไอที อย่าง PC หรือ MAC คือระบบปฏิบัติการ โดยมีหลักๆ 2 ระบบ นั่นก็คือ ระบบ macOS และ ระบบ Window ซึ่งแบ่งแยกรูปแบบของคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน หากระบบภายในดี จะส่งผลให้อุปกรณ์นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วเคยสงสัยไหมคะ ว่าจริงๆแล้ว ระบบปฏิบัติการทั้ง 2 นี้ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แล้วอะไรที่ดี และคุ้มค่ากว่ากันแน่ ?

ระบบปฏิบัติการ macOS

ระบบ macOS คือ ระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Apple สำหรับใช้งานบนคอมพิวเตอร์ตระกูล MAC เช่น iMac, MacBook ระบบปฏิบัติการนี้ มีพื้นฐานมาจากระบบ UNIX จึงได้รับความน่าเชื่อถือในเรื่องของความเสถียรและความมั่นคงปลอดภัย 

ระบบปฏิบัติการ Windows

ระบบ Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows)

ความเหมือน และแตกต่าง ระหว่าง ระบบ macOS และ ระบบ Windows

  1. ประสิทธิภาพในการใช้งาน

ระบบ macOS: จะมีความเสถียรในเรื่องคุณภาพการทำงานที่ดี ภาพคมชัด เสียงสมจริง

ระบบ Windows: โดดเด่นเรื่องการใช้งานง่าย โปรแกรมสนับสนุนเยอะกว่า 

  1. การใช้งานของโปรแกรม

ระบบ macOS: หากเป็นโปรแกรมพิมพ์งานเอกสาร ระบบ macOS จะใช้โปรแกรม iWork ที่จะมีทั้ง Page ใช้พิมพ์เอกสาร, Number สำหรับใส่แผนภูมิและตาราง หรือ Keynote เป็นโปรแกรมนำเสนอผลงาน

ระบบ Windows: หากเป็นโปรแกรมพิมพ์งานเอกสาร จะใช้โปรแกรม Microsoft Word, นำเสนองานโดย Microsoft Powerpoint และนำข้อมูลใส่ตารางโดย Microsoft Excel

*ซึ่งทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการ จะมีโปรแกรมที่ใช้งานได้เหมือนกัน แต่วิธีการและชื่อโปรแกรมจะแตกต่างกัน

  1. ความปลอดภัย 

ระบบ macOS: มีความปลอดภัยสูง ด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้ล้ำสมัยอยู่เสมอ จึงทำให้ความเสี่ยงที่จะโดนไวรัสนั้นมีน้อยกว่า Windows

ระบบ Windows: มีระบบความปลอดภัย ที่ทั้งนี้จะน้อยกว่าระบบ macOS 

แล้วควรเลือกใช้ ระบบ macOS หรือ ระบบ Windows ดีนะ ?

จริงๆแล้วคำว่า ‘คุ้มค่า’ นั้น ไม่ได้ตัดสินเพียงแค่ราคาเท่านั้น ควรมองถึงความเหมาะสมกับรูปแบบงาน เช่น หากการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเรา ไม่ได้เน้นภาพสวย เสียงชัด และการเรนเดอร์งานที่หนัก การใช้ PC ในระบบปฏิบัติการ Windows ถือเป็นการใช้งานที่ตอบโจทย์ และคุ้มค่าที่สุด เพราะถือว่าเราได้ใช้ฟังก์ชันในเครื่องอย่างครบครันนั่นเอง

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเลือกอุปกรณ์ในระบบ macOS หรือระบบ Windows สิ่งสำคัญควรพิจารณาถึงหลากหลายปัจจัยรวมกัน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ที่ได้มาพร้อมงานที่มีคุณภาพ หรือหากใคร และองค์กรไหน ต้องการที่ปรึกษา หรือจัดหา-จัดซื้ออุปกรณ์ไอที TechSpace มีบริการ IT Support ที่พร้อมดูแลระบบไอทีแบบครบวงจรอยู่นะคะ 

Mac OS X คือระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Apple Inc. สำหรับใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูล Mac (Macintosh) เช่น iMac, MacBook ตัวระบบปฏิบัติการมีพื้นฐานมาจากระบบ UNIX จึงได้รับความน่าเชื่อถือในเรื่องของความเสถียรและความมั่นคงปลอดภัย ปัจจุบัน Mac OS X นั้นพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 10.7 โดยใช้ชื่อว่า OS X Lion [1]

ในอดีต จุดเด่นข้อหนึ่งที่ Apple Inc. ใช้ในการโฆษณา Mac OS X ไม่ว่าจะเป็นข้อความโฆษณาในเว็บไซต์ของ Apple เอง [2] หรือโฆษณาทางโทรทัศน์ก็ตาม [3] คือการบอกว่า Mac นั้นปลอดภัยและปราศจากไวรัส เนื่องจากตัวระบบปฏิบัติการมีพื้นฐานมาจากระบบ UNIX ทำให้มัลแวร์บน Windows ไม่สามารถทำงานบน Mac OS X ได้อยู่แล้ว แต่สาเหตุที่แท้จริงคือจำนวนผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Mac OS X นั้นยังมีไม่ถึง 10% จากจำนวนผู้ใช้ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั้งหมด [4] ทำให้ไม่เป็นที่สนใจสำหรับแฮ็กเกอร์ในการที่จะพัฒนามัลแวร์ขึ้นมาเพื่อโจมตี ผู้ใช้งาน Mac OS X โดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบัน หลังจากที่จำนวนผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Mac OS X มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น [5] ทำให้ผู้พัฒนามัลแวร์หลายรายมีแนวโน้มที่จะหันมาพัฒนามัลแวร์ลง Mac OS X

มัลแวร์ใน Mac OS X
จากข้อมูลของ F-Secure ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านความมั่นคงปลอดภัย พบว่า มัลแวร์ที่มีเป้าหมายเพื่อโจมตีผู้ใช้งาน Mac โดยตรงนั้นเริ่มปรากฏตัวเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2007 โดย F-Secure เรียกโทรจันนี้ว่า Trojan:OSX/DNSChanger ซึ่งจะล่อลวงให้ผู้ใช้ติดตั้งโปรแกรมที่หลอกว่าเป็นปลั๊กอิน QuickTime เพื่อใช้สำหรับดูวิดีโอบนเว็บไซต์ จากนั้นจะแก้หมายเลข DNS Server ในเครื่องผู้ใช้ให้ชี้ไปที่ที่ผู้สร้างมัลแวร์ต้องการ [6] และหลังจากนั้นก็ได้มีการค้นพบมัลแวร์บน Mac มากขึ้นเรื่อยๆ มัลแวร์โดยส่วนใหญ่จะเป็นโทรจัน ซึ่งแพร่กระจายผ่านวิธี Social Engineer เช่น ในเดือนมกราคม ปี 2009 มีการค้นพบโทรจัน Trojan.iServices.A ที่มาพร้อมกับโปรแกรม iWork ‘09 แบบละเมิดลิขสิทธิ์ที่แจกจ่ายผ่านระบบ Torrent [7] และต่อมาไม่นาน ก็มีการค้นพบโทรจัน Trojan.iServices.B ที่มาพร้อมกับโปรแกรม Adobe Photoshop CS4 แบบละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน [8] จากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Symantec และ McAfee จึงได้ออกมาประกาศแจ้งเตือนให้กับผู้ใช้ Mac OS X ว่าได้ตกเป็นเป้าหมายของผู้พัฒนามัลแวร์แล้ว [9]

ในปี 2011 แฮ็กเกอร์ได้หันมาสนใจโจมตีผู้ใช้ Mac อย่างเต็มตัว โดยได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สำหรับ “สร้าง” มัลแวร์ เพื่อโจมตีระบบปฏิบัติการ Mac OS X โดยเฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก CSIS Security Group ได้ค้นพบว่ามีซอฟต์แวร์ชื่อ Weyland-Yutani BOT ขายอยู่ในเว็บไซต์ใต้ดิน ซึ่งผู้ใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวสามารถสร้างมัลแวร์ที่ขโมยข้อมูลผู้ใช้ด้วยการ แทรก Web form เข้ามาในเบราว์เซอร์ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Mac OS X ได้ [10] หน้าจอของซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นดังรูปที่ 1

Mac เป็น ซอฟต์แวร์ประเภทใด

รูปที่ 1 หน้าจอโปรแกรม Weyland-Yutani BOT [10]


หลังจากที่ผู้ใช้ Mac เริ่มถูกคุกคามจากมัลแวร์ จึงมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รักษาความมั่นคงปลอดภัยบน Mac ออกมาหลายราย แฮ็กเกอร์จึงฉวยโอกาสนี้พัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อ Mac Defender ซึ่งหลอกผู้ใช้ว่าเป็นโปรแกรมรักษาความมั่นคงปลอดภัย แต่ที่จริงแล้วเป็นโทรจันที่ขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ เช่น หมายเลขบัตรเครดิต [11] ตัวอย่างหน้าตาของโปรแกรม Mac Defender เป็นดังรูปที่ 2
 

Mac เป็น ซอฟต์แวร์ประเภทใด

รูปที่ 2 ตัวอย่างหน้าตาของโปรแกรม Mac Defender [11]


มัลแวร์ดังกล่าวนี้ถูกติดตั้งลงบนเครื่องของผู้ใช้ได้โดยง่าย ผ่านความสามารถของเบราว์เซอร์ Safari บน Mac OS X ที่จะเปิดไฟล์ที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดสำเร็จให้โดยอัตโนมัติ ถึงแม้ก่อนการติดตั้งซอฟต์แวร์ดังกล่าว ระบบปฏิบัติการจะแสดงหน้าจอแจ้งเตือนว่าการกระทำนี้อาจเป็นอันตรายต่อระบบ และให้ผู้ใช้ป้อนรหัสผ่านเพื่อยืนยัน แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็ไม่สนใจและยอมใส่รหัสผ่านเพื่อให้โปรแกรมได้ติดตั้งต่อ [12] จากปัญหาดังกล่าว Apple Inc. จึงได้ออกแพทช์มาเพื่อเพิ่มระบบตรวจสอบไฟล์ที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดก่อนทำการเปิดไฟล์ โดยหากพบว่าไฟล์ที่ดาวน์โหลดมามีลักษณะที่น่าจะเป็นมัลแวร์ ระบบจะแนะนำให้ผู้ใช้ทำการลบไฟล์นั้นทันที [13] ดังรูปที่ 3
 

Mac เป็น ซอฟต์แวร์ประเภทใด

รูปที่ 3 ตัวอย่างการแจ้งเตือนไฟล์ที่ไม่ปลอดภัย [13]


อัตราการแพร่ระบาดของมัลแวร์บน Mac OS X นั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลของ iAntivirus ซึ่งเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสบน Mac พบว่า ปัจจุบันมีมัลแวร์บน Mac มากกว่า 100 สายพันธุ์ ถึงแม้จะเป็นจำนวนที่น้อย แต่มัลแวร์ส่วนใหญ่ถูกจัดให้อยู่ในระดับความรุนแรงขั้นสูงสุดแทบทั้งสิ้น [14] หนึ่งในนั้นมีมัลแวร์ที่น่าสนใจคือโทรจันชื่อ Flashback

Flashback
มัลแวร์ Flashback ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2011 โดยหลอกว่าเป็นตัวติดตั้งปลั๊กอิน Adobe Flash Player ในตอนนั้นยังไม่มีการสร้างความเสียหายอะไรเป็นพิเศษ นอกจากส่งข้อมูล MAC Address ของเครื่องผู้ใช้ออกไปยังเครื่อง Server และเปิดช่องทางให้ผู้โจมตีสามารถทราบได้ว่า เครื่องดังกล่าวติดมัลแวร์แล้ว [15] ในเวลานั้น Flashback ถูกจัดให้เป็นมัลแวร์ที่มีความอันตรายต่ำ ทำให้ Apple Inc. ไม่ได้ปล่อยแพทช์เพื่อตรวจสอบและกำจัดมัลแวร์นี้โดยทันที [16]

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมัลแวร์ Flashback มีความสามารถในการติดต่อกับเครื่อง Server เพื่ออัพเดตเวอร์ชั่นของตัวเองได้ ทำให้ในเวอร์ชั่นต่อๆ มา มัลแวร์ Flashback ได้ถูกเพิ่มความสามารถใหม่ๆ เข้ามาด้วย เช่น จะไม่ทำงานถ้าพบว่าถูกรันอยู่ในระบบที่เป็น Virtual Machine (ความสามารถ Anti-forensics) [17] รวมถึงปิดการทำงานของระบบ XProtect ซึ่งเป็นระบบป้องกันมัลแวร์บน Mac OS X และเขียนทับโปรแกรม XProtectUpdater เพื่อไม่ให้สามารถดาวน์โหลดแพทช์มากำจัดมัลแวร์สายพันธุ์ใหม่ๆ ได้อีก [18] ซึ่งความสามารถใหม่ๆ เหล่านี้ถูกพัฒนาเพิ่มเข้ามาในเวลาเพียง 1 เดือน และตอนนี้ Flashback มีเป้าหมายที่แน่นอนแล้ว นั่นคือ การขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 สายพันธุ์ใหม่ของมัลแวร์ Flashback ก็ได้ปรากฏขึ้น โดยในครั้งนี้ได้โจมตีผ่านช่องโหว่ของ Java เวอร์ชั่นเก่า (CVE-2011-3544 และ CVE-2008-5353) เมื่อผู้ใช้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่มี Javascript เรียกใช้ Java-applet ที่โจมตีผ่านช่องโหว่ดังกล่าว จะปรากฏหน้าจอ Certificate ปลอมของ Apple Inc. ดังรูปที่ 4 เพื่อหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งโปรแกรม ซึ่งหากผู้ใช้ติดตั้ง Java เวอร์ชั่นเก่าไว้ในเครื่อง (เวอร์ชั่นก่อนเดือนพฤศจิกายน 2011) มัลแวร์จะสามารถติดตั้งตัวเองลงในเครื่องของผู้ใช้ได้โดยที่ผู้ใช้ไม่สังเกตเห็นความผิดปกติเลย แต่หากเป็น Java เวอร์ชั่นใหม่ ระบบจะแจ้งเตือนว่า Certificate นั้นไม่น่าเชื่อถือ (Untrusted) แต่ผู้ใช้ก็ยังสามารถติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ใช้ที่โดนโจมตีผ่านช่องโหว่นี้โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใช้ Mac OS X เวอร์ชั่น 10.6 ลงไป เนื่องจากใน Mac OS X เวอร์ชั่น 10.7 นั้น Apple Inc. ได้ถอดโปรแกรม Java ออกจากระบบปฏิบัติการแล้ว [19]
 

Mac เป็น ซอฟต์แวร์ประเภทใด

รูปที่ 4 หน้าจอ Certificate ปลอมของ Apple Inc. [19]


ในเดือนมีนาคม 2012 มัลแวร์ Flashback พัฒนาไปอีกขั้นด้วยการรับคำสั่งในการทำงานจาก Twitter ซึ่งต่างจากมัลแวร์สมัยก่อนที่จะระบุหมายเลข IP ของเครื่องที่ส่งคำสั่งไว้ในโค้ดของโปรแกรม ทำให้เครื่องนั้นสามารถตรวจพบและถูกสั่งปิดได้ง่าย [20] บริษัท Intego ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ได้ลองวิเคราะห์ข้อมูลของมัลแวร์ Flashback แล้วพบว่า มัลแวร์ตัวนี้น่าจะถูกสร้างโดยผู้พัฒนาเดียวกันกับ MacDefender [21]

ในวันที่ 2 เมษายน 2012 นักวิจัยจากบริษัท Dr.Web ซึ่งเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส ได้รายงานการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ของมัลแวร์ Flashback ซึ่งจะโจมตีผ่านช่องโหว่ของ Java (CVE-2012-0507) [22] โดยทาง Dr.Web คาดว่า มีเครื่อง Mac ที่ติดมัลแวร์ดังกล่าวไปแล้วไม่ต่ำกว่า 600,000 เครื่อง [23] สายพันธุ์ใหม่ของ Flashback ได้รับการตั้งชื่อว่า OSX/Flashback.K ซึ่งจะติดเข้าสู่เครื่องของผู้ใช้ผ่านการเปิดเว็บไซต์ที่มีโค้ดอันตรายฝัง อยู่ ส่วนข้อมูลจากบริษัท F-Secure ระบุว่า ช่องโหว่ของ Java ที่มัลแวร์ใช้ในการโจมตีนั้น ถูกแก้ไขโดยบริษัท Oracle และได้เผยแพร่แพทช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวไปตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี 2012 แล้ว โดยเผยแพร่ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ UNIX [24] [25] แต่บริษัท Apple Inc. กลับไม่ยอมปล่อยแพทช์ดังกล่าวผ่านระบบอัพเดต [26] จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน 2012 ถึงมีแพทช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวออกมาทางระบบ Software Update ของ Mac OS X [27] และเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2012 Software engineer จากบริษัท Garmin International ได้พัฒนาเครื่องมือ FlashbackChecker เพื่อใช้ในการตรวจสอบเครื่อง Mac ว่าติดมัลแวร์ Flashback หรือไม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ https://github.com/jils/FlashbackChecker

No system is safe.
ปัจจุบัน Apple Inc. ได้พัฒนาระบบ Gatekeeper ซึ่งเป็นการกำหนดให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เข้ามาลงทะเบียนกับ Apple เพื่อรับ Developer ID และส่งซอฟต์แวร์มาให้ Apple เป็นผู้ตรวจสอบและ Sign ซอฟต์แวร์นั้น ก่อนที่จะเผยแพร่ให้กับผู้ใช้ ซึ่งระบบ Gatekeeper นี้จะเริ่มใช้ใน Mac OS X เวอร์ชั่น 10.8 [28]

มัลแวร์บน Mac นั้นมีมานาน และมีแนวโน้มที่จะถูกพัฒนาต่อไปให้สามารถแพร่กระจายและสร้างความเสียหายได้ มากขึ้นเรื่อยๆ Flashback เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการโจมตีผ่านช่องโหว่ต่างๆ ของระบบ ผู้ใช้งาน Mac OS X ไม่ควรนิ่งนอนใจ และควรหมั่นติดตามข่าวสารเรื่องความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ เพราะในตอนนี้ การที่คำโฆษณาของ Apple Inc. เปลี่ยนจาก “Mac ไม่มีไวรัส” มาเป็น “Mac ไม่ติดไวรัสของ PC” [29] นั้นเป็นสัญญาณเตือนที่ดีว่า ผู้ใช้ Mac อาจถึงเวลาที่จะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสแล้วก็เป็นได้

แมคใช้ระบบปฏิบัติการอะไร

macOS เวอร์ชั่นใดที่เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด.

Mac OS กับ Windows ต่างกันอย่างไร

ความเหมือน และแตกต่าง ระหว่าง ระบบ macOS และ ระบบ Windows ระบบ macOS: จะมีความเสถียรในเรื่องคุณภาพการทำงานที่ดี ภาพคมชัด เสียงสมจริง ระบบ Windows: โดดเด่นเรื่องการใช้งานง่าย โปรแกรมสนับสนุนเยอะกว่า การใช้งานของโปรแกรม

ข้อใดคือ OS

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (OS- Operating System) เช่น MS-DOS, UNIX, OS/2, Windows, Linux, Ubuntu เป็นต้น