กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

รัตนโกสินทร์ตอนต้น
           ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชกาลที่ ๑- รัชกาลที่ ๓ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยมีความคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาและธนบุรี ดังนี้
การปกครอง
การดำเนินการด้านการปกครอง
           ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้ในการปกครองประเทศนั้น ทรงเอาแบบอย่างซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม และ สมุหนายก ตำแหน่งสมุหนายก มีเสนาบดี 4 ตำแหน่ง ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงที่แตกต่างออกไปคือ ทรงแบ่งการปกครองพระราชอาณาเขตออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนหัวเมือง และการปกครองเมืองประเทศราช
การปกครองส่วนกลาง
           สมุหพระกลาโหม มียศและพระราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งด้านการทหาร และพลเรือน สมุหนายก มียศและพระราชทินนามไม่ทรงกำหนดแน่นอน ที่ใช้อยู่ได้แก่ เจ้าพระยาจักรี บดินทร์เดชานุชิต รัตนาพิพิธ ฯลฯ ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งด้านการทหารและพลเรือน
จตุสดมภ์ มีดังนี้
           1. กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดี คือ เจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
           2. กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
           3. กรมคลัง หรือ กรมท่า ใช้ตราบัวแก้ว เป็นตราประจำตำแหน่งมีเสนาบดีดำรงตำแหน่งตามหน้าที่รับผิดชอบคือ
                      - ฝ่ายการเงิน ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาราชภักดี
                      - ฝ่ายการต่างประเทศ ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาศรีพิพัฒน์
                      - ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาพระคลัง
           4. กรมนา เสนาบดีมีตำแหน่ง พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษีข้าว และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับที่นา

กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

     https://sites.google.com/site/kruchuychay/innovation/unit-three-historical-rattanakosin

กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น – ใน พ.ศ.2325 เมื่อเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามปรากฏต่อมาว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” และภายหลังได้รับการยกย่องเป็น “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” (ร.1) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่ จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา) และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้

กรุงรัตนโกสินทร์ สมัยฟื้นฟูบ้านเมือง รัชกาลที่ 1-3 (ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ.2325-2394)

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สาระสำคัญในบทความนี้

  • เหตุผลที่ย้ายราชธานี
  • ลักษณะของราชธานีใหม่
  • การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
  • การปรับปรุงกฎหมาย

กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

เหตุผลที่ย้ายราชธานี

1.พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง

2.ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตก หรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก (กรุงเทพฯ) เป็นแหลมพื้นดินจะงอกขึ้นเรื่อยๆ

3.ความเหมาะสมต่อการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้

4.กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดที่ข้าศึกยกทัพมาตามลำแม่น้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้โดยง่าย

กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

วัดอรุณราชวราราม

ลักษณะของราชธานีใหม่

กรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบกรุงศรีอยุธยากำหนดพื้นที่เป็น 3 ส่วนคือ

1.บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วังในพระบรมมหาราชวัง (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) และรวมทั้งทุ่งพระเมรุ (ท้องสนามหลวง)

2.บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมืองประตูเมืองและป้อมปราการ สร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง

3.บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1 คือคลองมหานาค

กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

  • lifestyle.campus-star.com/knowledge/39126.html

พระราชวังเดิม

กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

  • ลัดเลาะพระราชวังเดิม – 3 สถานที่สำคัญที่ปรากฎในแบงค์ 100 (รุ่นเก่า)

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงแห่งเดียว ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช .. โบราณสถานพระราชวังเดิม ที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ได้แก่ ท้องพระโรง พระตำหนักเก๋งคู่ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช , พระตำหนักสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และป้อมวิไชยประสิทธิ์ ซึ่งได้รับการบูรณะ ครั้งล่าสุดตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2545 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2545

การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การดำเนินการด้านการปกครอง
     ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้ในการปกครองประเทศนั้น ทรงเอาแบบอย่างซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม และ สมุหนายก ตำแหน่งสมุหนายก มีเสนาบดี 4 ตำแหน่ง ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงที่แตกต่างออกไปคือ ทรงแบ่งการปกครองพระราชอาณาเขตออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนกลาง  การปกครองส่วนหัวเมือง และการปกครองเมืองประเทศราช


การปกครองส่วนกลาง
   สมุหพระกลาโหม มียศและพระราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งมีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งด้านการทหารและพลเรือน
สมุหนายก มียศและพระราชทินนามไม่ทรงกำหนดแน่นอน ที่ใช้อยู่ได้แก่ เจ้าพระยาจักรี  บดินทร์เดชานุชิต  รัตนาพิพิธ ฯลฯ  ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งด้านการทหารและพลเรือน
        จตุสดมภ์ มีดังนี้
1. กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดี คือ เจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
2. กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
3. กรมคลัง หรือ กรมท่า ใช้ตราบัวแก้ว เป็นตราประจำตำแหน่งมีเสนาบดีดำรงตำแหน่งตามหน้าที่รับผิดชอบคือ
- ฝ่ายการเงิน ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาราชภักดี
- ฝ่ายการต่างประเทศ ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาศรีพิพัฒน์
- ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาพระคลัง
4. กรมนา เสนาบดีมีตำแหน่ง พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษีข้าว และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับที่นา
การปกครองหัวเมือง คือ การบริหารราชการแผ่นดินในหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก

     หัวเมืองชั้นใน
  (เดิมเรียกว่า เมืองลูกหลวง หรือ เมืองหน้าด่าน) ได้แก่ หัวเมืองที่กระจายอยู่รายล้อมเมืองหลวง ถือเป็นเมืองบริวารของเมืองหลวง ไม่มีศักดิ์เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มี เจ้าเมือง มีเพียง ผู้รั้ง (ซึ่งไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง จะต้องฟังคำสั่งจากเมืองหลวง)
     หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองทั้งปวง(นอกจากเมืองหลวง เมืองชั้นใน และเมืองประเทศราช)
เมืองเหล่านี้จัดแบ่งระดับเป็นเมืองชั้น เอก โท ตรี ตามขนาด จำนวนพลเมืองและความสำคัญ แต่ละเมืองยังอาจมีเมืองเล็กๆ(เมืองจัตวา) อยู่ใต้สังกัดได้อีกด้วย เจ้าเมืองของเมืองเหล่านี้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการและนโยบายของ
รัฐบาลที่เมืองหลวง ตามเขตการรับผิดชอบคือ
     หัวเมืองเหนือและอีสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก
     หัวเมืองใต้ (ตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไป) อยู่ในความรับผิดชอบของ สมุหพระกลาโหม
     หัวเมืองชายทะเลตะวันออก (นนทบุรี  สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สาครบุรี ชลบุรี
     บางละมุง  ระยอง  จันทบุรี  และตราด) อยู่ในความรับผิดชอบของ เสนาบดีกรมพระคลัง
     คือ พระยาพระคลัง

การแต่งตั้งเจ้าเมือง


     เมืองเอก ได้แก่ เมืองพิษณุโลก  นครราชสีมา  นครศรีธรรมราช  ถลาง และสงขลา  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเอง
     เมืองโท  ตรี และจัตวา  เสนาบดีผู้รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้ง
การปกครองเมืองประเทศราช
เมืองประเทศราชของไทยได้แก่
1. ล้านนาไทย (เชียงใหม่  ลำพูน  ลำปาง  เชียงแสน)
2. ลาว (หลวงพระบาง  เวียงจันทน์  จำปาศักดิ์)
3. เขมร
4. หัวเมืองมลายู (ปัตตานี  ไทรบุรี  กลันตัน  ตรังกานู)
เมืองประเทศเหล่านี้มีเจ้าเมืองเดิมเป็นผู้ปกครอง  แต่มีความผูกพันต่อราชธานี คือ การส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ตามกำหนดเวลา และช่วยราชการทหารตามแต่กรุงเทพฯ หรือ ราชธานี จะมีใบบอกแจ้งไป ภารกิจของราชธานี (กรุงเทพฯ) คือ ปกป้องดูแลมิให้ข้าศึกศัตรูโจมตีเมืองประเทศราช
การชำระแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย

กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการปกครองที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้ดำเนินการนอกเหนือไปจากการปรับปรุงแก้ไขระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ การรวบรวมและชำระกฎหมายเก่า ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อได้ชำระเรียบร้อยแล้วโปรดเหล้าฯให้อาลักษณ์คัดลอกไว้เป็น 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับ
ตราคชสีห์  ตราราชสีห์ และตราบัวแก้ว  ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหพระกลาโหม  สมุหนายกและพระยาพระคลัง ตามลำดับ เสนาบดีทั้งสามเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการปกครอง ดูแลหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร กฎหมายฉบับนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1  ได้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฎหมายและการศาลตามแบบสากล

สารคดีประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการปกครองแบบใด

ลักษณะการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึง รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยโดยมีมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการปกครองแบบใด

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงยึดถือตามแบบอย่างการปกครองสมัยอยุธยา คือเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงมีอำนาจสูงสุดและได้รับการเคารพจากราษฎรประดุจสมมุติเทพ การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านการปกครอง การศาล และกฎหมายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1

การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้ 1.การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตรงกับรัชกาลใด

การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งกว้าง ๆ เป็น 2 ระยะ คือ 1. สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้แก่ ช่วงที่ 1 การปกครองสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงต้นรัชกาลที่ 5 (ก่อนการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2435) ช่วงที่ 2 การปกครองสมัดรัขกาลที่ 5 (หลังจากการปฏิรูปด้านการปกครอง) ถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชกาลที่ 7.