ในวัยของนักเรียนควรกินอาหารประเภทใดมากที่สุด

โภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน           

            โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญในเด็ก หากมีสิ่งใดมาทำให้การเจริญเติบโตต้องชะงักไป จะเป็นผลเสียต่อเด็กเป็นอย่างยิ่ง อาจทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้อยไปได้ เด็กจึงควรได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การให้อาหารเด็กอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ครบทั้ง 5 หมู่ จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควร และเจ็บป่วยบ่อย เด็กควรได้กินอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละชนิดควรกินให้หลากหลายชนิด วันละ 3 มื้อ และดื่มนมเป็นอาหารเสริม

อาหารเด็กวัยก่อนเรียน 1 – 3 ปี

เด็กเมื่อพ้นอายุ 1 ปีขึ้นไป จนถึงอายุ 6 ปี จัดอยู่ในวัยก่อนเรียนซึ่งแบ่นมแม่ยังมีคุณภาพดี แต่ปริมาณไม่พองเป็น 1 – 3 ปี และ 4 – 6 ปี เด็กวัยนี้ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างช้าๆ แต่การเจริญเติบโตทางสังคม ลักษณะนิสัย และทางอารมณ์ เกิดขึ้นอย่างมากในวัยนี้ พฤติกรรมการบริโภคจะพัฒนาในช่วงวัยเด็กและจะติดตัวไปจนเป็นวัยผู้ใหญ่ดังนั้น การสร้างนิสัยการกินที่ดีตั้งแต่เด็กจะส่งผลต่อไปในอนาคต เด็กวัยก่อนเรียนอายุ 1 – 3 ปี ควรมีน้ำหนัก 13 กิโลกรัม สูง 90 เซนติเมตร ควรได้รับพลังงานและสารอาหารใน 1 วัน ดังนี้

พลังงาน 1,000 กิโลแคลอรี             โปรตีน 18 กรัม                        วิตามินเอ 400 ไมโครกรัม

วิตามินซี 40 มิลลิกรัม                    ไธอะมิน 0.5 มิลลิกรัม               ไรโบฟลาวิน 0.5 มิลลิกรัม

โฟเลท 150 ไมโครกรัม                  ไนอะซิน 6 มิลลิกรัม                  แคลเซียม 500 มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส 460 มิลลิกรัม                แมกนีเซียม 60 มิลลิกรัม            เหล็ก 5.8 มิลลิกรัม

ไอโอดีน 90 ไมโครกรัม                 สังกะสี 2 มิลลิกรัม

เพื่อให้เด็กวัยก่อนเรียน อายุ 1 – 3 ปี ได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอใน 1 วัน ควรได้รับอาหาร ดังนี้

ไข่ เป็นไข่เป็ด หรือไข่ไก่ก็ได้แต่ควรปรุงให้สุก ควรให้เด็กดื่มนมรสจืด

เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง  ให้กินเนื้อสัตว์หลากหลาย หมุนเวียนกันไปควรให้กินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถ้าเป็นปลาต้องระวังในเรื่องก้าง และถ้าเป็นปลาทะเลเด็กก็จะได้รับไอโอดีนด้วย

ข้าวสุก ก๋วยเตี๋ยว มักกะโรนี ขนมปัง อาหารในกลุ่มนี้ให้กินข้าวเป็นหลัก ถ้าเป็นไปได้ให้กินข้าวไม่ขัดสีจนขาว จะได้ประโยชน์มากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว และให้กินอย่างอื่นสลับบ้างเพื่อไม่ให้เด็กเบื่อ

ผักใบเขียว ผักสีส้ม สีเหลือง  อาจเป็นผักสดหรือทำให้สุก ผักให้วิตามินเกลือแร่ และใยอาหารซึ่งใยอาหารจะช่วยในการขับถ่าย

ผลไม้สด ควรเป็นผลไม้ตามฤดูกาล และเลือกผลไม้ที่ไม่หวานจัด

น้ำมันจากพืช จากสัตว์ เนย กะทิ ควรเลือกใช้น้ำมันจากพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง

หลักการจัดอาหารสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน

  1. จัดอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการในมื้อหลักควรมีอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้เด็กวัยนี้ได้พลังงานและสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
  2. จัดอาหารให้น่ารับประทาน เพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากรับประทานอาหาร ให้อาหารมีกลิ่น สี น่ารับประทานโดยรักษาสีธรรมชาติของอาหารไว้
  3. จัดอาหารให้หลากหลาย อาหารมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น มีนุ่ม กรอบ เหลว เป็นต้น
  4. จัดอาหารให้มี 4 – 5 มื้อ ใน 1 วัน โดยมื้อว่างควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ควรเป็นอาหารว่างที่หวานจัด หรืออาหารที่ทอดโดยใช้น้ำมันมากๆ เพราะจะทำให้เด็กได้รับพลังงานมากเกินไป อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กอ้วนได้
  5. จัดอาหารแปลกใหม่ที่มีประโยชน์ให้เด็กทานเสมอๆ ถ้าเด็กไม่ทานก็ไม่ควรบังคับเว้นระยะแล้วให้ลองทานใหม่
  6. รสชาติของอาหารที่จัดให้เด็กไม่ควรรสจัดจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นรสหวาน เค็ม เปรี้ยว
  7. ให้เด็กมีส่วนร่วมในการคิดรายการอาหาร จะทำให้เด็กทานอาหารมากขึ้น

อาหารเด็กวัยก่อนเรียนช่วงอายุ 4-6 ปี

เด็กเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตเป็นวัยที่มีการเรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์ ตลอดจนมีกิจกรรมการเล่นหรือการออกกำลังกายสูงกว่าวัยอื่น ๆ ร่างกายจึงมีความต้องการสารอาหารต่าง ๆในปริมาณสูง การมีโภชนาการที่ดีเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในวัยนี้จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

โภชนาการที่เหมาะสมนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกน้อย เพราะเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทางร่างกายและสมองโดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมอง ยังเป็นไปอย่างรวดเร็ว อาหารสำหรับเด็กวัยก่อนวัยเรียน จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็กทั้งในขณะที่อยู่ในวัยนี้ และระยะต่อไป  การขาดอาหารในระยะนี้จะส่งผลให้เด็กมีสติปัญญาการเรียนรู้ด้อยลง การเจริญเติบโตชะงักทำให้ร่างกายแคระแกรน ไม่แข็งแรง เจ็บป่วย และติดเชื้อง่าย มีอัตราการเสียชีวิตสูงพ่อแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารอย่างถูกต้องและเพียงพอกับความต้องการตามวัยด้วย

อาหารที่เด็กวัยก่อนเรียน (อายุ 4- ปี) ควรได้รับในแต่ละวัน

หมวดข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว และแป้งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญซึ่งร่างกายควรได้รับวันละ 6 ทัพพี เด็กก่อนวัยเรียนเริ่มอยากกินอาหารของผู้ใหญ่ ชอบข้าวสวยนิ่ม ๆ มากกว่าข้าวต้ม อาจมีแกงจืดเล็กน้อย เพื่อช่วยให้เด็กกลืนง่ายขึ้น

ผักใบเขียว และผักอื่น ๆเด็กมักจะชอบผักที่มีสีสรรดึงดูดสายตา เช่น แครอท เมล็ดถั่วลันเตา หรือผักบางชนิดเช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาดขาวซึ่งเมื่อต้มสุกจะนิ่มและมีรสหวาน ในปริมาณวันละ 3 ทัพพี หรืออาจจะเป็น 1 ทัพพีในแต่ละมื้อ

ผลไม้ คุณแม่ควรให้ลูกได้เลือกรับประทานผลไม้สดตามฤดูกาล ในปริมาณ 2 ส่วน (1 ส่วนของผลไม้แต่ละชนิดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาด เช่น กล้วยน้ำว้า 1 ผล ส้มเขียวหวาน 1 ผลกลาง มะม่วงสุกครึ่งผลเล็ก มะละกอสุก 6 ชิ้นพอคำ)เพื่อช่วยให้เด็กได้รับวิตามินซี วิตามินเอ ใยอาหาร น้ำผลไม้ควรจำกัดปริมาณเมื่อดื่มให้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ร้อยเปอร์เซ็นต์ (120 มิลลิลิตร คิดเท่ากับผลไม้ 1 ส่วน)

นมเด็กควรดื่มนมเป็นประจำวันละ 2-3 แก้วควรเลือกนมชนิดจืด เพื่อฝึกเด็กให้คุ้นเคยกับรสธรรมชาติ ถ้าเด็กปฏิเสธการดื่มนมอาจลองอาหารธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ตซีเรียล ซึ่งต้องกินกับนมหรืออาจเลือกอาหารที่มีส่วนผสมของนม เช่น โยเกิร์ตชีส เป็นต้น นม 1 แก้วของเด็กก่อนวัยเรียน ขนาด 180 มิลลิลิตร หรือชีสขนาด 50-60 กรัม หรือโยเกิร์ต 3/4 ถ้วยตวง และหลังจากที่เด็กอายุ 2 ขวบไปแล้ว อาจเลือกผลิตภัณฑ์พร่องมันเนย

ไขมันใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร ลดปริมาณของทอดหรือของมัน ให้ใช้เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และผลิตภัณฑ์นมพร่องไขมันหรือถ้าเป็นขนมที่มีไขมันมาก ของว่างที่ผลิตจากโรงงานอาหารควรอ่านฉลากอาหารประกอบ

 ความต้องการสารอาหารในวัยเด็กก่อนเรียน อายุ 4-6 ปี

1.พลังงาน เด็กวัยก่อนเรียนต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตและทำกิจกรรมต่างๆ ปัญหาที่พบบ่อยคือ ได้รับอาหารที่ให้พลังงานไม่เพียงพอ ควรให้เด็กวัยนี้กินอาหารอย่างเพียงพอ เด็กอายุช่วง 4-6 ปี ควรได้วันละ 1,450 กิโลแคลอรี่ พลังงานที่ได้รับนี้ ควรมาจากคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 50-60ไขมันร้อยละ 25-35 และโปรตีนร้อยละ 10-15 ของพลังงานทั้งหมด

การคำนวณความต้องการพลังงานเด็กวัยก่อนเรียน อาจทำได้ดังนี้ เด็กอายุหนึ่งปีเต็ม ต้องการพลังงาน 1000 กิโลแคลอรี่ เมื่ออายุ 1 ปีให้บวก 100แคลอรี่ต่อปี

เช่น  เด็กอายุ 4 ปี จะต้องการพลังงาน =1000 + 300 = 1300 กิโลแคลอรี่

  1.   โปรตีน  ความต้องการโปรตีนเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวในเด็กสูงกว่าวัยผู้ใหญ่ ในเด็กอายุ 4-6 ปีต้องการโปรตีน 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

3.วิตามินและเกลือแร่  มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ถ้าขาดก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆได้ เด็กวัยนี้เป็นถ้าได้รับนม 2-3 ถ้วย ก็จะทำให้ได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพียงพอต่อการสร้างกระดูกและฟัน นอกจากนี้ยังได้วิตามินอื่นๆอีก ได้แก่ วิตามินเอ ดี บีสิบสอง บีหนึ่ง และไนอะซินด้วย

4.เหล็ก เด็กอายุ 1-6 ปี ควรได้รับเหล็ก 10 มก.ต่อวัน การให้อาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กจึงจำเป็น อาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้งและผักใบเขียว

5.แคลเซียม เด็กวัยนี้จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมในปริมาตรที่เพียงพอในการเจริญเติบโต เด็กวัยนี้จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมมากกว่าวัยผู้ใหญ่ 2-3 เท่า อาหารที่มีแคลเซียมสูงสำหรับเด็กวัยนี้ ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม แคลเซียมในนมนั้นร่างกายสามารถดูดซึมได้มากกว่าแคลเซียมในอาหารอื่น

  1. สังกะสี มีความจำเป็นในการเจริญเติบโต การขาดสังกะสีจะมีผลให้เกิดการเจริญเติบโตล้มเหลว ความอยากอาหารลดลง เด็กวันนี้ควรได้รับสังกะสี 10 มก. ต่อวัน อาหารทีมีสังกะสีได้แก่ เนื้อสัตว์และอาหารทะเล
  2. น้ำ เด็กต้องการน้ำ 4-6 แก้วต่อวัน หรือ 1000-1500 มล.

ถ้าเด็กได้รับอาหารพวกนม ข้าว เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล ถั่ว ผัก และผลไม้ครบแล้ว ก็จะทำให้ได้พลังงาน เกลือแร่ และวิตามินครบตรงตามความต้องการของร่างกาย

การส่งเสริมภาวะโภชนาการสำหรับเด็ก

การเพิ่มขนาดของร่างกายเป็นสิ่งบอกการเจริญเติบโต ร่างกายของอวัยวะต่างๆ และเนื้อเยื่อมีการเพิ่มจำนวนหรือขนาดของเซลล์ซึ่งการเจริญเติบโตขึ้นกับอิทธิพลของพันธุกรรม  พฤติกรรมสิ่งแวดล้อมฮอร์โมนและองค์ประกอบด้านโภชนาการ ดังนั้นจึงต้องมีการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กในทุกด้านซึ่งต้องอาศัยความรู้ของบุคลากรทางด้านความต้องการภาวะโภชนาการของเด็กแต่ละวัย  สภาพความสามารถของร่างกายที่จะรับสารอาหารในรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงาน โปรตีนหรือวิตามินเพื่อที่จะนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้ให้ร่างกายเกิดความสมดุลอย่างสูงสุด  สิ่งบอกการเจริญเติบโต คือ การเพิ่มขนาด หรือจำนวน/ของอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายซึ่งขึ้นกับ พฤติกรรม สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมนและองค์ประกอบด้านโภชนาการ

การสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีแก่เด็กก่อนวัยเรียน

เด็กมีการเจริญเติบโตของร่างกาย และมีการเล่นออกกำลังกาย ทำให้สูญเสียพลังงานไป จึงต้องจัดอาหารให้เพียงพอ และให้เพิ่มเมื่อเด็กต้องการ ไม่ควรบังคับหรือฝืนใจเด็ก ควรหาวิธีปรุงอาหารตามที่เด็กชอบ การสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีแก่เด็กมีแนวทางดังนี้

  1. ควรฝึกให้เด็กในวัยนี้ได้รับประทานอาหารหลักวันละ 3 มื้อ ให้มีอาหารว่างระหว่างมื้อเช้า

และบ่าย จะเป็นนมสดหรือนมถั่วเหลือง วันละ 2-3 แก้ว

  1. เด็กในวัยนี้ ต้องการอาหารเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่ควรเพิ่มปริมาณสารอาหารให้มากกว่า

เดิม เพราะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นที่ต้องให้อาหารโปรตีนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องปรุงอาหารด้วยเนื้อสัตว์ต่างๆบ้าง เพราะเด็กสามารถเคี้ยวได้แล้ว

  1. ควรหัดให้เด็กได้รับประทานอาหารทุกชนิด ผักและ ผลไม้สดควรมีทุกวัน โดยให้เด็กหัด

รับประทานเล่นๆ เช่น แตงกวา มะละกอสุก ส้ม ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การตักอาหารให้เด็กควรตักทีละน้อย และเพิ่มให้อีกเมื่อต้องการ

  1. การให้เด็กลองรับประทานอาหารใหม่ ควรให้ครั้งละน้อยๆ ปรุงรส มีสีสันตามความชอบ

ของเด็ก ค่อยๆ ปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของเด็ก ไม่ควรให้รางวัลจูงใจให้เด็กรับประทานอาหารเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ถูกต้อง

  1. ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร

เพราะเด็กชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ ไม่ควรปรุงอาหารรสจัดสำหรับเด็ก ควรเป็นอาหารย่อยง่ายสะดวกต่อการรับประทานของเด็ก

  1. ควรหาวิธีการ หรือ เทคนิคในการจูงใจ ให้เด็กรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยไม่

ต้องบังคับให้เด็กรับประทาน โดยการปรุงแต่ง รูป รส ของอาหารให้น่ารับประทาน เช่น เด็กไม่กินผัก ควรจะนำมาชุบแป้งทอดกรอบ แล้วจัดให้ดูน่ากิน

  1. จัดอาหารให้น่ารับประทาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการรับประทานอาหารที่มี

สีสันสวยงามชิ้นที่พอดีคำ แม้แต่เด็ก การจัดอาหารย่อมต้องสวยงามเพื่อให้มองแล้วอิ่มใจแบบผู้ใหญ่ และจัดเป็นคำๆไม่ใหญ่เกินไป เด็กจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการรับประทานอาหาร

  1. ลักษณะและรสชาติของอาหารต้องอร่อยแต่ไม่ควรเค็มจัดหรือหวานจัดเกินไป
  2. บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีมีผลต่อการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานพร้อม

ผู้ใหญ่ในบรรยากาศที่สนุก ไม่เคร่งเครียด สถานที่ไม่อับจนเกินไป แต่ไม่ควรเดินป้อนเพราะจะทำให้เด็กขาดระเบียบและไม่รู้จักเวลาในการดำเนินชีวิตต่อไป ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษามารยาทในโต๊ะอาหาร

  1. เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการเตรียมโต๊ะอาหาร เช่น การจัดโต๊ะ ช้อนส้อม และให้

เด็กมีส่วนร่วมในการปรุงอาหารได้บ้าง เช่น ขนมปังทาแยม ให้เด็กเป็นคนทาแยม ทอดไข่อาจให้เด็กช่วยตอกไข่ใส่จาน หรือการหั่นผัก เตรียมผัด ผู้ใหญ่ควรพิจารณาดูความสามารถให้เหมาะกับอายุของเด็กด้วย

สรุป

            โภชนาการในเด็กเป็นสิ่งสำคัญ ควรมีการส่งเสริมภาวะโภชนาการเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการ อาหารที่จัดให้ควรเป็นอาหารที่เหมาะสมกับวัย ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพียงพอกับความต้องการและตรงกับลักษณะนิสัยของเด็ก โดยเน้นอาหารหลัก 5หมู่ อาหารเสริม เนื่องจากเด็กก่อนวัยเรียนมีความต้องการพลังงานและสารอาหารในปริมาณค่อนข้างสูงจากการที่ร่างกายของเด็กกำลังเจริญเติบโต หากได้รับไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อาจทำให้เด็กเกิดปัญหาทางโภชนาการขึ้น ซึ่งปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อย ได้แก่ โรคขาดโปรตีนและพลังงาน โรคขาดสารไอโอดีน โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และโรคขาดวิตามินเอ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่ป้องกันได้โดยการให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยต่อการบริโภค ตลอดจนมีปริมาณพอเพียงและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายร่วมกับการให้โภชนศึกษาแก่พ่อแม่ และการเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ทุก 3 เดือน แล้วนำน้ำหนัก ส่วนสูง ไปเทียบกับกราฟมาตรฐาน ซึ่งเป็นกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กไทย จะเห็นได้ว่าโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก เด็กจึงควรได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการอย่างถูกต้อง เพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมกับวัย สามารถเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ในอนาคต

 อ.จุไรรัตน์ วัชรอาสน์