คอมพิวเตอร์เป็นงานลิขสิทธิ์ประเภทใด

             เมื่อท่านซื้อซอฟต์แวร์มาใช้งาน ท่านควรได้รับใบอนุญาตการใช้งานซึ่งระบุสิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ท่านใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้ รวมทั้งระบุขอบข่ายของการใช้งานอีกด้วย เช่น ซอฟต์แวร์บางประเภทอาจอนุญาตให้ท่านใช้งานสำเนาที่สองสำหรับการทำงานที่บ้านได้ท่านควรอ่านเอกสาร เหล่านี้ให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ของท่านเอง และเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานในการมีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องเสมอ

ถ้าพูดถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟต์แวร์ (software) แล้ว เชื่อว่าแทบทุกคนต้องรู้ว่าซอฟต์แวร์นั้นมีลิขสิทธิ์ เนื่องจากการรณรงค์ให้ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ช่วยให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วซอฟต์แวร์นั้นก็จัดเป็นงานวรรณกรรม ซึ่งถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง

สารบัญ

ซอฟต์แวร์ เป็นงานวรรณกรรม

พรบ.ลิขสิทธิ์ ฉบับปัจจุบันได้กำหนดให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่าซอฟต์แวร์นั้นอยู่ในประเภทเดียวกันกับวรรณกรรม ซึ่งกฎหมายได้ให้ความคุ้มครอง source code หรือชุดคำสั่งในการเขียนโปรแกรม โดยถือว่าชุดคำสั่งในการเขียนโปรแกรมเป็นงานเขียนชนิดหนึ่ง ทำให้ได้รับความคุ้มครองทันทีโดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน แต่ก็สามารถแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เหมือนกับงานวรรณกรรมประเภทอื่น

และด้วยความที่ซอฟต์แวร์ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์ ทำให้มีอายุการคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์ และหลังจากผู้สร้างสรรค์ตายไปอีก 50 ปี แต่เมื่อดูจากอายุการใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนรุ่นกันอย่างรวดเร็วแล้ว จึงอาจพูดได้ว่าซอฟต์แวร์โดยทั่วไปทั้งหมดล้วนมีลิขสิทธิ์ (เพราะไม่ต้องรอให้หมดอายุความคุ้มครอง ตัวซอฟต์แวร์ก็หมดรุ่นไปแล้ว)

ปัญหาของการคุ้มครองซอฟต์แวร์ด้วยลิขสิทธิ์ (เพียงอย่างเดียว)

ถึงซอฟต์แวร์โดยทั่วไปจะได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองแนวคิด หรือกรอบไอเดียที่นำมาใช้สร้างสรรค์ผลงาน (ถ้านึกไม่ออก ให้นึกถึง Flow chart, Diagram การเชื่อมต่อของโมดูลต่างๆ ภายในโปรแกรม) ทำให้แนวคิดในการทำงานของซอฟต์แวร์ รวมทั้งฟังก์ชั่น/ฟีเจอร์ต่างๆ ไม่ได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน กล่าวคือ ต่อให้จะมีซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชั่นเหมือนกันขนาดไหน แต่หากถ้าชุดคำสั่งหรือ source code ต่างกันก็ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

การจดซอฟแวร์เป็น สิทธิบัตร ในรูปแบบของงานระบบ

คอมพิวเตอร์เป็นงานลิขสิทธิ์ประเภทใด

โดยทั่วไปแล้วระบบการทำงานที่เป็นกรอบแนวคิด ไอเดีย กรรมวิธี หรือขั้นตอนการทำงาน อาจได้รับการการคุ้มครองจากกฎหมายสิทธิบัตรได้ แต่มีข้อกำหนดที่สำคัญคือ ซอฟต์แวร์ที่เราสร้างขึ้นนั้น ต้องมีการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ที่จับต้องได้ โดยเราจะเขียนสิทธิบัตรในฐานะของงานระบบ เช่น ระบบ smart home, ระบบควบคุมเครื่องจักร, ระบบบริหารจัดการการขนส่ง, ระบบป้องกันและรักษาความปลอดภัย, ระบบการมอร์นิเตอร์และแสดงผล, ระบบการซื้อขาย เป็นต้น ซึ่งจะให้ความคุ้มครองในส่วนของรูปแบบ ขั้นตอน วิธีการการควบคุม/สั่งการ หรือลักษณะการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์หรือโมดูลต่างๆในระบบ เป็นต้น (โดยไม่สนใจว่าจะเขียนโปรแกรม ด้วยภาษาอะไร)

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันกฎหมายสิทธิบัตรในไทยเอง ระบุไว้ว่า ไม่ให้ความคุ้มครองกับ “ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์” ดังนั้นงานประดิษฐ์ซอฟต์แวร์จึงต้องพิจารณาโดยละเอียดเป็นรายกรณีไป ในการจะจดเป็นสิทธิบัตร (โดยเฉพาะ งานซอฟต์แวร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่ไม่ชัดเจน) ซึ่งหากมีสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นซอฟต์แวร์ อาจจะต้องลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสอบถามหรือหาแนวทางในการคุ้มครองที่ดี และเหมาะสมที่สุด

ปรึกษาฟรี การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร

ติดต่อเรา

ติดต่อเรา

รูปแบบการคุ้มครอง สิทธิบัตรงานระบบ

แผนภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของระบบ

คอมพิวเตอร์เป็นงานลิขสิทธิ์ประเภทใด

เป็นการแสดงให้เห็นถึงลำดับการทำงาน คำสั่งต่างๆ ขั้นตอนการทำงาน ซึ่งสามารถอธิบายโดยการใช้แผนภาพ อาจมีการใส่เงื่อนไขของคำสั่งเข้าไปได้ตามการทำงานของระบบ โดยสามารถขอรับความคุ้มครองในระบบการทำงานดังกล่าว

รูปแบบการแสดงผลของงานประดิษฐ์

คอมพิวเตอร์เป็นงานลิขสิทธิ์ประเภทใด

เป็นการแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในรูปแบบการแสดงผล ซึ่งสามารถขอรับความคุ้มครองในรูปแบบของ UX/UI ได้

แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ในระบบ

คอมพิวเตอร์เป็นงานลิขสิทธิ์ประเภทใด

เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ อธิบายถึงลำดับการทำงานของอุปกรณ์ในระบบ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องจักร ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร

สรุป

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้นก็ถือเป็นงานวรรณกรรมซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง จึงได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ทั้งนี้เราสามารถคุ้มครองซอฟต์แวร์เป็นงานสิทธิบัตรได้ หากซอฟต์แวร์เหล่านั้นอยู่ในรูปแบบระบบ หรือขั้นตอนวิธี หรืออัลกอริทึม (Algorithm) ที่ไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ หรือเครื่องจักร เครื่องคอมพิวเตอร์ อาจขอรับความคุ้มครองเป็นสิทธิบัตรได้ หากระบบ ขั้นตอนวิธี หรืออัลกอริทึม (Algorithm) นั้นทำให้เกิดผลทางเทคนิค (Technical Effect)

ลิขสิทธิ์คอมพิวเตอร์คืออะไร

โปรแกรมลิขสิทธิ์ เป็นโปรแกรมของระบบคอมพิวเตอร์ที่ทางเจ้าของ หรือบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมนั้น มีการจดลิขสิทธิ์ไว้ เพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติในปี พ.ศ. 2537 โดยสามารถจับใจความได้ดังนี้ เป็นหนึ่งโปรแกรมที่ผู้อื่นไม่สามารถใช้งาน หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบโปรแกรมได้ นอกจากเจ้าของผลงานเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่ทาง ...

งานประเภทใดได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นกฎหมายที่ กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใด

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ถือเป็นงานวรรณกรรม คือ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้น ได้รับการคุ้มครองแบบลิขสิทธิ์เท่านั้น ไม่สามารถนำไปขอจดสิทธิบัตร

ผลงานที่มีลิขสิทธิ์คืออะไร

ผลงานประเภทใดบ้างอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ มีผลงานหลายประเภทที่มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เช่น งานด้านภาพและเสียง เช่น รายการทีวี ภาพยนตร์ และวิดีโอออนไลน์ ไฟล์บันทึกเสียงและการประพันธ์เพลง งานเขียน เช่น บทบรรยาย บทความ หนังสือ และการประพันธ์เพลง