อาคารแบบไหนที่ต้องขออนุญาตก่อสร้าง

วันนี้ V.K.B จะพาคุณมาทำความเข้าใจกับ กฎหมายควบคุมอาคาร ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่คุณจะได้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้อย่างราบรื่น และใช้งานอาคารได้อย่างถูกวัตถุประสงค์

 

ทำไมถึงต้องมีการแยกประเภทของอาคาร ?

การก่อสร้างในแต่ละครั้ง จะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงหรือความมั่นคงของโครงสร้างเป็นอันดับแรก โดยประกอบไปด้วยเสา, คาน, พื้น และหลังคา ซึ่งโครงสร้างของอาคารแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานอาคารประเภทนั้นๆ เพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์รุนแรง และเป็นอันตรายต่อชีวิต

เช่น โครงสร้างของอะพาร์ตเมนต์ จะไม่สามารถนำมาใช้ทำเป็นห้างสรรพสินค้าได้ เพราะอะพาร์ตเมนต์จะสามารถรองรับน้ำหนัก และจำนวนของคนในอาคารได้น้อยกว่าห้างสรรพสินค้า หากนำอาคารไปใช้ผิดวัตถุประสงค์อาจจะทำให้โครงสร้างถล่มลงมา นอกจากอาคารจะเสียหายแล้ว ยังอาจเกิดความสูญเสียต่างๆ ตามมาอีกด้วย

 

ประเภทอาคาร มีทั้งหมดกี่ชนิด?

ประเภทอาคาร

ประเภทอาคาร นั้นมีหลากหลายประเภท ทางเราจึงขอแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลัก โดยอ้างอิงมาจาก “พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522” มาตรา 4 ที่ได้ให้คำนิยามเอาไว้นั่นก็คือ

  • อาคารสูง จะเป็นอาคารที่สามารถเข้าอยู่อาศัย หรือเป็นพื้นที่ใช้สอย โดยที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะต้องวัดความสูงของอาคารตั้งแต่พื้นดินของชั้นล่างสุด ไปยังพื้นดาดฟ้า และถ้าหากเป็นอาคารที่มีหลังคาทรงแบบจั่ว หรือทรงปั้นหยา จะต้องวัดระดับจากพื้นดินที่สร้าง ถึงผนังที่สูงที่สุด เช่น คอนโดมิเนียม, อาคารสำนักงาน และโรงแรม
  • อาคารขนาดใหญ่พิเศษ คือ อาคารที่มีพื้นที่ของทุกชั้นรวมกัน แล้วมีขนาดมากกว่า 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป โดยภายในอาคาร หรือบางส่วนของอาคาร สามารถเป็นที่อยู่อาศัย หรือเป็นพื้นที่ใช้สอยได้ โดยเอาไว้สำหรับทำธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือหลายประเภทก็ได้ เช่น ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ หรือสนามกีฬาที่มีพื้นที่เยอะ
  • อาคารชุมนุมคน จะมีขนาดของพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือเป็นพื้นที่สามารถรองรับคนได้มากกว่า 500 คน โดยอาคารหรือว่าส่วนใดภายในอาคาร จะทำให้บุคคลเหล่านั้น สามารถใช้ประโยชน์ในการชุมนุมได้
  • โรงมหรสพ เป็นอาคารหรือพื้นที่ เอาไว้สำหรับแสดงความบันเทิง ให้ผู้ชมสามารถเข้าไปใช้บริการ โดยจะมีการเสียค่าบริการ หรือไม่มีก็ตาม เช่น โรงภาพยนตร์, โรงแสดงละคร และอาคารที่มีการแสดงอื่นๆ

 

การยื่นคำขอรับใบอนุญาต

กฎหมายควบคุมอาคาร

  • การยื่นคำขอ จะต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นคนตรวจสอบ และออกใบอนุญาต กรณีที่ไม่ผ่านจะมีหนังสือแจ้ง บอกถึงเหตุผลว่าทำไมอาคารของคุณถึงไม่ได้รับการอนุญาต ภายในระยะเวลา 45 วัน หลังจากที่คุณได้ยื่นคำขอไป
  • ไม่ได้รับการตอบรับจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หลังจากที่คุณได้ยื่นเรื่องไปเรียบร้อยแล้ว และยังไม่ได้การตอบรับ อาจจะเกิดจากเหตุการณ์ที่เจ้าพนักงานไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ หรือยังไม่ได้แจ้งว่า ทำไมคุณถึงไม่ผ่านการอนุญาตภายใน 45 วัน โดยเจ้าพนักงานสามารถขยายเวลาได้สูงสุดไม่เกิน 90 วัน (ยื่นขยายได้ 2 ครั้ง แต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 45 วัน) และจะต้องทำหนังสือแจ้งเหตุผลของการขยายเวลา ให้คุณได้รับทราบก่อน
  • ได้รับใบอนุญาต ถ้าหากคุณได้รับใบอนุญาต จะต้องมีหนังสือที่ระบุชื่อผู้ควบคุมการก่อสร้าง, วันที่เริ่ม และวันที่สิ้นสุด ที่สำคัญจะต้องแนบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุม เพื่อให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับทราบ

 

อาคารชนิดไหนจัดอยู่ในประเภทควบคุมการใช้

ตาม “กฎหมายควบคุมอาคาร” ของพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และวัตถุประสงค์ในการใช้หรือเปลี่ยนการใช้ของอาคาร จะต้องดำเนินเรื่องเพื่อขอใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยอาคารที่ถูกควบคุมการใช้ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

  • อาคารที่เอาไว้ใช้เป็นโกดังสินค้า, โรงแรม, คอนโดมิเนียม หรือสถานพยาบาล
  • อาคารที่เอาไว้ใช้ในทางพาณิชย์, โรงงานอุตสาหกรรม, สถานที่เพื่อการศึกษา หรืออาคารที่จะต้องทำตามกำหนดของกฎกระทรวง

โดยที่คุณจะต้องได้รับใบอนุญาตให้สามารถทำการก่อสร้างก่อน หรือถ้าหากใครไม่อยากจะยื่นขอใบอนุญาตสำหรับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สามารถส่งเอกสารตามมาตรา 39 ทวิได้ หลังจากนั้นให้แจ้งเป็นหนังสือ เพื่อส่งมอบให้กับเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับทราบ แล้วจะได้รับการตรวจสอบภายใน 30 วันหลังจากที่แจ้งไป

 

ชนิดของอาคารที่จะต้องได้รับการตรวจสอบ

กฎหมายควบคุมอาคาร

สำหรับบุคคลที่เป็นเจ้าของอาคารสูง, อาคารขนาดใหญ่พิเศษ, อาคารชุมนุมคน และอาคารตามที่กำหนดภายใต้กฎกระทรวง จะต้องมีผู้ตรวจที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรม หรือทางสถาปัตยกรรม ให้ทำการตรวจสอบตามความเหมาะสม เกี่ยวกับสภาพของอาคารก่อน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง, ระบบไฟฟ้าภายในอาคาร, ระบบแจ้งเตือนเพื่อป้องกันเหตุอัคคีภัย หรือระบบต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ที่อยู่ภายใต้อาคารนั้นๆ ปลอดภัย ไม่เกิดอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สินให้เกิดความเสียหาย

หลังจากที่ได้ทำการตรวจสอบแล้ว จะต้องรายงานผลให้กับเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ทำการพิจารณาว่า อาคารของคุณจะสามารถออกใบรับรองการตรวจสอบได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของทั้งคนในอาคาร และนอกอาคาร

>>อ่านบทความ ตรวจสอบอาคาร คืออะไร? เพิ่มเติมได้ที่นี่<<

 

การขออนุญาตตามประเภทอาคาร มีความสำคัญยังไง?

การขออนุญาตเพื่อให้สามารถดำเนินการสร้างตาม ประเภทอาคาร มีความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะอาคารที่มีความสูง หรือว่ามีพื้นที่ บริเวณโดยรอบค่อนข้างกว้างขวาง จะต้องถูกออกแบบให้โครงสร้างสามารถตอบโจทย์กับการใช้งานได้ โดยต้องคำนึงถึงการรองรับน้ำหนักของอาคารเป็นหลัก เพื่อให้อาคารมีความแข็งแรง และมั่นคง ไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงอย่าง ตึกถล่ม จากการที่สร้างอาคารแล้วนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ สำหรับใครที่กำลังมีโครงการในการก่อสร้างอยู่ แต่ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มยังไงดี ให้ V.K.B ช่วยคุณได้!

การก่อสร้างแบบไหนต้องขออนุญาติ

โดยปกติแล้ว บ้านเรือนทั่วไปจะนิยมออกแบบให้พื้นจรดฝ้าเพดาน มีความสูงประมาณ 2.6-3 เมตร แต่อาจมีบ้านลักษณะพิเศษ เช่น บ้านชั้นครึ่ง หรือบ้านที่มีความสูงโปร่ง ที่อาจมีความสูงเกินกว่า 4 เมตร ซึ่งหากพื้นที่ใดมีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรเป็นต้นไป จะต้องมีลายเซ็นรับรองจากวิศวกรออกแบบ และควบคุมงาน

อาคารใดต้องขออนุญาตก่อสร้าง

อาคารที่ต้องขออนุญาตก่อสร้าง ณ สำนักงานเขต คือ อาคารสูงไม่เกิน ๔ ชั้น และความสูงไม่เกิน ๑๕ เมตร :- หมายความว่า ต้องครบองค์ประกอบทั้งสองประการ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้; อีกทั้งต้องไม่เป็นอาคารพิเศษตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ ข้อ ๑ (ค) ด้วย; โดยแบ่งแยกย่อยออกได้ทั้งหมด ๑๙ ประเภทอาคาร; ถ้านอกเหนือจากนี้ ต้องยื่นขออนุญาต ...

พื้นที่ เท่าไร ไม่ต้องขออนุญาตก่อสร้าง

พื้นที่ อบต. กับการขออนุญาตก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ไม่เกิน 150 ตารางเมตร พื้นที่ อบต. กับการขออนุญาตก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ไม่เกิน 150 ตารางเมตร ไม่ต้องเขียนแบบก่อสร้างเต็มรูปแบบ กรณีสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยไม่ได้รับการยกเว้นนะครับ

แบบขออนุญาตก่อสร้าง ใครเซ็นบ้าง

หลักฐานยื่นขอเอกสารขออนุญาตก่อสร้างบ้าน 2. เอกสารแปลนบ้าน แบบบ้าน และรายละเอียดการก่อสร้าง ที่ได้มาตรฐานมีสถาปนิกและวิศวกรเป็นผู้เซ็นรับรองแบบ (กรณีที่ไม่มีสถาปนิก สามารถขอแบบบ้านมาตรฐานจากสำนักงานเขตท้องถิ่นในจังหวัดนั้น ๆ ได้)