หัวหน้าแบบไหนที่อยากทำงานด้วย

   เมื่อหัวหน้ามองว่าลูกน้องมีศักยภาพและเชื่อใจลูกน้อง ทำให้ลูกน้องทำงานได้อย่างอิสระ และสามารถนำความคิดสร้างสรรค์ของตนมาสร้างผลงานได้อย่างเต็มที่ แต่หากหัวหน้าไม่เห็นศักยภาพ หัวหน้าก็จะไม่ไว้ใจ คอยสั่งตามที่ตัวเองต้องการและไม่ให้ลูกน้องได้มีโอกาสนำเสนอความคิดเห็น 

2. พูดแล้วรักษาสัจจะ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

   เราคงเคยได้ยินว่าคำพูดเป็นนายเรา เมื่อพูดออกไปแล้ว ให้เราทำตามสิ่งที่เราพูด ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนไปจากที่พูด นานๆ เปลี่ยนคงไม่เป็นไร แต่หากเปลี่ยนบ่อยๆ ลูกน้องจะขาดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อหัวหน้า และกังวลว่าทำไปเดี๋ยวหัวหน้าก็เปลี่ยนใจ ให้แก้ใหม่อีก ทำให้ลูกน้องขาดความกระตือรือร้นในการทำงานได้ค่ะ
 

3. มีความเห็นอกเห็นใจและใส่ใจผู้อื่น

   หากลูกน้องประสบปัญหาชีวิต เช่น สูญเสียคนที่เป็นที่รัก หรือคนที่เขารักป่วย หรือเขาป่วย หากหัวหน้าไม่เคยถามไถ่ด้วยความใส่ใจ เช่น เป็นอย่างไรบ้าง รู้สึกอย่างไร อยากให้พี่ช่วยอะไรบ้าง เป็นต้น แล้วเข้ามาคุยแต่เรื่องงาน ก็อาจทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าหัวหน้าไม่ใส่ใจเขาในฐานะคนๆ หนึ่ง ลูกน้องก็จะหมดใจที่จะทำงานให้ค่ะ

4. กล้าตัดสินใจ

   บางกรณีลูกน้องเข้ามาของคำแนะนำหรือให้หัวหน้าตัดสินใจ หากหัวหน้าตัดสินใจไม่ได้ ก็จะทำให้ลูกน้องไม่สามารถทำงานต่อได้ งานไม่คืบหน้า ลูกน้องก็จะเริ่มท้อใจและเบื่อว่างานไม่คืบหน้าและงานไม่สำเร็จเสียที

5. มองภาพใหญ่ ไม่ micro-manage

   หัวหน้าที่ดีควรมีความสามารถในการมองภาพใหญ่กว่าลูกน้อง เห็นว่าสิ่งที่ทำส่งผลดีอย่างไรต่อภาพรวม และมองเห็นโอกาสในการทำสิ่งนั้นๆ ให้ใหญ่ขึ้น และไม่ micro-manage เกินไป จนลูกน้องต้องเอามาให้ดูทีละขั้นตอน แล้วพอเจ้านาย approve แล้วค่อยทำต่อ เพราะถ้า micro-manage เกินไป ลูกน้องจะอึดอัดและทำงานไม่เสร็จเสียที ลูกน้องจะ burn out (หมดแรงกายแรงใจ) ได้ค่ะ

6. ให้โอกาสลูกน้องได้ทำงานที่ท้าทายขึ้น

   ทำให้ลูกน้องได้พัฒนาความสามารถและทักษะเพิ่มขึ้น แทนที่จะทำแต่งานเดิมซ้ำๆ จนเบื่อ

7. มีจริยธรรม ไม่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก

   โดยพื้นฐานแล้วคนเราเกิดมา เรารู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี หากหัวหน้าไม่มีจริยธรรม ลูกน้องก็จะรู้สึกอึดอัด ยิ่งถ้าลูกน้องให้คุณค่ากับเรื่องจริยธรรม และไม่อยากทำในสิ่งไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้มีความขัดแย้งระหว่างกันได้ หรือหากลูกน้องทำทั้งๆ ที่ในใจไม่อยากทำ ก็จะรู้สึกอึดอัด

8. ให้โอกาสให้ลูกน้องได้เติบโต

   หัวหน้าที่สนับสนุนให้ลูกน้องเติบโต เช่น ส่งไปอบรมเพิ่ม ส่งเสริม/สนับสนุนให้เรียนเพิ่ม มอบหมายงานที่ท้าทาย/โปรเจ็คใหม่ หรือโปรโมทเมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม จะทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าหัวหน้าหวังดีกับเขาจริงๆ เขาก็จะอยากทำงานให้ดีเลิศ เพื่อตอบแทนความปรารถนาดีของหัวหน้า

9. ชื่นชมและให้กำลังใจลูกน้อง

   หากลูกน้องทำงานได้ดี/ตามที่ต้องการ การขอบคุณเขาหรือการชมในความตั้งใจของเขา ก็เป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงจิตใจให้อยากทำงานเพิ่มขึ้น และหากลูกน้องทำงานผิดพลาด/เจอปัญหา อุปสรรค ก็ให้คำแนะนำและกำลังใจให้เขาเดินหน้าต่อไปได้ เขาจะรู้สึกว่ามีคนที่ support เขาอยู่

10. ให้เครดิตลูกน้อง

   ในการนำเสนอผลงานให้คนอื่นรับทราบ ก็ควรให้เครดิตและขอบคุณน้องๆ ในทีมต่อหน้าคนอื่นๆ ด้วยใจ ให้รู้ว่าทุกคนมีส่วนร่วมในผลงานที่ดีนี้ เพราะหัวหน้าไม่สามารถทำงานทุกอย่างเองได้ และลูกน้องก็รับรู้ได้ว่าหัวหน้าให้เกียรติเรา เห็นคุณค่าของเรา

อ่านแล้วลองไปปรับใช้ดูนะคะ เราสามารถฝึกให้มีคุณสมบัติดีๆ นี้ ไม่ว่าจะมีบทบาทเป็นหัวหน้าหรือไม่ค่ะ เพราะคุณสมบัติเหล่านี้ ถ้าเรามี ใครๆ ก็รักและอยากช่วยเหลือสนับสนุนค่ะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาตนเองนะคะ อ.ก้อย เป็นกำลังใจให้ทุกท่านให้เติบโตอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จค่ะ

ความสุขอย่างหนึ่งของมนุษย์เงินเดือน นอกจากการได้รับเงินเดือนตามที่ต้องการ อีกหนึ่งความปรารถนาคือการมีผู้นำที่ดี เป็นที่รักของทุกคน งานคือเงิน  เงินคืองานบันดาลสุข อาจไม่เสมอไป เพราะความสุขของการทำงานมีปัจจัยหลายประการ  หัวหน้างานถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานขององค์กร การเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันในการทำงานเป็นหัวใจสำคัญ  และนี่เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงของคนทำงานในฐานะลูกน้องคนหนึ่ง ความแตกต่างด้านข้อคิดและมุมมองการทำงานที่มีความแตกต่างกัน  บทสรุปความแตกต่างของบุคลิกหัวหน้างานแบบ 2  ขั้ว เป็นอย่างไร?  และแบบไหนที่ลูกน้องต้องการ ดังนี้

 
หัวหน้าแบบไหนที่อยากทำงานด้วย

หัวหน้างานแบบที่หนึ่ง  บุคลิกค่อนข้างใจร้อน ไม่มีเหตุผล

  • ไม่เปิดใจยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน ไม่ยอมรับความสามารถและความคิดเห็นของทีมงาน
  • ไม่สนับสนุนและร่วมผลักดันทีมงานให้ประสบความสำเร็จและพัฒนาให้เติบโต  เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน
  • ไม่เอาใจใส่และใกล้ชิดทีมงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี  ไม่มีความเอื้ออาทรอย่างจริงใจ เพื่อแสดงถึงความห่วงใยในฐานะเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
  • ไม่เป็นผู้นำที่สามารถบริหารและจัดการทีมงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ขาดศักยภาพของความเป็นผู้นำที่ดี
  • ไม่มีการประเมินผลงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานและส่งเสริมให้ทีมงานมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
  • ไม่มีการสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจของทีมงาน เพื่อสนับสนุนทีมงานให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
  • วิธีการสื่อสารไม่ชัดเจน ใช้การสื่อสารที่ไม่สามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
  • ใช้การตัดสินใจที่ขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยการใช้มุมมองเพียงส่วนตัวตัดสินใจและจัดการในการทำงาน
  • ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ ขาดมุมมองการเป็นผู้นำที่กระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงาน
  • ไม่เคยรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน เอาความคิดเห็นของตัวเองเป็นใหญ่

หัวหน้างานแบบที่สอง  บุคลิกใจเย็น รอบคอบ

  • รู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง เป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงานมีเป้าหมายร่วมกัน ปลูกฝังให้รักและภัคดีในองค์กร รู้สึกเป็นเจ้าของร่วมในธุรกิจ สามารถสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนในทีมมีความเต็มใจในการทำงาน
  • ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม  มีขั้นตอนการทำงานและการสื่อสารในทีมที่สามารถถ่ายทอดวัตถุประสงค์ของงานและเป้าหมายชัดเจน  สามารถเข้าใจและปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมาย
  • มอบความช่วยเหลือและสนับสนุนทีมงานอย่างจริงใจ  แนะนำ ส่งเสริม ให้ทีมงานได้รับความสะดวกสบาย หรือพัฒนาความสามารถให้มีโอกาสก้าวหน้าในอนาคต
  • การสร้างโอกาสและการพัฒนาสมาชิกในทีมให้เติบโต ส่งเสริมให้ทีมงานเพิ่มเติมด้านความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์และทักษะต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้สมาชิกในทีมทุกคนได้เพิ่มศักยภาพของการทำงานอย่างมืออาชีพ
  • การเปิดใจและยอมรับความคิดเห็น  การยอมรับและเข้าใจถึงมุมมองความคิดที่แตกต่าง การรักษาสิทธิและเคารพความคิดของคนอื่นเป็นการแสดงถึงศักยภาพของมุมมองที่เปิดกว้างสำหรับการทำงานเป็นทีม
  • รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความเข้าใจอย่างยืดหยุ่นในการทำงาน เรียนรู้และพยายามเข้าใจใส่ใจในการทำงานของทีม เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีร่วมกัน มีประสิทธิภาพและศักยภาพในการทำงานอย่างเต็มที่
  • การให้เกียรติและยอมรับซึ่งกันและกัน  การให้โอกาสและอิสระในการทำงาน พร้อมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็นในการทำงานอย่างเสรีภาพ ยอมรับในความสามารถและการแสดงออก
  • แสดงความจริงใจในการทำงานร่วมกัน ความร่วมมือและสามัคคีเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อพาทีมไปสู่เป้าหมาย การที่หัวหน้างานแสดงความจริงใจย่อมเป็นการสื่อให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความเชื่อใจไว้วางใจ
  • การรับฟังอย่างเข้าใจเป็นการแสดงถึงความห่วงใย ให้คำปรึกษา คอยรับฟังทุกปัญหาในการทำงานหรือการใส่ใจอย่างจริงใจในเรื่องใกล้ตัวของทีมงาน  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นพร้อมผลักดันให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ
  • ความโปร่งใสในการทำงาน พร้อมแบ่งปันข้อมูลและประโยชน์ในการทำงานร่วมกัน  เป็นสื่อกลางของทีมในการแจ้งความเคลื่อนไหว แนวโน้มการทำงานที่เกี่ยวข้องกับทีมงานอย่างชัดเจน

ท้ายสุดแล้ว ทุกคนคงทราบคำตอบแล้วใช่ไหมว่า? สำหรับการทำงานเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญที่สุดถือเป็นหัวใจของการทำงานร่วมกันเป็นทีม คือความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว หัวหน้างานที่ดีต้องเป็นผู้นำและแบบอย่างพร้อมสามารถผลักดันให้ทีมงานร่วมมือกันไปสู่เป้าหมายขององค์กร

Credit: http://inc-asean.com/lead/10-real-life-habits-coolest-bosses/?utm_source=internal&utm_medium=recommended&utm_campaign=site