รังสีอัลตราไวโอเลต มีอะไรบ้าง

จะถูกกระจายและดูดกลืนโดยโมเลกุลของก๊าซต่างๆ อนุภาคฝุ่น และเมฆที่อยู่ในชั้น บรรยากาศ การแบ่งรังสีดวงอาทิตย์ตามช่วงคลื่น

รังสีอัลตราไวโอเลต มีอะไรบ้าง

 ในแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย รังสี ultraviolet 3 ชนิด คือ

 1. Ultraviolet A เรียกสั้นๆว่า UVA เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่น 320 to 400 nm ในแสงแดดจะมี UVA มากถึง 95% รังสีชนิดนี้ สามารถผ่านทะลุกระจกได้ แม้เราอยู่ในอาคาร และเข้าสู่ผิวหนังชั้นลึกคือ dermisของเรา สามารถไปกดภูมิต้านทานของผิวหนัง อันส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถปกป้องผิวจากการเกิดและแพร่กระจายของมะเร็งผิวหนังได้
นอกจากนี้ UVA ยังส่งผลร้ายต่อผิว ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย เหี่ยวย่น เกิดจุดด่างดำ จำง่ายๆว่า UVA เกี่ยวกับ Aging

2. Ultraviolet B เรียกสั้นๆว่า UVB เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่น 290 to 320 nm มีประมาณ 5% ในแสงอาทิตย์ รังสีนี้ไม่สามารถทะลุกระจกเข้ามาได้
UVB เป็นสาเหตุให้เกิดผิวไหม้แดด เกรียมแดด เมื่อเราออกไปอยู่กลางแจ้งจำง่ายๆว่า UVB เกี่ยวกับ Burning

3. Ultraviolet C เรียกสั้นๆว่า UVC เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่น 100 to 290 nm
รังสีชนิดนี้ ไม่ลงมายังผิวโลกค่ะ เพราะถูกดูดซึมไปในชั้นโอโซนของบรรยากาศ UVC นั้นถูก ozone กรองไว้ จึงไม่สามารถผ่านมายังพื้นผิวโลกได้ แต่ปัจจุบันบางพื้นที่มี ozone ลดลง ทำให้แสง UV อาจผ่านลงมาสู่พี้นผิวโลกได้มากขึ้น

รังสีอัลตราไวโอเลตทั้งสามชนิดคือ UVA, UVB และ UVC สามารถทำให้คอลลาเจนในผิวหนังเสื่อมสภาพได้ ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย แต่ UVA มีความรุนแรงน้อยที่สุด เพราะไม่สามารถก่อให้เกิดอาการแดดเผา (sunburn) ทว่ายังน่ากลัวอยู่ที่สามารถแปลงสภาพ DNA ได้ จนอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง แต่ร่างกายก็สามารถป้องกันได้ โดยการสร้างเม็ดสีเมลานินขึ้นมา เพื่อป้องกันการทะลวงของยูวี จึงทำให้ผิวคล้ำดำมากขึ้น
นอกจากผิวหนังแล้ว ยูวียังเป็นอันตรายต่อดวงตา โดยเฉพาะ UVB ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า arc eye คือรู้สึกเหมือนมีทรายเข้าตา หรือถ้ารุนแรงกว่านั้นอาจทำให้เป็นโรคต้อกระจก (cataract) ได้ โดยเฉพาะในหมู่ช่างเชื่อมโลหะ การป้องกันก็คือ สวมใส่แว่นป้องกัน หรือทาโลชั่นที่มีค่า SPF สูงๆ


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อเครื่องวัดแสง คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

รังสีอัลตราไวโอเลต

รังสีอัลตราไวโอเลต มีอะไรบ้าง

Posted by Supachai ANGKAPRASERT on January 16, 2020

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (อังกฤษ: ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 100-400 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV

 

มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง

 

แหล่งกำเนิดรังสีอัลตราไวโอเลต

1. การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ (solar radiation) เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการแผ่รังสีที่ส่องมาถึงโลก โดยประกอบด้วยรังสี UVC UVB และUVA รวมถึงช่วงคลื่นที่มนุษย์มองเห็น และรังสีอินฟาเรด แต่รังสีบางส่วนจะถูกดูดซับไว้ในชั้นบรรยากาศ ส่วนที่เหลือสามารถส่องมาถึงผิวโลกในระดับไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

 

2. แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial sources) ได้แก่วัตถุทุกชนิดที่ถูกทำให้ร้อน จนมีอุณหภูมิสูง มากกว่า 2500 องศาเคลวิน สามารถปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลตได้ ซึ่งเป็นวัตถุอุปกรณ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น สำหรับการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง เช่น ทางการแพทย์ ทางการเกษตร เป็นต้น

 

พลังงานของช่วงคลื่นที่แผ่มาจากดวง อาทิตย์ ตั้งแต่ช่วงคลื่นสั้นต่างๆจนถึง 175 นาโนเมตร จะถูกดูดซับด้วยออกซิเจนในชั้นสตราโทสเฟียร์ที่ความสูงประมาณ 100 กิโลเมตร และพลังงานความยาวคลื่นตั้งแต่ 175 ถึง 280 นาโนเมตร หรืออยู่ในช่วงคลื่นอัลตร้าไวโอเลตซี (UVC) จะถูกดูดชั้นโอโซนทำลาย ซึ่งช่วงคลื่นเหล่านี้มีระดับพลังงานสูงหากผ่านมาถึงผิวโลกจะเป็นอันตรายต่อ มนุษย์มาก แต่ปัจจุบันชั้นโอโซนถูกทำลายลงมากทำให้อัตราการแผ่รังสียูวีซี(UVC) ลงมาถึงผิวโลกมีเพิ่มมากขึ้น

สำหรับพลังงานในช่วงคลื่นตั้งแต่ 280-3000 นาโนเมตร ประกอบด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี (UVB) 280-315 นาโนเมตร รังสีอัลตร้าไวโอเลตเอ (UVA) 315-400 นาโนเมตร ช่วงคลื่นที่ตามนุษย์มองเห็น 400-760 นาโนเมตร และรังสีอินฟาเรด 760-3000 นาโนเมตร

ช่วงคลื่นที่ตามองเห็น และช่วงคลื่นรังสีอินฟาเรดจะสามารถเข้าสู่ผิวหนังของมนุษย์ได้ แต่จะไม่ถูกดูดซับไว้จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่รังสีอัลตร้าไวโอเลตเอ และบี (UVA), (UVB) สามารถเข้าสู่ผิวหนัง และถูกดูดซับไว้โดยรังสี UVA จะเข้าสู่ผิวหนังลึกสุด และดูดซับมากกว่ารังสี UVB

รังสี UVB มีค่าพลังงานมากกว่ารังสี UVA มีผลสามารรถทำลายดีเอ็นเอ (DNA) และเกิดมะเร็งส่วนผิวหนังได้ รังสีUVA ถึงแม้จะมีระดับพลังงานที่ต่ำกว่า แต่ยังสามารถแทรกสู่ผิวได้ลึกกว่า หากสัมผัสในระยะเวลานาน และต่อเนื่องจะทำให้เซลล์ผิวหนังอ่อนล้า เสื่อมเร็ว แลดูเหี่ยวย่น จนถึงระดับรุนแรงที่อาจเกิดเป็นเซลล์มะเร็งขึ้นได้

รังสี UV หากได้รับในระดับต่ำจะมีประโยชน์ต่อการสร้างวิตามินดี และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินความเป็นประโยชน์จะมีผลต่อการทำลายระบบภูมิคุ้ม กัน การทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ทำให้ผิวหนังแลดูเหี่ยวหยุ่นจนถึงขั้นระดับรุนแรงกลายเป็นเซลล์มะเร็ง

 

ชนิดย่อย

สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าของแสงเหนือม่วงสามารถแบ่งย่อยได้หลายวิธี ร่างมาตรฐาน ISO ที่กำหนดชนิดแสงเปล่งของดวงอาทิตย์ (ISO-DIS-21348) [1] อธิบายช่วงเหล่านี้:

 

ชื่อ

ตัวย่อ

ช่วงความยาวคลื่น เป็นนาโนเมตร

พลังงานต่อโฟตอน

อัลตราไวโอเลต เอ, คลื่นยาว, หรือ แบล็คไลท์

UVA

400 nm - 315 nm

3.10 - 3.94 eV

ใกล้

NUV

400 nm - 300 nm

3.10 - 4.13 eV

อัลตราไวโอเลต บี หรือ คลื่นกลาง

UVB

315 nm - 280 nm

3.94 - 4.43 eV

กลาง

MUV

300 nm - 200 nm

4.13 - 6.20 eV

อัลตราไวโอเลต ซี, คลื่นสั้น, หรือ germicidal

UVC

280 nm - 100 nm

4.43 - 12.4 eV

ไกล

FUV

200 nm - 122 nm

6.20 - 10.2 eV

สุญญากาศ

VUV

200 nm - 10 nm

6.20 - 124 eV

ไกลยิ่ง

EUV

121 nm - 10 nm

10.2 - 124 eV

 

ประโยชน์

ประโยชน์ของรังสีอัลตราไวโอเลตนั้นมีมาก ดังจะได้กล่าวคร่าว ต่อไปนี้

แบล็กไลต์

แบล็กไลต์ (black light) เป็นหลอดที่เปล่งรังสียูวีคลื่นยาว มีสีม่วงดำ ใช้ตรวจเอกสารสำคัญ เช่น ธนบัตร, หนังสือเดินทาง, บัตรเครดิต ฯลฯ ว่าเป็นของจริงหรือปลอม หลายประเทศได้ผลิตลายน้ำที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในรังสีชนิดนี้ นอกจากนี้ แบล็กไลต์ยังสามารถใช้ล่อแมลงให้มาติดกับ เพื่อที่จะกำจัดภายหลังได้

หลอดฟลูออเรสเซนต์

หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดเรืองแสง ใช้หลักการผลิตรังสีอัลตราไวโอเลต โดยการทำให้ไอปรอทแตกตัว รังสีที่ได้จะไปกระทบสารเรืองแสงให้เปล่งแสงออกมา

ดาราศาสตร์

ในทางดาราศาสตร์ โดยปกติแล้ววัตถุที่ร้อนมากจะเปล่งยูวีออกมา เราจึงสามารถศึกษาวัตถุท้องฟ้าได้โดยผ่านทางยูวี ทว่าต้องไปปฏิบัติในอวกาศ เพราะยูวีส่วนมากถูกโอโซนดูดซับไว้หมด

การวิเคราะห์แร่

รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถใช้ตรวจวิเคราะห์แร่ได้ แม้ว่าจะดูเหมือนกันภายใต้แสงที่มองเห็น แต่เมื่อผ่านยูวีแล้วก็จะเห็นความแตกต่างได้

การฆ่าเชื้อโรค

รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะในน้ำดื่ม และยังสามารถนำไปฆ่าเชื้อในเครื่องมือ หรืออาหารได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้กับเครื่องกรองน้ำอย่างแพร่หลาย

 

 

Credit: https://th.m.wikipedia.org/wiki/รังสีอัลตราไวโอเลต

  • Tags: ultraviolet, UV

← Older Post Newer Post →


0 comments


Leave a comment

Name Email

Message

Please note, comments must be approved before they are published

รังสีอัลตราไวโอเลตประกอบด้วยอะไรบ้าง

สรุป รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มนุษย์อย่างเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ UVA UVB และ UVC ซึ่งแต่ละชนิดของรังสีอัลตราไวโอเลต คุณสมบัติแตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ครีมกันแดดที่สามารถปกป้องได้อย่างครอบคลุม เพื่อไม่ให้ผิวถูกทำลายจนมีสภาพที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง

รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นคลื่นชนิดใด

รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet Radiation : UV) หรือรังสีเหนือม่วง เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการแผ่ของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 100~400 นาโนเมตร ความถี่ 1015~1217Hz ซึ่งตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ มีคุณสมบัติไม่แตกตัว (non-ionizing)

รังสี UV มีที่ไหนบ้าง

แหล่งที่มาของรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) มาจากไหนได้บ้าง.
แสงจากดวงอาทิตย์.
หลอดไฟ Black light Blue (BLB) หรือแสงจากหลอดไฟต่างๆภายในบ้าน.
Short wave UV lamp ที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อโรค.
UV laser มีทั้งที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม การแกะสลัก ทางการแพทย์ และอื่นๆ.
แสงที่ออกมากับการเชื่อมโลหะต่างๆ.

รังสียูวีรักษาโรคอะไร

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวี (UV) นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตวิตามินดีแล้ว ยังนำมาใช้รักษาโรคหลายชนิด เช่น ด่างขาว สะเก็ดเงิน โรคกระดูกอ่อนในเด็ก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากได้รับรังสียูวีติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ป้องกัน อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง ดวงตา ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น