ภูมิปัญญา การจัดการน้ำในสมัยสุโขทัย คือ ข้อ ใด

ภูมิปัญญาล้านนาในการบริหารจัดการน้ำ

ภูมิปัญญาล้านนาในการบริหารจัดการน้ำ

“ฝาย” ภูมิปัญญาล้านนาในการบริหารจัดการน้ำ มีการกำหนดกฏเกณฑ์การทำงานตั้งแต่สมัยพ่อขุนมังรายณ์ ในการร่วมมือกันของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร

        ลักษณะภูมิประเทศของล้านนาเป็นที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีการทำไร่นาและการตั้งชุมชน จึงจำเป็นต้องมีระบบชลประทานที่เหมาะสมเพื่อการทำเกษตรกรรม การทำนาโดยอาศัยน้ำฝนอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีได้การทำนาจากการใช้น้ำจากน้ำเหมือง ซึ่งจะให้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอเพราะมีน้ำมาหล่อเลี้ยงตลอดปี โดยที่ระบบเหมืองฝายที่ได้มีการพัฒนาการมานานหลายทศวรรษอย่างต่อเนื่อง ปรากฎในพงศาวดารและตำนวนของอาณาจักรโบราณทั้งหลาย ได้แก่ ตำนานสุวรรณโคมคำ โยนกนาคนคร หิรัญนครเงิน ยางเชียงแสน ตำนานเมืองพะเยา เป็นต้น อาณาจักรเหล่านี้ใช้ระบบเหมืองฝายเพื่อทดน้ำขึ้นมาใช้ในไร่นาเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม  ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาที่สามารถปรับตัวเข้ากับระบบนิเวศได้อย่างเหมาะสม ดังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารโยนก (พระยาประชากิจกรจักร์. 2516) ตอนหนึ่งที่ว่า “…ข้าจักลอมน้ำอันหนึ่งฟากน้ำปิง กล้ำวันออกให้เป็นแม่น้ำ … ให้ชาวบ้านชาวเมืองได้แป๋งฝายเอาน้ำเข้านา”

        การชลประทานของล้านนาได้มีการพัฒนาการต่อมาด้วยการวางระเบียบแบบแผนการจ่ายน้ำทั้งระบบขนาดใหญ่และขนาดเล็กโดยข้อกำกนดเหล่านี้ได้มีตราไว้ในกฎหมายเก่าแก่ของล้านนา คือ “มังรายศาสตร์ “ โดยสาระสำคัญ ข้อกำหนดในกฎหมานนี้เป็นการร่วมแรงกันในการสร้างและการบำรุงรักษาเหมืองฝาย รวมทั้งการปรับโทษในการขโมยน้ำและการทำเหมืองฝายชำรุดเสียหาย ภูมิประเทศที่สร้างเหมืองฝายนิยมเลือกบริเวณที่มีลำห้วย ณ ทำเลที่น้ำไหลลงมาจากหุบเขา เมื่อกั้นทำนบแล้วก็จะส่งน้ำไปตามลำเหมือง หรือคลองส่งน้ำที่ขุดขึ้นจากการร่วมใจร่วมแรงของประชาชนในท้องถิ่น น้ำนี้จะถูกปันเข้าสู่ไร่นาเบื้องล่าง สำหรับเหมืองฝายขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นอย่างถาวรนั้น ส่วนมากจะนิยมสร้างขว้างแม่น้ำสายใหญ่ ฝายขนาดใหญ่จะมีลำเหมืองส่งน้ำไปเลี้ยงพื้นที่นาทำให้สามารถขยายที่ทำนาทำไร่ได้กว้างขวางขึ้น โดยมีระบบเหมืองซอยหลายสายแจกจ่ายน้ำเป็นเครือข่าย ในกรอบอ้างอิงของชาวบ้านล้านนา “ฝาย”เป็นทำนบกั้นน้ำขนาดใหญ่ “แต” เป็นทำนบหรือประตูน้ำที่แยกจากฝายเข้าสู่เหมืองขนาดเล็ก “ต่าง” เป็นประตูน้ำเล็กแยกน้ำจากแตไปสู่ไร่นา และ ”ตอน” เป็นทำนบคลองย่อยที่มีขนาดเล็กสุดที่จ่ายน้ำเข้าสู่ที่นาแต่ละแปลง

ภูมิปัญญา การจัดการน้ำในสมัยสุโขทัย คือ ข้อ ใด

        การบำรุงรักษาดูแลเหมืองฝาย การควบคุมการแจกจ่ายน้ำ การยุติข้อพิพาทแย่งชิงน้ำกัน และการแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ นั้นจะต้องมีผู้ควบคุมดูแลซึ่งหัวหน้าใหญ่ที่คอยดูแลเหมืองฝายให้เกิดประโยชน์เหมาะสมเรียกว่า “แก่ฝาย”ส่วนการระบายน้ำเข้าไร่นาจะมีผู้จัดการเรียกว่า “แก่เหมือง” สำหรับแก่เหมืองจะต้องเป็นผู้ดูแลลำเหมืองและจัดสรรปันน้ำให้แก่ลูกเหมืองอย่างถูกถ้วนและยุติธรรม ส่วนแก่ฝายก็ได้ผู้ที่เลือกมาจากแก่เหมืองที่มีลักษณะเป็นผู้นำสูงและเป็นที่ยอมรับนับถือ เพราะจะต้องเป็นหัวหน้าแก่เหมืองทั้งหมด โดยปกติแก่ฝายคนหนึ่งจะมีแก่เหมืองเป็นลูกน้อง 10 – 20 คน และแก่ฝายแก่เหมืองนั้นต้องทำงานหลายอย่าง และต้องใช้เวลามากในการดูแลรับผิดชอบคลองเล็กคลองย่อยของระบบแก่เหมืองของแต่ละหมู่บ้านจะคอยบอกกล่าวความต้องการใช้น้ำของชาวนาให้กับแก่เหมืองที่ดูแลคลองส่งน้ำที่ใหญ่กว่าขึ้นไปเป็นลำดับไปจนถึงแก่ฝายและรับถ่ายทอดคำสั่งและข้อมูลการตัดสินใจจากแก่ฝายและแก่เหมืองอื่นๆ และมีการจัดประชุมปรึกษาหารือกันทั้งหมดเพื่อซ่อมแซมฝาย ปันน้ำในฤดูแล้ง หรือบอกกล่าวเกณฑ์แรงงานลูกบ้าน แก่เหมืองแต่ละคนจะมีหน้าที่ตัดสินใจภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตนเองดังนี้

ภูมิปัญญา การจัดการน้ำในสมัยสุโขทัย คือ ข้อ ใด

1. แก่เหมือง

  • จัดสรรปันน้ำในหมู่บ้านให้ทั่วถึงยุติธรรม
  • ตรวจตราดูแลลำเหมืองและประตูน้ำในหมู่บ้านไม่ให้ชำรุดเสียหาย
  • นัดหมายชาวบ้านให้มาช่วยกันทำและซ่อมแซมเหมืองฝาย
  •  รับความคิดและคำสั่งจากแก่ฝายมาสู่การปฏิบัติในหมู่บ้าน ภายใต้การควบคุมดูแลของตน
  • แก้ปัญหาและตัดสินเมื่อเกิดกรณีพิพาทเรื่องน้ำในหมู่บ้าน
  • ทำบัญชีรายชื่อชาวนาผู้ร่วมใช้น้ำและเป็นสมาชิกของระบบเหมืองฝาย

2. แก่ฝาย

  • ตัดสินใจเกี่ยวกับการสร้างและบำรุงรักษาเหมืองฝาย รวมทั้งการขุดลอกและซ่อมแซมลำเหมือง
  • เก็บบัญชีรายชื่อชาวนาผู้ร่วมใช้น้ำ
  • ตรวจตราและควบคุมการจัดสรรปันน้ำแก่สมาชิกให้ทั่วถึง
  • ตรวจตราและดูแลประตูน้ำ (แต ต่าง ตอน) ของทุกหมู่บ้านให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ หากพบผู้ใดฝ่าฝืนต้องตามตัวมารับโทษ ปรัยหรือส่งเรื่องราวให้กับฝายปกครอง
  • ตัดสินใจและกำหนดวันเวลาในการสร้างหรือซ่อมแซมฝาย
  • ประสานงานกับฝ่ายปกครอง เพื่อเสนอปัญหา งบประมาณ เป็นต้น
  • เป็นผู้ตัดสินถ้าเกิดกรณีพิพาทเรื่องน้ำ

ที่มา :

พรพิไล เลิศวิชา, สุพชัย  เมถิน , นนธชัย นามเทพ. เหมืองฝาย จัดการน้ำ จัดการคน บนพื้นฐานภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม.2552

ศาสตราจารย์ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง.หนังสือชุดภูมิปัญญาชาวบ้านกับกระบวนการเรียนรู้และปรับตัวของชาวบ้านไทย (ภูมิปัญญาล้านนา).2540