คุณธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จคืออะไร

คุณธรรมที่ทําให้ประสบความสําเร็จหมายถึงข้อใด ก.ธรรมของฆราวาส4 ข.พรหมวิหาร4 ค.สังคหวัตถุ4 ง.อิทธิบาท4

Posted by วันนั้น เมื่อฉันบรรจุ on Saturday, August 24, 2019

วิธีง่าย ๆ ค่ะ แค่จัดการกับเรื่องเครียดหรือปัญหาในการทำงานเหล่านั้น ด้วยการนำหลักธรรมที่เราได้เรียน ได้รู้ตั้งแต่ตอนเรียนมาปรับใช้ แล้วจะเอาหลักธรรมมาปรับใช้ในการทำงานอย่างไรมาดูกันค่ะ

          หลักธรรมที่สามารถนำมาปรับใช้ในเรื่องของการทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จได้ ก็คือ หลักธรรมในอิทธิบาท 4 ค่ะ

1. ฉันทะ

          เป็นความพอใจในงานที่ทำ หรือรักงานที่ทำ ให้คุณลองสำรวจตัวเองว่า งานที่กำลังทำอยู่นั้นเป็นงานที่คุณรัก ที่คุณชอบ และพอใจที่จะทำหรือไม่ คุณสนุกกับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในงานที่คุณทำอยู่หรือเปล่า หรือคุณอึดอัด เครียดกับงาน คิดแก้ปัญหาในงานของคุณไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างหลัง งานที่คุณทำในตอนนี้อาจจะไม่ตรงกับความรู้ความสามารถของคุณหรือความถนัดของคุณก็ได้นะคะ ฉะนั้น คุณควรหาทางปรับเปลี่ยนงานให้ตรงกับความสามารถหรือความถนัดของคุณ แต่ถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ การปรับตัวให้เข้ากับงานนั้นโดยการพยายามทำความเข้าใจกับงาน หาความรู้เกี่ยวกับงานที่คุณต้องทำนี้เพิ่มเติม น่าจะเป็นวิธีที่เป็นไปได้ ที่จะทำให้คุณชอบงาน และพอใจที่จะทำงานนั้น ๆ มากขึ้นค่ะ

2. วิริยะ

          เป็นความขยันหมั่นเพียร หรือความเพียรพยายามในการทำงาน ตัวคุณทำงานอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง คุณพยายามแก้ไขปัญหาในการทำงานแค่ไหน ถ้าคุณยังรู้สึกว่าตัวเองยังไม่เต็มที่กับการทำงานเท่าที่ควร หรือประสิทธิภาพในการทำงานของตัวเองยังไม่เหมาะกับงานที่คุณต้องรับผิดชอบ ฉะนั้น คุณควรพยายามเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของตัวเอง ด้วยการแสวงหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และเพิ่มพูนทักษะในการทำงานของคุณอยู่เสมอค่ะ

3. จิตตะ

คุณธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จคืออะไร
          เป็นความเอาใจใส่ในงาน คุณเป็นหนึ่งที่ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ไม่ดีเท่าที่ควรหรือเปล่า งานของคุณยังมีข้อบกพร่อง หรือข้อผิดพลาดอยู่เรื่อย ๆ หรือไม่ ถ้าใช่ คุณควรนำหลักธรรมข้อนี้มาปรับใช้ค่ะ คุณควรจะเป็นคนทำงานที่เอาใจใส่ในงาน มีความรอบครอบ และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย

4. วิมังสา

          เป็นการใช้ปัญญาตรวจสอบงานด้วยเหตุและผล นั่นก็คือเมื่อต้องเจอกับปัญหาในที่ทำงาน หรือในการทำงาน คนทำงานบางคนอาจจะเผลอใช้อารมณ์ในที่ทำงาน ซึ่งนั่นไม่ใช่วิธีที่ถูก แต่หลักธรรมข้อนี้จะสามารถนำมาปรับใช้ได้ คุณต้องใช้เหตุและผลในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา  คุณก็จะเจอวิธีแก้ปัญหาในการทำงานได้ในที่สุด

          บางคนอาจจะคิดว่าหลักธรรมเข้าใจยาก จะเอามาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน หรือปรับใช้ในการทำงานอย่างไร บทความนี้เป็นคำตอบค่ะ คนทำงานทุกคนสามารถนำเอาหลักธรรมอิทธิบาท 4 นี้มาใช้ในการทำงาน เพื่อให้การทำงานของคุณประสบความสำเร็จได้ค่ะ

New jobs every day means new opportunities. Don't miss out. Create a Job Alert

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ศิลปะในการแก้ปัญหาของคนทำงาน

ทำงานภายใต้ความกดดันอย่างไรให้มีความสุข

ทำงานประสบความสำเร็จ  ทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ  ทำงานให้ประสบความสำเร็จ  ประสบความสำเร็จในการทำงาน

บทความยอดนิยม

คุณธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จคืออะไร

ช้อปดีมีคืน 2566 รวมทุกเรื่องต้องรู้! ช้อปแบบไหนถึงมี (เงิน) คืน

มาตรการลดหย่อนภาษีประจำปี “ช้อปดีมีคืน” ของทางภาครัฐกลับมาอีกครั้ง ชาวไทยผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจึงพากันให้ความสนใจโครง...

หมายถึง ความซื่อสัตย์ซื่อตรง การตั้งมั่นในความสัตย์ ปฏิบัติอย่างซื่อตรงย่อมทำให้ผู้น้อมนำหลักธรรมสู่ชีวิตจะกลายเป็นผู้ที่ได้รับความนับถือ ได้รับความไว้วางใจทั้งจากเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนถึงผู้คนที่อยู่รอบตัวอีกทั้งความซื่อสัตย์ไม่คดโกงนั้นยังช่วยคุ้มครองให้พ้นจากข้อติคำครหาอันเป็นเหตุแห่งความล้มเหลวในหน้าที่การงานได้

หมายถึง การข่มจิตข่มใจ การรู้จักระงับอารมณ์เมื่อมีความไม่พอใจเกิดขึ้น เป็นหลักธรรมที่สำคัญยิ่งโดยเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือทำงานเป็นทีม การระงับข่มอารมณ์เกรี้ยวกราดก้าวร้าวนี้จะช่วยไม่เกิดความขุ่นของหมองใจต่อกัน ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันหรือทำงานร่วมกันได้โดยราบรื่นและประสบความสำเร็จได้

หมายถึง ความอดทนอดกลั้น เป็นหลักธรรมสำคัญต่อทุกความสำเร็จ เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน การศึกษาเล่าเรียน หรือการประกอบกิจประการใดก็ล้วนจะต้องพบเจอกับปัญหาและความยากลำบาก การฝึกตนให้เป็นผู้มีขันติจึงช่วยให้สามารถฝ่าฟันผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ และก้าวสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด

หมายถึง ความเสียสละ ความเสียสละนี้เป็นธรรมข้อสำคัญในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่จำเป็นต้องทำร่วมกับผู้อื่นหากผู้ร่วมงานทุกคนต่างปราศจากความเสียสละ ไม่ลงทุนลงแรง ไม่ยอมปิดทองหลังพระเสียบ้าง การงานนั้นก็ย่อมบกพร่อง และคงประสบความสำเร็จโดยสมบูรณ์ไม่ได้

อิทธิบาท 4

อิทธิบาท คือ หลักธรรมแห่งความสำเร็จอันประกอบไปด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่

หมายถึง ความฝักใฝ่ ตั้งมั่น และมีกำลังใจในสิ่งที่ทำโดยไม่ทะเยอทะยานจนเกินเหตุ การน้อมนำหลักธรรมนี้มาใช้ย่อมจะทำให้เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น มีเรี่ยวกายแรงใจในการทำหน้าที่การงานอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จได้

หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะทำกิจการใดก็ตามหากตั้งมั่นอยู่ในความขยันหมั่นเพียรด้วยจิตใจอันไม่ย่อท้อ ก็สามารถจะทำให้สิ่งที่ทำอยู่นั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น แม้จะมีอุปสรรคผ่านเข้ามา ความเป็นผู้เพียบพร้อมในธรรมแห่งวิริยะนี้ก็จะช่วยให้สามารถฝ่าฟันจนผ่านพ้นไปได้

หมายถึง สมาธิ การมีสมาธิทำให้จิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำหรือสิ่งที่คิด โดยไม่วอกแวกไปกลุ้มกังวลอยู่กับเรื่องอื่น การจดจ่อในสิ่งที่ทำย่อมทำให้ผลงานที่เกิดขึ้นมีคุณภาพ เพราะเกิดมาจากการพิจารณาไตร่ตรองโดยถี่ถ้วนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ จิตตะยังหมายถึงการไม่ละทิ้งต่อหน้าที่ ซึ่งก็สามารถอธิบายได้ในความหมายที่คล้ายคลึงกับสมาธินั่นเอง

หมายถึง ความมีปัญญาและเหตุผลธรรมข้อนี้เป็นหลักสำคัญในการกระทำสิ่งทั้งปวง เพราะหากตั้งมั่นอยู่ในสติปัญญาและความมีเหตุมีผลแล้วก็ทำไม่เกิดความผิดพลาด แม้จะต้องเผชิญกับปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยความสุขุม ตรงจุด จนปัญหานั้นบรรเทาเบาบางลง และสามารถมุ่งเดินไปสู่เป้าหมายได้โดยราบรื่น

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ คือ หลักธรรมอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่นอันประกอบไปด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่

หมายถึง การให้ด้วยจิตใจอันพร้อมเสียสละ การให้นี้เป็นสิ่งสำคัญผูกใจผู้อื่นได้ เพราะจะช่วยให้ผู้รับได้ตระหนักถึงความเอื้อเฟื้อ ความไม่ตระหนี่ถี่เหนียวหรือเป็นผู้เห็นแก่ได้ และเกิดความนับถือในจิตใจอันเสียสละของผู้ให้

หมายถึง การพูดจาด้วยถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวาน การพูดจาด้วยถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวานย่อมทำให้ผู้ฟังรู้ไม่รู้สึกขุ่นข้องหมองใจ และนำมาสู่ความรู้สึกที่เป็นมิตรได้ นอกจากนี้ปิยวาจายังหมายถึงถ้อยคำที่ซื่อสัตย์ซื่อตรง มีความตรงไปตรงมาแต่ไม่ก้าวร้าวหยาบคาย การตั้งมั่นในคำสัตย์นี้ย่อมทำให้ผู้พูดได้รับความไว้วางใจและเป็นที่นับถือ

หมายถึง การสงเคราะห์หรือประพฤติตนในทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นธรรมช่วยให้ผู้อื่นรับรู้และซาบซึ้งในความมีน้ำจิตน้ำใจ ทั้งยังพร้อมกลับมาเกื้อกูลต่อกันและกันเมื่อโอกาสมาถึง จึงจะช่วยให้ผู้ที่น้อมนำไปปฏิบัตินั้นประสบสามารถความสำเร็จได้โดยง่ายเพราะมีหมู่มิตรที่คอยเกื้อหนุนจุนเจือซึ่งกันและกันโดยไม่ขาด

หมายถึง การเป็นผู้มีความเสมอต้นเสมอปลาย มีจิตใจอันหนักแน่นไม่โลเล การตั้งมั่นในธรรมข้อนี้ย่อมจะทำให้ผู้อื่นมีความไว้วางใจ และพร้อมยกให้ผู้ปฏิบัตินั้นเป็นผู้นำได้โดยไม่รู้สึกขัดข้องกังขาจึงนับเป็นธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นผู้นำ เป็นเจ้านาย หรือเป็นหัวหน้า ไม่ว่าจะในหน้าที่การงานใดก็ตาม