ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน อยู่ในงาน อะไร

       

  ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริมพัฒนา การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤตทั้งปวง คุณค่าของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบไปด้วย
          1. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงตามสภาพปัญหา
          2. สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดีและอบอุ่น
          3. นักเรียนรู้จักตนเอง ควบคุมตนเองได้ มีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ซึ่งจะเป็นรากฐานในการพัฒนาความเก่ง (IQ) คุณธรรมจริยธรรม (MQ) และ ความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรค (AQ)
          4. นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพโดยรอบด้าน
          5. ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างเข้มแข็ง จริงจังด้วยความเอื้ออาทร

          ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลและช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจนโดยมีผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการ มีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลภายนอก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากสถานศึกษา กระบวนการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นระบบ มียุทธศาสตร์ในการดำเนินงานดังนี้
          1. กำหนดทิศทางและกลยุทธ์ มีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้อง ศึกษานโยบายมาตรฐานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาศักยภาพของโรงเรียนและกำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนเพื่อให้การพัฒนาตรงต่อความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างแท้จริง
          2. กำหนดมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการร้อยรัดผูกมัดการดำเนินงานในสถานศึกษาให้เป็นหนึ่งเดียวกับกระบวนการทำงานต่างๆ ไม่ให้บุคลากรครูรู้สึกว่ามีภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น จนแบกรับภาระไม่ไหว ให้การทำงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปด้วยความสุข ทั้งผู้ปฏิบัติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยอาจเชื่อมโยงในการดำเนินงานระบบการแนะแนว ระบบป้องกันสารเสพติด ระบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระบบความปลอดภัยของสภาพสิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน
          3. พิจารณามาตรฐานและตัวชี้วัดโดยผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการยอมรับการวางมาตรการ และแนวปฏิบัติให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งระบบ เช่น มีการทบทวนให้ความรู้แก่บุคลากรครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันในการปฏิบัติงาน มีการคัดกรองและช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา วางแนวทางการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน มีมาตรการช่วยเหลือนักเรียน เป็นต้น
          4. วางแผนการดำเนินงาน โดยการกำหนดเป้าหมายและลำดับความสำคัญ กำหนด มาตรฐานการปฏิบัติงาน กำหนดกิจกรรม/โครงการ และมอบหมายหน้าที่การดำเนินงานตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้
          5. ดำเนินงานตามแผน โดยเริ่มตั้งแต่ การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรอง การส่งเสริมพัฒนา การป้องกัน แก้ไข ช่วยเหลือ และการส่งต่อนักเรียนในรายที่มีปัญหาร้ายแรง
          6. นิเทศ กำกับ ติดตาม งานที่มอบหมาย กำหนดให้มีการประสานสัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้อง เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงาน มีการพัฒนาบุคลากรให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง
          7. ประเมินผลและสรุปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน วางแผนการประเมิน ประเมินตามมาตรฐานและแผนการประเมิน จัดทำรายงานและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ขอบข่ายงาน บทบาท และหน้าที่

  1.   แต่งตั้งคณะกรรมการระดับ ดำเนินการส่งเสริม พัฒนา ป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนในระดับ
    ร่วมกับครูที่ปรึกษา ครูผู้สอนและฝ่ายบริหาร กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในระดับชั้น
    ที่รับผิดชอบทุกวัน และบันทึกรายงานผลการดำเนินงานให้รองผู้อำนวยการกิจการฯ ทราบ
  2. กำหนดแผน/โครงการประชุมผู้ปกครอง ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการจัดการ
    ประชุมเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ประเมินผลการดำเนินงานและรายงานให้ผู้บริหาร ครู
    และสาธารณชนทราบ
  3. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  ดำเนินการรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล จำแนกตามห้องเรียน
    ระดับชั้น
  4. การคัดกรองนักเรียน ประสานงานครูที่ปรึกษานักเรียน ดำเนินการคัดกรองนักเรียน จำแนกตามห้องเรียน
    และตามระดับชั้นเรียน
  5. การส่งเสริมพัฒนานักเรียน ประสานครูที่ปรึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มงานในการส่งเสริมพัฒนา
    นักเรียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
  6. การป้องกันและแก้ไขปัญหา  ประสานงานครูที่ปรึกษา หัวหน้าระดับ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
  7. การส่งต่อ  ประสานงานครูที่ปรึกษา ฝ่ายบริหาร หัวหน้าระดับ ในการส่งต่อนักเรียน
  8. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน อยู่ในงาน อะไร
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านครับ

  • ความสำคัญ
  • ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนคืออะไร ?
  • วัตถุประสงค์ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  • ประโยชน์และคุณค่าของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  • กระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    • การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
    • การคัดกรองนักเรียน
    • การป้องกันและแก้ไขปัญหา
    • การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียน
  • การส่งเสริมพัฒนานักเรียน
  • การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน
  • การส่งต่อ

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

โดย นายณฐวัฒน์ จิรโชติพัฒนสิน ครูโรงเรียนวัดข่อย สพป. สิงห์บุรี

ความสำคัญ

สภาพสังคม ในปัจจุบันนี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ ปัญหายาเสพติด การศึกษา และการระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อครอบครัวทางด้านรายได้ และการว่างงานตามมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบกับการวงการศึกษาอย่างมาก ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นครูผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนควรตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นรอบด้านจากการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมอย่างรวดเร็วนี้ในทุกมิติ เพื่อเป็นการป้องกันและช่วยเหลือแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดกับนักเรียน

จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นคุณครูควรนำระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน มาปรับประยุกต์ใช้ในงานของตนและพัฒนาให้เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียนตนเอง เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตต่อไป

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนคืออะไร ?

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริม พัฒนา การป้องกัน และแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข็มแข็ง คุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดารงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤติทั้งปวง ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ ระบบที่เน้นกระบวนการ วิธีการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอนด้วยเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีฝ่ายกิจการนักเรียน งานแนะแนว งานส่งเสริมสุขภาพ งานระเบียบวินัย งานป้องกันสารเสพติด และครูประจำชั้นหรือที่ปรึกษา เป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการส่งเสริม ดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่างๆ ภายในโรงเรียน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร และครูทุกคน มีวิธีการและเครื่องมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพ และมีหลักฐานการทางานที่ตรวจสอบได้

วัตถุประสงค์ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

  1. เพื่อให้การดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อให้โรงเรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการทำงานร่วมกัน โดยผ่านกระบวนการทางานที่ชัดเจน มีร่องรอยหลักฐานการปฏิบัติงาน สามารถตรวจสอบและประเมินผลได้

ประโยชน์และคุณค่าของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

  1. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และตรงตามสภาพปัญหา
  2. นักเรียนรู้จักตนเอง และความสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี และอบอุ่น
  3. นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพอย่างรอบด้าน
  4. ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างเข้มแข็ง จริงจัง ด้วยความเสียสละ เอาใจใส่

กระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีขั้นตอนกระบวนการ 5 องค์ประกอบ คือ

  1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
  2. การคัดกรองนักเรียน
  3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
  4. การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน
  5. การส่งต่อ
ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน อยู่ในงาน อะไร
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

ด้วยความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนที่มีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกัน หล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นการรู้จักข้อมูลที่จาเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียนจึงเป็น สิ่งสาคัญ ที่จะช่วยให้ครูที่ปรึกษามีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการคัดกรองนักเรียน เป็นประโยชน์ในการส่งเสริม การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกทาง ซึ่งเป็นข้อมูล เชิงประจักษ์มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดาโดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหานักเรียน ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนักเรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด

การคัดกรองนักเรียน

การคัดกรองนักเรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน เพื่อการจัดกลุ่มนักเรียน อาจนิยามกลุ่ม ได้ 4 กลุ่ม คือ

กลุ่มปกติ คือ นักเรียนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียนแล้ว อยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มปกติ ซึ่งควรได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและการส่งเสริมพัฒนา

กลุ่มเสี่ยง คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียน ต้องให้การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาตามแต่กรณี

กลุ่มมีปัญหา คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มมีปัญหาตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนต้องช่วยเหลือและแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน

กลุ่มพิเศษ คือ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ มีความเป็นอัจฉริยะ แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน อย่างเป็นที่ประจักษ์เมื่อเทียบกับผู้มีอายุในระดับเดียวกันภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน ซึ่งโรงเรียนต้องให้การส่งเสริมนักเรียนได้พัฒนาศักยภาพความสามารถพิเศษนั้นจนถึงขั้นสูงสุด

โดยจัดทำแบบประเมินนักเรียน (SDQ) 3 ฉบับ ฉบับนักเรียน ฉบับผู้ปกครองและฉบับครู ซึ่งการจัดกลุ่มนักเรียนนี้มีประโยชน์ต่อครูที่ปรึกษาในการหาวิธีการเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับปัญหาของนักเรียนยิ่งขึ้น และมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา เพราะมีข้อมูลของนักเรียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งหากครูที่ปรึกษาไม่ได้คัดกรองนักเรียนเพื่อการจัดกลุ่มแล้ว ความชัดเจน ในเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาของนักเรียนจะมีน้อยลง มีผลต่อความรวดเร็วในการช่วยเหลือ ซึ่งบางกรณีจำเป็น ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน

การป้องกันและแก้ไขปัญหา

ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูควรให้ความเอาใจใส่กับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหานั้น จำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาวิธีการช่วยเหลือทั้งการป้องกัน และการแก้ไขปัญหา โดยไม่ปล่อยปละละเลยนักเรียนจนกลายเป็นปัญหาของสังคม การสร้างภูมิคุ้มกัน การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน จึงเป็นภาระงานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าอย่างมากในการพัฒนาให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคม การป้องกันและการแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนนั้นมีหลายเทคนิค วิธีการให้ครูได้เลือกใช้ แต่อย่างน้อยครูควรให้คำปรึกษาเบื้องต้น และมีการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา

การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียน

การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนเป็นการสนับสนุนให้นักเรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนกลุ่มปกติหรือกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา กลุ่มความสามารถพิเศษ ให้มีคุณภาพมากขึ้น ได้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีความภาคภูมิใจในตนเองในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติและกลุ่มพิเศษกลายเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา และเป็นการช่วยให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหากลับมาเป็นนักเรียนกลุ่มปกติและมีคุณภาพตามมาตรฐานที่โรงเรียนหรือชุมชนคาดหวังต่อไป

การส่งเสริมพัฒนานักเรียน

การส่งเสริมพัฒนานักเรียนมีหลายวิธีที่โรงเรียนสามารถพิจารณาดาเนินการได้ แต่มีกิจกรรมหลักสำคัญ ที่โรงเรียนต้องดำเนินการ คือ

  1. การจัดกิจกรรมโฮมรูม
  2. การเยี่ยมบ้าน
  3. การจัดประชุมผู้ปกครอง
  4. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  5. การส่งต่อ

การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน

ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนโดยครูที่ปรึกษา อาจมีกรณีที่บางปัญหามีความยกต่อการช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้นก็ควรดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป เพื่อให้ปัญหา ของนักเรียนได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกทางและรวดเร็วขึ้น หากปล่อยให้เป็นบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษาหรือครู คนใดคนหนึ่งเพียงลาพังความยุ่งยางของปัญหาอาจมีมากขึ้น หรือลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตจนยากต่อการแก้ไข ซึ่งครูประจาชั้น/ครูที่ปรึกษาสามารถดาเนินการได้ตั้งแต่กระบวนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล หรือการคัดกรองนักเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาของนักเรียนในแต่ละกรณี

การส่งต่อ

การส่งต่อแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

  1. การส่งต่อภายใน ครูที่ปรึกษาส่งต่อไปยังครูที่สามารถให้การช่วยเหลือนักเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหา เช่น ส่งต่อครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูประจำวิชา หรือฝ่ายปกครอง
  2. การส่งต่อภายนอก ครูแนะแนวหรือฝ่ายปกครองเป็นผู้ดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญภายนอก หากพิจารณาเห็นว่าเป็นกรณีปัญหาที่มีความยากเกินกว่าศักยภาพของโรงเรียนจะดูแลช่วยเหลือได้

แหล่งที่มาของข้อมูล

http://110.78.114.132/sec6/main/p2.pdf

http://www.esbuy.net/_files_school/00000883/document/00000883_0_20160223-184625.pdf

https://training.skarea2.go.th/course/chapterview/77.html

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ดาวน์โหลด ไฟล์งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน SDQ- EQ- คัดกรองนักเรียน- การเยี่ยมบ้าน ไฟล์แก้ไขได้ พร้อมปก
  • ดาวน์โหลด คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 – ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6)
  • ดาวน์โหลด รายงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน doc ตัวอย่างบันทึกการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล ไฟล์ word พร้อมปก

งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในฝ่ายใด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยงานกลางที่มีบทบาทหน้าที่ ในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติ คือ สถานศึกษาสามารถดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีบทบาทหน้าที่และแนวทางดำเนินงาน ...

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดีอย่างไร

1. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และตรงตามสภาพปัญหา 2. สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดีและอบอุ่น 3. นักเรียนรู้จักตนเอง และควบคุมตนเองได้ 4. นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพอย่างรอบด้าน 5. ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างเข้มแข็ง จริงจัง ...

งานระบบช่วยเหลือนักเรียนมีอะไรบ้าง

กระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ 1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล.
การจัดกิจกรรมโฮมรูม.
การเยี่ยมบ้าน.
การจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting).
การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน.
การส่งต่อ.

ใครเป็นบุคลากรหลักในการทำงานในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

แนวปฏิบัติของครูที่ปรึกษา การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีครูที่ปรึกษา เป็นบุคลากรหลักในการ ดำเนินงาน มีภารกิจหลักที่เป็นหัวใจของการดำเนินงาน 5 กิจกรรม คือ 1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2. การคัดกรอง 3. การส่งเสริมและพัฒนา 4. การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข 5. การส่งต่อ