จังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยคือจังหวัดอะไร

ทุกประเทศย่อมต้องมีการแบ่งดินแดน แบ่งอาณาเขตต่างๆ ออกไว้อย่างชัดเจนเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องของการปกครอง ประเทศไทยของเราเองก็มีการแบ่งพื้นที่ประเทศกับประเทศต่างๆ รอบข้างเอาไว้อย่างชัดเจนเช่นกัน มีเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับ พิกัดประเทศไทย หลายๆ ด้านให้มาทำความรู้จักกัน ลองมาดูว่าสิ่งเหล่านี้จะมีเรื่องราวอะไรน่าสนใจกันบ้าง บอกเลยว่าจะทำให้เราเข้าใจประเทศไทยของเราเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยทีเดียวเมื่อได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้

ที่ตั้งของประเทศไทยหรือราชอาณาจักรไทยอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย พิกัดประเทศไทย ทางภูมิศาสตร์มีตำแหน่งที่ละติจูด 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ ถึง 20 องศา 28 ลิปดาเหนือ นั่นทำให้พื้นที่ของเราตั้งอยู่บนเขตร้อน ตลอดทั้งปีจะมีอุณหภูมิสูง มีตำแหน่งลองจิจูดที่ 97 องศา 21 ลิปดาตะวันออก ถึง 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก โดยพิกัดภูมิศาสตร์หรือ พิกัดประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • จุดเหนือสุดตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่สาย จ.เชียงราย ที่ละติจูด 99 องศา 58 ลิปดาตะวันออก
  • จุดใต้สุดอยู่ในพื้นที่อำเภอเบตง จ.ยะลา ที่ละติจูด 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ และลองติจูด 101 องศา 08 ลิปดาตะวันออก
  • จุดตะวันออกสุดอยู่ในพื้นที่อำเภอศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ที่ละติจูด 15 องศา 38 ลิปดาเหนือ และลองจิจูด 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก
  • จุดตะวันตกสุดตั้งอยู่ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ที่ละติจูด 18 องศา 34 ลิปดาเหนือ และลองจิจูด 97 องศา 21 ลิปดาตะวันออก

รูปร่างของประเทศไทย

รูปร่างไทยตาม พิกัดประเทศไทย จะมีลักษณะเป็นด้ามขวาน แนวทางตะวันตกคล้ายสันขวาน ภาคเหนือเป็นหัวขวาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเป็นคมขวาน เมื่อเป็นเช่นนี้ความยาวสูงสุดของประเทศไทยตั้งแต่จุดเหนือสุดถึงใต้สุดวัดตรง อ.แม่สาย จ.เชียงราย ถึง อ.เบตง จ.ยะลา ระยะทาง 1,650 กม. ส่วนจุดกว้างสุดของประเทศไทยจากตะวันตกไปถึงตะวันออก วัดตามแนว อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ไปจนถึง อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 800 กม.

จุดที่แคบที่สุดของประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณ ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ วัดระยะได้จากชายแดนของสหภาพเมียนมาร์ถึงทะเลอ่าวไทย มีระยะทางเพียง 10.6 กม. เท่านั้น ทว่าส่วนที่แคบสุดของแหลมมลายูคือเป็นแผ่นดินเล็กๆ คั่นระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทยจะเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า คอคอดกระ อยู่ในพื้นที่ของชุมพร, ระนอง ระยะทางรวม 50 กม.

อาณาเขตของประเทศไทย

ปกติแล้วการแบ่งอาณาเขตของประเทศต่างๆ จะใช้ลักษณะของธรรมชาติเป็นตัวกำหนดพื้นที่ เช่น ตรงชายแดนที่เป็นภูเขาจะใช้ตรงแนวสันปันน้ำ ตรงพื้นที่แม่น้ำและคลองจะเลือกใช้ร่องน้ำลึก กรณีเป็นที่ราบหรือพื้นที่ที่มีการตกลงตามสัญญาจะใช้หลักกั้นเขต บางทีสร้างเป็นกำแพง บางที่สร้างเป็นรั้วลวดหนามอันนี้แล้วแต่ ซึ่งอาณาเขตของประเทศไทยที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านประกอบไปด้วย

  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
    ชายแดนของประเทศลาวมีอาณาเขตติดกับประเทศไทยตั้งแต่ช่วงของพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำไล่ผ่านมาตามจังหวัดต่างๆ ประกอบไปด้วย เชียงราย, พะเยาว์, น่าน, เลย, หนองคาย, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, บึงกาฬ, นครพนม, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ, อุบลราชธานี ระยะทางทั้งหมด 1,754 กม. พื้นที่ชายแดนระหว่างสองประเทศเต็มไปด้วยภูเขา แม่น้ำ ที่ราบ โดยจุดกั้นสำคัญคือแม่น้ำโขง มีการใช้สัญจรติดต่อกันไปมาโดยตลอด มีทางเชื่อมหลักๆ คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 4 จุด
  • สหภาพเมียนมาร์
    ชายแดนของประเทศเมียนมาร์มีอาณาเขตติดกับประเทศไทยตั้งแต่ช่วงของพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ตรงชายแดนนี้ประกอบไปด้วยภูเขาและแม่น้ำต่างๆ ไล่ผ่านตามจังหวัดต่างๆ ประกอบไปด้วยเชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ตาก, ราชบุรี, กาญจนบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, ระนอง ระยะทางทั้งหมด 1,800 กม. การแบ่งเขตใช้วิธีตรงภูเขาใช้สันปันน้ำ ถ้าเป็นแม่น้ำจะใช้ร่องน้ำลึก ด้วยชายแดนด้านนี้จะมีคนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เยอะ เช่น เผ่ากะเหรี่ยง, เผ่ามอญ, ไทยใหญ่ และอีกมากมาย ทำให้มีการอพยพแรงงานเข้ามายังประเทศไทยได้ง่าย
  • ราชอาณาจักรกัมพูชา
    ชายแดนของประเทศกัมพูชาเริ่มตั้งแต่บริเวณช่องบก หรือ สามเหลี่ยมมรกต อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ไล่ผ่านตามจังหวัดอื่นๆ อีกประกอบไปด้วย ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, บุรีรัมย์, จันทบุรี, ตราด ระยะทางทั้งสิ้น 803 กม. ตรงที่เป็นช่วงอีสานล่างจะใช้เทือกเขาพนมดงรักเป็นเส้นแบ่งเขตแดน ส่วนบริเวณ จ.สระแก้ว จะใช้พื้นที่ราบและคลอง ส่งผลให้การเดินทางตรงจุดนี้จะสะดวกมากกว่า ในอดีตพื้นที่ตรงนี้เรียกว่า ฉนวนไทย ตรง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว มีตลาดโรงเกลือที่โด่งดัง
  • สหพันธรัฐราชาธิปไตยมาเลเซีย
    ชายแดนของประเทศมาเลเซียเริ่มต้นตั้งแต่ จ.สตูล, สงขลา, ยะลา, นราธิวาส ระยะทางทั้งสิ้น 506 กม. ตรง จ.สตูล จะมีรั้วคอนกรีตกั้นแบ่งเอาไว้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแนวเทือกเขาสันกาลาคีรีและแม่น้ำโกลกสำหรับแบ่งพื้นที่ ชายแดนด้านนี้ถือว่ามีระบบคมนาคมขนส่งสะดวก ทั้งทางรถไฟ, รถยนต์

พิกัดประเทศไทย คือสิ่งที่บ่งบอกว่าประเทศของเราตั้งอยู่บนส่วนใดของโลกใบนี้ มีพื้นที่อาณาเขตตั้งแต่ตรงไหนไปจนถึงตรงไหน บริเวณรอบข้างประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งหากมองในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ก็ต้องยอมรับว่าบ้านเรานี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทั่วโลกอิจฉา ดังนั้นการรักษาบ้านของเราให้คงอยู่ต่อไปคือสิ่งที่คนไทยทุกคนต้องทำ

สวัสดีผู้อ่านทุกท่านครับในบทความเรื่องนี้จะขอนำเสนอข้อมูลจำนวนจังหวัดในภาคใต้และข้อมูลอื่นๆ ที่มีประโยชน์แก่ผู้อ่านและผู้ที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับภาคใต้ให้รับทราบกันนะครับ

ภาคใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทยใน 6 ภูมิภาค มีพื้นที่ประมาณ 73,848 ตารางกิโลเมตร มีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ประกอบด้วยภาคใต้ฝั่งตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

จำนวนจังหวัดในภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด แบ่งออกเป็น

รายชื่อจังหวัดในภาคใต้จะประกอบไปด้วยฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก

จังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก ประกอบด้วย

  • จังหวัดชุมพร
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • จังหวัดสงขลา
  • จังหวัดพัทลุง
  • จังหวัดปัตตานี
  • จังหวัดยะลา
  • จังหวัดนราธิวาส

จังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตก ประกอบด้วย

  • จังหวัดระนอง
  • จังหวัดพังงา
  • จังหวัดภูเก็ต
  • จังหวัดกระบี่
  • จังหวัดตรัง
  • จังหวัดสตูล 

จังหวัดในภาคใต้ส่วนใหญ่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล จะมีเพียง 2 จังหวัดเท่านั้นที่ไม่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ได้แก่ จังหวัดยะลา และ จังหวัดพัทลุง 

ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้

พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคใต้เป็นที่ราบ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรมีทะเลขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน คือ ฝั่งตะวันออกคือ อ่าวไทย และฝั่งตะวันตกคือ ทะเลอันดามัน ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน

ภาคใต้มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่

  • ทิวเขาภูเก็ต
  • ทิวเขานครศรีธรรมราช
  • ทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย
  • เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า 

ข้อมูลทั่วไปของแต่ละจังหวัดในภาคใต้

  • จังหวัดชุมพร เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติเช่น ดีบุก โมนาไซท์ แมงกานีส เป็นต้น มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ หาดทรายรี ศาลเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หาดภราดรภาพ  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร หาดทุ่งวัวแล่น ถ้ำเขาเกรียบ หาดตะวันฉาย
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้ และใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ อุทยานธรรมเขานาในหลวง วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เขื่อนรัชชประภา เกาะพะงัน วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ล่องแก่งลำน้ำคลองยัน อุทยานแห่งชาติเขาสก หินพัด ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ป่าต้นน้ำบ้านน้ำราด น้ำตกธารทอง หาดละไม หินตาหินยาย
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ อาชีพหลัก คือ ทำสวนยางพารา ทำสวนปาล์มน้ำมัน ทำสวนมะพร้าว ทำประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเลี้ยงสัตว์ มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ หมู่บ้านคีรีวง แหลมตะลุมพุก วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดธาตุน้อย ตลาดย้อนยุคปากพนัง อุทยานแห่งชาติหาดขนอม หมู่เกาะทะเลใต้ กรุงชิง
  • จังหวัดสงขลา เป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรหลาย ชนิด เช่น ข้าว ยางพารา รวมเป็นแหล่งผลิตและแปรรูปอาหารทะเลที่สาคัญของภาคใต้และของประเทศ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศเรื่องความสวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ แหลมสมิหลา เขาตังกวน เก้าเส้ง สวนสัตว์สงขลา เกาะยอ สะพานติณสูลานนท์ วัดพะโคะ วัดจะทิ้งพระ ตลากกิมหยง
  • จังหวัดพัทลุง มีชื่อเสียงในการละเล่นพื้นเมือง หนังตะลุง มโนราห์ ลิเกป่า ชาวภาคใต้จะเรียกจังหวัดพัทลุงว่า “เมืองลุง” มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ เกาะสี่เกาะห้า เขาเจ็ดยอด ถนนไส้กลิ้ง-หัวป่า ทะเลน้อย น้ำตกไพรวัลย์
  • จังหวัดปัตตานี ปัตตานีเป็นหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้สุดติดกับทะเลจีนใต้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว น้ำตกอรัญวาริน ปลายสุดแหลมตาชี มัสยิดกรือเซะ วัดช้างให้ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว สกายวอล์ก เมืองโบราณยะรัง
  • จังหวัดยะลา เป็นหนึ่งในสี่จังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นจังหวัดในภาคใต้ที่ไม่ติดทะเล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัด “ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน” มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ อำเภอเบตง วัดคูหาภิมุข น้ำตกธารโต ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ
  • จังหวัดนราธิวาส เป็นจังหวัดชายแดนมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นป่าและภูเขา มีภูเขาหนาแน่นแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จดเทือกเขาสันกาลาคีรี มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ป่าพรุโต๊ะแดง มัสยิดตะโละมาเนาะ 300ปี น้ำตกสิรินธร น้ำตกปาโจ

ก็จบไปแล้วนะครัสำหรับเนื้อหาจังหวัดของภาคใต้คงมีประโยชน์และให้สาระความรู้แก่เพื่อนๆ ไม่มากก็น้อย คงพอเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจและหาข้อมูลของจังหวัดในภาคใต้นะครับ ไว้คราวหน้าจะมาแนะนำข้อมูลของจังหวัดต่างๆ ให้เพื่อนๆ อีกนะครับวันนี้ขอตัวลาไปก่อนแล้วเจอกันใหม่ในเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดได้ในบทความหน้าครับ บายๆ

ตะวันตกสุดของประเทศไทยคือจังหวัดอะไร

จุดตะวันตกสุด: ชายแดนพม่า อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ 18°34′N 97°21′E.

ใต้สุดของประเทศไทยอยู่บริเวณจังหวัดใด

ที่ตั้งและอาณาเขต ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค (และของประเทศไทย) คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

จังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทยคือจังหวัดอะไร

ที่ตั้ง จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 829 กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ภาคใต้ของประเทศไทยมีจังหวัดอะไรบ้าง

ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยทะเลอ่าวไทย ทางฝั่งตะวันออกมีความยาวชายฝั่งทะเล 877 กิโลเมตร และทะเลอันดามัน ทางฝั่งตะวันตกความยาวชายฝั่ง 1,093 กิโลเมตร ประกอบด้วย 11 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ตอนบนมีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมาร์เป็น ระยะทาง ...