แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร

แหล่งข้อมูลหมายถึง from Tanomsak Toyoung

แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร

ข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูล

แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร

ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล เป็นข้อความจริงหรือสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง โดยที่ข้อมูลอาจเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้ เช่น ในปี พ.ศ. 2547 คณะรัฐมนตรีกำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดนก หรือในเดือนกันยายน 2547 น้ำมันเบนซิน 91 จำหน่ายในเขตกรุงเทพและปริมณฑลราคาลิตรละ 20.99 บาท โดยทั่ว ๆ ไป ข้อมูลมักจะอยู่ในรูปตัวเลขซึ่งมีหลาย ๆ จำนวนที่สามารถนำมาเปรียบเทียบขนาดกันได้ เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2547 ไทยส่งออกข้าวไปยังประเทศหนึ่งรวม 2.88 ล้านตัน ลดลงจาก 5.00 ล้านตัน ของการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.4
ข้อมูลเชิงสถิติเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาประมวลผลหรือวิเคราะห์ด้วยกระบวนการหรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อตอบคำถามในประเด็นต่าง ๆ ได้

ประเภทของข้อมูล
ประเภทของข้อมูลสามารถจำแนกได้จากวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และจากลักษณะของข้อมูล

การจำแนกข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
เมื่อจำแนกประเภทของข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) และ ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)
1) ข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลที่ผู้ใช้จะต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจทำได้โดยการสัมภาษณ์ วัด นับ หรือสังเกตจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ไม่เคยมีผู้ใดเก็บรวบรวมไว้ก่อน
การเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนี้ทำได้ 2 วิธีคือ การสำมะโน (census) และการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง (sample survey)
2) ข้อมูลทุติยภูมิ คือข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง แต่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว ข้อมูลประเภทนี้ ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอง สามารถนำข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้วมาใช้ได้เลย แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้จะต้องระมัดระวังในการนำข้อมูลประเภทนี้มาใช้ให้มาก เนื่องจากมีโอกาสผิดพลากได้มากหากผู้เก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่างใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญ คือ
(1) รายงานต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการและองค์การของรัฐบาล โดยทั่ว ๆ ไป หน่วยงานราชการหรือองค์การของรัฐบาล มักจะมีรายงานแสดงข้อมูลพิมพ์ออกมาเผยแพร่เป็นประจำซึ่งอาจเป็นรายงานรายเดือน รายสามเดือน หรือรายปี ข้อมูลที่ได้จากรายงานต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการและองค์การของรัฐบาลนี้อาจถือได้ว่าเป็นที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญที่สุด
(2) รายงานและบทความจากหนังสือหรือรายงานจากหน่วยงานเอกชน หน่วยงานของเอกชนบางแห่งโดยเฉพาะหน่วยงานใหญ่ ๆ จะพิมพ์รายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของตนออกเผยแพร่เช่นเดียวกับหน่วยงานของราชการ เช่น รายงานประจำเดือนของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์รายวัน หรือสื่ออื่น ๆ มักจะมีข้อมูลทุติยภูมิประกอบบทความหรือรายงานด้วย

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ในหนังสือ รายงาน บทความหรือเอกสารต่าง ๆ ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาตัวบุคคลผู้เขียนรายงาน บทความ หรือเอกสารเหล่านั้นเสียก่อนว่าเป็นผู้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียนถึงขั้นพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่ การเขียนอาศัยเหตุผลและหลักวิชาการมากน้อยเพียงใด ข้อมูลที่จะนำมาใช้ซึ่งรวบรวมจากรายงาน บทความ หรือเอกสารดังกล่าวควรใช้ข้อมูลที่ผู้เขียนเก็บรวบรวมมาเองโดยตรง
(2) ถ้าข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมสามารถหาได้จากหลาย ๆ แหล่ง ควรเก็บรวบรวมมาจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบว่าข้อมูลที่ต้องการมีความผิดพลาดเนื่องจากการลอกผิด พิมพ์ผิด หรือเข้าใจผิดบ้างหรือไม่
(3) พิจารณาจากลักษณะของข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมว่าเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความจริง ข้อมูลที่ได้จากทะเบียน ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นหรือเจตคติ ข้อมูลประเภทความลับ หรือข้อมูลซึ่งผู้ตอบอาจต้องเสียประโยชน์จากการตอบ ถ้าเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความจริง ข้อมูลที่ได้จากทะเบียนหรือข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นหรือเจตคติส่วนใหญ่มักจะมีความถูกต้องเชื่อถือได้สูง แต่ถ้าเป็นข้อมูลประเภทความลับหรือข้อมูลซึ่งผู้ตอบอาจต้องเสียประโยชน์จากการตอบ ส่วนใหญ่มักจะมีความถูกต้องเชื่อถือได้น้อย

แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิซึ่งอาจทำได้โดยการสำมะโนหรือสำรวจสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปมี 5 วิธีคือ
(1) การสัมภาษณ์
(2) การสอบถามทางไปรษณีย์
(3) การสอบถามทางโทรศัพท์
(4) การสังเกต
(5) การทดลอง

แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร

แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร

http://www.vcharkarn.com/lesson/1506

แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร

ความหมายและประเภทของข้อมูลและสารสนเทศ
     ข้อมูล(Data)  คือ  สิ่งต่าง ๆ หรือข้อเท็จจริง  ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสหรือสื่อต่าง ๆที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์
หรือการประมวลผล  โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร


ข้อมูลดิบ  (Raw  Data)  คือ  ข้อมูลทุกรูปแบบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล

การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ
     - ความต้องการของผู้ใช้
     - ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้
     - เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา

ในหน่วยการเรียนนี้จะยกตัวอย่างการแบ่งข้อมูลไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล
เป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย  ได้แก่
   - ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา
   - ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู
   - ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก
   - ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น
   - ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง

2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ
โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล  ได้แก่
   - ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล
โดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก
ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ  ได้แก่  ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ  1  เดือนที่ผ่านมา
   - ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  คือ  การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งาน
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง  จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต  มักผ่านการประมวลผลแล้ว
ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ  ได้แก่  สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในปีพ.ศ.2550

แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร


3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล  แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุล
ของข้อมูลนั้น ๆ  ได้แก่
                - ข้อมูลตัวอักษร เช่น  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  และสัญลักษณ์  ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น  .txt  และ  .doc
                - ข้อมูลภาพ  เช่น  ภาพกราฟิกต่าง ๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุล
ต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .bmp  .gif  และ .jpg
               - ข้อมูลเสียง  เช่น  เสียงพูด  เสียงดนตรี  และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น .wav  .mp3  และ  .au
               - ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว  เช่น  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพมิวสิกวีดีโอ  ภาพยนตร์  คลิปวิดีโอ ข้อมูลประเภท
นี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .avi

4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์
    มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก  แต่มุ่งเน้นพิจารณา
การแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์  ได้แก่
                - ข้อมูลเชิงจำนวน  มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้  เช่น
จำนวนเงินในกระเป๋า  จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง  และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
                 - ข้อมูลอักขระ  มีลักษณะเป็นตัวอักษร  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล
และเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้  เช่น  หมายเลขโทรศัพท์  เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน
                - ข้อมูลกราฟิก  เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์  ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่  เช่น
  เครื่องหมายการค้า  แบบก่อสร้างอาคาร  และกราฟ
                - ข้อมูลภาพลักษณ์  เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์
์เป็นหลัก  ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล  ย่อหรือขยาย  และตัดต่อได้  แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการ
อย่างอื่นได้

ปัจจุบันบริษัท  NTT  Communications  Corp
ประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดลองส่งข้อมูลกลิ่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต
โดยมีโครงการที่จะเปิดให้บริการ  Aromatherapy  online  ในอนาคต

        สารสนเทศ(Information)  คือ  สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล  เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์
ในด้านการวางแผน  การพัฒนา  การควบคุม  และการตัดสินใจ
การแบ่งสารสนเทศสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ  เช่น
                1. การแบ่งสารสนเทศตามหลักแห่งคุณภาพ  ได้แก่  สารสนเทศแข็งและสารสนเทศอ่อน
                2. การแบ่งสารสนเทศตามแหล่งกำเนิด  ได้แก่  สารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศ
ภายนอกองค์กร
                3. การแบ่งสารสนเทศตามสาขาความรู้  ได้แก่  สารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์  สารสนเทศ
สาขาสังคมศาสตร์  สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และสารสนเทศสาขาอื่น ๆ
                4. การแบ่งตามการนำสารสนเทศไปใช้งาน  ได้แก่  สารสนเทศด้านการตลาด  สารสนเทศ
ด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากร  และสารสนเทศด้านการเงิน
                5. การแบ่งตามการใช้และการถ่ายทอดสารสนเทศ  ได้แก่    สารสนเทศที่เน้นวิชาการ  สารสนเทศ
ที่เน้นเทคนิค  สารสนเทศที่เน้นบุคคล  และสารสนเทศที่เน้นการปฏิบัติ
                6. การแบ่งตามขั้นตอนของการพัฒนาสารสนเทศ  ได้แก่  สารสนเทศระยะแรกเริ่มและ
สารสนเทศระยะยาว
               7. การแบ่งสารสนเทศตามวิธีการผลิตและการจัดทำ  ได้แก่  สารสนเทศต้นแบบและสารสนเทศ
ปรุงแต่ง
                8. การแบ่งสารสนเทศตามรูปแบบที่นำเสนอ  ได้แก่  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเสียง  สารสนเทศ
ที่มีลักษณะเป็นข้อความ  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นโสตทัศนวัสดุ  และสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์
               9. การแบ่งสารสนเทศตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น  ได้แก่  สารสนเทศที่ทำประจำ
สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย  และสารสนเทศที่ได้รับหมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ

การนำความรู้หรือวิธีการมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ความถูกต้อง และความรวดเร็วให้แก่  สารสนเทศ
เรียกว่า  ไอทีหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ  (IT:  Information  Technology)


แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร
       

แหล่งที่มาของข้อมูลคืออะไร

ตัวอย่างการเปรียบเทียบข้อมูลกับสารสนเทศ

แหล่งที่มาของข้อมูลมี 2 แหล่ง คืออะไร

1) ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือข้อมูลที่ได้จากแหล่งก าเนิดข้อมูลโดยตรง 2) ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)หมายถึง ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้รวบรวมเอง แต่น ามาจากหน่วยงานอื่น หรือผู้อื่นที่ได้ท าการเก็บ รวบรวมไว้แล้ว ตัวอย่าง 1. การสารวจความพึงพอใจต่อการให้บริการผ่านสอบถามทางโทรศัพท์หลังใช้บริการซ่อมบ ารุง ………………… 2. การ ...

การแบ่งข้อมูลหมายถึงอะไร

การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูลเป็นการแบ่งข้อมูลขั้นพื้นฐานโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัส (Sense) ของร่างกาย ได้แก่ ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น และข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความ ...

แหล่งที่มาของข้อมูลมีกี่แหล่งคือ

แหล่งข้อมูลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง? ทุกวันนี้โลกเรามีการผลิตข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งแหล่งข้อมูลเหล่านี้จะมีการแบ่งหลักๆได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (primary source) และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (secondary source) หรือบางแห่งอาจแบ่งประเภทให้มีแหล่งข้อมูลตติยภูมิด้วย แต่ไม่ก็ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิมีอะไรบ้าง

- ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล โดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา