โครงการตามแนวพระราชดำริมีความสำคัญอย่างไร

โครงการตามแนวพระราชดำริมีความสำคัญอย่างไร

การจัดการทรัพยากรน้ำตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริดังได้กล่าวมา ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษตรเป็นสำคัญ แต่ก็มีการพัฒนาแหล่งน้ำ หลาย ๆ โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลาย ๆ อย่างพร้อมกันแบบอเนกประสงค์ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริสามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน และประเทศชาติเป็นส่วนรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พอสรุปได้ดังนี้
๑. ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งฤดูฝน และฤดูแล้ง ช่วยให้ได้ผลิตผลมากขึ้น และสามารถทำการเพาะปลูกครั้งที่สองได้ เป็นการช่วยให้ราษฎรมีรายได้มากขึ้น
๒. ในบางท้องที่เคยมีน้ำท่วมขัง จนไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้ หรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ ลุ่มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่นบริเวณขอบพรุ ทำให้พื้นที่แห้งลงจนสามารถจัดสรรให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองเข้าทำกินได้ ช่วยให้ไม่ไปบุกรุกทำลายป่าหาที่ทำกินแห่งอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งเป็นการช่วยรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรของชาติไว้ได้
๓. เมื่อมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ ไว้ ก็มีการปล่อยพันธุ์ปลา ทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง สามารถมีปลาบริโภคภายในครอบครัว หรือเสริมรายได้ขึ้น
๔. ช่วยให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สะอาดอย่างพอเพียงตลอดปีทำให้ราษฎรมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และยังช่วยให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์ด้วย
๕. บางโครงการจะเป็นประเภทเพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตชุมชนเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ช่วยลดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งภาคเอกชน และภาครัฐบาลเป็นอันมาก
๖. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการสร้างฝายเก็บกักน้ำบริเวณต้นน้ำลำธารเป็นชั้น ๆ พร้อมระบบกระจายน้ำจากฝายต่าง ๆ ไปสู่พื้นที่สองฝั่งของลำธาร ทำให้พื้นดินชุ่มชื้น และป่าไม้ตามแนวสองฝั่งลำธารเขียวชอุ่มตลอดปี ลักษณะเป็นป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟป่าเป็นแนวกระจายไปทั่วบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ต่อไป
โครงการตามแนวพระราชดำริมีความสำคัญอย่างไร
กล่าวได้ว่าการจัดการทรัพยากรน้ำและงานพัฒนาแหล่งน้ำนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำทุกอย่างทุกขั้นตอน ดังที่นายปราโมทย์ ไม้กลัด เล่าให้ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ ๕-๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังนี้"...งานของพระองค์ท่านมีตั้งแต่ ถ้าน้ำขาดแคลนก็จัดหาน้ำ และเมื่อน้ำท่วม น้ำมากก็จัดการบรรเทาให้น้อยลง เมื่อมีน้ำเน่าเสีย ก็ต้องมีการจัดการทำงานด้านน้ำทั้งหมด ท่านจะทรงทราบปัญหาอย่างละเอียด...."พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงหน้าแล้งปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ต้องลดปริมาณน้ำเพื่อการทำนาปรังลงกว่าร้อยละ ๕๐ เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนหลักๆ มีไม่เพียงพอ และได้มีการเรียกร้องให้ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครประหยัดการใช้น้ำประปา ทำให้ระลึกถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ที่ว่า"…เคยพูดมาหลายปีแล้ว ในวิธีที่จะปฏิบัติเพื่อที่จะให้มีทรัพยากรน้ำพอเพียงและเหมาะสม คำว่าพอเพียง ก็หมายความว่าให้มีพอในการบริโภคในการใช้ ทั้งในด้านการใช้ในบ้าน ทั้งในการใช้เพื่อการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ต้องมีพอ ถ้าไม่มีทุกสิ่งทุกอย่างก็ชะงักไม่มีทางที่จะมีความเจริญถ้าไม่มีน้ำ…. แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย แต่ก็ถ้าดำเนินการไปเดี๋ยานี้ อีก ๕-๖ ปี ข้างหน้า เราสบาย และถ้าไม่ทำ อีก ๕-๖ ปี ข้างหน้า ราคาก่อสร้างค่าดำเนินการก็จะขึ้นสูงไป ๒ เท่า ๓ เท่า ลงท้ายก็จะต้องประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไปก็จะไม่ได้ทำ เราก้จะต้องอดน้ำแน่ จะกลายเป็นทะเลทราย…"ปัญหาเรื่องภัยแล้งนี้ ดูจะเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมู่นี้ก็พูดกันอย่างขวัญเสียว่า อีกหน่อยจะต้องปันส่วนน้ำ… ถ้าหากว่าได้ปฏิบัติตามแผนนั้นๆ แล้ว วันนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงการขาดแคลนน้ำ…
โครงการนี้คือ สร้างอ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งคือที่แม่น้ำป่าสัก อีกแห่งหนึ่งที่แม่น้ำนครนายก สองแห่งรวมกันจะกักเก็บน้ำ เหมาะสมพอเพียงสำหรับบริโภค การใช้ในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียง…
โครงการตามแนวพระราชดำริมีความสำคัญอย่างไร
ปัญหาปัจจุบันนี้คือ ภัยแล้ง หมายความว่าฝนไม่ลง แต่ในละแวกนี้มีฝนจนน้ำท่วมมาเนือง ๆ ไม่เหมือนภาคเหนือ ที่นี่จึงเชื่อว่าน้ำจะมีพอ… มิหนำซ้ำถ้าหากบางปีมีมากกว่าปกติอย่างเคยมีมาจนกระทั้งทำให้น้ำท่วม เขื่อนอันนี้จะช่วยบรรเทาน้ำท่วมได้ มีน้ำมากหรือน้อยก็สามารถที่บริการประชาชนให้ได้น้ำสม่ำเสมอทุกปี… เขื่อนนั้นจะเป็นเครื่องมือสำหรับเฉลี่ย ปีไหนมีน้ำมากก็เก็บเอาไว้ไม่ต้องใช้ เพราะว่าน้ำฝนที่ลงมาพอใช้แล้วก็เก็บเอาไว้ ปีใหนที่น้ำน้อยก็เอาออกมาใช้ ทำให้ภัยแล้งบรรเทาลง ภัยของอุทกภัยก็บรรเทาด้วย ข้อนี้ได้พูดมาหลายปีแล้ว แล้วก็ในที่ประชุมเช่นนี้เหมือนกัน ฉะนั้น การที่มาเล่าให้ฟังว่าคิดจะสร้าง เขื่อนนครนายก นี้ก็เพื่อแก้ไขปัญหาในอนาคต เพื่อที่จะไม่ต้องเสียใจว่าทำไมเมื่อ ๖ ปีก่อนนั้นไม่ได้ทำ…"
| โครงการการจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ| ประโยชน์ของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ || การทรัพยากรน้ำ| การจัดการทรัพยากรป่าไม้ | การจัดการทรัพยากรที่ดิน| การจัดการทรัพยากรประมง| การจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร| การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม|
     ในการดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทั้งการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการศึกษาข้อมูลจากการลงพื้นที่จริงก่อนจะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งนี้พระองค์มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการดำเนินการอยู่เสมอว่า แนวพระราชดำริของพระองค์ เป็นเพียงข้อเสนอแนะ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรจะต้องนำพิจารณา วิเคราะห์ และกลั่นกรองตามหลักวิชาการ หากมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และเกิดประโยชน์คุ้มค่า จึงจะลงมือปฏิบัติต่อไป แต่หากไม่เกิดประโยชน์ ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการ ก็สามารถล้มเลิกได้

โครงการในพระราชดำริมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

โครงการตามพระราชดำริ หมายถึง โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางแผนพัฒนา และทรงเสนอแนะให้รัฐบาลหรือหน่วยงานราชการพิจารณาความเป็นไปได้ และร่วมดำเนินการ เพื่อพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ต่อมาได้เปลี่ยนใช้คำว่า "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" เป็นส่วนใหญ่

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีคุณลักษณะสำคัญอย่างไร

หมายถึง โครงการซึ่งทรงศึกษาทดลองปฏิบัติเป็นส่วนพระองค์ ทรงศึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในวงงาน ทรงแสวงหาวิธีการทดลองปฏิบัติ ทรงพัฒนา และส่งเสริมแก้ไข ดัดแปลงวิธีการเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อดูแลผลผลิตทั้งในพระราชฐานและนอกพระราชฐาน ซึ่งต้องทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการดำเนินการทดลองจนกว่าจะเกิดผลดี

โครงการตามพระราชประสงค์หมายถึงอะไร

โครงการตามพระราชประสงค์ หมายถึง โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้เกิดขึ้น ทรงงานด้วยพระราชทรัพย์ ทรงปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญและทดลองจนได้ผลสรุปที่ดี และทรงมั่นพระราชหฤทัยว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาล หรือผู้สนใจรับไปดำเนินงานต่อ แบ่งเป็นโครงการใน ...

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีความสำคัญอย่างไร

๑. ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ช่วยให้ได้ผลิตผลมากขึ้นและสามารถทำการเพาะปลูกครั้งที่สองได้ เป็นการช่วยให้ราษฎรมีรายได้มากขึ้น