สาเหตุที่ต้องเข้าพรรษาคือข้อใด

วันเข้าพรรษาส่วนใหญ่จะไม่ตรงกันทุกปี เพราะถือเอาแรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ถ้าปีใด มีเดือนแปด(๘) สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปดหลัง(๘๘)  เป็นวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา

การเข้าพรรษา หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่าง ๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆ ซึ่งเป็นพุทธบัญญัติ ที่พระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา จึงเป็นวันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอยู่ประจำในวัด และไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

 

ประวัติวันเข้าพรรษา

ในเรื่องความเป็นมาของวันเข้าพรรษา ถ้าว่ากันตามประวัติย่อๆ คือ ในยุคต้นพุทธกาล ก็ยังไม่มีการเข้าพรรษา เพราะฉะนั้นตลอดทั้งปี เมื่อพระภิกษุมีความเห็นว่าท่านควรจะไปเทศน์ ไปสอนญาติโยมที่ไหนได้ ท่านพอมีเวลา ท่านก็จะไป หรือไม่ได้ไปเทศน์ไปสอนใคร ถ้าเห็นว่าที่ไหนมันเงียบ มันสงัดดี เหมาะในการที่จะไปบำเพ็ญภาวนา ทำสมาธิ(Meditation)ของท่าน ท่านก็จะไป ซึ่งแน่นอน ส่วนมากก็จะอยู่ในเขตที่เป็นป่าเป็นเขา ไกลๆออกไปจากตัวเมือง หรือว่าต้องผ่านไปในชนบทนั่นเอง

จากการที่ท่านต้องไปอย่างนี้ เนื่องจากในฤดูฝนที่เขาทำไร่ทำนากันอยู่นั้น บางครั้ง ข้าวกล้าของเขาก็เพิ่งหว่านลงไปในนา มันเพิ่งงอกออกมาใหม่ๆ บางทีก็ดูเหมือนหญ้า พระภิกษุก็เดินผ่านไป นึกว่ามันเป็นดงหญ้า ก็เลยย่ำข้าวกล้าของเขาไป ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เขาก็มาฟ้องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระไปย่ำข้าวของเขาที่ปลูกเอาไว้ หว่านเอาไว้ นกกาฤดูฝนมันยังอยู่กับรังของมัน พระทำไมไม่รู้จักพักบ้าง

เพื่อตัดปัญหานี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เลยทรงกำหนดให้พระภิกษุ เมื่อเข้าพรรษา หรือเมื่อเข้าฤดูฝน ให้พระอยู่กับที่ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 จนกระทั่งขึ้น 15 ค่ำเดือน11 ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ไปทำภาวนาที่ไหน ไม่ไปเทศน์โปรดใคร ถ้าใครต้องการให้โปรด ก็มาที่วัดก็แล้วกัน มาหาท่าน ไม่ใช่ท่านไปหาเขา กำหนดเป็นอย่างนี้ไป เพื่อตัดปัญหาไม่ให้ใครมาบ่นลูกของพระองค์ได้

 

ความสำคัญวันเข้าพรรษา

๑. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์

๒.  หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 – 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน

๓.  เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา

๔. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

๕.  เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

สาเหตุที่ต้องเข้าพรรษาคือข้อใด
สาเหตุที่ต้องเข้าพรรษาคือข้อใด

กิจกรรมที่นิยมทำในวันเข้าพรรษา

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง ๓ เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทย ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับทางพระพุทธศาสนา ซึ่งการที่ชาวไทยได้มีโอกาสทำบุญในวันสำคัญทางศาสนานี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเอง ซึ่งอาจได้ทำบุญกันแบบพร้อมหน้าครอบครัวด้วยเพราะเป็นวันหยุดต่อเนื่องจากวัน อาสาฬหบูชา

เข้าวัดทำบุญ

เป็นอีกหนึ่งวันที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย จะได้เข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา หลังจากวัน อาสาฬหบูชา เรียกว่า ได้มีโอกาสทำบุญติดกันถึงสองวัน เลยทีเดียว นอกจากการทำบุญแล้ว ยังมีการถวายหลอดไฟ , เทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา มีชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนหลลายคน ที่ นิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง ๓ เดือน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “บวชเอาพรรษา”

ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

หล่อเทียนพรรษา

ก่อนวันเข้าพรรษา ที่มักจะเห็นกันบ่อยๆ ก็คือพิธีหล่อเทียนจำนำพรรษา ซึ่งตามสถานศึกษา นักเรียนก็จะได้ทำกิจกรรมนี้ในโรงเรียน หรือตามวัด สถานที่ราชการ และตามห้างสรรพสินค้า ที่จะจัดให้มีการหล่อเทียน แม้ว่าเทียนอาจไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องใช้สักเท่าไหร่แล้ว แต่ก็เป็นกิจกรรมส่งเสริมและถือว่าให้ความสำคัญกับประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่สืบต่อกันมานั่นเอง

สาเหตุที่ต้องเข้าพรรษาคือข้อใด
สาเหตุที่ต้องเข้าพรรษาคือข้อใด

ถวายเทียนพรรษา

เมื่อทำการหล่อเทียนพรรษาเสร็จแล้ว ก็ต้องมีพิธีถวายเทียนพรรษา แล้วก็มีประเพณี พิธีแห่เทียนจำนำพรรษาที่ชาวพุทธนิยมทำกัน ซึ่งจะมีขบวนสาธุชน ดอกไม้ อาจมีการเวียนรอบพระอุโบสถก่อน แล้วจึงนำไปถวายแด่คณะสงฆ์วัดนั้น ๆ สมัยนี้นอกจากเทียนแล้ว การถวายหลอดไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งก็เป็นการถวายแสงสว่างให้กับพระภิกษุสงฆ์เหมือนกับเราได้ถวายเทียนพรรษานั่นเอง ซึ่งถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง

งดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

สำหรับกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา ก็เป็นกิจกรรมที่มีหน่วยงานให้การสนับสนุน แม้ว่า ๓ เดือน อาจไม่เพียงพอต่อการงดเหล้า เพราะเหล้าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่อย่างน้อยก็เป็นสิ่งดี ๆ ที่เราจะได้เริ่มต้นตั้งใจในการทำความดีเพื่อตนเองและอาจมีกำลังใจในการเลิกเหล้าไปตลอดชีวิตเลยก็ได้

เหตุใดจึงต้องมีการเข้าพรรษา

พระสงฆ์จึงต้องเข้าพรรษา ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์ และถือเป็นช่วงเวลาที่พระสงฆ์มีเวลาจะศึกษาธรรมะมากขึ้นอีกด้วย

ทำไมต้องจำพรรษา3เดือน

การจำพรรษาและละเว้นการเดินทางในช่วงเข้าพรรษา ช่วยป้องกันไม่ให้ผลผลิตและการเพาะปลูก รวมถึงสัตว์ต่าง ๆ ได้รับความเสียหายจากการเที่ยวจาริกหรือเดินธุดงค์ของพระภิกษุ เนื่องจากมีประเพณีนิยมในการส่งบุตรหลายบวชเรียนเป็นระยะเวลา 3 เดือน ช่วงเข้าพรรษาจึงเป็นเวลาที่ดีให้พระภิกษุสงฆ์ได้เผยแพร่พระธรรมคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนา

การเข้าพรรษาเกิดขึ้นที่ใด

วันเข้าพรรษา เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พอถึงฤดูฝนพระภิกษุส่วนใหญ่ก็อยู่ประจำที่เช่นเดียวกับนักบวชนอกพุทธศาสนาที่มักถือเป็นประเพณีปฏิบัติอยู่จำพรรษามาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ปรากฏว่ามีพระภิกษุกลุ่มฉัพพัคคีย์พาบริวารจำนวน ๑,๕๐๐ รูปเที่ยวจาริกไปตามที่ต่างๆ เนื่องจากตอนต้นพุทธกาลยังไม่มีพุทธานุญา ...

ความสําคัญของวันเข้าพรรษาคืออะไร

การเข้าพรรษา หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่าง ๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆ ซึ่งเป็นพุทธบัญญัติ ที่พระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา จึงเป็นวันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอยู่ ...