ข้อใดคือจุดประสงค์ในการกำหนด supervisor หรือ administrator password ใน bios

เมนูการปรับแต่งค่าใน BIOS

            เมื่อเข้าสู่หน้าต่างหลักสำหรับการกำหนดค่าการทำงานของ BIOS ก็จะมีรายการต่างๆ ให้เราเลือก และกำหนดค่าเรานั้นแรกง่ายๆ ใช้การเรียกเมนูต่างๆ ในหน้าต่างการทำงานของ  windows นั่นเอง

*หน้าจอแรกเมื่อเราเข้าสู่การปรับแต่งค่าใน BIOS

สำหรับภาพรวมของการกำหนดค่าต่างๆ ที่มีอยู่ภายใน BIOS โดยเรียงลำดับ มีรายละเอียดดังนี้



เมนูตัวเลือกใน BIOS

คำอธิบาย

Main

เมนูมาตรฐานที่มีอยู่ใน BIOS ของ pc ทุกเครื่อง สำหรับกำหนดค่าพื้นฐานต่างๆ เช่น

ค่าวัน/เวลาของระบบของ ไดรว์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่อง ดูข้อมูลของระบบ เป็นต้น

Advanced

เมนูพิเศษของ BIOS นั้นๆ ซึ่งจะมีเมนูย่อยลงไปอีก

Chipset Configuration

เมนูพิเศษที่สนับสนุนระบบชิปเซ็ต เช่น กำหนดมาตรฐานการทำงานของฮาร์ดดิสก์,

การ์ดแสดงผล, แรม  รวมทั้งรูปแบบการเชื่อมต่อต่างๆ (ช่องสล็อต และพอร์ตเชื่อมต่อ)

Boot

กำหนดลำดับการค้นหาไฟล์ของระบบปฏิบัติการ จากอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเครื่อง

Security

กำหนด/เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกรหัสผ่าน การเข้าใช้งานเครื่องพีซี  หรือเข้าปรับแต่ง BIOS

Save&Exit

เลือกบันทึกค่าการปรับแต่ง และออกจากหน้าจอ BIOS หรือออกจากหน้าจอ BIOS โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าก็ได้

     โดยในแต่ละเมนูหลักนั้น เมื่อเราเลือกเข้าไปจะพบกับเมนูย่อยๆ ให้เราเลือกปรับแต่งค่าที่ต้องการได้ต่อไป

เมนู Main : กำหนดค่ามาตรฐานของระบบ

            สำหรับเมนูแรกนี้ เป็นส่วนเกี่ยวกับการตั้งค่าระบบของเครื่อง เช่น การปรับแต่งค่าวันและเวลา กำหนดชนิดของฮาร์ดดิสก์ (ส่วนใหญ่มักกำหนดเป็น Auto เพื่อให้เครื่องค้นหาเองโดยอัตโนมัติ) หรือการเข้าดูรายละเอียดข้อมูลของระบบ เป็นต้น โดยมีรายละเอียดต่างๆดังนี้

·Bios lnformaton  แสดงรายละเอียดข้อมูลของ Bios

·Memory lnformaton  แสดงจำนวนหน่วยความจำทั้งหมดในเครื่อง

·System Language เลือกภาษาที่ใช้ในการแสดงผล

· System Data  กำหนดวันให้ระบบเครื่อง

·System Time  กำหนดเวลาให้ระบบเครื่อง

·Access  Level  ระดับของผู้ใช้งาน

เมนู Advanced : ปรับแต่งการทำงานของระบบ

            ในเมนู Advanced นี้  จะเป็นการปรับแต่งค่าเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู, ชิปเซ็ต, ชิปการทำงานต่างๆ ที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด ระบบบัส  PCI เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ด้วย โดยมีเมนูย่อยๆ สำหรับแต่ละอุปกรณ์ ดังรายการต่อไปนี้

·Launch PXE OpRom  ตั้งค่าสำหรับอุปกรณ์ในเครือข่าย (Enabel ตั้งค่า Disabel ไม่ตั้งค่า)

·Launch Storage OpRom   ตั้งค่าสำหรับอุปกรณ์เก็บข้อมูล (Enabel ตั้งค่า Disabel ไม่ตั้งค่า)

·PCI Subsystem Settings  ส่วนนี้เป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับการทำงานของสล็อตPCI (Peripheral Component lnterconnect) บนเมนบอร์ด รวมทั้งความสามารถในการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งเข้ามาใหม่ของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การกำหนดค่าในส่วนนี้ผมไม่จำเป็นมากนัก เพราะเราเพียงติดตั้งการ์ดลงบนสล็อต PCI เเละลงไดรเวอร์ให้ก็สามารถใช้งานได้


ACPI Settings

กําหนดการสนับสนุนระบบประหยัดพลังงานแบบ ACPI (Advanced Configuration Power lnterface)

·Enabel ACPI Auto Conf  ปรับแต่งค่าระบบประหยัดพลังงานแบบ ACPI ทำงานอัตโนมัติ

·Enabel Hibernation เปิด/ปิด ระบบความสามารถ Hibernation (จำสถานการทำงานเอาไว้ เมื่อเปิดมาครั้งใหม่ ทุกอย่างจะเหมือนเดิม)

·ACPI Sleep State ระบบประหยัดพลังงานแบบ SUSPEND จะทำงานเมื่อถูกเลือก ปกติจะกำหนดโดย RAM

CPU Configuration

สำหรับตั้งค่าเกี่ยวกับตัวซีพียูที่ใช้

·processor Type  แสดงซีพียูที่ใช้ในระบบ

·processor Speed  ความเร็วของซีพียู

·System Bus Speed ความเร็วของระบบบัส (FSB) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับหน่วยจำหลัก

·L2 Cache RAM  ขนาดของแคช L2 บนซีพียู

·Hyper Threading Technology  เปิดการทำงานเทคโนโลยี Hyper Threading Technology

IDE Configuration IDE

            กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับช่องต่อ IDE บนเมนบอร์ด เช่น โหมดการทำงานของช่องต่อแบบ Serial ATA ระยะเวลาในการค้นหาดิสก์ไดรว์ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องแบบอัตโนมัติ


SATA Confinguration

            กำหนดและตั้งค่า SATA

· SATA Mode  กำหนดโหมดของพอร์ต SATA สำหรับการทำงานลักษณะต่างๆ

· IDE สำหรับเครื่องพีซีทั่วๆไปหรือถ้าต้องการลง Windows XP ให้เลือกเป็นโหมดนี้

·AHCI (Advanced Host Controller lnterface) สำหรับผู้ใช้ระดับสูงหรือเกมเมอร์  ที่ต้องการใช้ประสิทธิภาพเครื่องอย่างเต็มที่

· RAID   สำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่ต้องการความเร็ว และความปลอดภัยของข้อมูล

USBConfiguration

            กำหนดค่าเกี่ยวกับพอร์ต USB บนเครื่อง

Legacy USB Support  กำหนดส่วนการสนับสนุนของพอร์ต USB ซึ่งเรากําหนดให้เป็นแบบอัตโนมัติ (Auto)

EHCI Hand-off EHCI   เปิดปิดฟังชั่นหรือตัวควบคุมของพอร์ต USB ซึ่งทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการ

Port 60/64 Emulation  เปิดการสนับสนุนพอร์ตจำลอง 60/64

Device Reset Timeout  ตั้งค่าการกําหนดเวลาของอุปกรณ์ต่างๆ

Mass Storage Devices  ตั้งค่าการเชื่อมต่อ USB ให้เลียนแบบเป็นอุปกรณ์ชนิดใด มีตัวเลือกคือ ฮาร์ดดิสก์(HDD) ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floopy) ซีดีรอม (CD-ROM) ปกติจะกำหนดเป็น Auto


เมนู Chipset Configuration Setup : สนับสนุนระบบChipset

            การปรับแต่งค่าต่างๆ ในหน้าจอเมนูย่อย  chipset  นี้ จะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง ขึ้นอยู่กับความสามารถของชิปเซ็ตที่อยู่บนเมนบอร์ด  โดยเฉพาะการทำงานของสล็อตเชื่อมต่อต่างๆ เช่น สล็อตติดตั้งแรม สล็อตแบบ PCI เป็นต้น

Nort Bridge Configuration

            ตั้งค่าชิปเซ็ต Nort Bridge Configuration ที่ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ความเร็วสูงต่างๆ เช่น ซีพียู, แคช, แรมและสล็อตของการ์ดแสดงผล

South Bridge Configuration

            ตั้งค่าชิปเซ็ต South Bridgeที่ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในระดับต่อมา ได้แก่  สล็อต PCI Express ชิปเสียง เครือข่าย ช่องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อินพุท/เอาท์พุต

เมนู Boot Setup : กำหนดรายละเอียดการบู๊ตเครื่อง

            คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักถูกกำหนดให้บู๊ตจากไดรว์ C: หรือจากฮาร์ดดิสก่อนเสมอ แต่ในบางกรณีเราจำเป็นต้องกำหนดให้เครื่องเริ่มต้นบู๊ตจากอุปกรณ์อื่น  เช่น การติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ เราต้องเลือกให้เครื่องบู๊ตจากไดรว์ซีดี เพื่อให้อ่านไฟล์ข้อมูลจากแผ่นซีดีติดตั้ง Windows

·Quiet Boot  กำหนดให้ระหว่างการบู๊ตเป็นรูปแบบของข้อความ (Disabel) หรือโลโก้ (Enabel)

·Boot Full Configuration  ตั้งค่าการบู๊ตโดยใช้เวลาน้อยที่สุด โดยเลือกตรวจเฉพาะสิ่งที่จําเป็น (Disabel) หรือ

  การบู๊ตแบบเต็มรูปแบบ (Enabel)

·Boot  to Network  ไม่ให้บู๊ตไปยังเครือข่าย (Disabel) Reboot หรือบู๊ตไปยังเครือข่าย (Enabel: ค่าเริ่มต้น)

·Setup Prompt Timeout  กำหนดจำนวนวินาทีที่จะรอผู้ใช้กดคีย์เพื่อเข้าสู่ BIOS

·Bootup NumLock State  กําหนดการทํางานของปุ่ม NumLock หลังจากเปิดเครื่อง (เลือกให้ On หรือ Off)

·GateA20 Active  การเข้าถึง Address memory ซึ่งเป็นส่วนที่สูงกว่า 1 M (เลือก Upon Request ให้สามารถ

  ยกเลิกโดยการใช้ BIOS services หรือเลือก Always เพื่อปิดการใช้งาน GA20)

· Optional ROM Messenges กำหนดให้แสดงข้อความตัวเลือกของ ROM (เลือก Force BIOS เพื่อแสดงตัว

  เลือก หรือเลือก Keep Current ไม่แสดงตัวเลือก)

·lnterrupt 19 Captures  อนุญาตให้มีการเข้าไปขัดจังหวะ เพื่อขอกระทำการบางอย่าง เช่น ขอพิมพ์ ขออ่าน

  ข้อมูลบางอย่าง (เลือก Disable ยอมให้มีการขัดจังหวะ หรือเลือก Enable ไม่ยอมให้มีการขัดจังหวะ)

·Boot Option  Priorities  ในส่วนนี้เป็นการกำหนดลำดับการบู๊ตของอุปกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นการกำหนดให้

  ฮาร์ดดิสก์อยู่เป็นลำดับแรก โดยเราสามารถกำหนดได้ 3 ลำดับ คือถ้าไม่พบไฟล์สำหรับบู๊ตเครื่องใช้อุปกรณ์

  ลำดับแรก ก็จะไปค้นหาจากอุปกรณ์ถัดไปตามลำดับ

·Hard Drive BBS Priorities  ตั้งระดับการบู๊ตจากไดรว์ USB

·Floppy Drive BBS Priorities  ตั้งระดับการบู๊ตจากไดรว์Floppy

·CD/DVD ROM Drive BBS Priorities  ตั้งระดับการบู๊ตจากไดรว์ CD/DVD

·Add New Boot Option สร้างรูปแบบการบู๊ตด้วยตัวเอง ดังนี้

ตัวเลือกที่ใช้

คำอธิบาย

Add  boot  option

ป้อนชื่อของตัวเลือกการ boot

Select File system

เลือกซื้อ steam  สำหรับตัวเลือกการ boot จากตัวเลือกที่มี

Path  for boot option

ใส่เส้นทางของไฟล์

Create

หลังจากกำหนดค่าที่ผ่านมา  คลิกที่คำสั่งนี้ จะสร้างรูปแบบการ boot ใหม่

·Delete Boot Option คำสั่งนี้ช่วยให้ผู้ใช้ลบตัวเลือกของการบู๊ตจากรายการที่มีอยู่

เมนู Security Setup : กำหนดค่าความปลอดภัย

            ในเมนูย่อยนี้จะใช้สำหรับกำหนดรหัสผ่าน เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นสามารถใช้งานเครื่องของเราได้  โดยหลังจากที่ผ่านขบวนการ POST แล้วจะเกิดหน้าต่างให้ผู้ใช้พิมพ์รหัสผ่านลงไป ถ้าใส่รหัสถูกต้องก็จะสามารถใช้งานเครื่องนั้นได้

ชนิดของพาสเวอร์ดใน BIOS เราสามารถตั้งพาสเวอร์ด ได้ 2 ระดับด้วยกันดังนี้

·Administrator Password : พาสเวิร์ดสำหรับป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปปรับแต่งค่าใน BIOS ได้เมื่อเรากดปุ่ม <Del> เพื่อจะเข้าปรับแต่งค่า BIOS จะมีการถามพาสเวิร์ดก่อนทุกครั้ง

·User Password : พาสเวิร์ดสำหรับป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าใช้งานเครื่องโดยจะถามพาสเวิร์ดทุกครั้งเมื่อมีการเปิดเครื่อง

เมนู Save & Exit : บันทึกและออกจากการปรับแต่ง

            หลังจากที่ได้ปรับแต่งค่าต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้ต้องบันทึกค่าเอาไว้ เพื่อให้มีผลต่อการทำงาน โดยเลือกไปที่เมนู Exit ซึ่งมีตัวเลือกต่างๆ เช่น เลือกบันทึกค่าปรับแต่ง หรือเลือกยกเลิกการปรับแต่ง (กรณีไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงค่า) ดังนี้

·Save Changes and Exit  บันทึกการปรับแต่งและออกจากหน้าจอBIOS

·Discard Changes and Exit ยกเลิกการปรับแต่งทั้งหมดและออกจากหน้าจอBIOS

· Save Changes and Reset  บันทึกการเปลี่ยนแปลงและรีบู๊ตระบบใหม่

·Discard Changes and Reset ยกเลิกการปรับแต่งและ reboot ระบบใหม่

·Save Changes  บันทึกการปรับแต่งค่าไว้ก่อน แล้วค่อยปรับแต่งตัวเลือกอื่นๆต่อ

·Discard Changes  ยกเลิกการเปลี่ยนแปลงค่าที่ผ่านมา

·Restore Defaults  โหลดค่าปรับแต่งมาตรฐานของ BIOS ในเบื้องต้น ที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่

โรงงาน เพื่อให้เครื่องใช้งานได้อย่างปกติ(ใช้ในกรณีที่เราปรับแต่งค่าแล้ว เครื่องเกิดปัญหาขึ้น)

·Save as User Defaults  บันทึกกลับมาใช้ค่าเริ่มต้นใช้งาน

·Restore User Defaults  เรียกคืนค่าเริ่มต้นผู้ใช้งาน

· Boot override  แสดงตัวเลือกทั้งหมดที่มีอยู่ในรายการบู๊ตเครื่อง