การพัฒนาตามแนวพระราชดำริมีความเป็นมาอย่างไร

เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา ดังนี้

"……เป็นการสาธิตการพัฒนาเบ็ดเสร็จ หมายถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกด้านของชีวิตประชาชนที่จะหาเลี้ยงชีพในท้องที่จะทำ อย่างไร และได้เห็นวิทยาการแผนใหม่ จะสามารถที่จะหาดูวิธีการจะทำมาหากินให้มีประสิทธิภาพ….."

"……ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาฯ ก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่สภาพฝนฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่างๆ กันก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน…."

"กรมกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนทุกด้าน ได้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปรองดองกัน ประสานกันตาม ธรรมดาแต่ละฝ่ายต้องมีศูนย์ของตน แต่ว่าอาจจะมีงานถือว่าเป็นศูนย์ของตัวเอง คนอื่นไม่เกี่ยวข้อง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเป็น ศูนย์ที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทุกกรมกอง ทั้งในด้านเกษตรหรือในด้านสังคม ทั้งในด้านหางานการส่งเสริมการศึกษา อยู่ด้วยกัน ก็หมายความว่าประชาชนซึ่งจะต้องใช้วิชาการทั้งหลายก็สามารถที่จะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ ประชาชนก็มาอยู่พร้อมกันในที่เดียวกันเหมือนกัน ซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายถึงว่าที่สำคัญปลายทางคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์……."

จากพระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นก็พอจะสรุปได้ว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีแนวทางและ วัตถุประสงค์ ดังนี้คือ

๑. ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันดังนั้นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเปรียบเสมือน "ต้นแบบ" ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและ ตัวอย่างให้แก่พื้นที่อื่นๆ ๒. แลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฎิบัติ และประชาชน การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่างๆ ที่ได้ผลแล้วควรจะ นำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่จริงได้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ควรเป็นแหล่งผสมผสานวิชาการและการปฏิบัติ เป็นแหล่งความรู้ของ ราษฎร เป็นแหล่งศึกษาทดลองของเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานและเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหา ระหว่าง คน ๓ กลุ่ม คือ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาส่งเสริม และราษฎร ๓. พัฒนาแบบผสมผสาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นตัวอย่างที่ดีของแนวความคิดแบบสหวิทยาการ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดในพื้นที่นั้น ๆ ดังนั้นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แต่ละแห่งจะเป็นแบบจำลองของพื้นที่และรูปแบบการพัฒนาที่ควรจะเป็น เป็นตัวอย่างว่าในพื้นที่ลักษณะหนึ่ง ๆ นั้น จะสามารถใช้ ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้โดยวิธีใดบ้าง มิใช่การพัฒนาเฉพาะทางใด ทางหนึ่ง แต่พยายามใช้ความรู้มากสาขาที่สุด แต่ละสาขาก็ให้เป็นประโยชน์เกื้อหนุนกับการพัฒนาสาขาอื่นๆ และระบบของศูนย์ การพัฒนาฯ ก็ควรเป็นการผสมผสานการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นระบบด้วย ๔. ประสานงานระหว่างส่วนราชการ เนื่องจากกระบวนการพัฒนาและระบบราชการไทยมีปัญหานี้โดยพื้นฐาน เป็นสิ่งบั่นทอน ประสิทธิภาพของการทำงาน การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทุกแห่งจึงเน้นการประสานงาน ประสานแผนงาน ระหว่าง กรม กอง และส่วนราชการต่างๆ ๕. เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ กล่าวคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ มีการศึกษาทดลองและสาธิตให้เห็นการดำเนินงานในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านกสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสังคมและงานศิลปาชีพในลักษณะของ "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีชีวิต" เมื่อผู้สนใจเข้าไปศึกษาดูงานในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ก็จะได้รับความรู้รอบด้าน นอกจากนี้ยังนำผลการศึกษา ไปส่งเสริมกับหมู่บ้านเป้าหมาย เรียกว่า "หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ" โดยการให้เกษตรกรเข้ามารับการอบรมในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ หลักสูตรต่างๆ เช่น การเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ การขยายพันธุ์ การเลี้ยงสัตว์ การประมง ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมออก ไปแนะนำส่งเสริมในหมู่บ้าน หรือเกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ด้วยตนเองหรือเข้ามาเป็นหมู่คณะ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาแต่ละศูนย์นั้น มีความเป็นมา วัตถุประสงค์ ลักษณะการดำเนินงาน กล่าวพอสรุปได้ดังนี้

๑. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศาลบวรราชานุสาวรีย์ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบล เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้น้อม เกล้าฯ ถวายที่ดินหมู่ที่ ๒ ตำบลเขาหินซ้อน เนื้อที่ ๒๖๔ ไร่ จึงมีพระราชดำริที่จะใช้ผืนดินนี้เพื่อก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรต่อไป โดยให้ส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมป่าไม้ กรม การพัฒนาชุมชน กรมปศุสัตว์ และ กรป. กลาง ร่วมกันพัฒนาพื้นที่นี้โดยจัดทำเป็นศูนย์การศึกษาด้านเกษตรกรรมและงาน ศิลปาชีพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา" ซึ่งนับว่าเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรก

ลักษณะการดำเนินงานด้านพัฒนาสังคม

- ฝึกอบรมด้านศิลปาชีพ เช่น จักสาน ทอผ้า ฯลฯ - ดำเนินการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - ดำเนินการด้านกิจการโรงสีเพื่อช่วยเหลือราษฎร - ส่งเสริมและเผยแพร่หลักการและวิธีการสหกรณ์ - สาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ - มีการขยายผลการพัฒนาไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

๒. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พื้นที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบนเป็นแหล่งการประมงแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของ จังหวัดจันทบุรี บริเวณชายฝั่งก็เป็นเขตสงวนของ ป่าไม้ชายเลนที่สำคัญ แต่ทรัพยากรเหล่านี้ได้เสื่อมโทรมลงทุกด้าน ปริมาณสัตว์น้ำในธรรมชาติลดลงและป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย
ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชา นุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่จังหวัดจันทบุรี ได้พระราชทานพระราชดำริแก่นายบุญนาค สายสว่าง ผู้ว่าราชการ จังหวัดจันทบุรีในขณะนั้น ให้พิจารณาหาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตพื้นที่ ชายฝั่งตะวันออกของจังหวัดจันทบุรี เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนา ในที่สุดได้กำหนดพื้นที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน ตำบล สนามไชย อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ฯ โดยมีกรมประมงเป็นฝ่ายอำนวยการ

ลักษณะการดำเนินงานด้านพัฒนาสังคม

- ดำเนินการค้นคว้า ทดลองและสาธิตการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้าน ประมงชายฝั่ง เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่ม ผลผลิตเพื่อการพัฒนาตนเองได้ในระยะยาว - ศึกษาวิธีการปล่อยสัตว์น้ำชายฝั่งและการสำรวจอัตราการจับสัตว์น้ำบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน - จัดสรรพื้นที่ให้แก่ราษฎรบริเวณรอบอ่าวคุ้งกระเบนเพื่อทำเป็นแปลงสาธิตเลี้ยงหอย - ฝึกอบรม เรื่องของสหกรณ์ เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองด้านการตลอด - ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ ชื่อ "สหกรณ์ประมงคุ้งกระเบน จำกัด" เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๐ - สาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ - มีการขยายผลการพัฒนาไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

๓. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สภาพพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะแถบจังหวัดนราธิวาส บางแห่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังตลอดปี ทำให้ดินเปรี้ยวมีสภาพเป็นกรด เรียกว่า "ดินพรุ" มีอาณาเขตกว้างขวางถึงประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำออกแล้วก็ยัง ใช้ประโยชน์ไม่ได้ พระราชทานพระราชดำริแก่หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรีและนายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการ จังหวัดนราธิวาสในขณะนั้นว่า ควรจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาในการศึกษาวิจัยดินพรุ เพื่อนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบ อย่างในการพัฒนาพื้นที่พรุอื่น ๆ ต่อไป ต่อมาจึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างจังหวัดนราธิวาส กับสำนักงานคณะกรรมการ พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์เป็นประธาน เพื่อกำหนด นโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา ซึ่งต่อมาใช้ชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง" ในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้มีมติอนุมัติในหลักการดำเนินงาน ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีกรมพัฒนาที่ดินเป็นฝ่ายอำนวยการ

ลักษณะการดำเนินงานด้านพัฒนาสังคม

- ให้ความรู้ด้านการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน - ควบคุม ปราบปรามการระบาดของโรคเท้าช้างและโรคในสัตว์ - ฝึกอบรมการอาชีพที่น่าสนใจ เช่น ช่างไม้ ช่างจักสาน (แฝก) เป็นต้น - แนะนำให้ความรู้การประกอบอาชีพแผนใหม่ - สาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ - มีการขยายผลการพัฒนาไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

๔. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ปัญหาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำคัญ คือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพดินเป็นดินทรายที่ไม่อุ้มน้ำ เกษตรกรมีพื้นที่ เพาะปลูกน้อย ได้ผลผลิตต่ำ มีความเสี่ยงต่อภาวะผันผวนของดินฟ้าอากาศสูงมาก

เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้หม่อมเจ้า จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี และอธิบดีกรมชลประทาน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรมราชองครักษ์ สวนจิตรลดา ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้มีการศึกษาทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่าง ๆ ตามความเหมาะสม สำหรับเป็นตัวอย่าง ให้ราษฎรนำไปใช้ปฏิบัติต่อไป ต่อมาในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ โดยมีหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นประธาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จึงได้เริ่ม ดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยมีกรมชลประทานเป็นฝ่ายอำนวยการ

หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริประกอบด้วยอะไรบ้าง

หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นบันได ๓ ขั้นสู่ความสำเร็จ การเข้าใจ คือ การสร้างให้เกิดความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐาน ด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน ค้นหารากของปัญหา และรวบรวมองค์ความรู้ของโครงการพระราชดำริทั่วประเทศ

ใครเป็นต้นกำเนิดของโครงการพระราชดำริ

โครงการพระราชดำริที่นับว่าเป็นโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

เป้าหมายหลักของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริคือข้อใด

แนวพระราชดำริการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นที่มาของ โครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายมุ่งตรงต่อการแก้ไข ปัญหาความยากจนของประชาชนในชนบท ซึ่งเป็นที่มา ของความมั่นคงของชาติและความสงบสุขของสังคมไทย ในปัจจุบันมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มากกว่า 4,000 โครงการ ได้แก่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการพระราชดำริระยะที่สองเริ่มพัฒนาสิ่งใด

พระราชดำริระยะที่สอง : พัฒนาประเทศให้พออยู่พอกิน (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๒๐) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เริ่มเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในทุกภูมิภาคของประเทศ ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะรับทราบถึงปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนและความต้องการของราษฎร ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม