พระอารามหลวง ที่สร้าง ในเขตพระราชฐาน ของ ราชธานี ใหม่ มี ชื่อว่า อย่างไร

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระแก้วมรกตมีพระพุทธ
ลักษณะเป็นศิลปแบบล้านนาตอนปลาย ประทับนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ
องค์พระแกะสลักจากเนื้อหยกสีเขียวทึบชิ้นเดียว

พระอารามหลวง ที่สร้าง ในเขตพระราชฐาน ของ ราชธานี ใหม่ มี ชื่อว่า อย่างไร

ภายในพระอุโบสถจะเห็นบุษบกทองคำเหนือฐานชุกชี ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ
พระแก้วมรกต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อัญเชิญมาจากพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2327 พระแก้วมรกตมีพระพุทธลักษณะเป็นศิลปะแบบล้านนาตอนปลาย เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง
ปางสมาธิ องค์พระแกะสลักจากเนื้อหยกสีเขียวทึบชิ้นเดียว มีขนาดหน้าตักกว้าง 48.3 เซนติเมตร ความสูงจากฐานถึงพระรัศมี 66 เซนติเมตร
ตามประวัติกล่าวว่า ได้พบพระแก้วมรกตครั้งแรกที่เมืองเชียงราย ในปีพ.ศ. 1977 โดยพบอยู่ในเจดีย์องค์หนึ่งซึ่งถูกฟ้าผ่า ครั้งนั้นพระแก้วมรกตถูกหุ้มด้วยปูนปิดทอง เจ้าอาวาสจึงอัญเชิญไปประดิษฐานภายในกุฏิของท่าน
ต่อมาปูนที่ปลายพระนาสิกกะเทาะออก ทำให้เห็นเนื้อหยกสีเขียว เจ้าอาวาสจึงให้กะเทาะเนื้อปูนออกทั้งหมด เห็นเป็นพระพุทธรูปหยกสีเขียวทึบทั้งองค์ ความนี้ทราบไปถึงพระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงโปรดฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตประทับบนหลังช้างมายังเมืองเชียงใหม่ แต่ปรากฏเป็นอัศจรรย์ว่าเมื่อกระบวนช้างมาถึงทางแยกสามแพร่ง ช้างทรงที่อัญเชิญพระแก้วมรกตตื่นไปทางเมืองลำปาง แม้จะมีการเปลี่ยนช้างทรง 2 ครั้ง ช้างนั้น
ก็ยังคงมุ่งไปทางเมืองลำปาง พระเจ้าสามฝั่งแกนจึงทรง
พระดำริว่า ชะรอยเทวดาผู้รักษาพระแก้วมรกตมีความประสงค์จะไปเมืองลำปางมากกว่า จึงประดิษฐาน
พระแก้วมรกตที่เมืองลำปาง เป็นเวลา 32 ปี

ต่อมาในสมัยพระเจ้าติโลกราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ รวมเป็นเวลา 84 ปี
จนถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานที่เมืองหลวงพระบางและ
เวียงจันทร์ กรุงศรีสัตนาคตหุต เป็นเวลา 226 ปี ในปี
พ.ศ. 2321 เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ได้ยกทัพตีได้เมืองเวียงจันทร์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาประดิษฐานที่พระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม
เมื่ออัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องทรงประจำฤดูถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร 2 ฤดู คือ เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงสำหรับหนาวถวายอีก 1 ชุด แต่เครื่องทรงทั้ง 3 ฤดูในปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539 ทำด้วยทองคำประดับเนาวรัตน์ โดยเครื่องทรงทั้ง 3 ฤดู องค์เก่า โปรดเกล้าฯ ให้นำไปประดิษฐานที่พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระราชประเพณีการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต กระทำปีละ 3 หน คือ

วันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 เพื่อทรงเครื่องสำหรับฤดูร้อน

วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เพื่อทรงเครื่องสำหรับฤดูฝน

วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 เพื่อทรงเครื่องสำหรับฤดูหนาว

พระอารามหลวง ที่สร้าง ในเขตพระราชฐาน ของ ราชธานี ใหม่ มี ชื่อว่า อย่างไร
ด้านหน้าฐานชุกชีจะประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทรงเครื่อง ปางห้ามสมุทร 2 องค์ สูง 3 เมตร สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ด้านทิศเหนืออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระอัยกา พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” สำหรับองค์ทางด้านทิศใต้ทรงอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานนามพระพุทธรูป “พระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย” และโปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนขานพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 2 ตามพระนามพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์นี้
บริเวณฐานชุกชียังประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางห้ามสมุทร อีก 10 องค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่เจ้านายฝ่ายหน้าและฝ่ายใน
ด้านหน้าฐานชุกชีมีพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่ง คือ พระสัมพุทธพรรณี ห่มจีวรเฉียงมีริ้ว ประทับนั่งปางสมาธิ สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงผนวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดราชาธิวาส พระพุทธรูปองค์นี้มีพุทธลักษณะที่แตกต่างจากพระพุทธรูปองค์อื่นๆ คือ ไม่มีพระเกตุมาลา พระรัศมีเป็นเปลวไฟ มี 3 องค์ คือ สีทองสำหรับฤดูร้อน สีน้ำเงินสำหรับฤดูฝน และสีหยาดน้ำค้าง (แก้วใส) สำหรับฤดูหนาว โดยจะเปลี่ยนคราวเดียวกับพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดมะกอก เมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พระเจ้ากรุงธนบุรี) เสด็จทางชลมารคจากกรุงศรีอยุธยามารุ่งเช้าที่หน้าวัดมะกอก จึงโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดแจ้ง” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงปฏิสังขรณ์และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม” ในสมัยกรุงธนบุรีวัดอรุณราชวรารามเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต ก่อนที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้ว นอกจากนั้นยังมียักษ์ปูนปั้นขนาดใหญ่ 2 ตน ตั้งอยู่หน้าประตูซุ้มยอดพระมงกุฏ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “ยักษ์วัดแจ้ง” ภายในวัดอรุณราชวรารามนี้มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย อาทิ มีพระปรางค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกสูง 33 วาเศษ ประดับด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ ยอดพระปรางค์เป็นนภศูล ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีปรางค์ทิศทั้ง 4 ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประสูติ เทศน์พระธัมมจักร ตรัสรู้ นิพพาน การเดินเวียนทักษิณาวัดรอบพระปรางค์ 3 รอบ โดยเดินเวียนขวา (ตามเข็มนาฬิกา) เพื่อความเป็นสิริมงคล มีพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก” ซึ่งรัชกาลที่ 2 ทรงปั้นหุ่นและพระพักตร์ด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เอง และยังมีพระวิหารที่มีพระบรมสารีริกธาติที่เกศพระพุทธชมภูนุชฯ มีพระอรุณหรือพระแจ้ง ที่รัชกาลที่ 4 ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ การเดินทางไปยังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) สถานที่ตั้ง ข้างกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ #ท่องเที่ยวทั่วไทย #ประเทศไทย #คิดถึงธรรมชาติ #thailand #จุดชมพระอาทิตย์ขึ้น #จุดชมพระอาทิตย์ตก #ที่เที่ยวถ่ายรูปสวย #วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร #พระปรางค์สามยอด #พระปรางค์วัดอรุณ #ไหว้พระขอพร #ไหว้พระ9วัด #เที่ยวกทม #เที่ยวกรุงเทพ #กรุงเทพน่าเที่ยว #กรุงธนบุรี #ฝั่งธน #วัดสวยทั่วไทย #ศาสนาพุทธ #ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม #แหล่งท่องเที่ยว #เช็คอินกินเที่ยว #สายบุญห้ามพลาด #สายถ่ายรูปห้ามพลาด #เปิดที่เที่ยวน่าไป #ไปไหนดี #กรุงเทพไปไหนดี #วัดสวยในกรุงเทพ #ธรรมชาติบำบัด #เมืองเก่าน่าเที่ยว