จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรมีชื่อว่าอะไร

ขณะที่ผู้คนนับพันสามารถไต่พิชิตยอดเขา “เอเวอเรสต์” จุดสูงสุดของโลกได้ แต่มีมนุษย์เพียง 2 คนที่เคยดำดิ่งสัมผัสจุดที่ลึกที่สุดในโลก

จุดที่ว่าคือ “ชาเลนเจอร์ ดีป” (Challenger Deep) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เรียกว่า “มาเรียนา เทรนช์” (Mariana Trench) หรือ ร่องลึกมหาสมุทรมาเรียนา ห่างไปทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ประมาณ 200 กิโลเมตร ร่องลึกแห่งนี้มีรูปคล้ายพระจันทร์เสี้ยว เหมือนเป็นรอยแผลของโลก

แนวยาวของเทรนช์วัดได้ 2,500 กิโลเมตร และกว้าง 69 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดคือชาเลนเจอร์ ดีป มีความลึก 11 กิโลเมตร ถ้านำยอดเขาเอเวอเรสต์หย่อนลงไปในมาเรียนาเทรนช์ ยอดเขาก็จะโผล่ออกมาจากรอยแยกประมาณ 1.6 กิโลเมตร

ร่องลึกมหาสมุทรแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของพื้นทะเลที่แยกยาว มาจากแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นมุดเข้าหากัน จนเกิดการปะทะ และกลายเป็นรอยแยกใต้มหาสมุทร

ความลึกของมาเรียนาเทรนช์ มีการวัดครั้งแรกเมื่อปี 1875 โดยเรือรบหลวงแห่งสหราชอาณาจักร เอช เอ็ม เอส ชาเลนเจอร์ (H.M.S. Challenger) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประจำเรือวัดความลึกได้ที่ 4,475 ฟาธอม (ประมาณ 8 กิโลเมตร)

จากนั้นในปี 1951 เรือ เอช เอ็ม เอส ชาเลนเจอร์ ทู (H.M.S. Challenger II) ก็กลับมาวัดใหม่ โดยใช้การหยั่งจากการสะท้อนของเสียง วัดความลึกได้ประมาณ 11 กิโลเมตร

พื้นที่ส่วนใหญ่ของมาเรียนาเทรนช์เป็นเขตป้องกันของสหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถานทางทะเล (Marianas Trench Marine National Monument) ซึ่งในปี 2009 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ประกาศอนุญาตให้เข้ามาดำเนินการวิจัยได้

แต่ในส่วนของชาเลนเจอร์ ดีปเป็นเขตปกครองของประเทศไมโครซีเนีย (Federated States of Micronesia) ที่ทีมสำรวจจุดลึกสุดในโลก ต้องขออนุญาตทำงานวิจัยผ่านหน่วยงานรัฐบาลของไมโครซีเนียก่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรมีชื่อว่าอะไร

เนปาลวอนต่างชาติช่วยหาความสูงแท้จริง "เอเวอเรสต์" ยุติข้อขัดแย้ง

เจ้าหน้าที่รัฐบาลเผย วันนี้ (29) เนปาลเรียกร้องประเทศผู้บริจาค ให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์

มนุษย์ในยุคนี้ผู้เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ดาวเทียม จีพีเอส และการเดินทางด้วยการคมนาคมอันสะดวกสบาย คงมีความรู้สึกว่าโลกของเรานั้นถูกสำรวจจนพรุนและไม่มีความลับใดๆ หลงเหลืออีกแล้ว

แต่หากคิดให้ดีจะพบว่า ผิวโลกเราปกคลุมด้วยน้ำมากถึง 3/4 ส่วน และใต้ท้องทะเลนั้นเต็มไปด้วยความลับที่ยังรอให้เราไปสำรวจอีกมาก

บริเวณที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรคือแชลเลนเจอร์ดีป (challenger deep) ที่ระดับความลึกเกือบ 11 กิโลเมตรจากผิวน้ำ บริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้กับหมู่เกาะมาเรียนาซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก

ระยะทาง 11 กิโลเมตรอาจฟังดูไม่ได้ไกลมาก มันเป็นเส้นตรงที่ลากจากเซ็นทรัลลาดพร้าวมายังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่สำหรับมหาสมุทรแล้ว ความลึก 11 กิโลเมตรนั้นไม่ใช่ระยะทางน้อยๆ เลยสำหรับมนุษย์ ที่ร่างกายของเราไม่ได้ถูกสร้างมาสำหรับการดำรงชีวิตใต้น้ำ

ขณะที่เราลงไปอยู่ใต้น้ำ หัวใจจะเริ่มเต้นช้าลง และเมื่ออยู่ที่ระดับลึกเกินกว่า 5 เมตร สมองอาจหยุดทำงานจนสลบได้ นอกจากนี้อวัยวะภายในอย่างปอดจะถูกบีบอัดจากแรงดันน้ำรอบๆ จนหดเล็กลง

กีฬาดำน้ำแบบ freediving ซึ่งไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจนั้นมีหลายประเภท หนึ่งในนักกีฬาระดับโลกด้านนี้คือ Herbert Nitsch ชาวออสเตรีย สามารถดำน้ำแบบ no-limits apnea ได้ลึกถึง 214 เมตรจนเป็นสถิติโลก

การดำน้ำประเภทนี้จะไม่จำกัดวิธีดำน้ำและวิธีขึ้นสู่ผิวน้ำ ผู้ดำน้ำมักจะใช้อุปกรณ์ช่วยในการดำลงไปและลอยตัวขึ้นมา แต่ที่เหลือก็คือใช้ร่างกายตัวเองล้วนๆ กีฬาประเภทนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและมีความเสี่ยงสูงมาก

ที่ระดับความลึก 11 กิโลเมตร แรงดันน้ำบีบอัด 1.2 ตันในทุกๆ พื้นที่ตารางเซนติเมตร ทำให้ยานพาหนะที่จะลงมาอยู่ที่ระดับความลึกนี้ได้ต้องแข็งแรงและได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี

ใน ค.ศ. 1960 เรือดำน้ำสำรวจที่มีชื่อว่า Bathyscaphe Trieste ได้พาวิศวกรและนักสมุทรศาสตร์สองคนดำดิ่งลงสู่แชลเลนเจอร์ดีปเป็นครั้งแรก จากนั้นในปี ค.ศ. 2012 ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง James Cameron ได้เดินทางลงสู่แชลเลนเจอร์ดีปอีกครั้ง ครั้งนี้มาพร้อมการติดตั้งกล้องเพื่อบันทึกภาพรวมทั้งเก็บตัวอย่างโคลนมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาด้วย

กล่าวได้ว่ามีคนเดินทางสู่แชลเลนเจอร์ดีปน้อยกว่าเดินทางไปยังดวงจันทร์เสียอีก และยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่เดินทางไปยังแชลเลนเจอร์ดีปก็ไม่ได้ก้าวเท้าออกนอกยานพาหนะ มาเหยียบบนพื้นผิวมหาสมุทรเหมือนนักบินอวกาศยืนบนดวงจันทร์ด้วย

ปัจจุบันยังมีพื้นที่อีกมากมายในแชลเลนเจอร์ดีปและก้นมหาสมุทรที่ยังไม่ได้รับการสำรวจ

โครงการ Census of Marine Life ที่ทำการสำรวจมหาสมุทรอย่างเป็นระบบโดยนักวิจัยนานาชาติ เริ่มดำเนินการใน ค.ศ. 2000 มาจนถึง ค.ศ. 2010 ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ ร่วม 20,000 ชนิด แต่กระนั้นการศึกษาตลอดระยะเวลาสิบปีดังกล่าวก็เป็นเพียงส่วนเสี้ยวของพื้นที่มหาศาลของมหาสมุทร

นักวิทยาศาสตร์เคยคิดว่ามหาสมุทรที่ระดับความลึก 2-3 กิโลเมตร ไม่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้เนื่องจากแสงอาทิตย์ส่องลงมาไม่ถึง แต่การสำรวจอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นในช่วง ค.ศ. 1977 โดยเรือดำน้ำ DSV Alvin ได้เดินทางดำดิ่งลงไปสำรวจปล่องความร้อนใต้มหาสมุทร (hydrothermal vent) ซึ่งเป็นบริเวณที่พื้นมหาสมุทรเกิดรอยแยก ทำให้ความร้อนใต้โลกส่งผ่านมายังน้ำในมหาสมุทรจนดูเหมือนเป็นควันพวยพุ่งออกมา

วิทยาศาสตร์ได้พบว่าบริเวณนั้นมีสิ่งมีชีวิตมากมาย ทั้งกุ้ง ปู ดอกไม้ทะเล ปลาดาว หมึก ฯลฯ รวมกันอยู่จนเป็นระบบนิเวศทะเลลึก โดยมีแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยนสารเคมีให้กลายเป็นสารอาหารอย่างน้ำตาลได้ จากนั้นสัตว์เล็กๆ อย่างกุ้งจะมากินน้ำตาลและแบคทีเรีย แล้วสัตว์ที่ใหญ่ขึ้นอย่างปลาหรือหมึกจะมากินต่อเป็นทอดๆ

มันเหมือนเป็นโลกในความมืดที่ซ้อนอยู่ในโลกของเรา คำถามคือ ทำไมเราต้องสนใจทะเลลึกขนาดนี้ด้วย ในเมื่อการสำรวจแต่ละครั้งใช้งบประมาณมากมาย

คำตอบที่นอกเหนือจากความสงสัยใคร่รู้ของมนุษย์คงเป็นการพยายามมองหาแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ ประวัติศาสตร์ด้านการแพทย์บอกเราว่า สารเคมีที่มาจากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติสามารถนำมาใช้ในการสกัดเป็นยาได้มากมายหลายขนาน

สารเคมีชื่อว่า scyllo-inositol ซึ่งเป็นหนึ่งในสารที่ช่วยในการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์นั้นพบได้ทั่วไปในพืชประเภทมะพร้าว แต่การสำรวจทะเลลึกทำให้นักวิทยาศาสตร์พบว่าสารประเภทนี้มีอยู่ในสัตว์ทะเลลึกประเภทปลาดาวและหอยด้วย!

ใครเล่าจะรู้…โอสถวิเศษที่ปรุงสำเร็จแล้วหลายขนานอาจไม่ได้อยู่ในป่าดงดิบ แต่ซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทรแล้วรอให้ใครบางคนเดินทางไปค้นพบก็ได้

อ้างอิง
http://www.herbertnitsch.com/herbert/biography.html
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12443924

  • global review
  • ดำน้ำ
  • ทะเล
  • มหาสมุทร
  • วิทยาศาสตร์

  • จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรมีชื่อว่าอะไร

AUTHOR

จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรมีชื่อว่าอะไร

อาจวรงค์ จันทมาศ

เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผู้ใช้เวลาว่างในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้วยการบรรยายและเขียนอยู่เสมอ โด่งดังจากการเป็นแฟนพันธุ์แท้นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก มีผลงานพ็อกเก็ตบุ๊ก จริงตนาการ และ ดอกไม้ไฟในเอกภพ เขายังเป็นพิธีกรรายการแนววิทยาศาสตร์ จัดรายการวิทยุออนไลน์ Witcast เล่าเรื่องวิทยาศาสตร์แนวตลกโปกฮาร่วมกับ แทนไท ประเสริฐกุล และอัพเดทเรื่องสนุกๆ ในสายตาเด็กวิทย์เป็นประจำ