ประมุขสงฆ์ของทิเบตเรียกว่าอะไร

        เส้นทางแห่งการหยั่งรู้ ดันจู เป็นหนึ่งในนักเดินทางแสวงบุญนี้ จุดมุ่งหมายของเขานอกจากสร้างบุญให้กับตนเองแล้ว ดันจูออกจาริกเพื่อไถ่บาปให้พ่อที่ทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่เขายังเด็ก เส้นทางกว่า 2,000 กิโลเมตร ระหว่างชิงไฮ (Qinghai) บ้านของเขาและวัดโจคังคือสิ่งท้าทายอันยิ่งใหญ่ โจมาและใบมา คือแม่กับน้องสาวผู้คอยดูแลเขาตลอดการเดินทาง ดันจู ท่องบทสวดมนต์ย่างเท้าไปข้างหน้าและนอนกราบเหยียดยาวบนหิน กรวด น้ำแข็ง และหิมะตลอดการเดินทาง มีเพียงศรัทธาเท่านั้นที่ผลักดันเขาไปข้างหน้า ดังจูไม่ได้คิดถึงจุดหมายเลยเขานึกถึงแต่วัตถุประสงค์และความหมายของแต่ละครั้งที่ก้มกราบลงบนถนน อันเปรียบประดุจเส้นทางแห่งการหยั่งรู้ ระดับความสูงกว่า 4,000 เมตร และอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ทำให้ทุกคนอ่อนล้า แต่ในที่สุดพวกเขาก็ทำสำเร็จหลังจากเดินทางมากว่า 2 ปี โจมาได้แต่นั่งน้ำตาไหลด้วยความปีติเมื่อเห็นยอดพระราชวังโปตาลาแห่งนครลาซา ดันจูใช้เวลาทั้งวันสวดมนต์และกราบพระพุทธรูปทุกองค์ในวัดโจคัง การกราบแต่ละครั้งหมายถึงจุดสิ้นสุดแห่งการเดินทางอันยิ่งใหญ่ หลังจากพวกเขากลับไปถึงหมู่บ้านแล้ว คนทั้งหมู่บ้านออกมาต้อนรับด้วยความปีติ พระผู้ใหญ่แห่งวิหารซีในชิงไรับดันจูเป็นลามะ ซึ่งสิ่งนี้เป็นความหวังอันสูงสุดในชีวิตเขา

นิกายเกลุก หรือ นิกายเกลุกปะ หรือ นิกายหมวกเหลือง พัฒนามาจากนิกายกดัมที่อาจารย์อตีศะวางรากฐานและและอาจารย์สองขะปะเป็นผู้ปฏิรูปหลักคำสอนของนิกายหมวกแดงแล้วตั้งนิกายใหม่ขึ้นเมื่อ นิกายเกลุกปะ หรือนิกายหมวกเหลือง เมื่อท่านมรณภาพได้สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกานเด็นให้ เจล ซับเจ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการสืบทอดผู้นำของสายนิกายเกลุก ผู้นำนิกายเกลุกในปัจจุบันคือผู้ดำรงตำแหน่งดาไล ลามะหรือทะไล ลามะ ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตด้วย

พระสงฆ์ในนิกายนี้ได้รับการยกย่องนับถือจากผู้ปกครองมองโกลว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และต่อมาถือว่าเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองด้วย

ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลตันข่าน พระองค์ได้พบประมุขสงฆ์องค์ที่ 3 ของนิกายเกลุกปะชื่อ สอดนัมยาโส พระองค์เกิดความเชื่อว่า พระสอดนัมยาโสนี้เป็นอาจารย์ของพระองค์ในชาติก่อนจึงเรียกพระสอดนัมยาโสว่า ทะเล หรือทะไล (Dalai) ตั้งแต่นั้นมาประมุขสงฆ์ของทิเบตจะถูกเรียกว่า ดาไลลามะ หรือทะไล ลามะ

ทะไลลามะบางองค์ได้รับมอบอำนาจจากผู้นำมองโกลให้ปกครองประเทศทิเบตทั้งหมด ทำให้พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง จนถึงทะไลลามะองค์ที่ 7 (พ.ศ. 2351-2401) ทิเบตได้เข้าสู่ยุคของการปิดประตูอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากประสบความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตามเหตุการณ์ของบ้านเมือง เช่น มีนักบวชคริสต์ศาสนาเดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนา ความสัมพันธ์กับประเทศอินเดียจางหาย จีนได้เข้าครอบครองทิเบตใน พ.ศ. 2494

ขณะนี้ทะไลลามะประมุขสงฆ์ของทิเบตองค์ปัจจุบัน เป็นพระองค์ที่ 14 ทรงพำนักลี้ภัยอยู่ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ทรงเดินทางหลบหนีออกจากทิเบตใน พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา

พระพุทธศาสนาในทิเบตมีหลายนิกาย นิกายเก่าที่นับถือพระปัทมสัมภวะนั้นต่อมาได้ชื่อว่า นิกายหมวกแดง มีคำสอนที่ผสมผสานระหว่าหินยานกับมหายานเข้าด้วยกัน บังคับพระสงฆ์ให้ถือพรหมจรรย์และไม่สนับสนุนไสยศาสตร์

นิกายเกลุก เน้นความเคร่งครัดในวินัยเป็นพื้นฐาน ลามะของนิกายนี้ส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ เน้นการสอนทั้งทางพระสูตรที่เป็นวิชาการ และทางตันตระที่เน้นการปฏิบัติ และการวิเคราะห์ธรรมโดยตรรกวิภาษ หัวข้อใหญ่ที่ศึกษาคือ ปัญญาบารมี ปรัชญามาธยมิกะ การรับรู้ที่ถูกต้อง ปรากฏการณ์วิทยา และพระวินัย

15 บทเรียนคำสอนจาก องค์ดาไลลามะ กับคุณค่าตัวเองและการใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า

เทนซิน เกียตโซ ดาไลลามะที่ 14 คือองค์ ทะไลลามะ องค์ที่ 14 แห่งทิเบต เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และเป็นผู้นำจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบตถึงแม้ว่าทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน http://winne.ws/n22040

ประมุขสงฆ์ของทิเบตเรียกว่าอะไร

โดย MorTanapa

29 ม.ค. 2561 - 10.22 น. , แก้ไขเมื่อ 29 ม.ค. 2561 - 18.06 น.

ศาสนาโลก

4.1 พัน ผู้เข้าชม

share

Tags :

องค์ดาไลลามะ เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ดาไลลามะ  มาจากภาษามองโกเลีย แปลว่า มหาสมุทร และ ภาษาทิเบต แปลว่า พระชั้นสูง

ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็น อวตาร ในร่างมนุษย์และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดย เรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด

เทนซิน เกียตโซ ดาไลลามะที่ 14 คือองค์ ทะไลลามะ องค์ที่ 14 แห่งทิเบต เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และเป็นผู้นำจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบตถึงแม้ว่าทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่ยินยอมก็ตาม พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก

และต่อไปนี้คือ 15 บทเรียนคำสอน จาก องค์ดาไลลามะ เกี่ยวกับคุณค่าของตัวเองและการใช้ชีวิต

ประมุขสงฆ์ของทิเบตเรียกว่าอะไร

1. จุดประสงค์สูงสุดในชีวิตของคนเราคือการมีความสุข เราไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตบ้าง แต่อย่างไรหัวใจของเราก็ต้องการความหวัง และมันจะทำให้เราสามารถก้าวต่อไปได้

2. ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อเรายึดติดกับความแตกต่างระหว่างกันทั้งเรื่อง เชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา ฐานะ แต่จริงๆ แล้ว สิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่เราต้องจำไว้ก็คือ เราล้วนเป็นมนุษย์เหมือนๆ กัน ซึ่งหากมองในมุมมองก็จะทำให้ไม่เห็นความแตกต่างรวมถึงไม่เกิดความขัดแย้งขึ้น

3. มิตรภาพ มิได้ขึ้นอยู่กับชื่อเสียง เงินทอง หรือความแข็งแกร่งกำยำของร่างกาย แต่มันขึ้นอยู่กับความเชื่อใจและความรัก

4. ทุกๆ คนต้องเรียนรู้ที่จะสร้างสิ่งดีๆ ที่ไม่เพียงแต่ดีต่อตัวเอง หรือดีต่อครอบครัวเท่านั้น แต่ต้องเป็นผลดีต่อมนุษยชาติด้วย เพราะความรับผิดชอบร่วมกันคือแนวคิดที่ทำให้มวลมนุษย์อยู่รอดต่อไปได้

5. แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ว่ากับตัวเองหรือกับโลกจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็ว แต่ถ้าเราไม่ลองพยายามก็จะไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนไป

ประมุขสงฆ์ของทิเบตเรียกว่าอะไร

6. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตของเราสบายขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ใจของเราสบายขึ้นแต่อย่างใด

7. ถ้าอยากมีชีวิตที่มีความสุข จงเปิดกว้างยอมรับและมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เพราะนี่คือพื้นฐานของมิตรภาพอย่างง่ายๆ

8. การเปลี่ยนแปลงมิได้เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของรัฐบาลหรือหน่วยงานใด การเปลี่ยนแปลงจริงๆ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้คนเริ่มใช้สามัญสำนึกของแต่ละคนในการตัดสินใจต่อสิ่งใดๆ

9. ความรุนแรงเป็นวิธีที่ล้าสมัยในการแก้ไขข้อพิพาทและความขัดแย้ง

ประมุขสงฆ์ของทิเบตเรียกว่าอะไร

10. ชีวิตที่ดีสำหรับมวลมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการอธิษฐานเท่านั้น จริงๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับการกระทำมากกว่า

11. ถ้ามนุษย์ฆ่าสัตว์มันเป็นเรื่องที่เศร้า แต่ถ้ามนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกันเองมันจะเป็นเรื่องที่แย่มาก เราต้องพยายามคิดถึงผู้อื่นให้มากๆ เข้าไว้

12. ข้าพเจ้าต้องการเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นเหมือนกับเด็ก นั่นก็คือเปิดใจและยอมรับผู้อื่นในสิ่งที่พวกเขาเป็น

13. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สามารถลดความกลัว รวมถึงสร้างความมั่นใจในตัวเราให้มากขึ้นได้ เมื่อเราเชื่อใจผู้อื่นและเปิดใจยอมรับพวกเขา เราจะไม่รู้สึกเหมือนกับอยู่ตัวคนเดียวอีกต่อไป

14. ข้าพเจ้าเป็นปรมาจารย์ด้านการหัวเราะ แม้ว่าข้าพเจ้าจะเคยพบเจอปัญหาใหญ่ๆ มากมายในชีวิต หรือประเทศของข้าพเจ้ากำลังเจอช่วงเวลาที่โหดร้าย แต่ข้าพเจ้าก็มักจะหัวเราะออกมาบ่อยๆการหัวเราะเป็นเหมือนโรคติดต่อที่สามารถแพร่ไปได้ง่ายมากๆ และเมื่อมีคนถามว่า ข้าพเจ้าทำอย่างไรถึงมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะหัวเราะในช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ ข้าพเจ้าก็ตอบไปอย่างง่ายๆ ว่า ‘ก็ข้าพเจ้าเป็นปรมาจารย์ด้านการหัวเราะนี่’

15. ศาสนาของข้าพเจ้าเป็นสิ่งที่เรียบง่าย ศาสนาของข้าพเจ้าคือความเมตตา

นี้คือ 15 บทเรียนชีวิตจากองค์ดาไลลามะ หวังว่าบทเรียนนี้จะสามารถช่วยให้ทุกท่านมีจุดมุ่งหมายในชีวิตและทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น และยังส่งความสุขไปสู่ผู้คนรอบตัวของท่านด้วย

ประมุขพระสงฆ์ของประเทศทิเบตเรียกว่าอะไร

ทะไลลามะ หรือทะไล ลามะ คือพระสงฆ์ ผู้เป็นผู้นำสูงสุดของชาวธิเบต ฐานะทางบ้านเมือง เท่ากับตำแหน่งในเมืองไทยเรา คือ พระเจ้าแผ่นดิน ฐานะทางศาสนา เท่ากับตำแหน่งในเมืองไทยเรา คือตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช

ทะไทลามะแปลว่าอะไร

รากรณ์ สามโกเศศ ดาไลลามะ เป็นชื่อที่มักเรียกกัน บางครั้งก็นิยมออกเสียงว่าทะไลลามะ” ซึ่งเป็นภาษามองโกเลีย Dalai แปลว่ามหาสมุทร ส่วนในภาษาทิเบตแปลว่าพระชั้นสูง “ทะไลลามะ” เป็นชื่อตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก เป็นผู้นำจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต

องค์ทะไลลามะองค์ปัจจุบันมีชื่อว่าอะไร

ปัจจุบัน ทะไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ แต็นจิน กยาโช (พ.ศ. 2478 – ปัจจุบัน)

องค์ดาไลลามะนิกายอะไร

พระองค์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และเป็นผู้นำจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบต ถึงแม้ว่ารัฐบาลจีนจะไม่ยินยอมก็ตาม พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งพุทธศาสนาแบบทิเบตนิกายเกลุก ก่อนหน้า ทะไลลามะที่ 14. ถัดไป