ข้อใดเป็น ความ หมาย ของคำว่า มัลติมีเดีย

หน่วยการเรียนรู้ที่1

แนวข้อสอบ “มัลติมีเดีย”1. ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า “มัลติมีเดีย”          ก. ชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันและช่วยจัดการข้อมูลที่นำไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์          ข. ชุดคำสั่งที่สั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ จัดเป็นโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมเฉพาะงาน          ค. การใช้สื่อที่หลากหลายช่วยในการนำเสนออย่างมี                         ประสิทธิภาพ          ง. การสื่อสารข้อมูลหรือสารสนเทศระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการใช้งานอยู่ ณ ที่ต่าง ๆ            2. โปรแกรมที่เรียกว่ามัลติมีเดียต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างน้อยกี่ชนิดก. 1 ชนิด                                               ข. 3 ชนิด          ค. 6 ชนิด                                             ง. 8 ชนิด3. การใช้มัลติมีเดียในยุคแรก ๆ เป็นการนำเสนอแบบทางใด          ก. แบบทางเดียว                                        ข. แบบสองทาง          ค. แบบสามทาง                                         ง. ไม่มีข้อใดถูก4. Interactivity หมายถึงข้อใด          ก. สิ่งที่ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ให้และผู้รับข. ระบบสมองของร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลและสารสนเทศด้วยชุดคำสั่งที่ส่งเข้าไปให้ทำงาน    ตามที่ผู้ใช้ต้องการ          ค. กระบวนการหลักที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ง. การนำเสนอแบบสองทาง และโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ผู้ใช้            สามารถเลือกชมตอนไหนก่อนก็ได้ และสามารถ   ย้อนกลับไปกลับมาได้ตามความต้องการ5. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนในการพัฒนามัลติมีเดีย          ก. กำหนดเป้าประสงค์          ข. ออกแบบเค้าโครงเรื่อง          ค. วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของ                    มัลติมีเดีย          ง. ออกแบบส่วนรายละเอียดของงาน (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});  6. ขั้นตอนทั้ง 6 ขั้นตอน เป็นการเสริมสมรรถนะของงานไม่จำเป็นต้องทำทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของใคร          ก. ผู้พัฒนาสื่อ                                          ข. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์          ค. ผู้ใช้บริการในร้านคอมพิวเตอร์                      ง. เจ้าของร้านคอมพิวเตอร์ 7. การเขียน story board จัดอยู่ในขั้นตอนใด ของการออกแบบมัลติมีเดีย          ก. ออกแบบเค้าโครงเรื่อง                              ข. การพัฒนา           ค. ออกแบบส่วนรายละเอียดของงาน                 ง. การยอมรับของผู้ใช้ 8. ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า ภาพเคลื่อนไหว         ก. การนำเสนอแบบสองทาง และโต้ตอบกับผู้ใช้ได้         ข. ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปราก               ฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง         ค. ชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วม                 กัน และช่วยจัดการข้อมูลที่นำ ไปสู่ ระบบคอมพิวเตอร์         ง. ชุดคำสั่งที่สั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามผู้ใช้ต้องการ 9. ข้อใดเป็นประโยชน์ของเสียงที่ใช้ในระบบมัลติมีเดีย          ก. ช่วยให้ระบบมัลติมีเดียนั้นเกิดการสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น          ข. ช่วยสร้างความน่าสนใจและน่าติดตามในเรื่องราวต่าง ๆ                   ได้เป็นอย่างดี  ค. ในการนำเสนอต้องใช้เสียงที่เร้าใจและสอดคล้องกับ                      เนื้อหาทำให้น่าสนใจ          ง. ถูกทุกข้อ 10. ข้อใดเป็นประโยชน์ของมัลติมีเดีย          ก. เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น                   ข. เพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้          ค. เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้        ง. ถูกทุกข้อ

แนวข้อสอบ มัลติมีเดีย

Show

1. ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า มัลติมีเดีย

          ก. ชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันและช่วยจัดการข้อมูลที่นำไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์

          ข. ชุดคำสั่งที่สั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ จัดเป็นโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมเฉพาะงาน

          ค. การใช้สื่อที่หลากหลายช่วยในการนำเสนออย่างมี                         ประสิทธิภาพ

          ง. การสื่อสารข้อมูลหรือสารสนเทศระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการใช้งานอยู่ ณ ที่ต่าง ๆ            

2. โปรแกรมที่เรียกว่ามัลติมีเดียต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างน้อยกี่ชนิด

ก. 1 ชนิด                                               ข. 3 ชนิด

          ค. 6 ชนิด                                             ง. 8 ชนิด

3. การใช้มัลติมีเดียในยุคแรก ๆ เป็นการนำเสนอแบบทางใด

          ก. แบบทางเดียว                                        ข. แบบสองทาง

          ค. แบบสามทาง                                         ง. ไม่มีข้อใดถูก

4. Interactivity หมายถึงข้อใด

          ก. สิ่งที่ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ให้และผู้รับ

ข. ระบบสมองของร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลและสารสนเทศด้วยชุดคำสั่งที่ส่งเข้าไปให้ทำงาน 

   ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

          ค. กระบวนการหลักที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำได้

ง. การนำเสนอแบบสองทาง และโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ผู้ใช้            สามารถเลือกชมตอนไหนก่อนก็ได้ และสามารถ

   ย้อนกลับไปกลับมาได้ตามความต้องการ

5. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนในการพัฒนามัลติมีเดีย

          ก. กำหนดเป้าประสงค์

          ข. ออกแบบเค้าโครงเรื่อง

          ค. วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานของ                    มัลติมีเดีย

          ง. ออกแบบส่วนรายละเอียดของงาน

 6. ขั้นตอนทั้ง 6 ขั้นตอน เป็นการเสริมสมรรถนะของงานไม่จำเป็นต้องทำทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของใคร

          ก. ผู้พัฒนาสื่อ                                          ข. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์

          ค. ผู้ใช้บริการในร้านคอมพิวเตอร์                      ง. เจ้าของร้านคอมพิวเตอร์

 7. การเขียน story board จัดอยู่ในขั้นตอนใด ของการออกแบบมัลติมีเดีย

          ก. ออกแบบเค้าโครงเรื่อง                              ข. การพัฒนา

           ค. ออกแบบส่วนรายละเอียดของงาน                 ง. การยอมรับของผู้ใช้

 8. ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า ภาพเคลื่อนไหว

         ก. การนำเสนอแบบสองทาง และโต้ตอบกับผู้ใช้ได้

         ข. ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปราก               ฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

         ค. ชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วม                 กัน และช่วยจัดการข้อมูลที่นำ ไปสู่ ระบบคอมพิวเตอร์

         ง. ชุดคำสั่งที่สั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามผู้ใช้ต้องการ

 9. ข้อใดเป็นประโยชน์ของเสียงที่ใช้ในระบบมัลติมีเดีย

          ก. ช่วยให้ระบบมัลติมีเดียนั้นเกิดการสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

          ข. ช่วยสร้างความน่าสนใจและน่าติดตามในเรื่องราวต่าง ๆ                   ได้เป็นอย่างดี

  ค. ในการนำเสนอต้องใช้เสียงที่เร้าใจและสอดคล้องกับ                      เนื้อหาทำให้น่าสนใจ

          ง. ถูกทุกข้อ

 10. ข้อใดเป็นประโยชน์ของมัลติมีเดีย

          ก. เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น                   ข. เพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้


          ค. เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้        ง. ถูกทุกข้อ

1.ความหมายของสื่อมัลติมีเดีย

สื่อมัลติมีเดีย มีผู้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้            สื่อมัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffcoate. 1995)
           สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวีดิทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) (Vaughan. 1993)
           สื่อมัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน ภาพกราฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้คีย์บอร์ด (Key board) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) (Hall. 1996)

           ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของสื่อมัลติมีเดียได้ว่า สื่อมัลติมีเดีย คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound)  และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  (Interactive Multimedia)  การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้ สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่ง

2.องค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดีย

มัลติมีเดียสามารถจำแนกองค์ประกอบของสื่อต่างๆ ได้เป็น 5 ชนิด ประกอบด้วย ข้อความหรือตัวอักษร
(Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพวิดีโอ (Video)
แล้วนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อใช้สำหรับการปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบ (Interaction) ระหว่าง
คอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ผู้ใช้สามารถเลือกกระทำต่อมัลติมีเดียได้ตามต้องการ
ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ได้ทำการเลือกรายการและตอบคำถามผ่านทางจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์
จากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ก็จำทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ย้อนกลับผ่านทางจอภาพให้ผู้ใช้เป็น
อีกครั้ง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือและรูปแบบที่จะนำมา
ประยุกต์ใช้งาน ตัวอย่างเช่น การสร้างปุ่มเมนูหรือข้อความที่มีสีแตกต่างจากข้อความปกติ เมื่อผู้ใช้
มีปฏิสัมพันธ์กับส่วนนี้ ระบบก็จะเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง ข้อความ
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงหรือวิดีโอ ตามที่ได้มีการออกแบบไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น จึงถือได้ว่า
การปฏิสัมพันธ์ในมัลติมีเดียเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่นๆ สำหรับหัวข้อย่อยของ
เนื้อหาส่วนนี้ ประกอบด้วย

1. ข้อความหรือตัวอักษร (Text)

2. ภาพนิ่ง (Still Image)

3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation)

4. เสียง (Sound)

5. ภาพวิดีโอ (Video)

ข้อความหรือตัวอักษร (Text)

ข้อใดเป็น ความ หมาย ของคำว่า มัลติมีเดีย

ข้อความหรือตัวอักษรถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของมัลติมีเดีย ระบบมัลติมีเดียที่นำเสนอ
ผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากจะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตามความ
ต้องการแล้วยังสามารถกำหนดลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ (โต้ตอบ)ในระหว่างการนำเสนอได้อีกด้วย
ดังรูปต่อไปนี้

ข้อความ เป็นส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาของมัลติมีเดีย ใช้แสดงรายละเอียด หรือเนื้อหาของเรื่องที่นำเสนอ
ซึ่งปัจจุบัน มีหลายรูปแบบ ได้แก่

ข้อความที่ได้จากการพิมพ์ เป็นข้อความปกติที่พบได้ทั่วไป ได้จากการพิมพ์ด้วย โปรแกรมประมวลผล
งาน (Word Processor) เช่น NotePad, Text Editor, Microsoft Word โดยตัวอักษรแต่ละตัวเก็บ
ในรหัส เช่น ASCII

ข้อความจากการสแกน เป็นข้อความในลักษณะภาพ หรือ Image ได้จากการนำเอกสารที่พิมพ์ไว้แล้ว
(เอกสารต้นฉบับ) มาทำการสแกน ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) ซึ่งจะได้ผลออกมาเป็นภาพ
(Image) 1 ภาพ ปัจจุบันสามารถแปลงข้อความภาพ เป็นข้อความปกติได้ โดยอาศัยโปรแกรม OCR
ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อความที่พัฒนาให้อยู่ในรูปของสื่อ ที่ใช้ประมวลผลได้

ข้อความไฮเปอร์เท็กซ์ (HyperText) เป็นรูปแบบของข้อความ ที่ได้รับความนิยมสูงมาก ในปัจจุบัน
โดยเฉพาะการเผยแพร่เอกสารในรูปของเอกสารเว็บ เนื่องจากสามารถใช้เทคนิค การลิงก์ หรือเชื่อม
ข้อความ ไปยังข้อความ หรือจุดอื่นๆ ได้

ภาพนิ่ง (Still Image)

ข้อใดเป็น ความ หมาย ของคำว่า มัลติมีเดีย

ภาพนิ่งเป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด และภาพลายเส้น เป็นต้น ภาพนิ่งนับว่ามี
บทบาทต่อระบบงานมัลติมีเดียมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร ทั้งนี้เนื่องจากภาพจะให้ผลในเชิง
การเรียนรู้หรือรับรู้ด้วยการมองเห็นได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ลึกซึ่งมากกว่า
ข้อความหรือตัวอักษรนั่นเองซึ่งข้อความหรือตัวอักษรจะมีข้อจำกัดทางด้านความแตกต่างของแต่ละ
ภาษา แต่ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้กับทุกชนชาติ ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่างๆ เช่น
โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์หรือวารสารวิชาการ เป็นต้น

ภาพกราฟิก (Graphics) เป็นสื่อในการนำเสนอที่ดี เนื่องจากมีสีสรร มีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถสื่อ
ความหมายได้กว้าง ประกอบด้วย

ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพ
หนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละ
รูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จัก
กันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF

ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยว
กับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของ
เส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ
กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่
สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ
ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้
ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand

คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือ
ห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว

HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยัง
เนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่
ระบุ (Over) สำหรับการจัดหาภาพ หรือเตรียมภาพ ก็มีหลายวิธี เช่น การสร้างภาพเอง ด้วยโปรแกรม
สร้างภาพ เช่น Adobe Photoshop, PhotoImpact, CorelDraw หรือการนำภาพจากอุปกรณ์
เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิตอล, กล้องวิดีโอดิจิตอล หรือสแกนเนอร์

ภาพเคลื่อนไหว (Animation)

ข้อใดเป็น ความ หมาย ของคำว่า มัลติมีเดีย
    
ข้อใดเป็น ความ หมาย ของคำว่า มัลติมีเดีย
      
ข้อใดเป็น ความ หมาย ของคำว่า มัลติมีเดีย


ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่
เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของอะตอมในโมเลกุล หรือการเคลื่อนที่ของลูกสูบของ
เครื่องยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม การผลิตภาพเคลื่อนไหว
จะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างเกี่ยวกับขนาดของไฟล์ที่
ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่านั่นเอง

เสียง (Sound)

เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของมัลติมีเดีย โดยจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลซึ่ง
สามารถเล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้ โดยใช้โปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับทำงานด้านเสียง
หากในงานมัลติมีเดียมีการใช้เสียงที่เร้าใจและสอดคล้องกับเนื้อหาในการนำเสนอ จะช่วยให้ระบบมัลติ
มีเดียนั้นเกิดความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความน่าสนใจและน่าติดตามในเรื่อง
ราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากเสียงมีอิทธิพลต่อผู้ใช้มากกว่าข้อความหรือภาพนิ่งนั่นเอง ดังนั้น
เสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียซึ่งสามารถนำเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน แผ่นซีดี
ดีวีดี เทป และวิทยุ เป็นต้น

ลักษณะของเสียง ประกอบด้วย

คลื่นเสียงแบบออดิโอ (Audio) ซึ่งมีฟอร์แมตเป็น .wav, .au การบันทึกจะบันทึกตามลูกคลื่นเสียง
โดยมีการแปลงสัญญาณให้เป็นดิจิทัล และใช้เทคโนโลยีการบีบอัดเสียงให้เล็กลง (ซึ่งคุณภาพก็
ต่ำลงด้วย)

เสียง CD เป็นรูปแบบการบันทึก ที่มีคุณภาพสูง ได้แก่ เสียงที่บันทึกลงในแผ่น CD เพลงต่างๆ

MIDI (Musical Instrument Digital Interface) เป็นรูปแบบของเสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
สามารถเก็บข้อมูล และให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ สร้างเสียงตามตัวโน้ต เสมือนการเล่นของเครื่องเล่น
ดนตรีนั้นๆ เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง ประกอบด้วย

การบันทึกข้อมูลเสียง เสียงที่ทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งมี 2 รูปแบบคือ

Synthesize Sound เป็นเสียงที่เกิดจากตัววิเคราะห์เสียง ที่เรียกว่า MIDI โดยเมื่อตัวโน้ตทำงาน
คำสั่ง MIDI จะถูกส่งไปยัง Synthesize Chip เพื่อทำการแยกสียงว่าเป็นเสียงดนตรีชนิดใด
ขนาดไฟล์ MIDI จะมีขนาดเล็ก เนื่องจากเก็บคำสั่งในรูปแบบง่ายๆ Sound Data เป็นเสียงจากที่มี
การแปลงจากสัญญาณ analog เป็นสัญญาณ digital โดยจะมีการบันทึกตัวอย่างคลื่น (Sample)
ให้อยู่ที่ใดที่หนึ่งในช่วงของเสียงนั้นๆ และการบันทึกตัวอย่างคลื่นเรียงกันเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มี
คุณภาพที่ดี ก็จะทำให้ขนาดของไฟล์โตตามไปด้วย Sample Rate จะแทนด้วย kHz ใช้อธิบาย
คุณภาพของเสียง อัตรามาตรฐานของ sample rate เท่ากับ 11kHz, 22kHz, 44kHz
Sample Size แทนค่าด้วย bits คือ 8 และ 16 บิท ใช้อธิบายจำนวนของข้อมูลที่ใช้จัดเก็บใน
คอมพิวเตอร์ คุณภาพเสียงที่ดีที่สุด ได้แก่ Auido-CD ที่เท่ากับ 44kHz ระบบ 16 บิท เป็นต้น

มาตรฐานการบีบอัดข้อมูล เสียงที่มีคุณภาพดี มักจะมีขนาดโต จึงต้องมีการบีบอัดข้อมูลให้มีขนาด
เล็กลง มาตรฐานการบีบอัดข้อมูล ได้แก่

ADPCM - Adaptive Differential Pulse Code Modulation โดยจะทำการบีบอัดข้อมูลที่มีการ
บันทึกแบบ 8 หรือ 16 บิท โดยมีอัตราการบีบอัดประมาณ 4:1 หรือ 2:1

u-law, A-law เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย CCITT สามารถบีบอัดเสียง 16 บิท ได้ในอัตรา 2:1

MACE มีจุดเด่นคือ บีบอัดและขยายข้อมูลให้มีขนาดเท่าเดิมได้ จึงใช้ได้เฉพาะข้อมูลเสียง 8 บิต อัตรา
การบีบอัดคือ 3:1 และ 6:1 อย่างไรก็ตามคุณภาพเสียงไม่ดีเท่าที่ควร และทำงานได้เฉพาะกับ Mac
เท่านั้น

MPEG เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลที่นิยมมากในปัจจุบัน โดยชื่อนี้ เป็นชื่อย่อของทีมงานพัฒนา
Moving Picture Export Group โดยปัจจุบันมีฟอร์แมตที่นิยมคือ MP3 (MPEG 1 Audio Layer 3)
ซึ่งก็คือเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลเสียงของมาตรฐาน MPEG 1 นั่นเอง เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กับเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตด้วย

วีดีโอ (Video)


ข้อใดเป็น ความ หมาย ของคำว่า มัลติมีเดีย

วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอล
สามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์
มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ
การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วย
เวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30 ภาพต่อวินาที
(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของ
สัญญาณมาก่อน การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะ
ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนา
เทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย
(Multimedia System)

Video file format เป็นรูปแบบที่ใช้บันทึกภาพและเสียงที่สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้เลย
มีหลายรูปแบบได้แก่

AVI (Audio / Video Interleave) เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เรียกว่า
Video for Windows มีนามสกุลเป็น .avi ปัจจุบันมีโปรแกรมแสดงผลติดตั้งมาพร้อมกับชุด
Microsoft Windows คือ Windows Media Player

MPEG - Moving Pictures Experts Group รูปแบบของไฟล์ที่มีการบีบอัดไฟล์ เพื่อให้มีขนาดเล็กลง
โดยใช้เทคนิคการบีบข้อมูลแบบ Inter Frame หมายถึง การนำความแตกต่างของข้อมูลในแต่ละ
ภาพมาบีบ และเก็บ โดยสามารถบีบข้อมูลได้ถึง 200 : 1 หรือเหลือข้อมูลเพียง 100 kb/sec โดย
คุณภาพยังดีอยู่ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย MPEG-1 มีนามสกุล คือ .mpg Quick Time
เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัท Apple นิยมใช้นำเสนอข้อมูลไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต มีนามสกุลเป็น
.mov


3.ประเภทของสื่อมัลติมีเดีย


ข้อใดเป็น ความ หมาย ของคำว่า มัลติมีเดีย
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานั้น คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบ หรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรม ได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสาร และการให้ประสบการณ์ เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพนั่นเอง บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามี 2 ประเภทดังนี้

ข้อใดเป็นความหมายของสื่อมัลติมีเดีย

ความหมายของมัลติมีเดีย "มัลติมีเดีย" เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ โดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้

ข้อใดคือความหมายของ CAI

2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรงและเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือ สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้ ใช้ในงาน เพื่อการสอน การทบทวนบทเรียน เพื่อฝึกหัด การวัดผลหรือสอบ ...

ข้อใดคือความหมาย ของสื่อมัลติมีเดียทางการศึกษา

สื่อมัลติมีเดีย หมายถึง ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ โดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Image) ภาพกราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และ วีดิทัศน์(Video) เป็นต้น โดย สื่อสามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้ทันที สามารถเรียน ...

ข้อใดเป็นประโยชน์ของมัลติมีเดีย

ประโยชน์ของมัลติมีเดีย.
เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว.
นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย.
สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง.
สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์.