กรุงธนบุรีมีชื่อเต็มว่าอะไร

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงประกอบวีรกรรมในการกอบกู้และสร้างชาติ ป้องกันบ้านเมืองและสร้างความเป็นเอกภาพ ตลอดจนขยายราชอาณาจักร เมื่อปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงเฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติประมาณ พ.ศ.2277 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรม พระบิดาเป็นชาวจีนแซ่เจิ้ง ส่วนพระมารดาเป็นหญิงไทย ชื่อนางนกเอี้ยง (กรมพระเทพามาตย์)อาจมีภูมิลำเนาจากเมืองเพชรบุรี พระองค์สมรสกับหญิงสามัญชนชื่อสอน (กรมหลวงบาทบริจาริกา) มีพระราชโอรสพระราชธิดารวม 29 พระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเดิมเป็นพ่อค้าเกวียนได้บรรทุกสินค้าไปขายที่หัวเมือง ต่อมาเข้ารับราชการจนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันได้ไปปกครองเมือง พม่ายกทัพเข้ามาโจมตีหัวเมืองฝ่ายเหนือใน พ.ศ.2309 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จึงโปรดให้พระองค์ลงมาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา

ด้วยเหตุผลจากสถานการณ์สงครามที่เหลือกำลังหรืออาจมีหมายให้ไปหาคนจากเมืองมาช่วย หรือความจำเป็นอื่นใด ทำให้พระองค์จึงพาไพร่พลไทยจีนตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่า (มีเอกสารการค้าทางการธนบุรี ถึงบริษัท VOC กล่าวว่า พระองค์ทรงไปตามคำสั่งพระมหากษัตริย์) มุ่งไปทางทิศตะวันออกสู่จันทบูรณ์หรือจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่ จันทบูรจึงเป็นเมืองทางเศรษกิจทำเลที่ตั้งทางน้ำเหมาะสมกับยุทธศาสตร์ทางทหารเรียกว่า “สมุททานุภาพ”

พระนามพระเจ้าตากสินคืออะไรแน่!พระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชา!!

เผยแพร่: 18 ก.ค. 2561 10:01   โดย: โรม บุนนาค


ที่เราขนานพระนามมหาราชผู้กู้ชาติไทยในการเสียกรุงแก่พม่าใน พ.ศ.๒๓๑๐ ว่า “พระเจ้าตากสิน” ก็เพราะพระองค์มีพระนามเดิมว่า “สิน” เป็นอดีตเจ้าเมืองตาก

และที่เอ่ยพระนามพระองค์ท่านว่า “พระเจ้ากรุงธนบุรี” ก็เพราะเป็นผู้สถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี และเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวของนครหลวงแห่งนี้

แต่พระนามที่เป็นทางราชการของพระองค์คืออะไรแน่?

พระเจ้ากรุงธนบุรี - สมเด็จพระศรีสรรเพพชญ์ - สมเด็จพระบรมราชา – สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี - สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ล้วนแต่มีเอกสารเอ่ยนามพระองค์แบบนี้กันทั้งนั้น

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ในเรื่อง “ไทยรบพม่า” ในเชิงอรรถ ว่า

“...เมื่อเจ้าตากลงมาตั้งอยู่ที่เมืองธนบุรี ทำพิธีราชาภิเษกในปีกุน พ.ศ.๒๓๑๐ นั้น หนังสือพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาขนานพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชา” นับเป็นที่ ๔ แต่ในหนังสือเก่าๆ เรียกว่า “ขุนหลวงตาก” บ้าง “เจ้ากรุงธนบุรี” บ้าง “พระเจ้ากรุงธนบุรี” บ้าง

มีคำกล่าวกันแต่ก่อนมาว่า เมื่อเจ้าตากทำพิธีราชาภิเษก หาพราหมณ์ทำพิธีราชาภิเษกไม่ได้ เห็นเป็นการบกพร่องไม่ต้องราชประเพณี จึงทรงไม่ใช้พระราชโองการจนตลอดรัชกาล แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ในหนังสือแต่งตั้งเจ้านครฯ ซึ่งพบสำเนาเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้พระนามว่า “สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์” และมีพระราชโองการตามแบบพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่าหมดทุกประการ

ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา มีพระนาม “สมเด็จพระบรมราชา” อยู่ ๓ พระองค์ พระองค์ที่ ๑ คือ พระเจ้าทรงธรรม “สมเด็จพระบรมราชา ที่ ๒” คือ พระเชษฐาธิราช และ “สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓” คือ พระเจ้าเอกทัศน์ ซึ่งทั้ง ๓ พระองค์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระเจ้าตากสินเลย

เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินขึ้นที่วงเวียนใหญ่ ได้กำหนดพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี” โดยในหนังสือลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๙๗ ระบุว่า เรื่อง การเปิดพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี

ต่อมาในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เทิดพระนามสมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็น “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”



  • สมเด็จพระเจ้าตากสิน
  • เรื่องเก่าเล่าสนุก
  • โรมบุนนาค
  • พระเจ้าตากสิน

กำลังโหลดความคิดเห็น

คนไทยส่วนใหญ่มักเรียกสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีว่า “สมเด็จพระเจ้าตากสิน” ซึ่งเป็นพระนามที่ปรากฏบนจารึกหน้าฐานพระบรมราชานุเสาวรีย์ของพระองค์ที่วงเวียนใหญ่ ส่วนที่มาของพระนามดังกล่าว คนเฒ่าคนแก่ หรือครูบาอาจารย์ชอบบอกว่า เพราะพระองค์เป็นเจ้าเมืองตากมาก่อน เมื่อพระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นครองกรุงธนบุรี คนก็ยังติดกับพระนามเดิมจึงมักเรียกพระองค์ว่า “พระเจ้าตากสิน”

อย่างไรก็ดี สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ บอกว่า การเรียกพระนามของพระองค์ดังกล่าวเท่ากับเป็นการลดทอนพระเกียรติยศของพระเจ้ากรุงธนบุรีอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพราะนั่นมิใช่พระนามอย่างเป็นทางการของพระองค์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน และภายหลังมีความพยายามลดทอนพระบารมีของพระองค์ ไม่ยอมรับพระองค์ในฐานะ “พระเจ้าแผ่นดิน” ด้วยข้ออ้างว่า เมื่อสมัยที่พระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก บ้านเมืองยังเป็นจลาจล หาพราหมณ์ทำพิธีไม่ได้ การประกอบพระราชพิธีในครั้งนั้นจึงบกพร่องไม่เป็นไปตามโบราณราชประเพณี

แต่สุทธิศักดิ์ยืนยันว่า พระองค์ทรงมีสถานะเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสมบูรณ์มาแต่ต้นรัชกาล เห็นได้จากหลักฐานการตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราชครั้งกรุงธนบุรี พ.ศ. 2319 ที่ระบุว่าพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว” และรับ “พระราชโองการ” ตามอย่างพระเจ้าแผ่นดินพระมหานครศรีอยุทธยาทุกประการ

กรุงธนบุรีมีชื่อเต็มว่าอะไร
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ จ.จันทบุรี

อย่างไรก็ดี เมื่อล่วงเข้าสู่ราชวงศ์ใหม่พระองค์ถูกลดทอนพระบารมีลงด้วยการไปเรียกขานพระองค์ด้วยชื่อตำแหน่งเมื่อครั้งที่พระองค์ยังคงมีสถานะเป็นเพียงขุนนาง เช่นในหมายรับสั่งเรื่องแห่พระทราย เมื่อ พ.ศ. 2325 ที่เรียกพระองค์ว่า “พระยาตากสิน” และเรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัท) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ. 2327 ก็เรียกพระองค์ว่า “พญาตากสิน” สุทธิศักดิ์ จึงกล่าวว่า ในทัศนะของราชวงศ์ใหม่ พระเจ้ากรุงธนบุรีมีสถานะเป็นเพียง “หัวหน้าชุมชน” เท่านั้น ไม่ใช่ “พระเจ้าแผ่นดิน”

เอกสารในยุคหลังจึงยึดเอาธรรมเนียมการเรียขานพระนามของพระองค์ ด้วยสถานะเทียบเท่าหัวหน้าชุมนุมเรื่อยมา หรือเลี่ยงที่จะเอ่ยพระนามของพระองค์ไปเสีย จนกระทั่งเข้าถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานะความเป็น “พระเจ้าแผ่นดิน” ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้น เพื่อแสดงความสืบเนื่องของแผ่นดินตั้งแต่สมัยอยุธยา มาจนถึงสมัยของพระองค์ (รัชกาลที่ 4)

หลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสาร “ประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2408 ที่ตรัสเรียกว่า “กรุงธนบุรี” แปลว่าพระเจ้าแผ่นดินธนบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงกล่าวใน “พระราชกรัณยานุสร” ว่า พระนามเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ยกย่องขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินคงมีอยู่แน่ แต่ไม่ปรากฏ (หลักฐาน) ดังที่ได้ตรัสว่า “พระนามเดิมคงมีอยู่ แต่จะใช้พระนามไร ก็ไม่รู้ที่จะสันนิษฐานต้องยกไว้”

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ตรวจชำระแก้ไขพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เมื่อ พ.ศ. 2457 พระองค์ได้ขนานพระนามสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสียใหม่ตามพระวินิจฉัยส่วนพระองค์ว่า “สมเด็จพระบรมราชา องค์ที่ 4” ซึ่งนักพงศาวดารไทยก็ได้ยึดถือตามกันมาและถือเป็นพระนามทางการของพระองค์ไป

อย่างไรก็ดี ภายหลังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงวินิจฉัยตามหลักฐานที่ปรากฏในภายหลัง ระบุว่า พระนามที่แท้จริงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีควรจะเป็น “สมเด็จพระเอกาทศรถ” อันเป็นพระนามที่กษัตริย์ตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมทรงใช้สืบต่อกันมา รวมถึงพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย ดังที่ปรากฏพระราชโองการตั้งเจ้านครศรีธรรมราช

นอกจากนี้ สุทธิศักดิ์ ยังพบว่า ข้อสันนิษฐานภายหลังของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีหลักฐานอื่นรองรับอีกหลายชิ้น เช่นพระราชสาส์นล้านช้าง ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระราชทานไปถึงพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เมื่อ พ.ศ. 2314 ที่จดพระนามร่วมสมัยของพระองค์ว่า “สมเด็จพระมหาเอกาทุศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว” ตามด้วยพระราชสาส์นล้านช้าง พ.ศ. 2317 ที่ออกพระนามว่า “สมเด็จพระมหาเอก (า) ทศรธอิศวรบรมนารถบรมบพิตรฯ”

เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจชำระแก้ไขพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระองค์ได้แก้ไขพระวินิจฉัยเดิม และแก้พระนามของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีใหม่เป็น “พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว” ซึ่ง สุทธิศักดิ์ กล่าวว่า พระนามดังกล่าวถอดความได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ผู้ครอบครองราชรถทั้งสิบเอ็ดรถ

อย่างไรก็ดี สุทธิศักดิ์ มองว่าพระนามดังกล่าวมิได้เป็นพระเกียรติยศสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน “จึงเห็นควรปริวรรตพระนามตามอักขรวิธีในปัจจุบันเป็น ‘พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวร’ แปลว่า พระเจ้าแผ่นดินผู้แบ่งภาคมาจากเทพยดาผู้เป็นใหญ่ทั้ง ๑๑ พระองค์ คือ พระพรหม พระพิษณุ พระอิศวร พระพาย พระพิรุณ พระเพลิง พระยม พระไพศรพณ์ พระอินทร์ พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ตามคติความเชื่อใน ‘ลัทธิเทวราช’ ของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการจรรโลงสิทธิธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติของพระเจ้าแผ่นดินในอดีต”

ด้วยเหตุนี้ สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ สรุปว่า “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงควรมีพระนามทางการตามจารึกในพระสุพรรบัฏว่า ‘สมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวร’ นับเป็นพระองค์ที่ 6 ถัดจากพระบาทสมเด็จเอกาทศรุทรอิศวรที่ 5 (สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ)”  ไม่ใช่สมเด็จพระบรมราชา พระองค์ที่ 4 อย่างที่ยึดถือกันมาแต่เดิม

กรุงธนบุรีมีชื่อเต็มว่าอะไร
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. “พระนามทางการที่ปลาสนาการของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” ใน, ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2553.

ข้อใดคือพระนามของพระมหากษัตริย์สมัยกรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรธนบุรี

พระมหากษัตริย์สมัยกรุงธนบุรีมีกี่พระองค์ ชื่ออะไรบ้าง

ราชวงศ์ธนบุรี เป็นราชวงศ์ในอดีตที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดคือ 15 ปี ซึ่งปกครองกรุงธนบุรีเพียงราชวงศ์เดียว และมีพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวคือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสถาปนาราชวงศ์นี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2310 - 6 เมษายน 2325.

กรุงธนบุรีเป็นราชธานีของไทยเป็นระยะเวลาเท่าใด

อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง พ.ศ. 2310–2325 ระยะเวลา 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังอาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ...

ชาวต่างชาติเรียกกรุงธนบุรีว่าอะไร

เมืองธนบุรีกับบางกอก ก่อนสมัยพระเจ้าตากสินคือที่เดียวกัน แต่ชาวบ้านและชาวต่างชาติน่าจะรู้จักชื่อบางกอกมากกว่า เพราะพบชื่อธนบุรีในเอกสารฝรั่งน้อยมาก และเท่าที่ผ่านตาไม่ปรากฏชื่อนี้เลยในแผนที่สมัยนั้น