ขั้นสุดท้ายของ Design Thinking คืออะไร

Design Thinking คืออะไร? ใช้ทำอะไร และจะฝึกฝนอย่างไร วันนี้ผมจะมาไขข้อสงสัยนี้อย่างง่ายให้ทุกคนได้เข้าใจกันนะครับ

Design คืออะไร

ก่อนที่เราจะเข้าถึงเรื่อง Design Thinking เราต้องมาทำความเข้าใจคำว่า Design หรือการออกแบบ กันใหม่ก่อนนะครับ หลายคนมักมองว่า การออกแบบ คือ การสร้างสิ่งของใหม่ๆ เช่น การสร้างของใช้ การสร้างเฟอร์นิเจอร์ การสร้างบ้าน และการวาดรูป เป็นต้น ใช่ครับนั่นเป็นความเข้าใจที่ถูก แต่เป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงส่วนเดียว Simon (1968) ได้กล่าวไว้ว่า การออกแบบ ไม่ได้เป็นแค่การสร้างสิ่งของหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เท่านั้น แต่คือความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมในปัจจุบันให้เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ในอนาคต ยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ ในสมัยก่อนที่เรายังไม่มีเครื่องบิน เราใช้เรือหรือรถเป็นพาหนะหลักในการเดินทางไกลๆ การสร้างเครื่องบินนี่ไม่ใช่แค่การทำให้การเดินทางเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการออกแบบประสบการณ์การเดินทางแบบใหม่ แก้ปัญหาการขนส่ง และเพิ่มโอกาสต่างๆ อีกมากมายให้กับโลกใบนี้ นี่แหละครับ การออกแบบบที่แท้จริงคือการพัฒนาบางอย่างและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

ยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ ในสมัยก่อน สมัยที่เรายังไม่มีเครื่องบิน เมื่อเดินทางไกล เราจะใช้เรือเป็นยานพาหนะ การออกแบบไม่ใช่เป็นแค่การสร้างเครื่องบินขึ้นมา ว่านี่หละเครื่องบินเอาไว้เดินทางบนฟ้า แต่การออกแบบคือการเปลี่ยนแปลงการเดินทางระยะไกลให้เร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น ร่นระยะเวลาจากการเดินทางจากที่ใช้เวลาเป็นเดือนๆ ให้สั้นลงกลายเป็นวันๆ หรือเรียกง่ายๆ คือ การออกแบบคือการพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลง

Design Thinking หรือ Design Process คืออะไร

Design Thinking หรือกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็นคำที่ใช้แพร่หลายมากในปัจจุบัน และเชื่อว่าในประเทศไทย ทุกคนคงจะเคยได้ยิน หรือผ่านเข้าหูกันบ้าง คำถามก็คือแล้ว Design Thinking คืออะไรหละครับ

Design Thinking คือ “กระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และนำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากคนหลายๆ สายมาสร้างไอเดีย แนวทางการแก้ไข และนำเอาแนวทางต่างๆ นั่นมาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้นๆ”

Design Thinking ได้ถูกนำมาใช้ในองค์กรชั้นนำของโลกมากมายทั้งที่มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก อาทิเช่น Google, Apple, Phillips, P&G และ Airbnb เป็นต้น โดยองค์กรต่างๆเหล่านี้ ได้นำ Design Thinking มาใช้เป็นเครื่องมือหลักหลัก เพื่อสร้างนวัตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Product and Service, Operational Process, Business Strategy และรวมไปถึง Business Model

จากคำอธิบายข้างต้น ผมมั่นใจว่าหลายๆ คนอาจจะยังเห็นภาพไม่ชัด งั้นผมขอยกตัวอย่าง Design Thinking ของหลายๆ องค์กรมาให้ดูกันนะครับ

Stanford d.school

(Source: http://dschool.stanford.edu/dgift/)

Design thinking ของ Stanford d.school ได้แบ่งขั้นตอนกระบวนการคิดออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathize, Define, Ideate, Prototype, และ Test จากทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (Empathize และ Define) เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง ขั้นตอนที่สาม (Ideate) คือขั้นตอนในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลายๆ ด้านมาสร้างไอเดีย และขั้นตอนที่สี่และห้า (Prototype และ Test) คือขั้นตอนในการทดสอบแนวคิดและพัฒนาต้นแบบที่เป็นตัวอย่างแนวคิด เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้น

UK Design Council

(Source: http://www.behaviouraldesignlab.org/work/approach/)

Design Thinking หรือ The Double Diamond Design Process ของ UK Design Council นั้นแบ่งขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ Discover Define Develop และ Deliver จะเห็นได้ว่า กระบวนการคิดเชิงออกแบบของ UK Design Council จะคล้ายกันกับแนวคิดของ d.school อยู่มาก ก็คือ ขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (Discover และ Define) เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการวางแผนโครงการ ขั้นตอนที่สาม (Develop) คือขั้นตอนในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลากหลายด้านมาสร้างไอเดียหลากหลายไอเดีย พัฒนาให้ภาพและทดสอบไอเดียต่างๆ และขั้นตอนที่สี่ (Deliver) คือขั้นตอนในการทดสอบช่วงสุดท้ายก่อนที่จะนำเอานวัตกรรมออกสู่ตลาด หรือนำเอาไปใช้จริง

สรุป

(Source: http://designthinking.co.nz/design-thinking-for-execs/)

ผมขออนุญญาต สรุปขั้นตอนง่ายๆ ของ Design Thinking แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามภาพนี้เลยนะครับ

  1. Understand
    คือการทำความเข้าใจ ศึกษาค้นหา Insight ของเหตุการณ์และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และตีความหาโจทย์ที่น่าสนใจสำหรับมาใช้ในการคิดแก้ปัญหาต่อไป

Tips:

  • เปิดใจรับฟังปัญหา ห้ามตีกรอบ หรือตัดสินปัญหาด้วยมุมมองของเราเพียงฝ่ายเดียว
  • เอาใจเขา มาใส่ใจเรา เข้าไปซึมซับในสถานที่ และประสบการณ์จริง
  • สัมภาษณ์หาข้อมูล Insight ให้ได้ลึกและชัดเจนที่สุด ใช้ 5 Whys (https://open.buffer.com/5-whys-process/)
  • เลือก โจทย์ ที่คนในทีมทุกคนสนใจ และเห็นพ้องตรงกัน
  • อย่าเพิ่งคิดแนวทางแก้ไขปัญหาตั้งแต่แรก เพราะไอเดียที่ได้อาจจะไม่ได้แก้ไขปัญหาจริงๆ ที่เกิดขึ้นก็เป็นได้
  1. Create
    คือการสร้างไอเดีย หรือการต่อยอดไอเดียจากหลากหลายมุมมองของคนภายในทีม เพื่อสร้างสรรค์ไอเดียนวัตกรรมที่แปลกใหม่และตอบโจทย์การแก้ไขปัญหานั้นๆ

Tips:

  • ห้ามประเมินไอเดียของคนอื่น เพราะมันจะเป็นการบล็อกความคิดสร้างสรรค์ และทำลายบรรยากาศภายในทีม
  • ห้ามประเมินไอเดียของตนเองเช่นกัน คิดอะไรออก ให้เขียนลง Post it และพูดออกมาเลย
  • ไอเดียธรรมดา สามารถกลายเป็นสุดยอดไอเดียได้
  • เน้นปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพ
  • ต่อยอดไอเดียซึ่งกันและกัน
  1. Deliver
    คือการพัฒนาไอเดีย สร้างต้นแบบ และนำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย รับ Feedback เพื่อนำไปพัฒนาต้นแบบ จนกระทั่งคนภายในทีมและกลุ่มเป้าหมายพึงพอใจ แล้วนำเอานวัตกรรมนั้นไปใช้จริง

Tips:

  • Fail Fast, Fail Often, Fail Cheap
  • รีบลงมือทำ อย่ามัวแต่วางแผน
  • ต้นแบบเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความคิดในหัว ให้ออกมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้เพื่อใช้ในการพิสูจน์ไอเดีย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ผมหวังว่าทุกคนจะรู้จักและเข้ากระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking กันมากขึ้นแล้วนะครับ ในบทความหน้าผมจะเจาะลึกในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ทุกๆ ท่านได้ลองไปปรับใช้กัน ทั้งในที่ทำงานและชีวิตประจำวัน ฝึกใช้จนเป็นนิสัย และคุณจะพบว่า Design Thinking ให้ประโยชน์กับคุณมากมายจริงๆ

“Design thinking is about creating a multipolar experience in which everyone has the opportunity to participate in the conversation”. Brown (2009, p.192)

กระบวนการ Design Thinking มีลําดับขั้นตอนอย่างไร

กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process).
1. Empathize – เข้าใจปัญหา ... .
2. Define – กำหนดปัญหาให้ชัดเจน ... .
3. Ideate – ระดมความคิด ... .
4. Prototype – สร้างต้นแบบที่เลือก ... .
5. Test – ทดสอบ.

เป้าหมายสุดท้ายของ Design Thinking คืออะไร

ขั้นตอนสุดท้ายคือการทดสอบแนวทางแก้ไขปัญหาหรือผลิตภัณฑ์ทั้งหมดอย่างเข้มงวดอีกครั้ง โดยมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจผู้บริโภคอย่างลึกซึ้งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข้อใดเป็นขั้นตอนการออกแบบ

Empathise (เอาใจใส่) การเอาใจใส่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการออกแบบที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง เช่น Design Thinking และการเอาใจใส่ ช่วยให้นักคิดด้านการออกแบบสามารถตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับโลกใบนี้ ... .
Define the Problem (กำหนดปัญหา) ... .
3.Ideate (แนวคิด) ... .
Prototype (ต้นแบบ) ... .
5.Test (ทดสอบ).

ขั้นตอนการคิดเชิงออกแบบมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

กระบวนการคิดเชิงออกแบบมี 3 ขั้นตอนหลัก คือ การเข้าใจปัญหา, การสร้างสรรค์ความคิด และ การสร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบพัฒนา