การขับร้องเพลงไทยและเพลงสากลแตกต่างกันอย่างไร

การขับร้องเป็นการสร้างสรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีเปล่งเสียงออกมาให้เป็นเพลงต่าง ๆ โดยอาศัยองค์ประกอบทางดนตรี เพื่อทำให้เพลงที่ร้องมีความไพเราะขึ้น
1. ประเภทของการขับร้อง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. การขับร้องอิสระ คือ การขับร้องทั่วไป โดยไม่มีดนตรีประกอบผู้ขับร้องสามารถขับร้องตามที่ตนเองถนัดหรือต้องการ โดยไม่คำนึงถึงระดับเสียงของเครื่องดนตรี
2. การขับร้องประกอบดนตรี คือ การขับร้องให้เข้ากับการบรรเลงเครื่องดนตรี โดยคำนึงถึงทำนอง จังหวะ และรูปแบบของเพลง
3. การขับร้องประกอบการแสดง คือ การขับร้องเพื่อบรรยายเนื้อเรื่องหรือเนื้อเพลงประกอบการแสดงต่าง ๆ
4. การขับร้องหมู่ คือ การขับร้องพร้อมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การขับร้องทำนองเดียวกันและการร้องประสานเสียง
2. การขับร้องเพลงไทย การขับร้องเพลงไทย ควรเริ่มจากท่าทางการร้อง เนื่องจากเพลงไทยมีลักษณะเฉพาะ ผู้ขับร้องจะนั่งร้องเป็นส่วนใหญ่และมียืนร้องบ้างตามโอกาส ซึ่งผู้ขับร้องควรจะแสดงท่าทางให้เหมาะสม ดังนี้
1. ท่านั่ง ผู้ขับร้องส่วนใหญ่จะนั่งราบกับพื้นเวทีเช่นเดียวกับนักดนตรีซึ่งจะต้องนั่งพับเพียบให้เรียบร้อย สำรวมกิริยา นั่งตัวตรงไม่กระดุกกระดิก หรือเคลื่อนไหวมากเกินไป ขณะร้องให้หันหน้าไปทางผู้ชมเสมอ
2. ท่ายืน ในบางโอกาสผู้ขับร้องอาจจะได้ยืนร้อง ซึ่งผู้ขับร้องควรยืนร้อง ซึ่งผู้ขับร้องควรยืนอย่างสำรวมกิริยาท่าทาง และระวังการเคลื่อนไหวมือ เท้า และลำตัว
การขับร้องเพลงไทย มีหลักการปฏิบัติ ดังนี้
1. ร้องให้มีระดับเสียงสอดคล้องกับเสียงดนตรี
2. หายใจเข้า-ออก ให้สอดคล้องกับช่วงจังหวะ ทำนอง และเนื้อเพลง
3. ออกเสียงพยัญชนนะ สระ คำควบกล้ำ ตามอักขรวิธี
4. ร้องให้ถูกต้องตามวรรคตอนของเนื้อเพลง เพราะหากร้องไม่ถูกวรรคตอน อาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนได้
5. เนื่องจากเพลงไทยมีการเอื้อน ให้ระมัดระวังในเรื่องการออกเสียงควรเอื้อนให้มีน้ำเสียงสม่ำเสมอตามจังหวะและทำนองเพลง

เพลงไทยที่ควรฝึกร้อง
เพลง ปีนตลิ่งนอก
เนื้อร้อง ยง อินคเวทย์
เมล็ดข้าวสีขาวราวกับหิน คนได้กินทุกบ้านทุกฐานถิ่น
แต่กว่าจะได้ข้าวให้เรากิน ชาวนาสิ้นกำลังเกือบทั้งปี
ต้องทนแดดทนฝนทนลมหนาว จึงได้ข้าวจากนามาถึงนี่
คนกินข้าวควรนึกไว้ให้จงดี ชาวนามีคุณแก่เราไม่เบาเอย

เพลง หนีเสือ
เนื้อร้อง มนตรี ตราโมท
จะหนีภัยไข้ป่วยด้วยย้ายบ้าน ไม่เป็นการหนีรอดปลอดภัยได้
เพราะโรคร้ายย้ายติดชิดตัวไป อยู่ที่ไหนโรคนั้นก็พลันมี
ถ้าหนีด้วยรักษาอนามัย มั่นอยู่ในความสะอาดอย่างถ้วนถี่
ให้บ้านเรือนร่างกายสดใสดี ก็จะหนีโรคภัยได้พ้นเอย

3. การขับร้องเพลงไทยสากล เพลงไทยสากลเป็นเพลงที่ถูกแต่งขึ้นโดยใช้แนวทำนองดนตรีสากล ซึ่งแนวทำนองเพลงจะแตกต่างจากเพลงไทย คือ ไม่มีการเอื้อน มีตัวโน้ตเป็นตัวบอกจังหวะและทำนอง ในปัจจุบันเพลงไทยสากลมีหลายประเภท เช่น เพลงสตริง เพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง เป็นต้น
การขับร้อง  เป็นการเปล่งเสียงร้องที่มีทำนอง  มีจังหวะแน่นอน  และมีบทร้องในการขับร้องโดยการขับร้องนั้นเมื่อแยกคำทั้ง ๒ ออกจากกัน  แต่ละคำก็จะมีความหมายในตัวเอง ดังนี้
        การขับ  หมายถึง การเปล่งเสียงสูง - ต่ำ เป็นทำนองดำเนินไปตามบทเพลงหรือบทกวีนิพนธ์เป็นการดำเนินอย่างลำนำ  คือ เปล่งเสียงร้องของบทเพลงให้เป็นทำนอง  ถือบทแห่งถ้อยคำเป็นสำคัญ ความสั้น - ยาวของเสียงและจังหวะจึงไม่กำหนดให้แน่นอน เช่น การแหล่ การขับกล่อม การขับเสภา  การขับลำ การขับซอ การแอ่ว  เป็นต้น
      การร้อง หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเป็นทำนองตามบทเพลง  มีจังหวะแน่นอน  ในวงการดนตรีไทยถือว่าส่วนสำคัญของการร้องเพลง คือ ทำนองในบทเพลงที่มีบทร้องที่เป็นถ้อยคำจึงต้องปรับเข้าหาทำนอง  ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากการขับร้องเพลงไทยประเภทต่างๆ

      ๑. ประเภทของการขับร้องเพลงไทย
      การขับร้องเพลงไทย สามารถจัดแบ่งได้หลายประเภทแตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง  สำหรับในที่นี้จะจัดแบ่งประเภทการขับร้องออกเป็น ๒ ประเภท คือ
      ๑) การขับร้องเดี่ยว  เป็นการขับร้องอิสระคนเดียว  มิได้หมายถึงการขับร้องหรือบรเลงเดี่ยว เพื่อ                แสดงความสามารถ หรือเทคนิคพิเศษแต่อย่างใด
      ๒) การขับร้องหมู่  เป็นการร้องเพลงหร้อมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป  ซึ่งมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ การร้อง                ทำนองเดียวกัน เป็นการขับร้องเพลงที่มีเนื้อร้องและทำนองเพลงเดียวกัน ดังนั้นผู้ขับร้องทุกคน              ต้องร้องให้มีระดับเสียงเท่ากัน เนื้อร้อง ทำนองเพลงจะต้องถูกต้องแม่นยำและพร้อมเพรียงกัน                ส่วน  การขับร้องหมู่อีกลักษณะหนึ่งคือ การร้องประสานเสียง เป็นการร้องเพลง เพลงเดียวกัน แต่            ร้องคนละแนว หรือคนละทำนองตามที่ได้เรียบเรียงเสียงประสานไว้ซึ่งการขับร้องหมู่นี้อาจจะมี                ดนตรีประกอบ หรือไม่มีดนตรีประกอบก็ได้

     ๒.หลักการขับร้องเพลงไทย
      ในการขับร้องเพลงไทยมีความแตกต่างจากการขับร้องเพลงสากลตรงที่การขับร้องเพลงไทยมีลักษณะเด่นอยู่ที่มีการเอื้อนจากทำนองสั้นๆ ง่ายๆ จนคล่องก่อน  แล้วจึงเริ่มต่อเพลงที่มีทำนองเอื้อนเล็กน้อย  จากนั้นจึงค่อยๆต่อเพลงที่มีทำนองเอื้อนยาวขึ้นตามลำดับ
      จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า การขับร้องโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่ ดังนั้นจึงขอแยกอธิบายหลักการขับร้องเพลงไทยเป็น ๒ ประเภทตามประเภทของการขับร้อง ดังนี้
       ๑) หลักการขับร้องเดี่ยวเบื้องต้น   ผู้ขับร้องควรฝึกการออกเสียงให้เต็มเสียง  แบ่งระยะการหายใจ  ผู้ขับร้องสามารถกำหนดระดับเสียงได้ตามต้องการ  แต่ต้องรักษาระดับเสียงใ้หเป็นไปตามทำนองที่ถูกต้อง  ไม่ให้เพี้ยนสูงขึ้น หรือต่ำลง และต้องตรงตามจังหวะหน้าทับและจังหวะฉิ่ง  รักษาความยาว หรือสัดส่วนของจังหวะให้เท่าๆกัน ทั้งนี้  ผู้ที่จะขับร้องเพลงไทยได้ดีต้องระมัดระวังการออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี เช่น อักษรควบกล้ำ ตัว  ร,ล การแบ่งคำ  วรรคตอน  ตลอดจนตั้งใจ  ขยันหมั่นฝึกขับร้องซ้ำเพลงละหลายๆเที่ยว เพื่อให้เกิดความแม่นยำด้วย

       ๒) หลักการขับร้องหมู่เบื้องต้น  ที่ผู้เรียนควรฝึกปฏิบัติจะมีความคล้ายคลึงกับขับร้องเดี่ยว  แต่มีหลักการที่ควรเน้นย้ำ คือ ผู้ขับร้องควรฝึกออกเสียงให้เต็มเสียง  แต่มิใช่การตะโกนหรือออกเสียงดังเกินกว่าผู้อื่น  ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความกลมกลืนของเสียงทั้งหมู่คณะและขับร้องให้มีระดับเสียงเดียวกัน  ไม่ว่าจะขึ้นสูง หรือลงต่ำ  ต้องขึ้น หรือลงให้เหมือนกัน
      ทั้งนี้ การฝึกหัดขับร้องหมู่  ผู้ขับร้องทุกคนต้องสามัคคีกัน  ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน  ตั้งใจขยันหมั่นฝึกขับร้องซ้ำหลายๆเที่ยว  เพื่อความพร้อมเพรียงกัน

      ๓. เทคนิคในการขับร้องเพลงไทย
     การขับร้องเพลงไทยให้ไพเราะเพราะพริ้งนั้น  นอกจากการขับร้องให้ถูกต้องตามทำนอง  จังหวะและเนื้อร้องของเพลงแต่ละเพลงแล้ว  ผู้ขับร้องจำเป็นต้องใส่เทคนิคต่างๆ ในการขับร้องเพลงไทยลงไปด้วย เพื่อเพิ่มเสน่ห์และความน่าสนใจให้กับบทเพลง  ซึ่งเทคนิคสำคัญในการขับร้องเพลงไทยที่ผู้เรียนควรทราบ จะแบ่งตามประเภทของการขับร้องเพลงไทยได้ดังนี้
    ๑) เทคนิคในการขับร้องเดี่ยว  ผู้ขับร้องต้องคำนึงถึงหลักการขับร้องอย่างเคร่งครัดในตอนขึ้นต้นบทร้องต้องตั้งเสียงให้ถูกต้อง  มิฉะนั้นเมื่อร้องไปจนหมดท่อนเพลงแล้วดนตรีบรรเลงรับจะทำให้เสียงเพี้ยน  ไม่ไพเราะ  ทำให้เสียอรรถรสของทำนองเพลงไป  ควรร้องให้เต็มเสียงรู้จักตกแต่งทำให้ไพเราะขึ้น ตามความสามารถและน้ำเสียงของตนเอง

    ๒) เทคนิคในการขับร้องหมู่  จะเน้นความพร้อมเพรียง  ผู้ขับร้องไม่สามารถตกแต่งทำนอง หรือลีลาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ได้  การหลบเสียงสูง - ต่ำ การเอื้อน รวมทั้งการแบ่งถ้อยคำ  วรรคตอน ต้องเหมือนกันทุกคนและต้องมีความแม่นยำในทำนองทางร้องเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้ขับร้องทุกคนควรใส่อารมณ์ตามบทร้องนั้นๆ ให้คล้อยตามกันด้วย









ผลิตภัณฑ์ WINKWHITE

เพลงไทยและเพลงสากลแตกต่างกันอย่างไร

เพลงสากล หมายถึง เพลงที่นิยมในต่างประเทศแล้วนำเข้ามาฟัง และแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งเนื้อร้อง ทำนอง และอุปกรณ์เครื่องดนตรี Instruments เป็นของต่างประเทศ ตลอดจน นักร้อง นักแต่งเพลง ฯลฯ เพลงไทยสากล หมายถึง การที่นำเอาอุปกรณ์เครื่องดนตรี Instruments จากต่างประเทศนำเอามาบรรเลงเพลงไทย โดยเนื้อร้องจะเป็นเรื่องราวของสังคมไทย

การขับร้องเพลงไทยสากลอย่างไร

การขับร้องเพลงไทยสากล มีหลักปฏิบัติ ดังนี้ 1. ร้องให้ถูกต้องตามจังหวะทำนองเพลง 2. ร้องให้เต็มเสียง แต่ไม่ใช่การตะโกน 3. ออกเสียงพยัญชนะและอักขระให้ถูกต้องชัดเจน

การร้องเพลงไทยแตกต่างจากการร้องเพลงสากลอย่างไร

การขับร้องเพลงไทย (เดิม) จะต่างไปจากการขับร้องเพลงตามแนวสากลอยู่บ้าง กล่าวคือ การขับร้องเพลงไทยมีการเอื้อนทำนองเพลงคลุกเคล้าไปกับคำร้องโดยตลอด ผู้ขับร้องจะต้องรู้จักหลักการใส่อารมณ์และความรู้สึกลงไปในการเอื้อนทำนองร้อง รู้จักแต่งลีลาในการขับร้องให้สละสลวย โดยสรุปแล้วการขับร้องเพลงไทยและการขับร้องเพลงตามแนวสากลก็จะมีแนว ...

การขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งต้องคำนึงถึงสิ่งใด

1. ต้องขับร้องเพลงให้มีระดับเสียงสูงต ่าตามและการเอื้อนให้ถูกต้องตามที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ 2. จังหวะต้องถูกต้องและแม่นย า 3. ออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี 4. แบ่งวรรคตอนของเนื้อร้องให้ถูกต้องได้ความหมาย 5. ใส่อารมณ์ไปตามเนื้อร้องและท านองของเพลง 6. แสดงบุคลิกภาพและท่าทางให้เหมาะสม