พะแนง กับ มัสมั่น ต่างกันอย่างไร

พะแนง กับ มัสมั่น ต่างกันอย่างไร

มัสมั่น

พะแนง กับ มัสมั่น ต่างกันอย่างไร
      มัสมั่น เป็นอาหารประเภทแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบมุสลิมไทยออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็มมันในไทยมีวิธีการทำสองแบบคือ แบบไทย น้ำพริกแกงมี พริกแห้ง ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ลูกผักชี ยี่หร่า ดอกจันทน์ กานพลู ปรุงรสให้หวานนำ เค็มและอมเปรี้ยว เป็นแกงมีน้ำมากเพื่อรับประทานกับข้าว อีกแบบเป็นแบบมุสลิม น้ำขลุกขลิก ใช้จิ้มขนมปังหรือโรตี ในน้ำพริกแกงไม่ใส่ข่า ตะไคร้ ส่วนผสมที่เป็นพริกแห้ง หอม กระเทียม ถั่วลิสงจะทอดก่อน ใส่ผงลูกผักชี ยี่หร่า ใส่มันฝรั่ง บางสูตรใส่มะเขือยาว ก่อนจะมีมันฝรั่งมาปลูกแพร่หลายในไทย จะนิยมใส่มันเทศ สันนิษฐานว่าคำว่า “มัสมั่น” มาจากภาษาเปอร์เซียคำว่า مسلمان (มุสลิมมาน) ซึ่งหมายถึง ชาวมุสลิม
“มัสมั่น” ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก จากการสำรวจของเว็บไซต์ CNNGO ซึ่งก็กลายเป็นเมนูอาหารไทยที่ได้รับความนิยมในต่างแดนไปแล้ว แม้ว่าปัจจุบัน มัสมั่นจะมีสัญชาติเป็นอาหารไทย แต่จุดเริ่มต้นของมัสมั่นนั้นต้นตำรับมาจากอินเดีย แต่ในประเทศไทยนั้นเกิดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งนำเข้ามาโดยชาวเปอร์เซีย
แกงมัสมั่นแบบชาวมุสลิมปักษ์ใต้ ต่างจากการปรุงแกงมัสมั่นของชาวไทยภาคกลางคือ จะไม่ทำเป็นน้ำพริกแกงมัสมั่น แต่จะผสมลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น พริกป่นอินเดียและพริกไทยป่นไว้เป็นผงเครื่องแกง จากนั้นจึงนำลงไปผัดกับน้ำมันที่เจียวหัวหอมแล้ว ส่วนแกงมัสมั่นแบบมลายู-ชวา จะใส่กานพลู อบเชย ลงไปผัดกับน้ำมันและหอมแดงจนหอม แล้วจึงใส่พริกป่นอินเดีย ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น พริกไทยป่นลงไปผัดให้เข้ากัน นอกจากนั้นยังใส่มะพร้าวคั่ว ผงขมิ้น ดอกไม้จีนและหน่อไม้จีนด้วย
แกงมัสมั่นแบบต้นตำรับจะมีรสชาติออกเค็มมัน และนิยมใช้เนื้อวัวมาปรุง ส่วนมัสมั่นของไทยจะมีรสหวานนำ และลดปริมาณเครื่องเทศให้น้อยลง และในปัจจุบันมีการเลือกใช้เนื้อสัตว์ที่หลากหลายมากขึ้น ถือเป็นการปรับรสชาติให้เข้ากับความชื่นชอบของคนไทย
นับได้ว่าอาหารไทย 5 เมนูนี้ เป็นจุดเริ่มต้นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ชาวต่างชาติรู้จักอาหารไทยที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับการที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก และยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของไทยอีกด้วย

ต้มยำกุ้ง

พะแนง กับ มัสมั่น ต่างกันอย่างไร

ต้มยำกุ้ง ถือเป็นเมนูแรกๆ ที่ชาวโลกพูดถึงหากมีหัวข้อเกี่ยวกับอาหารไทย โดยต้มยำนั้นถือเป็นอาหารประเภทแกง เน้นรสเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก ผสมกับความเค็มและหวานเล็กน้อย ส่วนใหญ่แล้วคนจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำที่ใส่เนื้อสัตว์ชนิดอื่น ด้วยรสชาติแซ่บถึงใจกับวัตถุดิบที่มีสมุนไพรสรรพคุณมากมายในชามเดียว ซึ่งวัตถุดิบหาได้ง่ายทั้งซุปเปอร์มาเก็ตและตลาดใกล้บ้าน ทำง่ายไม่ยากอย่างที่คิด

ต้มยำกุ้งจะมี 2 ประเภท คือ ต้มยำน้ำใส และต้มยำน้ำข้น ซึ่ง สันติ ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า ต้มยำโบราณจริงๆ นั้นไม่ได้ใส่น้ำพริกเผาเหมือนในทุกวันนี้ และจะเป็นต้มยำน้ำใส ที่ใส่มันกุ้งให้ดูสวยงามและเพิ่มรสชาติ ในช่วงหลัง เริ่มหามันกุ้งได้ยากขึ้นเพราะคนกินเยอะ เลยประยุกต์ใส่น้ำพริกเผาลงไปแทนเพื่อให้สีสันสวยงาม และยังมีการใส่กะทิ หรือนมสด ลงไปในต้มยำในภายหลัง ถือเป็นการดัดแปลงและพัฒนาจากน้ำใสมาเป็นน้ำข้น ส่วนความหวาน เดิมจะได้รสหวานมาจากความสดของกุ้ง แต่ปัจจุบันใส่ทั้งน้ำพริกเผา นมสด และน้ำตาล เพื่อให้ได้รสหวานมากขึ้น จนไม่ใช่รสชาติดั้งเดิมของต้มยำกุ้ง

 ส้มตำ

พะแนง กับ มัสมั่น ต่างกันอย่างไร
      ส้มตำเป็นอาหารที่คนทุกภาคชอบกิน ไม่มีใครปฏิเสธแน่นอน และความหลากหลายของเมนู สามารถเลือกว่าชอบทานแบบไหน เห็นใส่มะละกอเหมือนกันทุกจาน แต่รสชาติแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน บางคนชอบรสหวาน เค็ม เปรี้ยว หรือรสนัวขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับเมนูที่สั่ง วันนี้มาเอาใจคอส้มตำทั้งหลาย  คนมักจะเข้าใจว่า “ส้มตำ” เป็นอาหารพื้นเมืองของภาคอีสาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ส้มตำเป็นอาหารที่ถือกำเนิดขึ้นในภาคกลาง ซึ่งในสมัยก่อนนั้น ในประเทศไทยไม่ได้ปลูกต้นมะละกอ แต่มะละกอมีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ จากนั้นก็ถูกเผยแพร่เข้ามาสู่ทวีปเอเชีย และมีอยู่ที่เมืองมะละกาเป็นหลัก ภายหลังก็ถูกเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย โดยคนไทยเองก็เข้าใจว่าพืชชนิดนี้มาจากมะละกา จึงมีการเรียกชื่อเพี้ยนมาเป็นมะละกอ เหมือนในปัจจุบัน

“คนไทยเราตำมะละกอที่เรียกว่าส้มตำมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากได้มะละกอและพริก ซึ่งมาจากอเมริกาใต้เหมือนกัน นำมาตำพร้อมๆ กัน และสมัยก่อนก็ยังไม่มีการใส่ปลาร้า ใส่มะกอก แต่จะตำแบบไทยๆ คือ ใส่มะนาวและน้ำตาลปี๊บ เพราะคนไทยกินรสเปรี้ยวหวาน ส่วนส้มตำไทยแท้ๆ ก็จะใส่กุ้งแห้ง และถั่วลิสงด้วย แต่พอคนอีสานมาเห็นส้มตำไทย ก็ปรับเปลี่ยนรสชาติตามที่ชอบ คือ คนอีสานจะกินรสเค็มเผ็ด จึงไม่ใส่น้ำตาล และใส่ปลาร้าเพิ่มเติม” สันติ กล่าว

นอกจากส้มตำแบบพื้นฐานแล้ว ก็ยังมีการประยุกต์ส้มตำให้เป็นไปตามแบบของแต่ละท้องถิ่น หรือตามรสชาติที่ชอบอีกด้วย อาทิ ส้มตำปูปลาร้า ตำซั่ว ตำป่า ตำไข่เค็ม ส้มตำหอยดอง และส้มตำปูม้า หรือจะนำผัก-ผลไม้อื่นๆ มาใช้แทนมะละกอ เช่น ตำมะม่วง ตำกล้วย ตำแตง ตำถั่ว เป็นต้น

ผัดไทย

พะแนง กับ มัสมั่น ต่างกันอย่างไร

ผัดไทยเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน เดิมเรียกอาหารชนิดนี้ว่า “ก๋วยเตี๋ยวผัด” และได้รับการเปลี่ยนแปลงด้านรสชาติใหม่ตามอย่างอาหารไทยมากขึ้นในเวลาต่อมา

ผัดไทยได้กลายเป็นที่รู้จักของคนต่างชาติในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นซึ่งเป็นช่วงเดียวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้รณรงค์ให้ประชาชนหันมานิยมรับประทานก๋วยเตี๋ยว เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ  เนื่องจากในช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ข้าวแพง โดยท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า

“อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วกัน เพราะก๋วยเตี๋ยวมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานพร้อม ทำเองได้ในประเทศไทย หาได้สะดวกและอร่อยด้วย หากพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละหนึ่งชามทุกวัน วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทยหนึ่งวันเท่ากับเก้าสิบล้านสตางค์เท่ากับเก้าแสนบาท เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้ เงินเก้าแสนบาทนั้นก็จะไหลไปสู่ชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเลทั่วกันไม่ตกไปอยู่ในมือใครคนหนึ่งคนใดเพียงคนเดียว และเงินหนึ่งบาทก็มีราคาหนึ่งบาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เสมอ ไม่ใช่ซื้ออะไรก็ไม่ได้เหมือนอย่างทุกวันนี้ซึ่งเท่ากับไม่มีประโยชน์เต็มที่ในค่าของเงิน”

แต่เพราะกระแสชาตินิยมที่มองว่าก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจีน จึงได้รังสรรค์ให้ผัดไทยเป็นอาหารไทย  ผัดไทยในยุคแรกใช้เส้นจันทบูรเป็นเส้นในการผัด ส่วนหมูนั้นก็จะไม่ใส่เพราะมองว่าเป็นผัดซีอิ๊วมากกว่า ซึ่งจะทำให้เหมือนกับอาหารจีนมากเกินไป โดยจะใส่กุ้งแห้งแทน นอกจากนี้ยังใส่ เต้าหู้เหลือง มะนาว ใบกระเทียม หัวปลีและถั่วงอก ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในประเทศไทย และเรียกเปลี่ยนชื่อ “ก๋วยเตี๋ยวผัด” เป็น “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” ตามชื่อใหม่ของประเทศปัจจุบันเรียกกันโดยย่อเหลือเพียงแค่ “ผัดไทย”

“ผัดไทย” เป็นอาหารอีกจานที่คนต่างชาติรู้จักกันมาก เนื่องจากชื่ออาหารที่เรียกง่าย และบ่งบอกความเป็นอาหารไทยได้อย่างชัดเจน เมื่อเร็วๆ นี้ Hotels.com เว็บไซต์ด้านโรงแรมและการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของโลก ได้สำรวจอาหารชาติต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวนิยมกินมากที่สุดระหว่างการเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างแดน ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดอันดับที่ 7 และเมนู “ผัดไทย” ก็ถือเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาอาหารไทย

อันที่จริงแล้วผัดไทยนั้นมีมาตั้งแต่โบราณ และเป็นหนึ่งในอาหารจำพวกก๋วยเตี๋ยวผัด แต่เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากขึ้นในสมัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ จากสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้มีการรณรงค์ให้หันมานิยมกินก๋วยเตี๋ยวแทน เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ และยังมีการเปลี่ยนชื่อให้เป็น “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” เพื่อเน้นความนิยมไทยอีกด้วย

 แกงเขียวหวาน

พะแนง กับ มัสมั่น ต่างกันอย่างไร

“แกงเขียวหวาน” เป็นแกงกะทิที่ถูกพัฒนามาจากแกงเผ็ดแบบดั้งเดิม แกงเขียวหวาน อาหารไทยรสชาติกลมกล่อมจัดจ้าน มือใหม่หัดเข้าครัวก็ทำอร่อย ส่วนใหญ่จะนิยมใส่เนื้อสัตว์ลงไป วันหยุดนี้ถ้าใครอยากลองทำให้ครอบครัวกินสักหม้อก็ไม่เห็นจะยากเย็นอะไรเลย สามารใช้ส่วนประกอบได้หลายชนิด เช่น แกงเขียวหวานเนื้อ แกงเขียวหวานหมู แกงเขียวหวานไก่ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย แกงเขียวหวานยัดไส้หมึกกะตอย และแกงเขียวหวานเจ เป้นต้น พร้อมขั้นตอนละเอียด ทำหม้อเดียวกลิ่นหอมไปถึงปากซอยคือ แกงเผ็ดจะใช้พริกแห้งสีแดงเป็นส่วนผสม จากนั้นก็เปลี่ยนมาใช้พริกสดสีเขียว และใส่ใบพริกสดตำลงไปพร้อมกับเครื่องแกงด้วย เพื่อให้มีสีเขียวที่เด่นชัดขึ้น

ชื่อแกงเขียวหวานมีที่มาจากสีเขียวของเครื่องแกง แต่คำว่า “หวาน” นั้น ไม่ได้หมายถึงรสชาติของอาหารแต่อย่างใด กลับหมายถึงเป็นแกงที่มีสีเขียวแบบหวาน คือเขียวนวลๆ ไม่ฉูดฉาด ส่วนรสชาติของเมนูนี้จะเน้นเค็มนำ แล้วหวานตาม และจะมีความเผ็ดมากกว่าแกงเผ็ดชนิดอื่นเล็กน้อย เพราะใช้พริกสดเป็นเครื่องแกง

และจากกรณีที่มีข่าวฟอร์เวิร์ดว่า พ่อครัวชาวอเมริกันได้จดสิทธิบัตรแกงเขียวหวาน ซึ่งเป็นอาหารของคนไทย ในภายหลังได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า ไม่เป็นความจริง ยังไม่มีชาวต่างชาติจดสิทธิบัตรแกงเขียวหวานเป็นของตนเอง และการจดสิทธิบัตรแกงเขียวหวานนั้นมีเพียงคนไทยเท่านั้นที่เป็นผู้ยื่นคำขอจดสิทธิบัตร ดังนั้น แกงเขียวหวานก็ยังคงเป็นอาหารของไทยต่อไป