ข้อใดคือสิทธิเด็กด้านการปกป้องคุ้มครอง

  • หน้าแรก
  • มุมเยาวชน
  • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

ข้อใดคือสิทธิเด็กด้านการปกป้องคุ้มครอง


ข้อใดคือสิทธิเด็กด้านการปกป้องคุ้มครอง

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก คือ ข้อตกลงระหว่างประเทศที่จัดทำขึ้นโดยสหประชาชาติ (คณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชน)
โดยได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ในปี 2532


ข้อใดคือสิทธิเด็กด้านการปกป้องคุ้มครอง

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กบอกถึงนิยาม (เด็กหมายถึงบุคคลทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี) และมาตรฐานสิทธิมนุษยชนของเด็ก
เพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความคุ้มครองดูแลเด็กได้อย่างเหมาะสม


ข้อใดคือสิทธิเด็กด้านการปกป้องคุ้มครอง

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมหลักการสำคัญ
คือ การไม่เลือกปฏิบัติ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยมีเนื้อหา 4 ด้าน ได้แก่

(1) สิทธิในการอยู่รอด (2) สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (3) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และ (4) สิทธิในการมีส่วนร่วม


ข้อใดคือสิทธิเด็กด้านการปกป้องคุ้มครอง

ปัจจุบัน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่ได้รับการรับรองมากที่สุดในโลก
โดย เกือบทุกประเทศ (196 ประเทศ) ได้เข้าเป็นภาคีแล้ว
ยกเว้น เพียงสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี

ข้อใดคือสิทธิเด็กด้านการปกป้องคุ้มครอง

ประเทศไทย ได้ลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535

*

เรียบเรียงจาก หนังสืออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จัดทำโดยกรมกิจการเด็ก และเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเว็บไซต์สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ www.ohchr.org



เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อใดคือสิทธิเด็กด้านการปกป้องคุ้มครอง


ย้อนกลับ

          สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ
 

          1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด – ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มีสันติภาพ และความปลอดภัย
          2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา – มีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่ดี และภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
          3.สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง - ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การล่วงละเมิด การละเลย การนำไปขาย การใช้แรงงานเด็ก และการแสวงประโยชน์โดยมิชอบในรูปแบบอื่นๆ และ
          4.สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม – ในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก การมีผู้รับฟัง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบกับตนเอง
ทุกๆ 5 ปี แต่ละประเทศจะต้องจัดทำรายงานความก้าวหน้าเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิเด็ก คณะกรรมการชุดนี้ประจำอยู่ที่กรุงเจนีวา ทำหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของแต่ละประเทศในการรับประกันสิทธิต่างๆ ของเด็กที่ระบุไว้ในอนุสัญญา
            จากรายงานฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 3 และ 4) ของประเทศไทยที่จัดส่งให้คณะกรรมการสิทธิเด็กเมื่อ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการได้ตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินงานของประเทศไทยมีความก้าวหน้าหลายประการในส่วนของการร่างกฎหมายและจัดโครงสร้างของรัฐเพื่อให้ความคุ้มครองแก่เด็กและปกป้องสิทธิของพวกเขา อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการยังคงเน้นถึงความห่วงใยในหลายด้าน ได้แก่
            • การปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กผู้ลี้ภัย
            • การบังคับใช้กฎหมาย
            • การกำกับดูแล และการเก็บข้อมูล
            • งบประมาณของประเทศไทยในการทำงานด้านเด็ก
            • การพัฒนากลไกคุ้มครองและช่วยเหลื่อเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกทำร้ายและถูกแสวงประโยชน์ทางเพศ ทั้งที่เกิดในครอบครัวและนอกครอบครัว
            • การเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานแก่เด็กทีขาดโอกาสที่สุด ได้แก่ เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กผู้ลี้ภัย เด็กเร่ร่อน เด็กอพยพ เด็กยากจน เด็กที่กระทำผิด และเด็กที่ถูกค้ามนุษย์ เด็กพิการ เด็กที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้
            • อายุขั้นต่ำของเด็กที่ต้องรับโทษทางกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 10 ขวบในประเทศไทย ซึ่งเป็นอายุที่ต่ำเกินไป
            • ความเหลือมล้ำ

 
ข้อมูลจาก http://www.unicef.org/thailand/tha/overview_5954.html
 

สิทธิเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กมีอะไรบ้าง

สิทธิเด็ก 4 ประเภท.
1. สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival) ... .
2. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development) ... .
3. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection) ... .
4. สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation).

สิทธิเด็กมี 4 ด้านมีอะไรบ้าง

อนุสัญญาฯ ทั้งหมด 54 ข้อ จะประกอบไปด้วยสาระสำคัญเรื่องสิทธิของเด็ก 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิในการพัฒนา และสิทธิในการมีส่วนร่วม และตั้งอยู่บนหลักการไม่เลือกปฏิบัติ และถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นที่ตั้ง มาทำความเข้าใจและความสำคัญของแต่ละด้านกันดีกว่า

สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองมีอะไรบ้าง

2. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection) คือสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการล่วงละเมิดและการทารุณกรรมทุกรูปแบบ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ การใช้สารเสพติด และการค้ามนุษย์

สิทธิของเด็กเป็นสิทธิรูปแบบใด

สิทธิเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องที่รัฐหรือใครให้กับเด็ก แต่เป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งอนุสัญญาใช้คำว่า “สิทธิติดตัว” (inherent rights) ดังนั้นเด็กจึงเป็นผู้มีสิทธิที่ไม่มีผู้ใดสามารถไปตัดทอนหรือจำกัดการใช้สิทธิอันชอบธรรมของเด็กหรือละเมิดสิทธิของเด็กได้