การที่เราออกเสียง อย่างนี้ เป็น ยังงี้ เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเสียงในลักษณะใด

การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทย

ภาษาไทยยุคใหม่กับโลกสมัยที่เปลี่ยนแปลง


ประเทศไทยนอกจากมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในนามเมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของทรัพยากรข้าวปลาอาหารแล้ว ด้านความงดงามทางวัฒนธรรม ที่มีสีสันโดดเด่นแตกต่างกันในแต่ละภาค ก็ดูเหมือนจะได้รับการกล่าวขานระบือไกลไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมการแสดง หรือวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านภาษาที่กำลังมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้
สังคมและวัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุดแต่การเปลี่ยนแปลงจะเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นระดับการศึกษาของคนในสังคม การสื่อสารคมนาคม และการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาและสังคมเป็นของคู่กัน ต้องไปด้วยกันเสมอ ถ้าสังคมเปลี่ยนภาษาก็เปลี่ยน  มีผลเกี่ยวเนื่องกันเนื่องจาก ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นการค้นพบ การขัดแย้ง การแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม   มีผลทำให้ รูปแบบทางสังคมวิธีการดำเนินชีวิตของมนุษย์และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาตามยุคสมัย

การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทย

ภาษาเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการออกเสียง คำศัพท์ รูปแบบ และลักษณะอื่นอื่นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ภาษาที่เปลี่ยนไปเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทย
สื่อและการกระจายตัวของประชากรเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของภาษา จะเห็นได้ว่ามีคำศัพท์จากทางภาคต่างๆ ในประเทศไทยเริ่มใช้กันข้ามภาคในประเทศไทย เช่นคำศัพท์จากทางภาคกลางมีการเริ่มใช้กันมากทางภาคเหนือ และภาคใต้เนื่องจากทุกคนได้ดูรายการโทรทัศน์ ที่เสนอภาษาจากทางภาคกลาง ในขณะเดียวกันกลุ่มคนภาคกลางได้เริ่มใช้ภาษาจากทางภาคอีสานมากขึ้น เมื่อมีรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับคนที่อาศัยในภาคอีสาน ภาษาต่างประเทศเช่นภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในทางศัพท์วิชาการและศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเช่นกัน   กลุ่มเฉพาะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาของภาษา คำศัพท์ใหม่ใหม่เกิดขึ้นมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น มีภาษาเฉพาะของกลุ่ม เมื่อภาษาเกิดมีการใช้กันใหม่ ทำให้มีคำศัพท์ใหม่นิยามขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหมดการใช้ของคำศัพท์นั้นนั้น ภาษานั้นก็จะตกรุ่นและหมดความนิยมไป

สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงภาษามีสาเหตุมาจากการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ผลที่ตามมาจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป พอสรุปได้ดังนี้

1การหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรียบ

    ง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา
2. การเปรียบเทียบวัฒนธรรมตะวันตกที่ไม่ซับซ้อน กับวัฒนธรรมภาษาดังเดิมของไทยซึ่ง
สลับซับซ้อน ลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก ส่งผลให้ละเลยและหลงลืมเด็กยุคใหม่หลงลืมวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นสิ่งดีงามไปแต่กลับไปเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก
3.ความเจริญทางเทคโนโลยีที่เข้ามา เช่น การพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นับเป็นสื่ออันสำคัญที่ทำให้
 วัยรุ่น ได้รับข่าวสารเรื่องราวต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ ยอมรับและปรับเปลี่ยนภาษาไทยมากขึ้น โดยมุ่งความทันสมัย ไม่คำนึงถึงรากฐานวัฒนธรรมภาษาเดิม
4.ความเจริญทางด้านสังคมและชุมชนต่าง ๆ

ตัวอย่างภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
                       
      ภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่ตรงกับกับภาษามาตรฐานตามหลักภาษาไทยในด้านการสะกดคำ คำว่า 'ภาษาวิบัติใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อยรวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดให้แปลกไปจากคำเดิม  ในประเทศไทยมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง  คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี มีความหมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย

นิยามศัพท์เฉพาะ
สะกดผิดได้ง่าย  เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์

สนุ๊กเกอร์ (สนุกเกอร์)
โน้ต (โน้ต)
คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา
นู๋ (หนู)
ชะมะ,ชิมิ (ใช่ไหม)
เทอ (เธอ)
การลดรูปคำ
เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลง มีใช้ในภาษาพูด
มหาลัย หรือ มหา'ลัย (มหาวิทยาลัย)
วิดวะ (วิศวกรรม)
คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน
ใช่ไหม  ใช่มั้ย
คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์
ไม่  ม่าย
ใช่  ช่าย
ใคร  คราย
คำที่สะกดผิดเพื่อลดความหยาบของคำ
หรืออาจใช้หลีกเลี่ยงการกรองคำหยาบของซอฟต์แวร์
กู  กรู
มึง  มรึง เมิง
ไอ้สัตว์  ไอ้สาด

ผลกระทบจากการใช้ภาษาวิบัติ

                วัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด เนื่องจากปัญหาที่มนุษย์ประสบอยู่ในสังคมเป็นประจำ ประกอบมีความต้องการจะปรับปรุงวิถีชีวิตของตนเองและครอบครัวให้มีสภาพดีขึ้นกว่าเดิม จะเห็นว่าวัฒนธรรมกับสังคมต้องไปด้วยกันเสมอ มีผลเกี่ยวเนื่องกัน โดยเฉพาะในระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของสังคมด้วยรวมถึงการเปลี่ยนภาษา สิ่งนี้ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม  มีผลสะท้อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบความสัมพันธ์ของบุคคลและภาษาที่นำมาใช้สื่อสารแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมภาษาของแต่ละท้องถิ่น

ข้อคิดจากการใช้ภาษาวิบัติ

ความวิบัติมันไม่ได้อยู่กับเด็กแล้ว มันอยู่ที่ผู้ใหญ่ ต่างหาก ก็ลองคิดกันดูสิว่าจะให้มันอยู่กับ คนกลุ่มเล็ก หรือว่าจะให้มันกระจาย ไปสู่ระดับชาติ มันคงจะไม่ใช่เรื่อง น่าภูมิใจนัก ถ้าภาษาไทย ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ต้องมาสลายไป เพราะพวกเรา ทุกคนไม่ช่วยกันดูแล  ดั้งนั้นจึงอยากบอกให้ทุกๆคนช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทยไว้ให้คงอยู่สืบไป


ที่มาของข้อมูลhttp://baitongbaitong.blogspot.com/

รณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

การออกเสียงคำว่า “อย่างนี้” เป็น “ยังงี้” เป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงในลักษณะใด

การกลมกลืนเสียง คือ พยางค์หลังออกเสียงตามพยางค์หน้า หรือคำ ๒ พยางค์ ออกเสียงเป็นพยางค์เดียว เช่น อย่างนี้ กลมกลืนเสียงเป็น ยังงี้

ภาษามีการเปลี่ยนแปลงเกิดจากสาเหตุใด

3. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ภาษาเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการพูดในชีวิตประจำวัน (กลืนเสียง/กร่อนเสียง) อิทธิพลของภาษาอื่น (ยืมคำ/เลียนแบบสำนวนหรือประโยค) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น ส่งผลให้คำเก่าที่เคยใช้ถูกแทนที่ด้วยคำใหม่ และการเลียนภาษาของเด็ก 4. ภาษามีลักษณะเฉพาะที่ต่างและเหมือนกัน

การเปลี่ยนแปลงของภาษา ข้อใด คือการกร่อนเสียง

๑.๑ การกร่อนเสียง คือ เสียงบางส่วนหายไป เช่น การออกเสียงคําสองพยางค์ใน ภาษาไทยเน้นเสียงหนักที่พยางค์ท้าย ทําให้พยางค์ต้นกร่อนเสียงหนัก (ครุ) ให้เป็นเสียงเบา (ลหุ) เช่น หมากพร้าว กร่อนเสียงเป็น มะพร้าว สายดือ เป็น สะดือ ตัวขาบ เป็น ตะขาบ

ภาษาไทย เป็นภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะเหตุใด

ภาษาไทยเป็นภาษาประจ าชาติของสังคมไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่สมัยสุโขทัยสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ การเปลี่ยนแปลงทางภาษาค่อยๆเกิดขึ้นและด าเนินไป จากปัจจัยภายในและปัจจัย ภายนอก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยดังกล่าวของภาษาไทยนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งการออกเสียง ระบบเสียง ความหมายของคา และหน้าที่ของคาในบริบทต่าง ๆ ได้