การบรรยายอารมณ์เพลงและความรู้สึกของบทเพลงมีประโยชน์อย่างไร

การบรรยายอารมณ์เพลงและความรู้สึกของบทเพลงมีประโยชน์อย่างไร

การถ่ายทอดความรู้สึกผ่านบทเพลง

คนเราสามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกถึงความสุข สนุกสนาน หรือความทุกข์เศร้าโศก ผ่านทางคำพูด สีหน้าแววตาหรือท่าทาง เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไร เช่นเดียวกันกับบทเพลงที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ของคนแต่ง ออกมาได้อย่างละมุนละไม นักแต่งเพลงจึงต้องทำผลงานเพลงให้ดี สามารถแสดงถึงความต้องการทางอารมณ์ ที่อยากสื่อสารให้ผู้ฟังได้รับรู้อย่างชัดเจน ถึงแม้จะเป็นเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นมาเพื่อความบันเทิง แต่ก็ต้องมีความจริงใจในเนื้อหาด้วย เพื่อที่ผู้ฟังจะได้รู้สึกว่า เพลงนี้สามารถสัมผัสถึงหัวใจของเขาได้อย่างแท้จริง

เราลองมาฟังผลงานเพลงกันแบบตั้งใจ และเก็บรายละเอียดของเนื้อเพลง เพื่อดูว่าผู้แต่งต้องการจะสื่ออะไรถึงคนฟังกันบ้าง

เริ่มกันที่เพลงแรก อารมณ์สีเทา (โปเตโต้) ที่มาในแนวเพลงเศร้าดนตรีจังหวะเบา ๆ กับอารมณ์เว้าวอนของคนคนหนึ่ง ที่มีต่อคนรักของเขา อารมณ์ของเพลงสามารถแสดงถึงความรู้สึกว่างเปล่าได้อย่างชัดเจน ปนด้วยความเจ็บปวดจากการเปลี่ยนไปของใครอีกคน ซึ่งเป็นเพลงแทนความรู้สึกได้ดีสำหรับคนที่ผ่านเลิกรากับคนรัก โดยที่เรายังเป็นฝ่ายรักเขาอยู่ และหวังว่าจะได้คนรักกลับคืนมา ถือว่าเป็นเพลงถ่ายทอดความเศร้าออกมาได้ดีทีเดียว

มาต่อกันที่เพลงแนวแอบรักกันบ้างกับเพลง ไม่สนิท (นนท์ ธนนท์) ที่เป็นเรื่องราวของการแอบรักเพื่อนสนิท อารมณ์ของเพลงแสดงถึงความอึดอัดในการที่จะต้องเก็บความรู้สึกที่มีต่ออีกฝ่ายเอาไว้ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ เรียกได้ว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในสังคม เพราะบางกับการเก็บความรักไว้กับตัวเองอาจจะต่อความสัมพันธ์ของเรามากกว่าการบอกออกไป ซึ่งก็ถือว่าเป็นความเจ็บปวดอีกรูปแบบหนึ่ง ฟังแล้วไม่ได้เศร้าจนถึงขั้นต้องหลั่งน้ำตา แต่ก็ดึงอารมณ์หน่วง ๆไปได้ทั้งวันเลยล่ะ

สุดท้ายกับแนวเพลงรักซึ้ง ๆ ที่มีการนำมาทำใหม่ในหลายเวอร์ชัน อย่างเพลง รักไม่ต้องการเวลา (เวอร์ชันหนูนา หนึ่งธิดา) ที่เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้ เรื่องกวนมึนโฮ ซึ่งเรื่องราวของบทเพลงเกี่ยวกับความรักที่มีความหมาย เกินกว่าจะหาเหตุผลมาบรรยาย ไม่มีกฎเกณฑ์ข้อแม้ใด ๆ อารมณ์แบบรักบริสุทธิ์ นับว่าเป็นเพลงรักฟังสบาย ๆอีกเพลง ที่ใช้เป็นสื่อบอกความรู้สึกได้อย่างลึกซึ้งและน่าประทับใจมากเลยล่ะ

ไม่ว่าจะเป็นบทเพลงแนวไหนก็ล้วนแต่เต็มไปด้วยความหมาย ที่ผู้แต่งนั้นกลั่นกรองออกมาอย่างดีเพื่อให้เราได้ฟังกัน ดังนั้นเวลาฟังเพลงควรฟังให้ลึกซึ้ง เพื่อที่จะได้สัมผัสกับสิ่งที่ผู้แต่งต้องการสื่อเราได้มากที่สุด และอาจจะได้ข้อคิดที่น่าสนใจไปเป็นแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในชีวิตได้อีกด้วยนะ

Post navigation

  อารมณ์ของบทเพลง

จุดประสงค์ของกิจกรรม

    ศึกษา อธิบาย ระบุ วิเคราะห์วิจารณ์ นำเสนอ เปรียบเทียบ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอารมณ์ของบทเพลง จากการฟังการบรรเลงและขับร้อง  โดยใช้กระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์    กระบวนการทำงานกลุ่ม กระบวนการอ่าน กระบวนการสร้างเจตคติ  เพื่อให้ผู้เรียนรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ มีสุขภาพและสุนทรียภาพที่ดี 

อารมณ์และบทเพลง

การออกแบบกิจกรรมรายคาบ (Design Activities)

คาบที่  2

เรื่องบทเพลงสร้างสรรค์

ความคิดรวบยอด (รายคาบ) (Concept):ปัจจัยและอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์บทเพลงอารมณ์ความรู้สึกในบทเพลงที่ฟัง

จุดประสงค์การเรียนรู้ (รายคาบ):ดึงจากจุดประสงค์รายหน่วย โดยระบุ K และ P

1. ผู้เรียนสามารถอธิบาย บรรยาย/ระบุปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์บทเพลงอารมณ์และความรู้สึกในบทเพลงที่ฟังได้

2. ผู้เรียนนำเสนอชิ้นงานบรรยายอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อบทเพลงที่ฟัง

3. ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์

4. ผู้เรียนตั้งใจและรับผิดชอบใน การปฏิบัติหน้าที่การงาน

กระบวนการ : กระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจ

เทคนิคการสอน :การบรรยาย ,การสาธิต,ยกตัวอย่าง

กิจกรรมการเรียนการสอน:

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อการเรียนรู้

1.ขั้นนำ(ขั้นสังเกต/ตระหนัก)

สนทนา ซักถามทบทวนเกี่ยวกับเพลงปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์บทเพลง

PowerPoint

2. ขั้นสอน(ขั้นวางแผนปฏิบัติ)

 -ครูอธิบายถึงการบรรยายอารมณ์และความรู้สึกในบทเพลง

 -ยกตัวอย่างการแสดงอารมณ์และความรู้สึกในบทเพลง

PowerPoint/สื่อตัวอย่าง

3. ขั้นลงมือปฏิบัติ(ขั้นลงมือปฏิบัติ,ขั้นพัฒนาความรู้ความเข้าใจ)

  -ผู้เรียนศึกษาจากเวปไซด์ และหนังสือเรียนวิชาดนตรีและนาฏศิลป์

  -ครูถามคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน

-ครูเปิดเพลงให้ผู้เรียนฟัง

  -ผู้เรียนแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่ได้ฟังบทเพลงโดยทำเป็นชิ้นงาน

-หนังสือเรียนวิชาดนตรีและนาฏศิลป์

-PowerPoint/สื่อตัวอย่าง

4. ขั้นสรุป/สร้างองค์ความรู้/เชื่อมโยงความรู้/นำไปประยุกต์ใช้(ขั้นสรุป)ครูและผู้เรียนสรุปความรู้ร่วมกัน

10.  การออกแบบวิธีการและเครื่องมือประเมินผล

จุดประสงค์

การเรียนรู้

วิธีการวัดและประเมินผล

เครื่องมือวัด

แหล่งข้อมูล

เกณฑ์

ข้อ1 ผู้เรียนสามารถอธิบาย บรรยาย/ระบุปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์บทเพลงอารมณ์และความรู้สึกในบทเพลงที่ฟังได้

แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัดผู้เรียน

60%

 ข้อ 2 ผู้เรียนนำเสนอชิ้นงานบรรยายอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อบทเพลงที่ฟัง

ชิ้นงาน

แบบประเมินชิ้นงาน

ผู้เรียน,ชิ้นงาน

60%

ข้อ 3 ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์

สังเกตการทำงาน

แบบฝึกหัด

ผู้เรียน,แบบฝึกหัด

60%

ข้อ 4 ผู้เรียนตั้งใจและรับผิดชอบใน การปฏิบัติหน้าที่การงาน

สังเกตการทำงาน

แบบฝึกหัด

ผู้เรียน,แบบฝึกหัด

70%

 อารมณ์ของบทเพลง

    การสร้างสรรค์บทเพลงหรือประพันธ์เพลงแต่ละเพลงเปรียบกับการประพันธ์บทร้อยกรองในลักษณะต่างๆ  เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น เพราะการสร้างสรรค์บทเพลงผู้ประพันธ์จะต้องพิจารณานำเอาเสียงแต่ละเสียงมาเรียบเรียงให้สอดประสานกลมกลืนกันอย่างเหมาะสมและสามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ตามที่ตนต้องการถ่ายทอดให้แก่ผู้ฟังได้  โดยท่วงทำนองเพลงต่าง ๆ เหล่านั้นได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากจินตนาการที่หลากหลายของผู้ประพันธ์และการถ่ายทอดเรื่องราวความคิดของผู้ประพันธ์ลงในบทเพลง ซึ่งนักประพันธ์เพลงแต่ละท่านต่างมีเทคนิคและการแสดงออกทางจินตนาการในการสร้างสรรค์บทเพลง และการถ่ายทอดเรื่องราวความคิดในบทเพลงที่อาจเหมือนหรือแตกต่างกันไป 

ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีขึ้นมา ก็คือ ธรรมชาติ ศาสนาและความเชื่อ วิถีชีวิต อารมณ์และความรู้สึก ซึ่งสังคีตกวีได้ใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอความรู้สึกประทับใจ และแรงบันดาลใจออกมาเป็นเสียงเพลง พร้อมกับใช้การจัดลำดับทำนอง จังหวะ ถ่ายทอดเรื่องราวความคิดแทรกอยู่ในบทเพลงนั้น ทำให้ผู้ที่ได้ฟังเพลงนั้นมีสุนทรียะทางอารมณ์ หรือมีอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศร้า รัก เกิดกำลังใจ สนุกสนาน ดื่มด่ำ ขลัง น่าเคารพ หรืออื่น ๆ คล้อยไปตามบทเพลง ซึ่งอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อบทเพลงสามารถจะบรรยายถ่ายทอดออกมาได้ และเข้าใจอารมณ์เพลงและความรู้สึกของแต่ละบทเพลงได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

กิจกรรม  ฟังอย่างตั้งใจ 

    ใหันักเรียนฟังเพลงต่อไปนี้แล้วแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอารมณ์เพลง ความรู้สึกที่มีต่อบทเพลงพร้อมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงความแตกต่างระหว่างบทเพลงที่ได้ฟัง

1.เพลงไทยเดิม จากวงปี่พาทย์ไทย วงเครื่องสายไทย

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

2.เพลงไทยสากล

วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube

3.เพลงสากล

วิดีโอ YouTube


        เมื่อนักเรียนฟังเพลงที่ครูกำหนดแล้ว ให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็น , บรรยายความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อเพลงนี้ โดยเขียนเป็นหัวข้อดังนี้

•ชื่อเพลง..........................                                                                                                        

•อารมณ์เพลง..........................(สนุกสนาน,ฮึกเหิม,โศกเศร้า ฯลฯ)

•ความคิดเห็นที่มีต่อเพลงนี้.................................(อธิบายเป็นข้อหรือเขียนเป็นบทความก็ได้)

•ทำลงในกระดาษ ขนาด A4 แล้วตกแต่งให้สวยงาม

การบรรยายอารมณ์และความรู้สึกของเพลงมีประโยชน์อย่างไร

การบรรยายอารมณ์และความรู้สึกใบบทเพลง ท่านผู้ประพันธ์สามารถถ่ายทอดให้ท่านผู้ฟังเข้าใจในอารมณ์ของบทเพลงโดยผ่าน บทขับร้อง ทํานองร้อง(ทางร้อง) และการขับร้องซึ่งผู้ฟังจะสามารถรับรู้ได้ด้วยการฟังและทําความเข้าใจกับอารมณ์และความรู้สึกของบท เพลงนั้นๆด้วย

การถ่ายทอดอารมณ์ของ บทเพลง มีความ สำคัญ อย่างไร

การถ่ายทอดอารมณ์เพลง นอกจากจะใช้จังหวะในการส่งต่ออารมณ์ ก็ยังสามารถใช้ความดังเบาของเสียงเพลงถ่ายทอดได้เช่นกันค่ะ เสียงเพลงไม่ว่าจะเกิดจากน้ำเสียงของผู้ร้อง หรือเกิดจากท่วงทำนองเพลงก็ตาม หากถ่ายทอดออกมาได้อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถส่งต่ออารมณ์เพลงให้ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี โดยวิธีที่จะทำให้บทเพลงถ่ายทอดอารมณ์ออกมาในอีกรูปแบบ ...

อารมณ์ในเพลงหมายถึงสิ่งใด

อารมณ์เพลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในความรู้สึกของ คนเรา และสามารถเกิดขึ้นจากความไพเราะหรือไม่ ไพเราะของบทเพลงก็ได้ เช่น เพลงช้าสามารถให้อารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ได้ ทั้งความโศกเศร้า เสียใจ ความสุข สบายใจ

เพลงสุดสงวนแสดงถึงอารมณ์อย่างไร

เพลงสุดสงวนเถานี้เป็นเพลงไทยสำเนียงมอญ มีท่อนเดียวความยาว ๖ จังหวะ แต่บรรเลง ๒ เที่ยว ความหมายของเพลงต้องถือว่าเป็นเพลงรักแฝงด้วยเจ้าชู้ เป็นเพลงที่อ่อนหวานและออดอ้อน เฝ้าปลอบประโลม จนทำให้จิตใจของผู้ที่ได้รับฟังซึ่งกำลังว้าวุ้นอยู่ สามารถสงบเยือกเย็นลงอย่างมีความสุขและสมหวังในที่สุด