การสื่อสารโทรคมนาคม คืออะไร

การสื่อสารโทรคมนาคม คืออะไร

ระบบโทรคมนาคม

โทรคมนาคม ( Telecommunications) หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอีเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในอดีตระบบโทรคมนาคมให้บริการในรูปแบบของสัญญาณเสียงผ่านสายโทรศัพท์ที่เรียกกันว่าสัญญาณในระบบ  อนาลอก (Analog Signal) แต่ในปัจจุบันสัญญาณโทรคมนาคมกำลังจะกลายเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบ  ดิจิตอล (Digital Signal) ทั้งหมด

ระบบโทรคมนาคมเป็นระบบใหญ่ที่มักผูกขาดโดยองค์กรของรัฐในเกือบทุกประเทศทั่วโลก  ดังเช่น ในประเทศไทย ได้แก่ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย  ซึ่งได้แปรรูปกิจการมาเป็นบริษัท ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แล้ว  เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสรีกับองค์กรผู้ให้บริการโทรคมนาคมเอกชนอื่นๆ    ที่เติบโตขึ้นมาโดยลำดับ เพื่อการขยายตัวที่ดีขึ้นในภูมิภาค   และเป็นกิจการสาธารณะที่สามารถเปิดให้บริการได้อย่างเสรีรวมไปถึงการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เนตกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคด้วย     จะนำมาซึ่งการให้บริการที่หลากหลายในด้านการสื่อสารข้อมูล  โดยเฉพาะการสร้าง ถนนสายด่วนข่าวสาร  (Information Super-Highway)    เช่น การโทรคมนาคมผ่านเครือข่ายสื่อสารระบบดิจิตอลความเร็วสูง   ที่สามารถให้บริการทางการศึกษา ค้นคว้าวิจัย   สันทนาการ และการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในระดับชาติ  ระดับภูมิภาค  ตลอดจนระดับโลก และจะเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตในทศวรรษหน้าองค์ประกอบและหน้าที่ของระบบโทรคมนาคม

ระบบโทรคมนาคม ( Telecommunications Systems) คือระบบที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนหนึ่งที่สามารถทำงานร่วมกันและถูกจัดไว้สำหรับการสื่อสารข้อมูลจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง    ซึ่งสามารถถ่ายทอดข้อความ  ภาพกราฟฟิก เสียงสนทนา และวิดีทัศน์ได้   มีรายละเอียดของโครงสร้างส่วนประกอบดังนี้

            1. เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือเปลี่ยนปริมาณใดให้เป็นไฟฟ้า (Transducer) เช่น โทรศัพท์ หรือไมโครโฟน

            2. เครื่องเทอร์มินอลสำหรับการรับข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูล  เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์

            3. อุปกรณ์ประมวลผลการสื่อสาร (Transmitter) ทำหน้าที่แปรรูปสัญญาณไฟฟ้าให้เหมาะสมกับช่องสัญญาณ เช่น โมเด็ม (MODEM) มัลติเพล็กเซอร์ (multiplexer) แอมพลิไฟเออร์ (Amplifier) ดำเนินการได้ทั้งรับและส่งข้อมูล

            4. ช่องทางสื่อสาร (Transmission Channel) หมายถึงการเชื่อมต่อรูปแบบใดๆ เช่น สายโทรศัพท์  ใยแก้วนำแสง สายโคแอกเซียล  หรือแม้แต่การสื่อสารแบบไร้สาย

            5. ซอฟท์แวร์การสื่อสารซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมการรับส่งข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร 

หน้าที่ของระบบโทรคมนาคม

ทำหน้าที่ในการส่งและรับข้อมูลระหว่างจุดสองจุด  ได้แก่ ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) และ ผู้รับข่าวสาร (Receiver) จะดำเนินการจัดการลำเลียงข้อมูลผ่านเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด     จัดการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จะส่งและรับเข้ามา สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าใจได้ตรงกัน  ซึ่งที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวจัดการ ในระบบโทรคมนาคมส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างชนิด ต่างยี่ห้อกัน  แต่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้เพราะใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานชุดเดียวกัน กฎเกณฑ์มาตรฐานในการสื่อสารนี้เราเรียกว่า  “โปรโตคอล (Protocol)”  อุปกรณ์แต่ละชนิดในเครือข่ายเดียวกันต้องใช้โปรโตคอลอย่างเดียวกัน จึงจะสามารถสื่อสารถึงกันและกันได้  หน้าที่พื้นฐานของโปรโตคอล คือ   การทำความรู้จักกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่อยู่ในเส้นทางการถ่ายทอดข้อมูล  การตกลงเงื่อนไขในการรับส่งข้อมูล  การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การแก้ไขปัญหาข้อมูลที่เกิดการผิดพลาดในขณะที่ส่งออกไปและการแก้ปัญหาการสื่อสารขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นโปรโตคอลที่รู้จักกันมาก ได้แก่ โปรโตคอลในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต เช่น  Internet Protocal ; TCP/IP , IP  Address ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

โทรคมนาคม คือการขยายขอบเขตของการสื่อสารให้มีผลในระยะไกล ในทางปฏิบัติแล้ว เรายอมรับว่าเมื่อมีการขยายขอบเขตดังกล่าวแล้ว อะไรบางอย่างอาจต้องมีการสูญเสียไป ดังนั้นคำว่า โทรคมนาคม นั้น จะรวมถึงรูปแบบทั้งหมดของการสื่อสารดั้งเดิม ที่มีการดัดแปลงหรือปรับปรุงให้สามารถสื่อสารได้ระยะไกล ซึ่งรวมถึง วิทยุ โทรเลข โทรทัศน์ โทรศัพท์ การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบโทรคมนาคม ได้คิดค้นและพัฒนาโดยวิศวกรโทรคมนาคม และผู้ที่มีชื่อเสียงในแวดวงโทรคมนาคมนี้ ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ เบลล์ (Alexander Bell) ผู้คิดค้นโทรศัพท์, จอห์น โลกี้ แบรด (John Logie Baird) ผู้คิดค้นโทรทัศน์ และ กูลเลียโม มาโคนี่ (Guglielmo Marconi) ผู้คิดค้นวิทยุสื่อสาร ในไม่นานมานี้ใยแก้วนำแสงถูกใช้เพิ่มแบนวิทด์ให้กับการเชื่อมต่อกันระหว่างระบบสื่อสาร ซึ่งทำให้ระบบสื่อสารรวดเร็วขึ้น ระบบอินเทอร์เน็ตมีความรวดเร็ว สามารถให้บริการโทรทัศน์ดิจิตอลออนไลน์ได้ ซึ่งจะให้ภาพคมชัดกว่าแบบเดิม

การสื่อสารโทรคมนาคม อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. การสื่อสารที่เชื่อมต่อด้วยสาย (Wired) ยกตัวอย่าง เช่น โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โครงข่ายโทรเลข เป็นต้น

2. การสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) ยกตัวอย่าง เช่น โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ โครงข่ายดาวเทียม เป็นต้น

การ สื่อสาร โทรคมนาคมมี อะไร บาง

เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมในช่วงต้นประกอบด้วยสัญญาณภาพ เช่น ไฟสัญญาณ, สัญญาณควัน, โทรเลข, สัญญาณธง และเครื่องส่งสัญญาณด้วยกระจกสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ตัวอย่างอื่น ๆ ของการสื่อสารโทรคมนาคมก่อนช่วงที่ทันสมัยได่แก่ข้อความเสียงเช่นกลอง, แตรและนกหวีด เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมด้วยไฟฟ้าและแม่เหล็กไฟฟ้าได้แก่โทรเลข, ...

ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมคืออะไร

การสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง การส่งผ่านสัญญาณ หรือพลังงาน ซึ่งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกัน การส่งผ่านข้อมูลจะเป็นเฉพาะข้อความ ตัวเลข ตัวอักษร เป็นการสื่อสารโทรคมนาคมที่ส่งผ่านเฉพาะข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ เป็นการสื่อสารข้อมูล

เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมคืออะไร

เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจ ...

สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมมีกี่ประเภท

ตัวกลางการสื่อสาร เป็นสื่อที่ต่อเชื่อมการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับข้อมูล ตังกลางที่ใช้ในการ สื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือสื่อนาข้อมูลแบบมีสาย ( wired media )และสื่อนาข้อมูลแบบไร้ สาย ( wireless media ) 1. สื่อนาข้อมูลแบบมีสาย ( wired media ) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี3 ชนิดดังนี้ 1.1 สายคู่บิตเกลียว ( ...