การเห็นคุณค่าในตนเองมีอะไรบ้าง

การเห็นคุณค่าในตนเองมีอะไรบ้าง

การรักตัวเองและการเห็นแก่ตัวนั้นเป็นคนละเรื่องกัน คนที่รักตัวเองได้อย่างแท้จริงจะเข้าใจและให้เกียรติคนอื่นด้วยเช่นกัน

การรักตัวเองหรือในที่นี้คือการมี Self-esteem ในระดับที่ดีนั้นสามารถฝึกฝนและพัฒนากันได้ มาตรวจสอบกันว่า 10 คุณสมบัติการเป็นคนที่รักตัวเองนั้นเป็นอย่างไร

ดูวิธีที่ง่ายและสนุกในการเพิ่มการรักตัวเองและเห็นคุณค่าในตัวเอง >>

1. รักดี คนรักตัวเองเป็น จะรู้ดีว่าอะไรที่ดีและไม่ดีสำหรับตัวเอง พวกเขาเสพสิ่งดี ๆ พาตัวเองเข้าหาเรื่องดี ๆ และไม่มีทางประชดประชันชีวิต หรือพาตัวเองไปเสี่ยงกับเรื่องที่ทำให้เดือดร้อน รวมถึงไม่เลือกเสียเวลาอยู่กับคนหรือสังคมที่ทำให้พวกเขาตกต่ำ ไม่มีความสุข เพราะมองเห็นว่าชีวิตตัวเองมีคุณค่า พวกเขาจึงไม่เลือกทำสิ่งที่จะลดคุณค่าของตัวเองลงเช่นกัน

2. มีจุดยืนเป็นของตัวเอง

คนรักตัวเองจะเคารพในความคิดและจุดยืนของตัวเอง แต่ไม่ถึงกับดื้อรั้นและไม่ยอมรับฟังใคร พวกเขารู้ดีว่าชีวิตต้องการอะไรและตระหนักดีว่าบางครั้งคนอื่นก็ไม่ได้เข้าใจชีวิตของเขาได้ดีเท่าตัวเขาเอง ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่พวกเขาจะปล่อยให้คนอื่นมาจูงจมูกหรือบงการชีวิตจนไม่มีความสุข

3. กล้าปฏิเสธสิ่งที่ไม่ใช่ ด้วยความที่พวกเขาเคารพตัวเอง ดังนั้นพวกเขามักจะไม่แลกความสุขหรือยอมไม่เป็นตัวเองเอามาก ๆ เพื่อเอาใจคนอื่นพร่ำเพรื่อ อย่างไรก็ตามพวกเขาไม่ทำให้ใครเดือดร้อนและพวกเขาก็ไม่เดือดร้อนเช่นกัน หากบังเอิญรู้ว่ามีใครไม่ชอบหน้าเพียงเพราะพวกเขากล้าเป็นตัวของตัวเอง

4. ไม่เรียกร้องหาความรัก ความรักที่พวกเขาให้ตัวเองนั้นเพียงพออยู่แล้ว ดังนั้นการมีคนรักคือการเพิ่มความอบอุ่นให้หัวใจ ไม่ใช่เพื่อการพิสูจน์ว่าตัวเองยังมีค่าในสายตาคนอื่น คนรักตัวเองเป็น .. ไม่ต้องรอให้ใครมาแสดงว่าเห็นค่า เพราะสิ่งที่พวกเขาเป็นและทำทุกวันนั้นมีคุณค่าทั้งกับตัวเองและคนอื่นมากพอแล้ว พวกเขามักไม่เรียกร้องหรือสร้างเงื่อนไขความรักที่มากเกินไป และเคารพว่าคนรักเองก็ต้องการช่วงเวลามีชีวิตส่วนตัวเช่นกัน และหากพวกเขาถูกคนรักทิ้งไปหรือถูกปฏิเสธ พวกเขาจะไม่ตีความว่าตัวเองไร้ค่าอย่างแน่นอน

5. รับได้หากมีใครซักคนไม่ชอบ หลายครั้งที่คนเราเกิดความรู้สึกชอบไม่ชอบได้อย่างไม่มีเหตุผล หรือคนเราอาจไม่ชอบคนอื่นได้ เพียงเพราะรู้สึกว่านิสัยไม่เหมือนกัน คนที่รักตัวเองจะไม่ตีความว่าการมีคนไม่ชอบเท่ากับตัวเองเป็นคนไม่ดีพอ แต่พวกเขาจะมองว่าคนเรามีเหตุผลมากมายร้อยแปดที่จะไม่ชอบใครซักคน และแม้คนอื่นจะไม่ชอบพวกเขา แต่พวกเขาก็ยังชอบตัวเอง

6. มีความสุขได้ด้วยตัวเอง คนที่รักตัวเองเป็นไม่ต้องรอให้ใครมาทำให้พอใจ พวกเขาก็สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ พวกเขาจะรู้จักตัวเองดีพอว่าอะไรที่ทำให้พวกเขามีความสุขและอะไรที่ต้องหลีกหนีให้ไกล พวกเขาไม่ตั้งเงื่อนไขทรมานตัวเอง เช่น ถ้า ... ก่อนแล้วฉันจะมีความสุข หรือ ต้องได้/เป็น .... ก่อนแล้วฉันถึงจะมีความสุข เมื่อพบว่าพึ่งพาใครไม่ได้ พวกเขาจึงหันไปทำสิ่งที่มีความสุขด้วยตัวเอง

7. ยอมรับและชื่นชมในสิ่งที่เป็น คนที่รักตัวเองไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบและพวกเขาก็ไม่ดิ้นรนที่จะสมบูรณ์แบบ แต่พวกเขาชื่นชมสิ่งดีงามในตัวเอง ซาบซึ้งในสิ่งที่ตัวเองมี และรับได้กับข้อเสียรวมถึงข้อบกพร่อง พวกเขาชื่นชอบเอกลักษณ์ของตัวเอง พวกเขากล้าแสดงความไม่สมบูรณ์แบบให้คนอื่นเห็นและจะไม่พยายามเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนอื่นจนไม่เหลือตัวตน

8. ไม่เอาแต่เปรียบเทียบกับคนอื่น การมีเป้าหมายในชีวิต การรู้ว่าอะไรที่ใช่หรือไม่ใช่สำหรับตัวเอง การรู้ว่าตัวเองมีเอกลักษณ์อย่างไร จะทำให้คนที่รักตัวเองไม่หมกมุ่นแต่กับการเปรียบเทียบคนอื่น พวกเขารู้ว่าชีวิตต้องการอะไรและโฟกัสที่การไปถึงตรงนั้นให้ได้ โดยไม่ต้องไปก๊อปปี้ความฝันของใคร พวกเขาจะไม่เอาแต่จับจ้องคนอื่น เห็นคนอื่นประสบความสำเร็จแล้วย้อนกลับมาคิดทำร้ายความมั่นใจของตัวเอง ตรงกันข้าม พวกเขาจะเอาเวลาไปสร้างชีวิตที่ต้องการมากกว่าจะใช้เวลากับการมองดูแต่ชีวิตคนอื่น

9. ควบคุมชีวิตตัวเองให้มากที่สุด คนที่รักตัวเองจะพยายามให้ถึงที่สุดก่อนในการจะทำชีวิตให้ดีได้ตามที่หวัง พวกเขามักไม่ค่อยให้ใครหรืออะไรมาควบคุมชะตาชีวิตของพวกเขา นอกจากจะลงมือลงแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงมันเอง พวกเขาไม่รอให้อะไรดีขึ้นเอง หรือไม่รอให้คนอื่นเป็นฝ่ายเปลี่ยน แต่หากเห็นว่าอะไรที่ไม่ใช่ พวกเขาจะรีบตัดออกไปจากชีวิตให้เร็ว และด้วยความที่พวกเขาเชื่อในตัวเอง ดังนั้นไม่ว่าอดีตจะผ่านอะไรมาอย่างไร พวกเขาจะไม่เก็บมาเป็นข้ออ้างในการไม่พยายาม แต่จะมองที่ปัจจุบันและมุ่งออกแบบอนาคตของตัวเอง หากชีวิตในปัจจุบันยังไม่ดีนัก พวกเขาก็ไม่คิดจะกล่าวโทษใคร นอกจากลุกขึ้นรับผิดชอบแก้ไขด้วยตัวเอง

10. ให้เกียรติคนอื่นเหมือนที่ให้เกียรติตัวเอง คนที่รักตัวเองให้เคารพตัวเอง มองเห็นว่าตัวเองมีคุณค่ามากมายแค่ไหน ดังนั้นพวกเขาจึงคิดเช่นเดียวกันว่าคนอื่นก็มีคุณค่าและสมควรแก่การให้เกียรติเช่นกัน คนที่รักตัวเองจริงจะไม่ดูถูกหรือเอาเปรียบใคร แม้จะภูมิใจในตัวเองมากแค่ไหน แต่พวกเขาจะไม่มองว่าตัวเองวิเศษกว่าคนอื่น ตรงกันข้าม คนที่ไม่เชื่อมั่นในคุณค่าตัวเองมักแสดงออกในทางตรงกันข้าม เช่น โชว์ออฟ หรือพูดโดยไม่ฟังใคร นั่นเพราะเขากลัวว่าความไม่เชื่อมั่นที่อยู่ข้างในจะถูกเปิดเผยออกมา แต่คนที่รักและเคารพตัวเองจะรู้สึกต่างไป ความมั่นคงภายในใจทำให้พวกเขาไม่จำเป็นต้องโชว์ออฟใด ๆ โดยไม่จำเป็น

การรักและเห็นคุณค่าในตัวเองเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ขอเพียงปรับความเชื่อที่มีต่อตัวเองและลงมือทำเพื่อฝึกฝนใจอย่างต่อเนื่อง

หากคุณได้ลองพยายามด้วยตัวเองและคิดว่ายังไม่เพียงพอ ลองมองหาวิธีพัฒนาการรักตัวเอง หรือ Self-esteem เพิ่มเติมจากที่นี่ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนได้เปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นคนที่มีคุณค่าและรักตัวเองอย่างถูกทาง

การเห็นคุณค่าในตนเองมีอะไรบ้าง

คุณค่าภายในตนเองมีอะไรบ้าง

การเห็นคุณค่าในตัวเอง หรือ Self-Esteem คือความคิดที่เรามีต่อตัวเอง เช่น เราเป็นคนแบบไหน เราเหมาะกับอะไร เรามีความสามารถด้านไหน เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อความกระตือรือร้นในการที่จะพัฒนาชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้น รวมถึงความสามารถในการรับมือกับอารมณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ

พฤติกรรมการเห็นคุณค่าในตนเองมีอะไรบ้าง

ต้านทานแรงกดดันจากกลุ่มเพื่อน พยายามตัดสินใจด้วยตัวเอง ออกความคิดเห็นให้มากขึ้นถูกชักจูงให้น้อยลง กระทำสิ่งต่างๆ ด้วยความซื่อตรง กระทำในสิ่งที่สอดคล้องกับค่านิยมและความปรารถนาของตนเอง มีความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่น เพราะการเห็นคุณค่าของบุคคลอื่นเป็นคุณสมบัติของผู้ที่ชื่นชมและเห็นคุณค่าในตนเอง

ผู้ที่ตระหนักในคุณค่าของตนเองจะมีลักษณะอย่างไรบอกมา 5 ข้อ

ผู้ที่เห็นคุณค่าในตนเองมีลักษณะ ดังนี้ รู้สึกว่าตนมีความสําคัญ รู้สึกรักและนับถือ ตนเอง ยอมรับและพอใจตนเอง รู้สึกมั่นใจในตนเอง กล้าคิดกล้าทํากล้าพูด กล้าเผชิญกับปัญหา เป็น ตัวของตัวเอง มีแรงจูงใจและกระตือรือร้น มีความคิดเริ่มสร้างสรรค์ สามารถยืดหยุ่นและปรับตัวได้ดี มีความสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้อารมณ์สดชื่น มีความ ...

การเห็นคุณค่าในตนเองมีประโยชน์อย่างไร

การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นปัจจัย ภายในที่สำาคัญ ซึ่งทำาให้เกิดความสุขที่ยั่งยืน มากกว่าปัจจัยภายนอก เพราะการเห็นคุณค่า ในตนเองจะทำาให้บุคคลเกิดความรู้สึกดีต่อ ตนเอง มั่นใจ (ในระดับจิตใต้สำานึก) ว่า “ฉันมีค่า ฉันใช้ได้ ฉันมีข้อดี ฉันมั่นใจว่าฉันสามารถรับมือ กับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตของฉันได้” ตัวอย่าง เช่น คนพิการ ที่ ...