น้ำตาลในเลือด ปกติ เท่าไหร่

   การกำหนดเป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้เป็นเบาหวาน แพทย์และผู้ป่วยจะร่วมกันกำหนดเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เป็นเบาหวานแต่ละราย โดยคำนึงถึงอายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน และโรคร่วมต่างๆ และช่วงเวลาที่เจาะตรวจ

Show
ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน จะทำให้เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อ และอวัยวะบางอย่างในร่างกายอาจถูกทำลายได้ เมื่อหลอดเลือดเสียหายจะเพิ่มความเสี่ยงของอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง และความเสียหายของเส้นประสาทอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อดวงตา ไต และบาดแผลที่รักษายากตามมา

น้ำตาลในเลือดเท่าไหร่ถึงสูง

เมื่อเราเจาะเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

  • ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 70-100
  • ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 – 125 แสดงว่าอาจมีภาวะความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน
  • ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 แสดงว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของน้ำตาลในเลือดสูง

ทำไมเราถึงมีน้ำตาลในเลือดสูง

อินซูลินเป็นฮอร์โมนในร่างกายของเราที่สร้างโดยตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นกุญแจสำคัญในการผลักให้น้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากเซลล์ในร่างกายของเราไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ ตับอ่อนจะสร้างอินซูลินมากขึ้นเพื่อให้เซลล์ตอบสนองจนในที่สุดตับอ่อนก็จะไม่สามารถเพิ่มระดับอินซูลินได้อีก ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน และจะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อไป

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เรามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงคือ:

  • มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  • มีน้ำหนักเกินกว่าปกติ
  • มีความดันโลหิตสูงหรือคอเลสเตอรอลสูง
  • เป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
  • มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

อาการของผู้ที่เป็นเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง

อาการของผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมักเกิดขึ้นทีละน้อยและอาจเริ่มขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก

อาการทั่วไป ได้แก่ :

  • รู้สึกกระหายน้ำมาก
  • ปัสสาะวะมากและบ่อย
  • รู้สึกเหนื่อย หรืออ่อนเพลีย
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • น้ำหนักลด เป็นต้น

ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ อาจพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

น้ำตาลในเลือด ปกติ เท่าไหร่

โรคเบาหวาน คือ

โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย

เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายจะสลายอาหารบางส่วนเป็นน้ำตาล (กลูโคส) และปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มันจะส่งสัญญาณให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมา ซึ่งอินซูลินทำหน้าที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำให้น้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน

โรคเบาหวาน เกิดจากร่างกายของเราผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือไม่สามารถใช้งานได้ดีเท่าที่ควร เมื่อมีอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์หยุดการตอบสนองต่ออินซูลิน น้ำตาลในเลือดจะสูงอยู่เป็นเวลานาน เมื่อเวลาผ่านไป อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ เช่น โรคหัวใจ สูญเสียการมองเห็น โรคไต เป็นต้น”

โรคเบาหวาน มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีสาเหตุจากอะไร

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาการของโรคเบาหวาน จะมีลักษณะคล้ายกับอาการของผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาการจะมากขึ้น หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น

สัญญาณและอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักเกิดขึ้นช้า ผู้ป่วยอาจอยู่กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้นานหลายปีโดยไม่รู้ตัว อาการที่พบได้ ได้แก่

  • กระหายน้ำมากขึ้น
  • ปัสสาวะบ่อย
  • หิวบ่อย
  • น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • แผลหายช้า
  • ติดเชื้อบ่อย
  • ชาตามมือและเท้า

เป็นต้น

อาการของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานมี 3 ชนิดหลักๆ คือโรคเบาหวานชนิดที่ 1โรคเบาหวานชนิดที่ 2และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานชนิดที่ 1
เกิดจากร่างกายของเราไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะพบประมาณ 5-10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด มักตรวจพบในเด็กเล็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะต้องฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายทุกวัน และปัจจุบันโรคเบาหวานชนิดนี้ยังไม่สามารถป้องกันได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2
เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะพบประมาณ 90-95% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด โดยการดำเนินของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักใช้เวลาหลายปี โดยมากมักได้รับการวินิจฉัยในผู้ใหญ่ (แต่ปัจจุบันพบมากขึ้นเรื่อยๆ ในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถป้องกันได้ด้วยการมีวิถีชีวิตที่ช่วยให้มีสุขภาพดี เช่น กินอาหารเพื่อสุขภาพ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติ เป็นต้น

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ มีหลายปัจจัยที่สามารถส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ขึ้นได้ เช่น ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ ปัจจัยด้านอายุ สตรีที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปก็มีความเสี่ยงมากขึ้น เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญหลายอย่าง รวมถึงหัวใจและหลอดเลือด เส้นประสาท ดวงตา และไต นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังร้ายแรงอื่นๆ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนและโรคอื่นๆ ที่เป็นร่วมอยู่ได้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานที่พบบ่อย ได้แก่:

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และการตีบของหลอดเลือด (atherosclerosis)
  • เส้นประสาทบริเวณแขนขาถูกทำลายเสียหาย หากมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน เมื่อเวลาผ่านไปเส้นประสาทจะถูกทำลาย ส่งผลให้รู้สึกซ่า ชา แสบร้อน ปวด หรือสูญเสียความรู้สึกในที่สุด ซึ่งมักจะเริ่มต้นที่ปลายนิ้วเท้าหรือนิ้วมือ แล้วค่อยๆ ลามขึ้นไป นอกจากนี้ยังอาจพบความเสียหายต่อเส้นประสาทของหัวใจ ซึ่งสามารถนำไปสู่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความเสียหายของเส้นประสาทในระบบย่อยอาหารอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงหรือท้องผูก สำหรับผู้ชาย ความเสียหายของเส้นประสาทอาจทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศได้
  • โรคไต โรคเบาหวานอาจนำไปสู่โรคไตเรื้อรังหรือโรคไตระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ ซึ่งอาจต้องฟอกไตหรือปลูกถ่ายไตในที่สุด
  • โรคตา โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตาร้ายแรง เช่น ต้อกระจกและต้อหิน และอาจทำลายหลอดเลือดของเรตินา ซึ่งอาจนำไปสู่การตาบอดได้
  • ปัญหาผิว โรคเบาหวานอาจทำให้ผิวหนังอ่อนแอ ส่งผลให้ติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ผิวหนังได้ง่ายขึ้น
  • แผลหายช้า นอกจากนี้ บาดแผลและแผลพุพองที่ติดเชื้อรุนแรง หากรักษาไม่ดี อาจรุนแรงถึงต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาได้
  • ปัญหาทางการได้ยิน ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ พบมากในผู้ที่มีภาวะอ้วนร่วมด้วย
  • ภาวะสมองเสื่อม เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์และความผิดปกติอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่ดีนั้นเชื่อมโยงกับความจำและทักษะการคิดอื่นๆ ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว

โรคเบาหวาน วิธีรักษา

การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด การฉีดอินซูลิน หรือใช้ยาทั้งสองอย่าง

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น
รวมถึงการออกกำลังกาย และการลดน้ำหนักหากน้ำหนักเกินกว่าปกติ

การใช้ยา

หากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่ได้ผล ผู้ป่วยยังมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมาก แพทย์จะสั่งใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีทั้งในรูปแบบรับประทานและยาฉีดเข้าผิวหนัง

วิธีป้องกัน โรคเบาหวาน

ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงในระยะเริ่มต้น

การปรับวิถีชีวิตให้เหมาะสมสามารถช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ แม้ว่าจะมีญาติทางสายเลือดที่เป็นโรคเบาหวานก็ตาม

หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นเบาหวาน การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอาจชะลอหรือหยุดการลุกลามไปสู่โรคเบาหวานได้

ระดับน้ำตาลในเลือดปกติคือเท่าไร

ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่าง 70-100 คุณอยู่ในภาวะปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 – 125 คุณมีภาวะความเสี่ยง หรือเรียกว่า เบาหวานแฝง ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

การตรวจน้ําตาลในเลือด มีกี่แบบ

ตรวจเบาหวานตรวจอะไรบ้าง?.
1. การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมาช่วงอดอาหาร.
2. การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมาช่วงเวลาปกติ.
3. การตรวจน้ำตาลสะสมในเลือดฮีโมโกลบิน.
4. การทดสอบความทนต่อกลูโคส.
5. ตรวจปัสสาวะ.

ค่าน้ำตาล 140 สูงไหม

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ค่าปกติ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกิน 99 มก./ดล. หลังอดอาหาร 8 ชม. มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกิน 140 มก./ดล. หลังมื้ออาหาร 2 ชม.

น้ําตาลในเลือดสูงเกิดจากอะไรได้บ้าง

สาเหตุ ของการเกิดน้ำตาลในเลือดสูง.
คุมเบาหวานได้ไม่ดี รับประทานอาหารมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย รับประทานยา หรือฉีดอินซูลินไม่สม่ำเสมอ.
การเจ็บป่วยรุนแรง เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือมีภาวะติดเชื้อ.
ได้รับยาต้านอินซูลิน เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ.