ความ รู้ ทางวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ มี อะไร บ้าง

                                    �ѡ�С�кǹ��÷ҧ�Է����ʵ�� �繷ѡ�С�äԴ�ͧ�ѡ�Է����ʵ���������㹡���֡�Ҥ鹤��� �׺�����Ҥ������ �����ѭ�ҵ�ҧ� �ѡ�С�кǹ��÷ҧ�Է����ʵ�������͡�� 13 �ѡ�� ���ִ����Ǣͧ��Ҥ�����ԡ����ͤ�������˹�ҷҧ�Է����ʵ�� (The American Association for the Advancement of Science � AAAS) ��觻�Сͺ����   �ѡ�С�кǹ��÷ҧ�Է����ʵ���鹾�鹰ҹ 8 �ѡ�� ��зѡ�С�кǹ��÷ҧ�Է����ʵ���鹼�� 5 �ѡ�� �ѧ���

           โดยสรุป คือ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นความรู้ในเรื่องต่างๆ ซึ่งมักเป็นสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่มีลักษณะเป็นทฤษฏี หลักการ กฎ หรือสูตรต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น ส่วนวิทยาศาสตร์ประยุกต์เป็นการใช้ความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ โดยเน้นในทางปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี และมักเป็นสาขาวิชาเฉพาะทาง เช่น  แพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น 

ส่วน ปรีชา วงศ์ชูศิริ ได้แบ่งแยกวิทยาศาสตร์เป็นสาขาต่าง ๆ โดยใช้เหตุผลในเชิงวิธีวิทยา ตามหลักข้อเท็จจริง ซึ่งมีทฤษฎีเชิงแบบแผนเป็นข้อสมมติฐานล่วงหน้าไว้ ดังนี้


ความ รู้ ทางวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ มี อะไร บ้าง
   สำหรับทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดกลุ่มสาขาวิชาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยตามหลักการจำแนกการศึกษาตามมาตรฐานสากลขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ โดยแบ่งเป็น 10 กลุ่มสาขาวิชา สำหรับกลุ่มสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีสาขาย่อยดังนี้
            - กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คณิตศาสตร์/สถิติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
            - กลุ่มสาขาวิชาแพทยศาสตร์ และวิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ได้แก่ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์
            - สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ กายภาพบำบัด วิทยาศาสตร์สุขภาพ
            - กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
            - กลุ่มสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ วนศาสตร์ และการประมง ได้แก่ สัตวแพทย์ศาสตร์/ สัตวบาล ประมง/วาริชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วนศาสตร์/เทคโนโลยีวน                    ผลิตภัณฑ์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เทคโนโลยีการเกษตร ธุรกิจการเกษตร/ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์

เมื่อกล่าวถึงธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ บางคนอาจคิดว่าเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม และอาจคิดว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่เน้นการศึกษาสิ่งมีชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาได้ให้ความหมายของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ไว้หลายความหมาย เช่น McComas (2000) เสนอว่า ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คือ การผสมผสานการศึกษาทางสังคมของวิทยาศาสตร์ในหลายด้าน เช่น ด้านประวัติการได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา และปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ เพื่ออธิบายว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร นักวิทยาศาสตร์มีกระบวนการทำงานอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ทำงานเป็นกลุ่มสังคมได้อย่างไร และสังคมมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ Johnston และ Southerland (2002) อธิบายว่าธรรมชาติของวิทยาศาสตร์คือ คำอธิบายที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับสาระของวิทยาศาสตร์ จากการให้ความหมายธรรมชาติของวิทยาศาสตร์พอจะสรุปความหมายของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ได้ว่า ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ได้มาซึ่งหาความรู้ การทำงานหรือสังคมของนักวิทยาศาสตร์ และคุณค่าของวิทยาศาสตร์ต่อสังคม ซึ่ง American Association for the Advancement of Science (National Research Council, 1990) ได้เสนอขอบข่ายของวิทยาศาสตร์ได้ 3 ประเด็น คือ โลกทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ (The scientific world view) การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific inquiry) และกิจการทางวิทยาศาสตร์ (The scientific enterprise) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. โลกเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้

2. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้

3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความความคงทน

4. วิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้คำตอบที่สมบรูณ์แก่คำถามทุกคำถามได้

5. วิทยาศาสตร์ต้องการหลักฐาน

6. วิทยาศาสตร์เป็นการผสมผสานระหว่างเหตุผลกับจินตนาการ

7. วิทยาศาสตร์ให้คำอธิบายและคำทำนาย

8. นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะบ่งชี้และหลีกเลี่ยงอคติ

9. วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องการเชื่อฟังผู้มีอำนาจหรือเผด็จการ

10. วิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมทางสังคมที่สลับซับซ้อน

11. วิทยาศาสตร์ได้ถูกจัดระบบอยู่ในเนื้อหาวิชาสาขาต่างๆ และมีการดำเนินการในสถาบันต่างๆ

12. การดำเนินงานทางวิทยาศาสตร์ต้องมีจรรยาบรรณ

13. นักวิทยาศาสตร์เข้าร่วมในกิจกรรมสาธารณะทั้งในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นพลเมือง

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์

จากงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาทั้งในและต่างประเทศ (เช่น Abd-El-Khalick and Lederman, 2000; กาญจนา มหาลี และ ชาตรี ฝ่ายคำตา, 2553; เวียงชัย แสงทอง ชาตรี ฝ่ายคำตา และนฤมล ยุตาคม, 2553) พบว่าครูและผู้เรียนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์มาก ซึ่งจะขอยกตัวอย่างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่พบบ่อยดังต่อไปนี้

1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือสิ่งเดียวกัน

2. วิทยาศาสตร์สามารถตอบคำถามได้ทุกคำถาม

3. วิทยาศาสตร์คือความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับวิธีได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์

4. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีอยู่แล้วในธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์เพียงแต่ค้นคว้าหรือดึงความรู้นั้นมา

5. ความรู้วิทยาศาสตร์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

6. กฎได้มาจากทฤษฏีที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว

7. กฎเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

8. การได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่ต้องอาศัยจินตนาการหรือความรู้เดิมของนักวิทยาศาสตร์

9. ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการสร้างองค์ความรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร

10. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) ที่ใช้ในการได้มาซึ่งความรู้มีเพียงวิธีเดียวคือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific methods)

11. วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีที่มีขึ้นตอนตายตัว คือ สังเกต กำหนด ตั้งสมมติฐาน ทดลอง สรุปผลการทดลอง ตามลำดับ

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแบ่งเป็นกี่ด้านอะไรบ้าง

natural science. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, วิชาหรือความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งสามารถจะวัดได้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสสารและพลังงานวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแบ่งเป็นกลุ่มวิชาใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม คือ วิทยาศาสตร์กายภาพ และ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ แต่มีหลายวิชาที่เป็นการศึกษาร่วมกันท [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

ธรรมชาติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หมายถึง การผสมผสานการศึกษาทางสังคมของ วิทยาศาสตร์ในหลายด้าน เช่น ▪ ด้านประวัติการได้มาของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ▪ สังคมวิทยา ▪ ปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพื่ออธิบายว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร นักวิทยาศาสตร์มีกระบวนการทางาน อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ทางานเป็นกลุ่ม หรือมีสังคมอย่างไร และสังคมมี ปฏิกิริยา ...

วิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติมีสาขาวิชา/อาชีพใดบ้าง

ตำแหน่งงานหรืออาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ นักเคมีปฏิบัติ นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักอุตุนิยมวิทยา เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ นักนิเวศวิทยา นักธรณีวิทยา นักวิเคราะห์วิจัย ครูอาจารย์ ฯลฯ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง

องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2544) ได้จัดแบ่งออกเป็นลำดับขั้นไว้ 6 ประเภท คือ ข้อเท็จจริง มโนมติ หลักการ สมมติฐาน กฎ และทฤษฎี