สินค้าเพื่อการบริโภคหมายถึงอะไร

ความหมายของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์การเสนอขายให้ได้ผลนั้น พนักงานขายต้องมีความรู้ และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินค้าอย่างละเอียด เพื่อจะได้ตอบคำถามลูกค้าได้ถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการซื้อสินค้า อีกทั้งยังช่วยในการตอบคำถามข้อโต้แย้งได้เป็นอย่างดี และช่วยให้พนักงานขายมีความเชื่อมั่นในตนเองและตัวสินค้าด้วย

สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึง การนำผลิตผล (Product)หรือวัตถุดิบ (Raw Material) ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อ ปลา แร่ธาตุ ฯลฯมาผ่านกรรมวิธีในการผลิต อาจจะใช้เครื่องจักร ออกมาเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

ประเภทของสินค้า
แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) และสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods)

สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) คือ สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อใช้เอง
แบ่งตามลักษณะการซื้อของผู้บริโภคได้ 4 ชนิด คือ
1. สินค้าสะดวกซื้อ ( Convenience Goods)
เป็นสินค้าที่เป็นของกินของใช้ประจำวันที่ราคาไม่แพง ใช้เป็นประจำ และเคยชินกับยี่ห้อ เช่น ผงซักฟอก สบู่ ผ้าอนามัย  ยาสีฟัน ไม้ขีด นิตยสาร หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

2. สินค้าเปรียบเทียบซื้อ (Shopping Goods)
เป็นสินค้าราคาสูง คงทนถาวรซื้อไม่บ่อยนัก จะเลือกยี่ห้อที่เหมาะกับตนเอง ต้องมีการเปรียบเทียบหลายร้าน หรือหลายตราสินค้า  เปรียบเทียบการบริการ สมรรถนะ รูปแบบ ราคา คุณภาพ ฯลฯ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

3. สินค้าเจาะจงซื้อ (Specialty Goods)
มีความพอใจเป็นพิเศษ จะซื้อยี่ห้อนี้เท่านั้น มีความภักดีสูง เช่น เครื่องสำอางค์ น้ำหอม คอมพิวเตอร์ รถยนต์ ฯลฯ

4. สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods)
เป็นสินค้าใหม่ที่เพิ่งวางตลาด หรือเป็นสินค้าที่มีราคาสูงเกินอำนาจซื้อ ไม่เห็นความสำคัญ หรือ ความจำเป็น ผู้ขายต้องใช้ความพยายาม และต้องเป็นการขายตรงถึงจะได้ผล เพราะเป็นสินค้าขายยาก เช่น ประกันภัย สารานุกรม วิตามินบำรุง เครื่องออกกำลังกาย เครื่องนุ่งห่อมราคาแพงมากๆ เป็นต้น

สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods)
คือ สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ในการผลิต หรือดำเนินงาน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. วัตถุดิบและชิ้นส่วน (Material and Parts) คือ สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต แล้วได้สินค้าสำเร็จรูปออกมา เช่น มันสำปะหลัง และอ้อย เป็นวัตถุดิบของการทำผงชูรส เป็นต้น

2. สินค้าทุน (Capital Goods) เป็นสินค้าที่ช่วยในการผลิต เช่น เครื่องจักรที่ใช้บดมันสำปะหลังกับอ้อย แล้วนำมาผ่านกรรมวิธีทางเคมีให้แปรสภาพเป็นผงชูรส เป็นต้น

3. วัสดุใช้สอยและบริการ (Supplies and Service) เป็นสินค้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิตให้สะดวก คล่องตัว เช่น วัสดุในการซ่อมแซมและบำรุงเครื่องจักร วัสดุ

ดังนั้นสินค้าแต่ละชนิดจึงมีความสำัญที่แตกต่างกันในแต่ละรูปแบบการใช้งาน การเลือกใช้สินค้าแต่ละชนิดจึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

4. สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods) เป็นสินค้าใหม่ที่เพิ่งวางตลาด หรือเป็นสินค้าที่มีราคาสูงเกินอำนาจซื้อ ไม่เห็นความสำคัญ หรือ ความจำเป็น ผู้ขายต้องใช้ความพยายาม และต้องเป็นการขายตรงถึงจะได้ผล เพราะเป็นสินค้าขายยาก เช่น ประกันภัย สารานุกรม วิตามินบำรุง เครื่องออกกำลังกาย เครื่องนุ่งห่ม ราคาแพงมาก เป็นต้น

การบริโภค

        การบริโภค หมายถึง การใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ การบริโภคไม่ได้หมาย ความถึง การรับประทานอาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจแต่เพียงอย่างเดียว การใช้สินค้าอื่นๆ และการใช้บริการอย่างใดอย่าง หนึ่ง ก็คือการบริโภค ด้วยเช่นกัน เช่น การไปพบแพทย์เมื่อยามเจ็บป่วย การพักโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่ง การ ประกันภัย เป็นต้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การกระทำทั้งหลายอันทำให้สินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่งสิ้นเปลืองไปเพื่อ เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือ ทางอ้อม ถือเป็นการบริโภคทั้งสิ้น

สินค้าเพื่อการบริโภคหมายถึงอะไร

ประเภทของการบริโภค

แบ่งตามลักษณะของสินค้าสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
        1. การบริโภคสินค้าไม่คงทน (nondurable goods consumption) คือการบริโภคสิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วสิ่งของ ชนิดนั้นจะสิ้น เปลือง หรือใช้หมดไป การบริโภคลักษณะนี้เรียกว่า destruction เช่น การบริโภคน้ำ อาหาร ยารักษาโรค น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ
        2. การบริโภคสินค้าคงทน (durable goods consumption) คือการบริโภคสิ่งของอย่างใด อย่างหนึ่งโดยสิ่งของนั้นยังคง ใช้ได้อีก การบริโภคลักษณะนี้เรียกว่า diminution เช่น การอาศัยบ้านเรือน การใช้รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ ฯลฯ อย่างไร ก็ตาม ถึงแม้ว่าสินค้าคง ทนเหล่านี้จะใช้แล้วไม่หมดไปในทีเดียว แต่ก็จะค่อยๆสึกหรอไป จนในที่สุดจะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก

ปัจจัยที่ใช้กำหนดการบริโภค

หลักการสำคัญในการเลือกบริโภคสินค้าหรือบริการ
  หลักในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการใดๆต้องคำนึงถึงความพึงพอใจสูงสุดที่ผู้บริโภคจะได้รับความพึงพอใจ ที่ผู้บริโภคจะได้รับ ได้แก่
        1. ความประหยัด คือซื้อสินค้าในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปจนใช้ไม่หมดหรือเหลือทิ้ง และเป็น สินค้าที่จำเป็น ต้องใช้ไม่ ควรซื้อตามกระแสนิยม
        2. ประโยชน์ คือ สินค้าหรือบริการนั้นซื้อมาแล้วให้ประโยชน์ ความสะดวกสบาย คุ้มค่า เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
         3. ราคายุติธรรม เป็นสินค้าหรือบริการที่มีราคาไม่แพงจนเกินไปผู้ผลิตไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ในด้านราคา
        4. คุณภาพ ต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐานในปัจจุบันสินค้าและบริการส่วนใหญ่เป็นตลาด ของผู้บริโภค หมายถึง ผู้บริโภค ที่มีสิทธิ์เลือก ซื้อได้ตามราคาและคุณภาพได้ตามที่ตนพอใจ
        5. ความปลอดภัย สินค้าหรือบริการนั้นๆ ต้องไม่เป็นอันตายแก่ผู้บริโภค เช่น อาหารสำเร็จรูปอาหาร กระป๋อง ต้องไม่มีสาร เคมี หรือหมดอายุเสื่อคุณภาพแล้ว

สินค้าบริโภคหมายถึงอะไร

ในเชิงของวิชาเศรษฐศาสตร์ สินค้าบริโภค หมายถึงสินค้าที่สุดท้ายแล้วใช้บริโภคมากกว่าที่จะนำไปผลิตสินค้าอื่นต่อ ตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่ขายให้ผู้บริโภคถือเป็นสินค้าบริโภค หรือ "สินค้าสุดท้าย" (final goods) ส่วนยางล้อรถที่ขายให้ผู้ผลิตรถยนต์ไม่ถือเป็นสินค้าสุดท้ายแต่เป็นสินค้าช่วงกลาง (intermediate goods)ที่นำมาใช้ประกอบเป็น ...

การบริโภคสินค้ามีอะไรบ้าง

ประเภทของการบริโภคมีทั้งหมด 2 แบบ คือ 1.การบริโภคโดยตรง : การบริโภคที่ให้อรรถประโยชน์แก่ผู้บริโภคขณะที่กำลังบริโภค เช่น การแปรงฟัน อาบน้ำ ฟังเพลง ดื่มน้ำ เป็นต้น 2.การบรโภคทางอ้อม : การบริโภคที่ให้อรรถประโยชน์แก่ผู้บริโภคในเวลาต่อไป เช่น การใช้น้ำมัน วัตถุดิบต่างๆ การใช้เครื่องจักรผลิตสินค้า เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคมีด้วยกัน 4 ประเภท มีอะไรบ้าง

ผลิตภัณฑ์สะดวกซื้อ (Convenience Product) ▪ ผลิตภัณฑ์เลือกซื้อ (Shopping Product) ▪ ผลิตภัณฑ์เจาะจงซื้อ (Specialty Product) ▪ ผลิตภัณฑ์ไม่แสวงซื้อ (Unsought Product) ▪ วัสดุและชิ้นส่วนประกอบ (Materials and.

การบริโภคหมายถึงอะไร

การบริโภค การบริโภค หมายถึง การใช้สินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ รวมถึงการนำ สินค้าและบริการมาใช้ประโยชน์ เพื่อการผลิตเป็นสินค้าและบริการอื่นๆ ประเภทของการบริโภค 1. การบริโภคสินค้าไม่คงทน คือ การบริโภคสิ่งของที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำ อาหาร ยารักษาโรค