หลักการบริหารของ Henri Fayol คือข้อใด

หลักการบริหารของ Henri Fayol คือข้อใด


            หลักการจัดองค์การ OSCAR ของเฮนรี ฟาโยล (Henri fayol) มาจากคําภาษาอังกฤษ 5 คํา คือ Objective, Specialization, Coordination Authority และ responsibility ซึ่งฟาโยลได้เขียนหลักของการจัดองค์การไว้ 5 ข้อ เมื่อนำตัวอักษรตัวแรกของคําทั้ง 5 มาเรียงต่อกัน จะทําให้สะกดได้ คําว่า OSCAR สําหรับรายละเอียด ทั้ง 5 คําจะขอกล่าวไว้ใน “หลักในการจัดองค์การที่ดี” 

             หลักในการจัดองค์การที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบและแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้ 

             1.4.1 หลักวัตถุประสงค์ (Objective) หลักวัตถุประสงค์กล่าวว่า องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นการดํารงตําแหน่งยังต้องมีวัตถุประสงค์ย่อยกําหนดไว้เพื่อว่าบุคคลจะได้พยายามบรรลุวัตถุประสงค์ย่อยซึ่งช่วยให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์รวม 

             1.4.2 หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง (SpecialiZation) หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง กล่าวว่า การจัดแบ่งงานควรจะแบ่งตามความถนัด พนักงานควรจะรับมอบหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียวและงานหน้าที่ที่คล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน ควรจะต้อง อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของคนคนเดียว 

             1.4.3 หลักการประสานงาน (Coordination) หลักการประสานงานกล่าวว่า การประสานงานกัน คือ การหาทางทําให้ทุก ๆ ฝ่ายร่วมมือกันและทํางานสอดคล้องกัน โดยใช้หลักสามัคคีธรรม เพื่อประโยชน์ขององค์การ 

             1.4.4 หลักของอํานาจหน้าที่ (Authority) หลักของอํานาจหน้าที่กล่าวว่า ทุกองค์การต้องมีอํานาจสูงสุด จากบุคคลผู้มีอํานาจสูงสุดนี้จะมีการแยกอํานาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุก ๆ คนในองค์การ หลักนี้เรียกว่าหลักความลดหลั่นของ อํานาจ (Scalar Principle) หรือเรียกว่า สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) การกําหนดสายการบังคับบัญชานี้ก็เป็นวิธีประสานงานอย่างหนึ่ง 

             1.4.5 หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หลักความรับผิดชอบกล่าวว่า อํานาจหน้าที่ควรจะเท่ากับความรับผิดชอบ คือ บุคคลใดเมื่อได้รับมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรจะได้รับมอบหมายอํานาจให้เพียงพอเพื่อทํางานให้สําเร็จด้วยดี 

             1.4.6 หลักความสมดุล (Balance) หลักความสมดุลจะต้องมอบหมายให้หน่วยงานย่อยทํางานให้สมดุลกันกล่าวคือ ปริมาณงาน ควรจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงกันรวมทั้งความสมดุลระหว่างงานกับอํานาจหน้าที่ที่จะมอบหมายด้วย 

             1.4.7 หลักความต่อเนื่อง (Continuity) หลักความต่อเนื่องในการจัดองค์การเพื่อการบริหารงานควรจะเป็นการกระทําที่ต่อเนื่อง ไม่ขาดความจริงจังหรือไม่ให้ความสําคัญกับการดําเนินงานหากเป็นบริษัทหรือห้างร้านจะส่งผลต่อความ น่าเชื่อถือ 

             1.4.8 หลักการโต้ตอบและการติดต่อ (Correspondence) หลักการโต้ตอบและการติดต่อตําแหน่งทุกตําแหน่งจะต้องมีการโต้ตอบระหว่างกันและ ติดต่อสื่อสารกันองค์การจะต้องอํานวยความสะดวก จัดให้มีเครื่องมือและการติดต่อสื่อสารที่เป็นระบบ

หลักการบริหารของ Henri Fayol คือข้อใด

การติดต่อสื่อสารในองค์การ


            1.4.9 หลักขอบเขตของการควบคุม (Span of control) หลักขอบเขตของการควบคุมเป็นการกําหนดขีดความสามารถในการบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ ว่าควรจะควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาหรือจํานวนหน่วยงานย่อยไม่มากเกินไป โดยปกติหัวหน้า 1 คน มีขอบเขตในการรับผิดชอบไม่เกิน 6 หน่วยงาน

            1.4.10 หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชาในการจัดองค์การที่ดี ผู้รับคําสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานควรมีเพียงคนเดียวเท่านั้นเพื่อให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชาจึงถือหลักการว่า "One Man One Boss”

            1.4.11 หลักตามลําดับขั้น (Ordering) หลักตามลําดับขันในการที่นักบริหารหรือหัวหน้างานจะออกคําสั่งแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ควรรับผิดชอบโดยตรง ปฏิบัติการตามลําดับขั้นของสายการบังคับบัญชาไม่ควรออกคําสั่งข้ามหน้าผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่มีความ 

            1.4.12 หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง (Promotion) หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่งผู้บังคับบัญชาโดยตรงย่อมทราบพฤติกรรมในการทํางานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีกว่าผู้อื่นดังนั้นการพิจารณาให้คุณและโทษแก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใดก็ควรให้ผู้นั้นทราบและมีสิทธิ์มีเสียงในการพิจารณาด้วยเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาและ เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญในการทํางานของบุคคลในองค์การด้วย