การแทรกแซงราคาของรัฐบาล มีอะไรบ้าง

หรืออีกมุมหนึ่งก็เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมหลัก ที่เกี่ยวข้องกับประชากรในประเทศเป็นจำนวนมาก อย่างในประเทศไทยก็คือ ภาคการเกษตร

หากพูดถึงการตรึงราคาสินค้าและบริการแล้ว เราก็มักจะนึกถึงสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม ข้าว ซึ่งก็รวมไปถึงราคาค่ารถโดยสารสาธารณะต่าง ๆ ด้วย

แต่มีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนไม่น้อย มองว่านโยบายการควบคุมราคาสินค้าและบริการ ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลนั้น มักไม่มีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงราคาสินค้านานเกินไป กลับกลายเป็นว่ามันจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น

- ทำให้เกิดภาระทางเศรษฐกิจของประเทศ
อีกทั้งยังส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปด้วย

ตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดคือ การตรึงราคาพลังงานที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

อย่างกรณีของราคาน้ำมันขายปลีกนั้น

ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ระบุว่าราคาน้ำมันขายปลีกดีเซล B7 อยู่ที่ 34.94 บาทต่อลิตร

โดยที่ปัจจุบันรัฐบาลช่วยจ่ายให้เรา เพื่ออุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลที่ 10.92 บาทต่อลิตร ผ่านกองทุนน้ำมัน
หมายความว่า ถ้าไม่มีการอุดหนุนตรงนี้ ราคาน้ำมันขายปลีกดีเซล B7 จะอยู่ที่ประมาณ 45 บาทต่อลิตร

น้ำมันดีเซลนั้นถือเป็นต้นทุนที่สำคัญในหลายภาคส่วน ตั้งแต่ภาคเกษตรกรรม ภาคการผลิตในโรงงาน ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคขนส่ง

แน่นอนว่า การอุดหนุนราคาน้ำมันนั้น จะช่วยให้ประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาที่ถูกลง และเยียวยาภาระค่าครองชีพไปได้บ้าง

แต่การอุดหนุนราคาน้ำมันนั้น มีต้นทุนมหาศาล เพราะที่ผ่านมา
ประเทศไทยของเรา มีการอุปโภคน้ำมันดีเซล ประมาณ 65 ล้านลิตรต่อวัน
แปลว่าต้นทุนในการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันนั้น สูงถึงวันละกว่า 700 ล้านบาท
คิดเป็นเดือนละกว่า 21,000 ล้านบาท

ซึ่งถ้ากองทุนน้ำมันทำแบบนี้ต่อไปตลอดทั้งปี
หมายความว่าจะต้องใช้เงินกว่า 252,000 ล้านบาท
หรือคิดเป็นกว่า 8% ของงบประมาณรายจ่าย เลยทีเดียว

นอกจากนั้น หากการควบคุมราคาสินค้า กินระยะเวลายาวนานเกินไป ก็จะทำให้กลไกราคานั้นไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงด้วย

ยิ่งถ้าผู้บริโภคเชื่อว่ารัฐบาลจะยังคงอุดหนุน หรือตรึงราคาต่อไปเรื่อย ๆ
ผู้บริโภคก็จะไม่เกิดการประหยัดในการใช้สินค้านั้นในที่สุด

- ส่งผลเสียต่อผู้ผลิต และอาจนำไปสู่ตลาดมืด

สินค้าบางอย่าง แม้ว่ารัฐบาลอาจจะไม่ได้มีภาระในการใช้เงินเข้าไปอุดหนุน
เนื่องจากรัฐบาลอาจควบคุมราคาสินค้าและบริการ ด้วยการขอความร่วมมือจากผู้ผลิต

แต่การที่ผู้ผลิตต้องถูกควบคุมราคาขายสินค้านั้น
หากต้นทุนในการผลิตพุ่งสูงขึ้น กำไรของผู้ผลิตก็จะลดลง

ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ก็เป็นเพียงการผลักภาระต้นทุนทางเศรษฐกิจ จากฝั่งผู้บริโภคมาให้ผู้ผลิตเท่านั้น
ถ้าเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ ก็อาจไม่ส่งผลกระทบอะไรมาก

แต่ในระยะยาวนั้น ผู้ผลิตที่ถูกควบคุมราคาขายสินค้า มีโอกาสที่จะผลิตสินค้าและบริการออกมาสู่ตลาดน้อยลง

อย่างกรณีของรถโดยสารขนส่งสาธารณะที่กำลังขาดแคลน
เนื่องจาก ผู้ประกอบการนั้นลดจำนวนเที่ยววิ่งลง หรือหยุดการให้บริการในบางเส้นทาง
เพราะต้นทุนน้ำมันที่สูง แต่ไม่สามารถปรับราคาค่าโดยสารขึ้นได้ จนส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารจำนวนไม่น้อย

การควบคุมราคาสินค้า ยังทำให้ผู้ผลิตขาดแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ หรือขาดการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต จนอาจส่งผลต่อการลงทุน การจ้างงาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศได้เช่นกัน

     2.การให้เงินอุดหนุนด้านราคา โดยรัฐจะกำหนดราคาขั้นต่ำที่สูงกว่าราคาดุลยภาพหรือราคาตลาดแล้วจ่ายเงินอุดหนุนต่อหน่วยสินค้าจากผลต่างของราคาดุลยภาพและราคาประกันขั้นต่ำ ข้อดีคือ ผู้บริโภคมีโอกาสซื้อสินค้าในราคาถูก และได้บริโภคสินค้าจำนวนมาก

การควบคุมราคาของรัฐบาลมีจุดประสงค์ใด

“Price Control” หรือการควบคุมราคาสินค้า เป็นท่าประจำของรัฐบาลในหลายประเทศที่มักนำมาใช้กัน เพื่อตรึงราคาสินค้าและบริการที่แพงจนกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศ หรืออีกมุมหนึ่งก็เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมหลัก ที่เกี่ยวข้องกับประชากรในประเทศเป็นจำนวนมาก อย่างในประเทศไทยก็คือ ภาคการเกษตร

รัฐบาลเข้าแทรกแซงตลาดอย่างไร

การแทรกแซงราคา หมายถึง การที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงกลไกราคาในระบบตลาด ไม่ให้ดำเนินไปอย่างเสรี เพราะจะก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น การแทรกแซงราคาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การประกันราคาขั้นต่ำ มูลภัณฑ์กันชน การจ่าย เงินอุดหนุน และการกำหนดราคาชั้นสูง ซึ่งจะได้กล่าวไปตามลำดับ ดังต่อไปนี้

รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาแทรกแซงทางเศรษฐกิจเพราะอะไร

การแทรกแซงทางเศรษฐกิจ (อังกฤษ: economic interventionism) หรือบ้างเรียก การแทรกแซงของรัฐ เป็นจุดยืนนโยบายเศรษฐกิจซึ่งสนับสนุนให้รัฐบาลแทรกแซงในกระบวนการตลาดเพื่อแก้ไขความล้มเหลวของตลาดและส่งเสริมสวัสดิการโดยทั่วไปของประชาชน การแทรกแซงทางเศรษฐกิจเป็นการกระทำของรัฐบาลหรือสถาบันระหว่างประเทศในเศรษฐกิจแบบตลาดเพื่อพยายามให้ ...

การควบคุมราคา มีอะไรบ้าง

การควบคุมราคา คือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ การพยุงราคา คื การกำหนดราคาขั้นสูง การแทรกแซงราคา คือ การที่รัฐบาลเข้ามาเข้าคุมหรือใช้มาตการต่างๆ เพื่อกำหนดราคาแทนการเปลี่ยนแปลงตามกลไกราคา เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างผู้ผลิตและบริโภค.
การกำหนดราคาขั้นต่ำ.
การจ่ายเงินสนับสนุน(เงินอุดหนุด).
การกำหนดราคาขั้นสูง.