การวางแผนการมีบุตร มีอะไรบ้าง

การวางแผนครอบครัว คือ การที่คู่รักหรือคู่แต่งงานกำหนดเป้าหมายร่วมกันเกี่ยวกับการสร้างครอบครัว เช่น จะมีลูกหรือไม่ จะมีลูกเมื่อใด จะมีลูกกี่คน เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะสุขภาพและการเงิน รวมถึงการปรับตัวเข้าหากันของคู่สมรส การตกลงบทบาทหน้าที่กันภายในครอบครัว ซึ่งอาจช่วยให้สามารถเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ให้เหมาะสมกับการมีลูกหรือการสร้างครอบครัว

Show

จะมีลูกทั้งทีต้องมีการวางแผน สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ แนะนำการวางแผนครอบครัว พร้อมการเตรียมตัวหากอยากมีบุตร

จะมีลูกทั้งทีต้องมีการวางแผน สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ แนะนำการวางแผนครอบครัว พร้อมการเตรียมตัวหากอยากมีบุตร

เชื่อกันว่าการมีบุตรจะทำให้ครอบครัวสมบูรณ์ แต่ก็มีบางครอบครัวที่มีบุตรในขณะที่ยังไม่พร้อม ยังไม่รวมปัญหาอื่นๆ ทั้งปัญหาด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นภายหลังการคลอดบุตร ปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ทั้งในหญิงที่ไม่พร้อมและการตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่นหรือวัยเรียน และอีกหลากหลายปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ว่าทำไมเราจึงต้องมีการวางแผนการมีบุตร

เมื่อใดจึงเริ่มวางแผนการมีบุตร

การวางแผนการมีบุตร มีอะไรบ้าง

นายแพทย์ธีธัช อดทน สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด กล่าวถึงการเตรียมตัวก่อนมีบุตรว่าถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากมีการเตรียมตัวดี หรือมีการวางแผนการมีบุตรในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย การตั้งครรภ์นั้นจะทำให้คุณแม่แข็งแรง คุณลูกปลอดภัย ซึ่งการวางแผนการมีบุตรนั้น สามารถทำได้ทั้งก่อนแต่งงานหรือหลังแต่งงานแล้ว โดยต้องวางแผนร่วมกันทั้งฝ่ายหญิงและชาย และควรเริ่มวางแผนก่อนจะมีบุตรจริงอย่างน้อย 1-3 เดือน

การวางแผนการมีบุตรทำได้โดยการเข้าพบสูติแพทย์ โดยต้องพบแพทย์ทั้งสองฝ่าย เพื่อดูความพร้อมในการมีบุตร ซึ่งแพทย์จะมีการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด เก็บประวัติการใช้ยา โรคประจำตัว และอื่นๆ ที่จะใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อวางแผนการมีบุตร การฝากครรภ์ รวมถึงการดูแลสุขภาพกายและใจหลังคลอด

ต้องทำอะไรบ้างสำหรับการวางแผนการมีบุตร

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายของทั้งสองฝ่าย โดย "ฝ่ายชาย" จะตรวจความเข้มข้นของเลือด โรคโลหิตจาง หรือความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดต่างๆ โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโรคเอชไอวี โรคซิฟิลิส โรคไวรัสตับอักเสบบี หมู่เลือด รวมไปถึงโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยในคนไทย เช่น โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

ส่วน "ฝ่ายหญิง" จะมีการตรวจเหมือนกับฝ่ายชาย แต่จะมีการตรวจเพิ่มเติมในกลุ่มของภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน หากยังไม่มีภูมิคุ้มกัน แพทย์จะแนะนำให้รับวัคซีนก่อนที่จะเริ่มการตั้งครรภ์ เพราะหากมีการติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้บุตรพิการแต่กำเนิดได้ แต่หากมีภูมิคุ้มกันแล้ว แม้จะได้รับเชื้อมา ความรุนแรงหรือความผิดปกติของทารกในครรภ์ก็จะน้อยกว่าผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน โดยเมื่อรับวัคซีนโรคหัดเยอรมันแล้ว แนะนำให้คุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในช่วงแรกของการตั้งครรภ์

การวางแผนการมีบุตร มีอะไรบ้าง

สุขภาพแข็งแรงดี จำเป็นต้องตรวจร่างกายหรือไม่

ไม่ว่าสุขภาพจะแข็งแรงเพียงไร ก็ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อวางแผนการมีบุตร เพราะโรคทางพันธุกรรมและโรคทางเพศสัมพันธ์บางอย่างไม่แสดงอาการให้เห็น แต่จะทราบได้จากการตรวจเลือดและซักประวัติ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง หากตรวจพบก่อนอาการแสดงออกให้เห็น เข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยป้องกันการติดเชื้อระหว่างคู่ และยังช่วยป้องกันการส่งผลเสียไปยังลูกด้วย

คำแนะนำจากคุณหมอสำหรับผู้ที่ต้องการมีบุตร

นายแพทย์ธีธัช ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ประสงค์ตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ เพราะการตรวจเช็คบางอย่างจะทำให้สามารถรู้ และวางแผนการรักษาอาการหรือความผิดปกติที่ไม่แสดงออกได้ดีกว่ารอจนมีอาการหรือความผิดปกติ และสำหรับผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรม โดยเฉพาะโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ซึ่งในคนไทยเป็นพาหะทางพันธุกรรมที่พบค่อนข้างบ่อย หากตรวจพบว่าเป็นพาหะทั้งคู่ ถือเป็นคู่เสี่ยงที่จะเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ซึ่งคุณหมอจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการมีบุตรได้อย่างถูกต้อง

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพและการวางแผนการมีบุตร หรือคำถามด้านสุขภาพอื่นๆ สามารถขอคำปรึกษาได้จากทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด และสามารถติดตามสาระดีๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่เฟซบุ๊ก: Principal Healthcare Company

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือ ART (Assisted Reproductive Technologies ) นอกจากจะเป็นกระบวนการช่วยครอบครัวที่ประสบปัญหามีบุตรยาก ให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้แล้ว ยังสามารถตรวจวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน ก่อนใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดโรคพันธุกรรมหรือความผิดปกติทางโครโมโซมหรือโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดในทารกได้อีกด้วย 

1. การทำกิฟต์ (GIFT)  

การทำกิฟต์ (GIFT) คือ วิธีการนำไข่ที่สุกเต็มที่ของฝ่ายหญิงออกมา และนำอสุจิของฝ่ายชายที่ทำการคัดเลือกฉีดเข้าไปในท่อนำไข่ ซึ่งเป็นที่ปฏิสนธิตามธรรมชาติ วิธีนี้เป็นการช่วยเหลือให้ไข่และตัวอสุจิได้มีการปฏิสนธิในบริเวณและในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากต้องทำการเจาะหน้าท้อง อีกทั้งไม่สามารถทราบแน่ชัดว่าในวันถัดไปจะมีการปฏิสนธิหรือไม่ ซึ่งมีโอกาสประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ และได้ในกรณีที่ท่อรังไข่ปกติและไม่อุดทันเท่านั้น 

2. เด็กหลอดแก้ว หรือ IVF และ ET (In Vitro Fertilization / Fertilization)

เด็กหลอดแก้ว หรือ IVF และ ET (In Vitro Fertilization / Fertilization) คือ การปฏิสนธิภายในหลอดแก้ว เป็นวิธีการที่นำไข่สุกเต็มที่แล้ว ไปผสมกับเชื้ออสุจิในหลอดทดลอง หรือจานแก้วที่มีสารเลี้ยงตัวอ่อน เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิขึ้นในหลอดทดลอง หลังจากนั้น 48 ชั่วโมง จะเกิดเป็นมีตัวอ่อนขึ้นเรียกว่า Embryo ทำการเลี้ยงตัวอ่อนให้มีอายุครบ 3-5 วัน หรือเรียกว่า Blastocyst ก่อนย้ายคืนกลับเข้าโพรงมดลูก เพื่อฝังตัวและเติบโตเป็นตัวอ่อนในครรภ์คุณแม่ เหมาะกับครอบครัวที่หาสาเหตุไม่พบว่าทำไมจึงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ทั้ง ๆ ที่สภาพร่างกายมีความพร้อม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาช่วย โดยมีโอกาสปฏิสนธิถึง 40-50 เปอร์เซ็นต์ การจะทำวิธีนี้ทำได้ก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศไทยในการมีบุตร

3. อิ๊กซี่ หรือ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)

อิ๊กซี่ หรือ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) คือ วิธีฉีดอสุจิ 1 ตัวเข้าไปในเซลล์ไข่ 1 ใบ เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิและโอกาสการตั้งครรภ์ได้โดยตรง ซึ่งวิธีนี้สามารถเลี้ยงตัวอ่อนให้เติบโตได้โดยทำการแช่แข็งเก็บตัวอ่อนเอาไว้ในห้องปฏิบัติการ หากต้องการมีบุตรในครั้งถัดไปได้
วิธีนี้สามารถทำให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดได้ กลไกในการตั้งครรภ์ลูกแฝดนั้นเป็นการนำไข่สองใบฉีดเข้าไปยังโพรงมดลูก ซึ่งเหมาะสมกับครอบครัวที่ทำวิธีการต่าง ๆ แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

วิธีนี้มีความละเอียดเป็นอย่างมากในการตั้งครรภ์ สามารถคัดกรองโรคร้าย ๆ ในตัวเด็กได้ อาทิ เมื่อตั้งครรภ์ 4 เดือน สามารถตรวจความผิดปกติระดับโครโมโซมได้ เช่น โรคดาวน์ซินโดรม โรคทรานสโลเคชั่น หรือแม้แต่โรคที่เกิดจากความผิดปกติภายในยีน เช่น โรคเบต้าธาลัสซีเมีย โรคอัลฟาธาลัสซีเมีย โรคซิสติกไฟโบรซิสต์ หรือแม้แต่ความผิดปกติภายในไมโตคอนเดรีย ความผิดปกติในยีนที่มากกว่ายีนเดียว

อีกทั้งสามารถตรวจสอบได้ว่าเด็กมีอาการผิดปกติทางสมองหรือเป็นโรคร้ายแรงต่าง ๆ หรือไม่ เพื่อยุติการตั้งครรภ์ได้ หรือแม้แต่เพศที่สามารถทำการตรวจได้ เป็นต้น ซึ่งวิธี ICSI นั้นมีโอกาสปฏิสนธิมากถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ และเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายกันในปัจจุบัน

การวางแผนครอบครัวพิจารณาด้านใดบ้าง

"การวางแผนครอบครัว" ภาษาอังกฤษ เรียก Family planning คือ การวางแผนสำหรับคู่ชิวิต เพื่อการมีครอบครัวที่สมบูรณ์ภายใต้ความพร้อมด้านสังคม เศรษฐกิจ ร่างกายและจิตใจ ของคนภายในครอบครัว รวมถึงการวางแผนการมีลูก ให้สอดคล้องกับสถาพเศรษฐกิจของคู่รักว่า จะมีบุตรกี่คน มีบุตรเมื่อไร การเลี้ยงลูกให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี ...

การวางแผนครอบครัวแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

ชนิดของการวางแผนครอบครัว การวางแผนครอบครัวแบบชั่วคราว เช่นยาฉีด ยาเม็ด ถุงยางอนามัย การวางแผนครอบครัวแบบกึ่งถาวร เช่น ยาฝัง ห่วงอนามัย การวางแผนครอบครัวแบบถาวร เช่น การทำหมัน

องค์ประกอบของการวางแผนครอบครัวมีอะไรบ้าง

หลักการวางแผนครอบครัว 1. ตรวจสุขภาพและขอคาปรึกษาก่อนแต่งงาน หรือก่อนการมีบุตร 2. พิจารณาสุขภาพอนามัย ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจ 3. เลือกใช้วิธีคุมก าเนิดอย่างเหมาะสม ประโยชน์ของการวางแผนครอบครัว 1. การเลือกคู่ครอง คือ การเลือกคนที่จะมาร่วมสร้างครอบครัว ร่วมรับผิดชอบภาระต่างๆ และร่วมทุกข์ร่วมสุขตลอดชีวิต

ก่อนมีบุตรควรคำนึงถึงสิ่งใด

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยแรกของการสร้างครอบครัว คือ 1. ความสมบูรณ์ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของผู้เป็นพ่อแม่ 2.สถานะทางการเงิน จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมในการมีบุตร จำนวนที่ต้องการมีบุตร รวมทั้งศักยภาพในการเลี้ยงดูบุตร