การบริหารการศึกษา มีอะไรบ้าง

การบริหารและการจัดการสถานศึกษา

Show

หมายถึงการดำเนินงานของกลุ่มบุคคล ซึ่งอาจเป็นการดำเนินงานของผู้บริหารร่วมกับครูหรือบุคคลากรในโรงเรียน อธิการบดีหรือผู้บริหารร่วมกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับอธิบดีกรมต่าง ๆ  และครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ละกลุ่มบุคคลเหล่านี้ต่างร่วมมือกันพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้งสิ้น การจะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น จะต้องมีการดำเนินการในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การวัดผล การจัดอาคารสถานที่และพัสดุครุภัณฑ์ การสรรหาบุคคลมาทำการสอนในสถาบันการศึกษา การปกครองนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีมีวินัย และอื่น ๆ ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้เรียกว่า “ภาระกิทางการบริหารการศึกษา” หรือ “’งานบริหารการศึกษา” นั่นเอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาผู้เรียน

การบริหารจัดการในสถานศึกษามีทั้งหมด 4 ด้าน

1.ด้านวิชาการ

งานวิชาการถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มุ่งให้กระจายอำนาจในการบริหารจัดการไปยังสถานศึกษา ด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้สถานศึกษาดำเนินการต่างๆ ได้อย่างอิสระ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น สามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ มีการวัดผลประเมินผลเพื่อความก้าวหน้า รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ด้านงบประมาณ

การบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษามุ่งเน้นความเป็นอิสระ ในการบริหารจัดการมีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานให้มีการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา รวมทั้งจัดหารายได้จากบริการ อาจเป็นสหกรณ์ ร้านค้า หรือการจัดตั้งกองทุนมาใช้บริหารจัดการเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีขึ้นต่อผู้เรียน

3.ด้านบุคลากร

การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา เป็นภารกิจสําคัญที่มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองภารกิจของสถานศึกษา เพื่อดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคลให้เกิดความรวดเร็ว และคล่องตัว อย่างอิสระภายใต้กฎหมาย ระเบียบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถ มีขวัญกำลังใจ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นสําคัญ

4.ด้านการบริหารทั่วไป

การบริหารทั่วไปเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบบริหารองค์กร ให้บริการบริหารงานอื่นๆ  บรรลุผลตามมาตรฐาน คุณภาพและเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีบทบาทหลักในการประสานงานส่งเสริม สนับสนุน และการอำนวยการความสะดวกต่างๆ ในการให้บริการการศึกษาทุกรูปแบบ มุ่งพัฒนาให้ใช้มีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ส่งเสริมในการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  ตามหลักการบริหารงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก ตลอดจนการมีส่วนร่วมของบุคคล ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

อ้างอิง

ถวิล เกื้อกูลวงศ. (2530). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติ. กรุงเทพ ฯ: วัฒนาพานิช.

สมเดช สีแสง. (2548). คู่มือบริหารโรงเรียน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ.

หนังสือ “การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เล่มนี้ ผู้เรียบเรียงได้รวบรวมหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นิสิต นักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ รวมทั้งบุคคลทั่วไปโดยยึดหลักการทฤษฎีสู่แนวทางในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

หนังสือเล่มนี้ มีทั้งสิ้น 13 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน บทที่ 2 ทฤษฎี และหลักการบริหารจัดการองค์การ บทที่ 3 ภาวะผู้นำทางการศึกษา บทที่ 4 การเรียนรู้วัฒนธรรม และการติดต่อสื่อสารในองค์การ บทที่ 5 การคิดอย่างเป็นระบบ และการประสานประโยชน์องค์การ บทที่ 6 การส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ บทที่ 7 การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม บทที่ 8 การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ บทที่ 9 การจัดทำโครงการพัฒนาองค์การ บทที่ 10 การจัดการในชั้นเรียน บทที่ 11 การศึกษาพฤติกรรมนักเรียน และการสร้างวินัยในชั้นเรียน บทที่ 12 การประกันคุณภาพการศึกษาบทที่ 13 การศึกษากับการพัฒนาชุมชน โดยในแต่ละบท ผู้เรียบเรียงได้เสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์และทำการสรุปแต่ละบท เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

1. แนวคิดการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน

แนวคิดการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดจากการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สอดคล้องกับหลักการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาที่ยั่งยืน” และ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” โดยอาศัยเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาเป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปี โดยที่เป้าหมายและตัวชี้วัดต้องสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรระหว่างประเทศโดยสหประชาชาติกำหนดขึ้น คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน

แนวคิดการบริหารและการจัดการศึกษา

แนวคิดการบริหารและการจัดการศึกษา ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลักสำคัญในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม (All for Education) อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ประเด็นภายในประเทศ (Local Issues) อาทิ คุณภาพของคนทุกช่วงวัย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy) มาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560)

การบริหารและการจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

2. ทฤษฎี และหลักการบริหารจัดการองค์การ

การบริหารจัดการองค์การให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยทฤษฎี และหลักการเป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานโดยมีระบบขั้นตอนและการวางแผนที่มุ่งไปสู่เป้าหมายนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เนื่องจากองค์การเป็นระบบของกลุ่มคนหมู่มากที่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบและข้อบังคับ อันจะนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพในองค์การ ทั้งนี้ต้องมีความรู้ในศาสตร์ด้านการบริหารจัดการองค์การและต้องเข้าใจในบริบทของโรงเรียนนั้น ๆ เพื่อการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดมั่นในทฤษฎี และหลักการที่ถูกต้อง และถือเป็นนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

3. ภาวะผู้นำทางการศึกษา

การศึกษาเรื่อง ภาวะผู้นำทางการศึกษา เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการศึกษาให้เกิดองค์ความรู้ และเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เนื่องจากเกิดจากภายในตัวบุคคลอันเกิดจากความต้องการการเปลี่ยนแปลงและมีอุดมการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศได้ ด้วยหลักสำคัญที่ว่า การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ ดังนั้น การบริหารการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศจึงควรมีผู้นำองค์กรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ มีสมรรถนะในการบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของชาติ และสามารถผลิตบุคลากรที่เกิดจากผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพได้อีกด้วย การศึกษาเรื่องภาวะผู้นำทางการศึกษาก่อให้เกิดหลักการและทฤษฎีตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และวางรากฐานอันเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเทศได้ตามลำดับ

การบริหารและการจัดการศึกษา

4. การเรียนรู้วัฒนธรรม และการติดต่อสื่อสารในองค์การ

การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปได้เข้าร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้นั้น คณะบุคคลดังกล่าวได้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้น อันเป็นผลเนื่องมาจากสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมในการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมเป็นการกำหนดข้อสมมุติฐาน เพื่อนำไปสู่ค่านิยมร่วมกัน โดยการกำหนดออกมาเป็นพฤติกรรมการปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในองค์การ หรือสนับสนุนซึ่งกันและกันให้เกิดเป็นสัญลักษณ์ที่ส่งผลทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายพร้อมทั้งสามารถทำให้การปฏิบัติกิจกรรมของคณะบุคคลมีความยั่งยืนและมั่นคง ดังนั้น ลักษณะดังกล่าวข้างต้นเรียกว่า วัฒนธรรมองค์การ ซึ่งบุคคลในองค์การต้องมีการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์การ (Learning of Organizational Culture) และนำไปปฏิบัติ (Implementation) เพื่อให้การเรียนรู้วัฒนธรรม และการติดต่อสื่อสารในองค์การเกิดความมั่นคง และเจริญก้าวหน้าตามลำดับต่อไป

การบริหารและการจัดการศึกษา

5. การคิดอย่างเป็นระบบ และการประสานประโยชน์องค์การ

เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งผิดพลาดเกิดขึ้น สิ่งที่มักจะได้ยินจากผู้บริหารที่ตำหนิความผิดพลาดที่เกิดขึ้นว่า“ทำงานไม่เป็นระบบ” หรือเมื่อเราขับรถอยู่บนถนนพบเห็นการขุดถนนฝังท่อระบายน้ำเสีย อีกไม่กี่เดือนต่อมาก็ขุดที่เดิมอีก คราวนี้ฝังสายไฟฟ้า เรามักตำหนิอยู่ในใจว่า “ทำงานไม่เป็นระบบ” ไม่รู้จักประสานงานกันให้ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องขุดถนนตรงนี้ และแม้แต่ครู-อาจารย์ เมื่อตรวจงานของนักศึกษายังตำหนิว่า เขียนรายงานอย่างไม่เป็นระบบ สิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นอีกมากมายที่เป็นปัญหามักจะถูกโยนไปให้ “ระบบ” เป็นตัวสร้างปัญหา ทั้ง ๆ ที่ตัวระบบเองนั้น เกิดขึ้นจากคนที่คิดระบบให้ออกมาสามารถทำงานได้อย่างดี ฉะนั้น การคิดอย่างเป็นระบบจึงมีความสำคัญในการวางแผน ทำให้สามารถทำงานบรรลุผล และสำเร็จอย่างราบรื่น เรียบร้อยรวดเร็ว และร่วมกันทำการวางแผนการทำงานจึงเริ่มต้นที่ความสามารถในการคิดก่อน

6. การส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ

ความมีมนุษยสัมพันธ์เป็นบุคลิกส่วนบุคลซึ่งมีอยู่ในตัวครู และผู้บริหาร อันจะนำมาซึ่งผลสำเร็จต่อองค์การ เนื่องด้วยความเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้นนำมาซึ่งผลสำเร็จในองค์การ เกิดการติดต่อสื่อสารการเกี่ยวข้องกับตัวบุคลที่ได้พบเห็น การเป็นสัญลักษณ์ที่เกิดความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่นในตัวบุคคล เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจให้กระทำการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของงานนั้น รวมถึงการประสานงานกับผู้ปกครอง ชุมชนสังคม คณะกรรมการสถานศึกษา

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ

การที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันเพื่อดำเนินกิจกรรมอันมีเป้าหมายเดียวกัน หรือแตกต่างกันเป็นจำเพาะของกลุ่ม ในการอยู่ร่วมกันจะต้องมีการประสานสัมพันธ์ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบและส่วนที่เกี่ยวข้องในด้านส่วนตัว ซึ่งทั้งสองลักษณะนี้ถือว่าจะต้องเป็นความสัมพันธ์ทั้งสิ้น ทั้งระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลต่อองค์การ

7. การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

การส่งเสริมทำงานเป็นทีม มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อหน่วยงาน หรือองค์การต่าง ๆ เนื่องด้วยการทำงานในหน่วยงานหรือองค์การนั้น เป็นลักษณะการทำงานเป็นทีมโดยอาศัยแรงขับที่มีพลังคิดบวก มิใช่เป็นการทำงานโดยตนเอง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ระบบการบริหารงานภายในหน่วยงานมีสภาพที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ในสภาพเช่นนี้ การทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ทุกคนต้องเข้ามาส่วนร่วมในการทำงาน และรับฟังความคิดเห็นที่ก่อให้เกิดความแตกต่างอันจะนำไปสู่การเปลี่ยแปลงได้ในที่สุด

8. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

การนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ประเภทวัสดุอุปกรณ์ และประเภทวิธีการแนวความคิดใหม่มาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสถานศึกษา มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความต้องการความถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็ว ผู้บริหารสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจใช้ในการประเมินองค์กรของตนเอง และเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและการแข่งขัน การรู้เขารู้เราทำให้สามารถที่จะนำเสนอนโยบายในการกำหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจและการนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างตรงเป้าหมาย รวมถึงการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปได้อย่างมีทิศทางที่ถูกต้องชัดเจน ผู้ร่วมงานหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็สามารถที่จะปฏิบัติงาน หรือให้ความร่วมมือได้เป็นอย่างดี

9. การจัดทำโครงการพัฒนาองค์การ

การบริหารจัดการให้ผู้เรียนได้ฝึกภาคปฏิบัติ ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองที่เป็นลักษณะทักษะ กระบวนการ โดยจัดเป็นกิจกรรมทางวิชาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และก่อให้เกิดความรักความสามัคคี การจัดทำโครงการพัฒนาองค์การนอกจากจะเป็นการสร้างการพัฒนาแล้ว ยังจะก่อให้เกิดผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อโครงการเสร็จสิ้นลง ผลกระทบนี้จะเป็นประเด็นในการพัฒนาและสร้างเพื่อต่อยอดในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ตามมา

10. การจัดการในชั้นเรียน

การจัดการชั้นเรียน เป็นวิธีการดำเนินการให้ชั้นเรียนได้อยู่ในสภาพความพร้อมที่จะดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง เนื่องด้วยชั้นเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในรายวิชาต่าง ๆ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอันประกอบด้วยผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันหรืออาจเรียกว่า “ความแตกต่างระหว่างบุคคล” (Individual Difference) ชั้นเรียนที่มีการบริหารจัดการที่ดีเป็นความสามารถของผู้สอนที่ส่งผลต่อบรรยากาศการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนการสอน และหมายความรวมถึง ผู้เรียนมีความสุขในขณะที่อยู่ในชั้นเรียน ความสุขของผู้เรียนเป็นสิ่งที่สุดยอดปรารถนาของผู้สอน และผู้รับผิดชอบทางการศึกษาต้องพยายามจัดให้มีขึ้นโดยทั่วกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นองค์รวมของการบูรณาการความรู้ ความสามารถของครูผู้สอน พร้อมทั้งก่อให้เกิดแรงจูงใจให้ผู้เรียนได้มาโรงเรียน และได้เรียนหนังสืออย่างมีความสุข

11. การศึกษาพฤติกรรมนักเรียนและการสร้างวินัยในชั้นเรียน

การศึกษาพฤติกรรมนักเรียน และการสร้างวินัยในชั้นเรียน เป็นจุดเริ่มต้นของครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องทำการศึกษาอย่างจริงจัง มีความเป็นธรรม และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ควรสร้างความตระหนัก และอาศัยพลังจากครอบครัว ชุมชน จึงจะสามารถหล่อหลอมเยาวชนให้มีชีวิตสามารถนำพาตนเองให้อยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วยุ และความกดดันต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีดุลยภาพ มีความสมดุลย์แห่งชีวิตมีความคิดสร้างสรรค์ในสิ่งที่ดีงามแก่ตนเอง เกื้อกูลให้สังคมเข้มแข็ง ดังเจตนารมณ์แห่งแผนการศึกษาแห่งชาติ

12. การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) ของสถานศึกษาจึงเป็นการให้หลักฐานข้อมูลแก่ประชาชนว่า บุคคลในสถานศึกษาจะทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้ผู้ปกครอง นักเรียนและสาธารณชนมั่นใจว่า นักเรียนจะมีคุณภาพตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาสามารถดำเนินการให้เกิดคุณภาพการศึกษาตามบทบาทหน้าที่ของครูในระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก พร้อมทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะผู้เรียน และเกิดความเชื่อมั่นต่อผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในสถานศึกษาแห่งนั้น

ความหมายและความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 ได้กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้จัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพ และได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฏหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติซึ่งมีอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดำเนินการ และตรวจสอบการดำนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย

13. การศึกษากับการพัฒนาชุมชน

ชุมชนเป็นแหล่งที่อยู่ของคน ประกอบด้วย ชุมชนชนบท (Rural Community) และชุมชนเมือง (Urban Community) เมื่อต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในชุมชน ไม่ได้พัฒนาเฉพาะคนในชุมชนเท่านั้น ทั้งนี้ จะต้องพัฒนาแหล่งที่อยู่ของคนควบคู่ไปด้วย คนกับสถานที่ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันดังนั้น การพัฒนาชุมชน จึงหมายถึง การพัฒนาคนและสถานที่ที่เป็นแหล่งที่อยู่ไปพร้อม ๆ กันอย่างสมดุลการพัฒนาชุมชนนั้นมีกิจกรรมที่เป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาชุมชน สำหรับเครื่องมือดังกล่าวคือการศึกษาโดยทั่วไปต่างก็ยอมรับกันว่า การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้ จะสามารถนำไปใช้ได้จริง และเป็นประโยชน์อันนำไปสู่ผลกระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการบริหารและการจัดการศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ขอขอบพระคุณ ตำรา/หนังสือ/บทความวิชาการ/บทความวิจัย/เอกสารอื่น ๆ ครูบาอาจารย์ และบุคคลที่นำมาอ้างอิงในหนังสือดังกล่าวด้วยความเคารพเป็นอย่างสูงยิ่ง

ผู้เขียน

การจัดการศึกษา การบริหารการศึกษา การพัฒนาท การพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงไหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน

การบริหารศึกษาคืออะไร

การบริหารการศึกษา หมายถึง การดำเนินงานด้วยกกระบวนการที่หลายคน เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทุกด้านจนบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และสามารถพัฒนา ตนเอง พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม ให้ดำรงชีวิตในสังคมเป็นไปด้วยความสงบสุข (ธีระ รุญ เจริญ (2553 : 31)

งานในการบริหารสถานศึกษามีอะไรบ้าง

กระทรวงศึกษาธิการ (2546 , หน้า 34) ได้ก าหนดขอบข่ายและกิจการการบริหารและ จัดการสถานศึกษา ไว้ 4 ด้าน 1. งานบริหารวิชาการ 2. งานบริหารงบประมาณ 3. งานบริหารบุคลากร 4. งานบริหารทั่วไป

การบริหารสถานศึกษามีความสำคัญอย่างไร

สรุปได้ว่า การบริหารการศึกษามีความสํา คัญในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และ ดําเนินการอย่างต่อเนือง มีบุคคลและหน่วยงานทีรับผิดชอบเข้าร่วมดําเนินการ มีรูปแบบ ขันตอน กติกาและวิธีดําเนินการ มีทรัพยากรสนับสนุน และมีกระบวนการประเมินผลการศึกษาเที ยงตรง และเชื อถือได้ การบริหารการศึกษามีความจําเป็น เพราะต้องการคนทีได้รับการ ...

ผู้บริหารสถานศึกษา มีอะไรบ้าง

1. ผู้บริหารสถานศึกษา = ผอ.โรงเรียน , รองผอ.โรงเรียน และฝ่ายบริหาร หรือครูที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษา 2. ผู้บริหารการศึกษา = ผอ.เขต , รอง ผอ.เขต และผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนด