การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ มีอะไรบ้าง

การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ หมายถึง การขยายพันธุ์พืชด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ โดยส่วนต่างๆ ของพืชเหล่าที่สามารถเกิดราก และเจริญเติบโตเป็นต้นพืชได้ การขยายพันธุแบบไม่อาศัยเพศ เช่น การปักชำกิ่ง การตอนกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง เป็นต้น

                1.  การขยายพันธุ์ด้วยลำต้น  เช่นพืชที่มีลำต้นใต้ดินทำหน้าที่สะสมอาหาร  ได้แก่   ขิง  ข่า  ขมิ้น  แห้ว  เผือก  หอม  กระเทียม  มันฝรั่ง    ว่านสี่ทิศ

                2.  การขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง โดยการปักชำ   ตอน  ติดตา  ทาบกิ่ง  หรือเสียบยอด  เช่น ชบา  พู่ระหง  มะละ  โกสน  กุหลาบ  พุทรา  มะม่วง  ดาวเรือง  ฤาษีผสม

                3.  การขยายพันธุ์ด้วยราก  มักเป็นรากชนิดที่สะสมอาหาร เช่น  มันเทศ 

                4.  การขยายพันธุ์ด้วยใบ   เช่นใบคว่ำตายหงายเป็น  ใบต้นทองสามย่าน ใบของต้นโคมญี่ปุ่น

พืชนอกจากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแล้วยังสามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual   reproduction)  เช่น

                1.  การขยายพันธุ์ด้วยลำต้น  เช่นพืชที่มีลำต้นใต้ดินทำหน้าที่สะสมอาหาร  ได้แก่   ขิง  ข่า  ขมิ้น  แห้ว  เผือก  หอม  กระเทียม  มันฝรั่ง    ว่านสี่ทิศ

                2.  การขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง โดยการปักชำ   ตอน  ติดตา  ทาบกิ่ง  หรือเสียบยอด  เช่น ชบา  พู่ระหง  มะละ  โกสน  กุหลาบ  พุทรา  มะม่วง  ดาวเรือง  ฤาษีผสม

                3.  การขยายพันธุ์ด้วยราก มักเป็นรากชนิดที่สะสมอาหาร เช่น  มันเทศ 

                4.  การขยายพันธุ์ด้วยใบ   เช่นใบคว่ำตายหงายเป็น  ใบต้นทองสามย่าน ใบของต้นโคมญี่ปุ่น

วิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ

                1. การปักชำหรือการตัดชำ (cutting  หรือ  cottage) กิ่งหรือรากที่ใช้ต้องไม่อ่อนหรือแก่เกินไปใช้มีดหรือกรรไกรตัดแต่งคมๆ  ตัดกิ่งออกเป็นท่อนๆ  ยาวประมาณ  10 -20  ซม.  โดยตัดให้เป็นปากฉลามใต้ตา  เอาใบออกหมด  แล้วนำไปชำในกระบะชำ  โดยปักให้เอียง  45 70 องศา  และลึก 1 ใน 3 ของกิ่ง นำกระบะชำไปวางในเรือนเพาะชำรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ  เมื่อกิ่งชำหรือรากชำมีรากพอสมควรก็แยกไปปลูกต่อไป  ในการชำนั้นถ้าใช้ฮอร์โมน เช่น เซราดิกซ์ (seradix)  เร่งก็จะทำให้งอกรากได้เร็วขึ้น

                การยายพันธุ์โดยการชำนี้ใช้ได้ทั้งไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ ที่นิยมกัน คือ ส้ม  ชมพู่  กุหลาบ   เฟืองฟ้า โกสน  ชบา  มะลิ  อ้อย  สาเก 

                2.  การตอน (marcotting) การตอนไม้ผลจะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเหมือนต้นแม่ทุกประการ  เพราะมียีนชุดเดียวกัน ไม่มีการกลายพันธุ์  ให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด  แต่มีข้อเสียตรงที่กิ่งตอนไม่มีรากแก้ว ถ้าลมแรงหรือดินอ่อน  อาจล้มโค่นง่าย  ทำให้ต้นไม้มีอายุสั้นกว่าการปลูกด้วยเมล็ด

                3.  การติดตา(budding)  ประกอบด้วย

                ต้นตอ  ต้นตอควรเป็นต้นที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ต้านทานสภาพดินฟ้า  อากาศ และโรคได้ดี   ไม่เป็นที่แก่หรืออ่อนจนเกินไป  ต้องลอกเปลือกออกง่ายเมื่อผ่าเปลือกต้นตอ

                ต้นพันธุ์  ต้นพันธุ์ดีที่มีตาสมบูรณ์  ตาดีและสมบูรณ์หาได้มากในฤดูฝน ตาดีต้องมาจากกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและตาต้องแตกใหม่ๆ  ใช้มีดคมๆ ปาดตาให้บางๆ ให้เนื้อไม้ติดไปกับตาน้อยที่สุดและเอาเนื้อไม้ที่ติดมาด้วยทิ้งเสียก่อน

การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ มีอะไรบ้าง

ภาพที่  1  ขั้นตอนการติดตา

4.การทาบกิ่ง  (layering  หรือ  layerage) ประกอบด้วย

ต้นตอ  ของการทาบกิ่งมีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นตอแบบติดตา

กิ่งพันธุ์  ควรมีขนาดเท่าๆ กับต้นตอ กิ่งพันธุ์นี้ต้องเป็นพันธุ์ดีให้ผลดกและขนาดสม่ำเสมอ  รสดี

เมื่อเลือกกิ่งพันธุ์และต้นตอได้แล้ว  นำต้นตอและกิ่งพันธุ์มาเทียบกัน  ปาดต้นตอและกิ่งพันธุ์ให้เป็นแผลขนาดพอเหมาะและเท่าๆ กัน นำแผลทั้งสองมาทาบกันให้สนิทพอดี  ใช้เชือกหรือพลาสติกมัดติดกันให้แน่นตลอดแผลที่ปาดเมื่อทาบติดแล้ว  ใช้มีดคมๆ หรือกรรไกรตัดยอดต้นตอทิ้งได้เลย  ถ้าหากชำนาญแล้วอาจตัดยอดต้นตอทิ้งตอนแรกเลยก็ได้  การที่ไม่ตัดเลยก็เพื่อไม่ให้เสียต้นตอในกรณีทาบไม่ติด

5.  การต่อกิ่งหรือเสียบกิ่ง  (grafting) ซึ่งอาจต่อแบบปะ  ต่อแบบปากฉลาม  ต่อแบบเสียบข้างและต่อแบบลิ่ม  ในการต่อกิ่งหรือเสียบกิ่ง ประกอบด้วย

ต้นตอ  ของการต่อกิ่ง มีลักษณะเช่นเดียวกับต้นตอการติดตา

กิ่งต่อ  ควรเลือกกิ่งที่มียอดที่เจริญจวนจะผลิใบอ่อนออกมาใหม่และกิ่งต่อต้องไม่อ่อนหรือแก่เกินไป  กิ่งต่อต้องเป็นพันธุ์ดี เช่นเดียวกับกิ่งพันธุ์ของการทาบกิ่ง  และมีขนาดเล็กกว่าต้นตอเล็กน้อย

                  วิธีการต่อกิ่ง  โดยตัดยอดต้นตอออกใช้มีดผ่าต้นตอให้เป็นร่องลึก  1 -2 นิ้ว กิ่งต่อที่เตรียมไว้นำมาปาดให้เป็นรูปลิ่มเสียบกิ่งต่อเข้าไปในแผลที่ผ่าไว้ให้สนิทกันพอดี เพื่อกันไม่ให้เคลื่อนหรือโยกไปมาได้  เพราะถ้าหากเคลื่อนได้จะทำให้ไม่ติดหรือไม่ประสานกันต่อจากนั้นใช้พลาสติกพันตามรอยแผลและพันให้เลยขึ้นไปเหนือกิ่งต่อเล็กน้อย  ต้องพันให้แน่นและแข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในแผลที่ต่อกิ่ง

การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ มีอะไรบ้าง

รูปที่ 2  แสดงการต่อกิ่ง

6. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  (tissue  culture)  การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นการขยายพันธุ์ที่มีประโยชน์มาก คือ

  1.สามารถขยายพันธุ์พืชได้ในปริมาณมากและรวดเร็วโดยใช้พืชเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย

  2.พืชใหม่ที่ได้มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมไม่กลายพันธุ์

  3.ใช้ได้ดีในพืชเศรษฐกิจหรือพืชปกติที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ยาก

        เทคนิควิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีข้อจำกัด  คือ  ต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญมากเป็นพิเศษ  ต้องใช้เครื่องมือ  สารเคมี  อุปกรณ์ต่างๆ  และวิธีการที่ยุ่งยากละเอียดอ่อนจึงยังไม่แพร่หลายมากนัก 

วิธีการในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

        การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องทำในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อหรือปราศจากจุลินทรีย์ทุกขั้นตอน  อุณหภูมิที่พอเหมาะคือ  23 28 องศาเซลเซียส  และแสงสว่างที่ให้กับเนื้อเยื่อประมาณ  1,000 2,000 ลักซ์  โดยเลี้ยงในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิได้  ขั้นตอนในการเลี้ยงเนื้อเยื่อมีดังนี้

1.นำชิ้นส่วนของพืชมาตัดแบ่งแล้วนำไปฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวของพืชเสียก่อน

2.นำมาเลี้ยงในขวดอาหารตามสูตรที่เหมาะสมโดยอาหารจะประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ  ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อพืช มีสารพวกน้ำตาล  วิตามิน  สารควบคุมการเจริญเติบโตต่างๆ เช่น ออกซิน(auxin) ไซโทไคนิน(cytokinin) เพื่อให้เนื้อเยื่อแบ่งเซลล์และเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่เฉพาะอย่างได้ดี

3.เมื่อเจริญเป็นต้น  ราก  หรือเจริญเป็นแคลลัส (callus) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเซลล์พวกพาเรงคิมาและมีขนาดใหญ่แล้วตัดแบ่งแคลลัสออกเป็นชิ้นเพื่อเพิ่มจำนวนหรือถ้าเจริญเป็นต้นแล้วก็แยกต้นไปเลี้ยงในอาหารใหม่เพื่อเพิ่มจำนวนเรื่อยๆ

4.เมื่อเป็นต้นแล้วก็ชักนำให้งอกราก  เมื่อเจริญเป็นต้นที่แข็งแรงดีแล้วก็แยกออกจากขวดเลี้ยงลงปลูกในดินต่อไป

เมล็ดเทียม  (artificial  seed) คือเมล็ดที่พัฒนามาจากหลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  การผลิตเมล็ดเทียมทำได้โดยการนำเนื้อเยื่อของพืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาทำเป็นเอ็มบริโอเทียม เรียกว่า

โซมาติกเอ็มบริโอ (somatic  embryo) แทนไซโกติกเอ็มบริโอ (zygotic  embryo)  ซึ่งเกิดจากการปฏิสนธิ เอ็มบริโอเทียมหรือโซมาติกเอ็มบริโอจะนำมาห่อหุ้มด้วยสารอาหารเพื่อทำหน้าที่แทน

เอนโดสเปิร์ม  ด้านนอกสุดห่อหุ้มด้วยสารที่แข็งแรงซึ่งทำหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มเมล็ด  ช่วยคุ้มครองส่วนประกอบต่างๆ  ที่อยู่ข้างใน วิธีนี้ใช้ขยายพันธุ์พืชบางชนิดได้ เช่น  ข้าว  หน่อไม้ฝรั่ง ยาสูบ แครอท

การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ มีอะไรบ้าง

ภาพที่ 3      ขั้นตอนการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

พืชแบบไม่อาศัยเพศ มีอะไรบ้าง

1. ราก ได้แก่ มันเทศ มันสำปะหลัง กระชาย หัวผักกาด 2. ลำต้นใต้ดิน ได้แก่ ขิง ข่า พุทธรักษา เผือก แห้วจีน มันฝรั่ง 3. ลำต้นเหนือดินที่ทอดขนานกับผิวดิน เมื่อแตะดินหรือน้ำ ก็งอกรากและต้นใหม่ได้ เช่น สตรอวเบอร์รี หญ้า บัว บัวบก ผักตบชวา ผักกระเฉด ผักบุ้ง 4. ใบ เช่น ต้นตายใบเป็น โคมญี่ปุ่น

วิธีการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศมีอะไรบ้าง

การขยายพันธุแบบไมอาศัยเพศ คือวิธีการขยายพันธุจากเนื้อเยื่อชิ้นสวนตาง ๆ ของตนพืช เชน ลําตน ตา ใบ ราก เพื่อใหไดตนพืชที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิมทุกประการดวย วิธีการตอนกิ่ง การปกชํา การติดตา การตอกิ่ง และการทาบกิ่ง การแบงสวนและการแยกสวน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

การขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศมีวิธีการใดบ้าง

การขยายพันธุ์พืช แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ ได้แก่ การขยายพันธุ์โดย การใช้เมล็ด และการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ได้แก่ การขยายพันธุ์โดยการใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช เช่น การปักช า การตอนกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง รวมถึง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ข้อใดเป็นการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ

การขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศเป็นวิธีการเพิ่มจำนวน พืชที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่โดยใช้ส่วนของ ต้นที่เกิดมาจากการแบ่งเซลล์แบบไมโตซีส (mitosis) จึงคง ลักษณะเดิมไว้ได้ การแบ่งเซลล์แบบไมโตซีสจะเกิดขึ้น ตามจุดเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอดปลายรากและอยู่ระหว่าง เปลือกไม้กับเนื้อไม้สำหรับสร้างท่อน้ำท่ออาหาร (vascular cambium) ...