ผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารคืออะไร

   ���������à (food web)� �����ǧ������÷��Ѻ��͹�    �����Ҩ�Դ�ҡ��������ѹ��ͧ�������ǧ������à
   ����㹡��������ժ��Ե� (community)� ���Ъ�Դ    ����ǧ��������Դ���������  ������ǧ���Ҩ����Ǿѹ�ѹ�
   ���ͧ�ҡ��áԹ����âͧ���������ժ��Ե�դ�����Ѻ�Ѻ��͹�    ��������ѹ�������ҧ��ǧ������õ�ҧ�㹡��������ժ��Ե

ผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารคืออะไร

������ҧ�ͧ� Food� Web ����Դ�ҡ�������ѹ��
�Ѻ�ͧ���  Food Chain� (Rickefs,1983� ��ҧ�ҡ� ������Է��,�ѳ����� 2541)

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีวิต บางชนิดมีบทบาทในการสร้างอาหาร บางชนิดกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร และบางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย!!

ผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารคืออะไร

1) ผู้ผลิต (producer) => สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด

2) ผู้บริโภค (consumer) => สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกิน จะสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
2.1 สิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง
2.2 สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต
2.3 สิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์ (omnivore) เช่น ไก่ มนุษย์
2.4 สัตว์กินซาก (scavenger) เช่น แร้ง

3) ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (decomposer) => ดำรงชีวิตโดยผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอาหารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลง แล้วดูดซึมสารอาหารไปใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป เช่น เห็ดรา แบคทีเรีย


รู้หรือไม่? ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารเป็นวัฏจักรได้ เช่น วัฏจักรคาร์บอน

เริ่มจากพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช

เมื่อสิ่งมีชีวิตอื่นมากินพืช สารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอนนี้จะถูกถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภค หลังจากสิ่งมีชีวิตตายลง บางส่วนจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายจะทับถมกันเป็นเวลานานภายใต้สภาวะที่เหมาะสมและเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม

การหายใจของสิ่งมีชีวิตและการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไชด์กลับคืนสู่บรรยากาศ ซึ่งพืชจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเกิดการหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นวัฏจักร นอกจากวัฏจักรคาร์บอนแล้ว ยังมีวัฏจักรสารที่สำคัญอื่น ๆ อีก เช่น วัฏจักรน้ำ วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรฟอสฟอรัส


เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องระบบนิเวศ
1) สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ Project 14
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ https://www.youtube.com/watch?v=6oMFy18U6Gg
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ https://www.youtube.com/watch?v=vgDwaxck7tc
2) รายการเรียนสอนออนไลน์
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ https://www.facebook.com/watch/?v=121234103188733
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ https://www.facebook.com/watch/?v=3631700100281645
– การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/3763855883650772
– รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/3779773525392341

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

บทบาทของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ

หนูน้อยคนไหนกำลังทำความเข้าใจเรื่อง “ห่วงโซ่อาหาร (Food chain)” อยู่บ้าง ? ห่วงโซ่อาหารเป็นกระบวนการถ่ายพลังงานในธรรมชาติ จากผู้ผลิตที่สามารถผลิตพลังงานได้เอง ส่งต่อไปสู่สิ่งมีชีวิตผ่านการถูกกิน หากห่วงโซ่อาหารมีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้บริโภคพลังงานสามารถเลือกกินได้หลากหลายจะกลายเป็นสายใยอาหารแทน และเรื่องอื่น ๆ ที่คุณหนูวัยเรียนต้องรู้

 

ห่วงโซ่อาหาร คืออะไร ?

ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) คือการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศธรรมชาติ โดยเริ่มจากผู้ผลิต และถูกกินส่งต่อไปสู่ผู้บริโภคในแต่ละลำดับ เช่น ข้าว คือ ผู้ผลิต ต่อมาตั๊กแตนมากินข้าวทำให้ได้รับพลังงานจากข้าว และนกมากินตั๊กแตนต่อทำให้ได้รับพลังงานต่อมาอีกที เป็นต้น เหตุการณ์การถ่ายโอนพลังงานแบบนี้เรียกว่า “ห่วงโซ่อาหาร” ซึ่งจะมีความซับซ้อนไม่มากเท่าไหร่

 

สายใยอาหาร ต่างจากห่วงโซ่อาหารอย่างไร

ถ้าหากผู้บริโภคสามารถเลือกกินได้หลากหลายสาย มีความซับซ้อนที่มากขึ้น หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่าง 2 ห่วงโซ่อาหารขึ้นไป การถ่ายทอดพลังงานที่มีอิสระมากขึ้นแบบนี้เรียกว่า “สายใยอาหาร (Food web)” ลักษณะของสายใยอาหารจะมีเส้นโยงคล้ายใยแมงมุม เช่น กระต่าย และหนูกินหญ้า แต่กระต่ายก็สามารถเลือกว่าจะกินหญ้า หรือหนูเพื่อรับพลังงานได้ ในขณะเดียวกันแมวป่าก็จะสามารถเลือกได้ว่าจะกินหนู หรือกระต่าย และสายใยอาหารอาจจบลงด้วยการที่สิงโต เลือกว่าจะกินแมวป่า หรือจะกินกระต่ายก็ได้ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : รุ้งกินน้ำ เกิดจากอะไร ? การเกิดรุ้งกินน้ำ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เด็ก ๆ ควรรู้ !

 

วิดีโอจาก : Lipda Pola

 

3 บทบาทพื้นฐานในห่วงโซ่อาหาร

  1. ผู้ผลิต (Producer) : เป็นต้นทางของพลังงานทั้งหมดของห่วงโซ่อาหาร โดยปกติแล้วมักจะมาจากพืชผลต่าง ๆ ก่อนเสมอ เนื่องจากพืชสามารถสร้างพลังงานของตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่น ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นที่มาของการเป็นผู้ผลิตนั่นเอง
  2. ผู้บริโภค (Consumer) : เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างงพลังงานให้กับตนเองได้ จึงต้องกินสิ่งอื่นเพื่อรับพลังงาน ซึ่งถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่กินพืช (Herbivore) เช่น หนู,กวาง, และตั๊กแตน ต่อมา คือ สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์ (Carnivore) เช่น เสือ, หมาป่า และสิงโต ต่อมาสิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) เช่น มนุษย์ และสัตว์กินซาก (Scavenger) เช่น แร้ง เป็นต้น
  3. ผู้ย่อยสลาย (Decomposer) : เป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายซากพืช และซากสัตว์ได้ เช่น แบคทีเรีย หรือเห็ดราต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ย่อยสลายจะได้พลังงานบางส่วนเท่านั้น พลังงานที่เหลือจะกลายเป็น สิ่งสำคัญที่ผู้ผลิตจะนำไปใช้พลังงานต่อ

 

ขั้นตอนของการเกิดห่วงโซ่อาหาร

โดยปกติแล้วการอธิบายจะเริ่มจากผู้ผลิตในฝั่งซ้ายก่อนเสมอ เริ่มจากพืชใด ๆ ที่สามารถสังเคราะห์แสงเองได้ก่อน จากนั้นจะถูกสัตว์ประเภทกินพืชกิน ซึ่งถือเป็นผู้บริโภคอันดับ 1 จากนั้นสัตว์กินพืชเหล่านี้มักจะถูกล่า โดยผู้ล่า หรือสัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน รวมไปถึงสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ด้วยกลุ่มนี้เรียกว่าผู้บริโภคอันดับ 2

และเมื่อผู้บริโภคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอันดับ 1 หรือ 2 ตายลง หรือถูกกินจนเหลือเพียงซาก สุดท้ายแล้วแบคทีเรีย หรือผู้ย่อยสลายจะทำการหน้าที่ในการย่อยซากเหล่านั้น เพื่อใช้พลังงานให้ตนเองอยู่รอด ส่วนพลังงานที่เหลือจะกลายเป็นแร่ธาตุในดิน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตของพืช หรือผู้ผลิตต่อไปเช่นกัน

 

ตัวอย่างห่วงโซ่อาหาร

จากภาพจะเริ่มจากข้าวโพด (ผู้ผลิต) > ถูกหนูกิน (สัตว์กินพืช / ผู้บริโภคอันดับ 1) > หนูถูกงูกิน (สัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน / ผู้บริโภคอันดับ 2) > งูถูกนกฮูกกิน (สัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน / ผู้บริโภคอันดับ 3) ซึ่งทั้งหนู งู และนกฮูกอาจตายด้วยสาเหตุอื่น ที่ไม่ใช่ถูกกิน และกลายเป็นพลังงานให้ผู้ย่อยสลาย และผู้บริโภควนเวียนต่อไป

 

ผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารคืออะไร

 

ตัวอย่างสายใยอาหาร

จากภาพจะมีห่วงโซ่อาหารเกี่ยวเนื่องกันหลายสาย ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกกินมากกว่า 1 เดียว เช่น กระต่ายจะกินแคร์รอต หรือหญ้าก็ได้ ในขณะที่นกฮูกจะกินหนู หรือตั๊กแตนก็ได้เช่นเดียวกัน หากอิงจากภาพจะต้องแยกย่อยออกเป็นห่วงโซ่อาหารได้อย่างต่ำ 2 ห่วงโซ่ จึงเป็นสายใยอาหารตามภาพ และเช่นเดียวกัน เมื่อมีสิ่งมีชีวิตใด ๆ ตายลงจะเป็นพลังงานให้กับผู้ย่อยสลาย และผู้ผลิตต่อไป

 

ผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารคืออะไร

 

4 แบบของห่วงโซ่อาหาร

แม้ว่าโดยปกติแล้วเราจะเข้าใจว่าผู้ผลิตจะเป็นพืชผักต่าง ๆ แต่หากเจาะลึกรูปแบบของห่วงโซ่ อาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากพืชต่าง ๆ เพราะยังสามารถเริ่มจากผู้ถูกอาศัย ส่งต่อไปยังปรสิต หรือเริ่มจากซากพืช ซากสัตว์ได้เช่นกัน แบ่งได้ดังนี้

 

  1. แบบผู้ล่า (Predator chain หรือ Grazing food chain) : เริ่มจากพืช และถูกบริโภคต่อจากนั้นจะถูกล่าโดยผู้บริโภคลำดับต่อ ๆ ไป ผ่าน “ผู้ล่า (Predator)” ส่วนผู้ที่ถูกล่าจะเรียกว่า “เหยื่อ (Prey)”
  2. แบบปรสิต (Parasitic chain) : เริ่มจากการที่ผู้ถูกอาศัย ถูกอาศัยหาพลังงานจากปรสิต และปรสิตจะถูกกินกันเองจากปรสิตที่สูงกว่า เช่น ไก่ (ผู้ถูกอาศัย) > มีไรไก่เกาะ (ปรสิต) > โปรโตซัว (ปรสิตที่สูงกว่าไร) > แบคทีเรีย (ปรสิตที่สูงกว่าโปรโตซัว)
  3. ห่วงโซ่แบบเศษอินทรีย์ (Detritus chain) : เริ่มจากซากของสัตว์หรือพืช ถูกกินไปโดยผู้บริโภคซากพืช ซากสัตว์ และผู้บริโภคนี้เองถูกกินต่อจากผู้ล่าอื่น ๆ ต่อไป
  4. ห่วงโซ่อาหารแบบผสม (Mixed chain) : เป็นการถ่ายทอดพลังงานที่เกิดขึ้นหลายรูปแบบในห่วงโซ่ เช่น มีทั้งนักล่า, มีผู้ถูกล่า และมีปรสิตด้วย เป็นต้น

 

พลังงานถูกส่งต่อไปมากแค่ไหน ?

หลายคนอาจมีความสงสัยว่าการกินกันต่อเป็นทอด ๆ ในห่วงโซ่อาหาร จะทำให้ผู้บริโภคได้พลังงานมากน้อยแค่ไหน ความสงสัยนี้จะตอบด้วยหลักการของ “พีระมิดพลังงาน (Pyramid of Energy)” ซึ่งจะมีฐานที่กว้างที่สุดแสดงถึงจุดกำเนิดของแหล่งพลังงานจากผู้ผลิต จากนั้นพลังงานของผู้ผลิตที่ถูกบริโภคโดยผู้บริโภคอันดับที่ 1จะลดลงไป และเหลือในร่างกายเพียง 10 % หากเทียบกับผู้ผลิต เพราะพลังงานส่วนมาก 90 % ถูกใช้งานไปแล้ว

 

ผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารคืออะไร

 

กฎนี้จะใช้กับผู้บริโภคอันดับต่อไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากพลังงานเริ่มจาก 1,000 หน่วย จะเหลือ 100 หน่วย และเหลือ 10 หน่วย ลงไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ จนเหลือเพียง 0.1 หน่วยตามภาพ

 

เรื่องห่วงโซ่อาหารเป็นการอธิบายถึงการส่งพลังงานในสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้จากการกิน หรือการล่า ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายห่วงโซ่ และเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการเข้าใจพลังงานในธรรมชาติ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ เรียนเก่ง เรียนดีแน่นอน

เทคนิคไม่ลับท่องจำ “ตารางธาตุ” สำหรับเด็กมัธยมว้าวุ่นเคมี

รอบรู้ทุกเรื่องของยอดคนสมองอัจฉริยะ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์”

ที่มาข้อมูล : 1 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

ใครคือผู้ผลิตในสายใยอาหารนี้

ผู้ผลิต คือ สิ่งมีชีวิตที่มีการสังเคราะห์อาหารขึ้นมาเองได้เพราะมีคลอโรฟิลล์ ได้แก่ พืชต่าง ๆ เช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ต้นหญ้า ต้นถั่ว ต้นส้ม พืชเหล่านี้สามารถสร้างอาหารได้เองโดยอาศัยแสงอาทิตย์ ซึ่งจะผลิตน้ำตาลออกมากักเก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช สำหรับเขตป่าฝนจะมีระบบนิเวศที่ซับซ้อนมากเนื่องจากมีผู้ผลิตหลากหลายชนิด ...

ผู้บริโภคในห่วงโซ่อาหารเป็นผู้บริโภคประเภทใด

ผู้บริโภค (Consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ (Heterotroph) เช่น ผู้บริโภคพืช (Herbivore) ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) ผู้บริโภคทั้งพืชทั้งสัตว์ (Omnivore) และผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ (Detritivore) ผู้บริโภคลำดับที่ 1 (Primary Consumers) เช่น ตั๊กแตน ผึ้ง และหนอน

ข้อใดคือผู้บริโภค

2) ผู้บริโภค (consumer) => สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกิน จะสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 2.1 สิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง 2.2 สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต

บทบาทของพืชในห่วงโซ่อาหารคืออะไร

พืช คือผู้สร้าง (Producer) หรือ ผู้ผลิตอาหาร ซึ่งเป็นจุดแรกของห่วงโซ่อาหาร ผู้ที่กินผู้สร้าง เรียกว่า ผู้บริโภค (cนnsumer) ซึ่งมีหลายระดับ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตหนึ่งอาจเป็นผู้บริโภคได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สิ่งมีชีวิตนั้นกิน เช่น ถ้าคนกินถั่ว คนเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง แต่ถ้าวัวกินถั่วและ้วคนกินเนื้อวัว วัว ...