จดหมายเหตุชาวต่างชาติ คืออะไร

และเป็นจุดสำคัญสำหรับการค้าขายกับเมืองจีนของฮอลันดาที่มีสำนักงานใหญ่ของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาอยู่ที่เมืองปัตตาเวียบนเกาะชวา ฮอลันดาได้เปิดที่ทำการและคลังสินค้าที่อยุธยาในตอนต้นรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ใน .. 2150 (.. 1607) เมื่อผู้แทนบริษัทฮอลันดาหมดวาระและเดินทางกลับฮอลแลนด์ สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงขอให้ นายคอร์เนลิส สเป๊กซ์ นำคณะข้าราชการไทยจำนวน 20 นาย ไปดูงานที่ฮอลแลนด์ด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ข้าราชการไทยได้เดินทางไปดูงานในยุโรป 

คณะข้าราชการไทยได้รับการต้อนรับทั้งจากรัฐบาลดัตช์ที่กรุงเฮก และจากบริษัทดัตช์อินเดียตะวันออกที่กรุงอัมสเตอร์ดัมอย่างยิ่งใหญ่ ในรายงานกราบบังคมทูลสมเด็จพระเอกาทศรถ คณะข้าราชการไทยให้ความสนใจต่อการต่อเรือที่ได้ไปเห็นมา ซึ่งมีการพัฒนาก้าวหน้ามาก สมเด็จพระเอกาทศรถทรงขอให้ฮอลันดาจัดส่งช่างต่อเรือและอุปกรณ์ต่างๆ มาถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทยที่กรุงศรีอยุธยา ในทางกลับกัน บริษัทของฮอลันดาได้รับอนุมัติให้ค้าข้าวและหนังกวาง ซึ่งเป็นการค้าที่ทำกำไรได้อย่างมาก ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดา ทั้งในทางการเมืองและในทางการค้า ดำเนินไปด้วยดีในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ลงมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยฮอลันดาได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงการเป็นผู้ผูกขาดการค้าหนังกวางและไม้ฝางที่ส่งไปขายญี่ปุ่น.

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้นเอง ผู้แทนบริษัทดัตช์อินเดียตะวันออกที่ชื่อ ฟาน ฟลีต ที่ไทยรู้จักกันว่าวันวลิตได้เขียนจดหมายเหตุพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาจากที่รู้เห็น 2 เรื่อง ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์อยุธยาในสมัยนั้นที่สำคัญ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งครองราชย์ต่อมา ทรงรู้สึกว่าฮอลันดามีอำนาจและพยายามกดดันไทยเพื่อประโยชน์ทางการค้า จนกระทั่งหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะมีความขัดแย้งกัน ขณะนั้นทางอังกฤษได้เริ่มเข้ามาติดต่อ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงหวังที่จะให้อังกฤษเข้ามาคานอิทธิพลของฮอลันดา แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีชายหนุ่มเชื้อชาติกรีกอิตาเลียน ผู้ซึ่งผ่านการศึกษาและประสบการณ์ในอังกฤษ เข้ามารับราชการเป็นที่โปรดปราน จนกระทั่งมีความเจริญรุ่งเรือง ได้รับตำแหน่งสูงถึงระดับอรรคมหาเสนาบดีเมื่ออายุไม่ถึง 40 ปี 

คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ เป็นคนเฉลียวฉลาดและมีความสามารถ มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งอังกฤษและฮอลันดามีความขัดแย้งกับนายฟอลคอนในเรื่องต่างๆ ฟอลคอนสามารถกราบทูลโน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเห็นชอบที่จะดึงเอาฝรั่งเศสซึ่งค้าขายแข่งขันกับฮอลันดาและอังกฤษมาเป็นพันธมิตร

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเริ่มขึ้นจากการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ซึ่งฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้สนับสนุนให้มีการส่งคณะผู้สอนศาสนาเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชีย ซึ่งชุดแรกได้มาถึงกรุงศรีอยุธยาใน .. 2205 (.. 1662) ต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช “สังฆราชเอลิโอโปลิสและสังฆราชเดอ บริธ ได้เฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยกราบทูลให้ทรงทราบถึงความรุ่งเรืองของฝรั่งเศสและพระบารมีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่แผ่คลุมไปทั่วยุโรป ในเวลานั้นบรรดาผู้นับถือศาสนาคริสเตียนนิกายคาทอลิกจากส่วนต่างๆ ในแหลมสุวรรณภูมิได้มารวมตัวกันในกรุงศรีอยุธยา เมื่อทราบว่ามีสังฆราชมาจากยุโรป ซึ่งเป็นการวางรากฐานของศาสนาดังกล่าวในเมืองไทย

ภายหลังที่ดำเนินการเผยแผ่ศาสนาคริสเตียนนิกายคาทอลิกเป็นเวลาประมาณ 10 ปี สังฆราชเอลิโอโปลิสสามารถนำศุภสาส์นของสันตะปาปาและพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ขึ้นถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อีกทั้งได้แนะนำ นายแดสลางดส์ บูโร ผู้แทนบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส ผู้ซึ่งจะมาเปิดที่ทำการของบริษัทในกรุงศรีอยุธยา 

จดหมายเหตุชาวต่างชาติ คืออะไร
คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือออกญาวิชาเยนทร์ ขุนนางชาวกรีกที่มีอำนาจมากที่สุดคนหนึ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สาระสำคัญในศุภสาส์นและพระราชสาส์นดังกล่าวตามที่สังฆราชได้แปลเป็นภาษาไทยกราบทูลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากจะเป็นมธุรสเกี่ยวกับพระราชไมตรีระหว่างกันแล้ว ก็ยังเป็นการขอให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงพิจารณาเปลี่ยนความเชื่อถือมานับถือศาสนาคริสเตียน การต้อนรับอย่างสมเกียรติของฝ่ายไทยทำให้สังฆราชฝรั่งเศสมีความเข้าใจว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจะทรงเข้ารีตและได้สื่อความเข้าใจดังกล่าวไปยังปารีสและวาติกัน

การที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้มีพระราชสาส์นแสดงไมตรีจิตมาดังกล่าว กรุงศรีอยุธยาเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะกระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสเพื่อสร้างพันธมิตรตามนโยบายป้องกันการคุกคามของฮอลันดาที่หวาดเกรงกันอยู่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ตกลงพระทัยส่งคณะทูตไทยนำพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประกอบด้วยขุนนาง 2-3 นาย และผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการ, เดินทางโดยเรือของฝรั่งเศสชื่อ โซแลย โอเรียงต์ ซึ่งถูกพายุอับปางใกล้มาดากัสการ์ ก่อนที่จะลงไปอ้อมแหลมกู๊ดโฮปเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อมุ่งสู่ยุโรป

เวลาผ่านไปอีกหลายปี ใน .. 2225 (.. 1682) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ทรงมอบให้สังฆราชเอลิโอโปลิสซึ่งจะเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาภายหลังที่ได้เดินทางมาถวายรายงานเกี่ยวกับเมืองไทย นำพระราชสาส์นมาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แสดงความเสียใจต่อการสูญเสียคณะทูตไทยในท้องทะเล ทางกรุงศรีอยุธยาได้จัดการรับพระราชสาส์นดังกล่าวอย่างมโหฬาร เพื่อแสดงความชื่นชมในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในโอกาสนั้น คอนสแตนติน ฟอลคอน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางพระทัยในตำแหน่งสูงแล้ว ได้เพ็ดทูลพระมหากษัตริย์ไทยให้ส่งคณะทูตคณะใหม่ไปกรุงปารีส 

ทูตไทยคณะนี้ประกอบด้วยขุนนางระดับออกขุน” 2 คน และผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง โดยมีบาทหลวง เลอ วาเช่ต์ ทำหน้าที่เป็นผู้นำ คณะทูตไทยคณะที่ 2 ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาในเดือนมกราคม .. 2226 (.. 1683) และถึงกรุงปารีสในเดือนพฤศจิกายน .. 2227 (.. 1684) ได้เข้าเยี่ยมคำนับอรรคมหาเสนาบดี คอลแบร์ท และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระราชวังแวร์ซายส์ 

ในพระราชสาส์นที่คณะทูตไทยถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ข้อความมีว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่ทรงรังเกียจศาสนาคริสเตียนนิกายคาทอลิก และทรงพร้อมที่จะให้ความอารักขาบรรดาคริสต์ศาสนิกชนให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจอย่างอิสระเสรี โดยปราศจากการกีดกันใดๆ ขณะที่บาทหลวง เลอ วาเช่ต์ ได้แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ความว่าพระมหากษัตริย์ไทยทรงมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสเตียน

บาทหลวงฝรั่งเศสได้พยายามเพ็ดทูลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเห็นประโยชน์ที่ฝรั่งเศสจะได้รับจากการที่พระมหากษัตริย์ไทยเปลี่ยนไปเป็นคริสเตียนหลายประการ อาทิ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะได้บุญจากการเผยแผ่ศาสนา ฝรั่งเศสจะได้ไทยเป็นพันธมิตรในการต่อสู้กับฮอลันดา และบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสร่วมทุนและสนับสนุน จะได้รับโอกาสและประโยชน์ในการค้าเพิ่มขึ้น ด้วยการเห็นแก่ประโยชน์ต่างๆ เหล่านี้ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จึงทรงจัดส่งคณะทูตเป็นผู้แทนพระองค์ไปกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นทูตฝรั่งเศสคณะแรกที่ส่งไปเมืองไทย 

ราชทูตคือ เชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ นายพลเรือที่เป็นผู้ดีมีตระกูล สำหรับผู้ร่วมคณะก็มี อาทิ เชอวาลิเอร์ เดอ ฟอร์แบง บาทหลวงทิโมลิออง เดอ ชัวซีย์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยทูต และบาทหลวงกี ตาชารด์ คณะทูตฝรั่งเศสออกเดินทางเมื่อต้นเดือนมีนาคม .. 2228 (.. 1685) โดยเรือรบชื่ออัวโซและลา มาลีญใช้เวลาเดินทาง 6 เดือน 20 วัน คณะทูตไทยที่พำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลา 3-4 เดือน ได้เดินทางกลับเมืองไทยกับคณะทูตฝรั่งเศส

จดหมายเหตุชาวต่างชาติ คืออะไร
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชบิดาในกรมหลวงโยธาเทพ เสด็จออกท้องพระโรงพระราชวังที่ลพบุรี รับพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งเชอวาเลีย เดอโชมองต์กับคณะทูตฝรั่งเศสทูลเกล้าถวายเมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ.2228 (Wikimedia Commons)

คณะราชทูตฝรั่งเศสได้เดินทางถึงเมืองไทยปลายเดือนกันยายน .. 2228 (.. 1685) และได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่จากฝ่ายไทยซึ่งมี คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือออกญาวิชเยนทร์ อรรคมหาเสนาบดี เป็นผู้รับผิดชอบในการรับราชทูตและพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ซึ่งฝ่ายไทยยอมรับว่าเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก และผู้ซึ่งทอดมิตรไมตรีมายังพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา 

ในวันที่เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์น เดอ โชมองต์ ซึ่งนั่งเก้าอี้ไม่ห่างจากที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งอยู่บนที่สูง ได้เดินตรงไปยังหน้าพระราชบัลลังก์ แล้วถวายพระราชสาส์นต่อพระมหากษัตริย์ไทย โดยมิได้ชูขึ้น ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชต้องทรงน้อมพระองค์ลงมารับเอง แล้วทรงยกพระราชสาส์นขึ้นจบเหนือเศียรเกล้า ในระหว่างที่พำนักอยู่ในเมืองไทยเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน คณะทูต เดอ โชมองต์ ได้รับเกียรติยศและความสะดวกสบายอย่างเต็มที่

เชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ ได้มีโอกาสทำบันทึกทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้ทรงทราบถึงความมุ่งหมายสำคัญของการเป็นราชทูตมาเมืองไทยว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงพระราชดำริว่าการที่จะให้ไมตรีของสองประเทศมีความแนบแน่นชั่วกาลนานนั้น พระมหากษัตริย์ไทยจะต้องถือศาสนาร่วมกับพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ดังนั้นจึงวิงวอนขอให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนับถือศาสนาคริสเตียน ในอีกประการหนึ่งก็คือ การขอให้ไทยให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสด้วย 

อย่างไรก็ตาม เดอ โชมองต์ ก็ค่อนข้างที่จะมั่นใจว่า การขอร้องสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้ทรงเข้ารีตนั้นคงไม่เป็นผลสำเร็จแน่นอน และแม้ คอนสแตนติน ฟอลคอน ก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน

ก่อนที่จะเดินทางกลับฝรั่งเศส เดอ โชมองต์ ได้ลงนามในสนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสกับไทย 2 ฉบับ โดยเจ้าพระยาวิชเยนทร์เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย. สนธิสัญญาฉบับแรกเป็นการให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนกิจการค้าของบริษัทฝรั่งเศส ได้แก่ การอนุญาตให้บริษัทฝรั่งเศสตั้งที่ทำการและคลังสินค้าในเมืองไทย อนุญาตให้บริษัทฝรั่งเศสทำการค้าได้โดยเสรี และไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร อนุญาตให้บริษัทฝรั่งเศสซื้อขายสินค้าได้ทุกชนิดที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่จะต้องซื้อจากคลังสินค้าของหลวง อนุญาตให้ซื้อขายสรรพสินค้าที่มาจากต่างประเทศ โดยจะต้องให้มีการเลือกสินค้าที่ต้องใช้ในราชการเสียก่อน อนุญาตให้บริษัทบรรทุกสินค้าลงเรือต่างประเทศได้ทุกลำ โดยไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร ไทยยกเมืองสงขลาให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อทำอะไรได้ตามต้องการ ฯลฯ

สำหรับสนธิสัญญาอีกฉบับหนึ่งนั้นเกี่ยวกับเสรีภาพของการเผยแผ่และสั่งสอนคริสต์ศาสนา ซึ่งมีสาระสำคัญ อาทิ การอนุญาตให้บาทหลวงเทศนาสั่งสอนพระคริสตธรรมแก่ราษฎรทั้งปวง โดยเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะขัดขวางมิได้ แต่การเทศนาจะต้องไม่แทรกซึมแนวความคิดใหม่ในจิตใจของราษฎร หรือเป็นปรปักษ์ต่อการปกครองแผ่นดินตลอดจนกฎหมายของบ้านเมือง อนุญาตให้บาทหลวงรับราษฎรเอาไว้เพื่ออบรมสั่งสอนศิลปวิทยาการในสำนักของตน อนุญาตให้ราษฎรที่เข้ารีตเป็นคริสเตียนได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำงานหลวง หรืองานของเจ้าขุนมูลนายในวันอาทิตย์และวันสำคัญทางศาสนา และหากชราภาพ ก็ให้ยกเว้นไม่ต้องทำงานหลวง ให้แต่งตั้งขุนนางผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมทำหน้าที่เป็นตุลาการรับฟังคำร้องและพิจารณาคดีที่เป็นความอยุติธรรม หรือเบียดเบียนข่มเหงราษฎรที่เป็นคริสต์ศาสนิกชน ฯลฯ

นอกจากนั้นก็ยังมีความตกลงกันในเรื่องอื่นๆ เช่น การขอให้ เชอวาลิเอร์ เดอ ฟอร์แบง อยู่รับราชการในเมืองไทย และการให้ฝรั่งเศสจัดส่งกองทหารมารักษาป้อมที่บางกอก เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดให้จัดทูตไทยอีกคณะหนึ่งอัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยมีออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูต คณะทูตไทยดังกล่าวได้ร่วมเดินทางไปฝรั่งเศสกับ เดอ โชมองต์ ทูตไทยคณะนี้ได้พำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลานานถึง 6 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม .. 2229 (.. 1686) ถึงเดือนมีนาคม .. 2230 (.. 1687) ซึ่งได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เพื่อถวายพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน .. 2229 (.. 1686) ออกพระวิสุทธสุนทรและคณะได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา พร้อมกับทูตฝรั่งเศสคณะที่ 2 ซึ่งมี นาย เดอ ลาลูแบร์ เป็นราชทูต

จดหมายเหตุชาวต่างชาติ คืออะไร
แบบร่างแผนผังเมืองลพบุรี สันนิษฐานว่าเป็นผลงานของ เดอ ลา มาร์ วิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาพร้อมทูต เดอ โชมองต์ และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงใช้งาน

คณะทูตลาลูแบร์ของฝรั่งเศสนั้น นอกจากจะมี นายลาลูแบร์เป็นราชทูตแล้ว ก็มีบุคคลร่วมคณะ อาทิ นายเซเบเรต์ เป็นอุปทูต, นายพล เดส์ฟาร์จ ผู้บังคับบัญชากองทหารฝรั่งเศสจำนวน 600 กว่านาย พร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ และบาทหลวงตาชารด์ ผู้ซึ่งเคยมาเมืองไทยกับ เชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ และเดินทางกลับฝรั่งเศส แล้วก็กลับมาเมืองไทยเป็นครั้งที่ 2 กับราชทูตลาลูแบร์ 

ทูตฝรั่งเศสคณะที่ 2 นี้เดินทางมาถึงเมืองไทยปลายเดือนกันยายน .. 2230 (.. 1687) พำนักอยู่ในเมืองไทยเป็นเวลา 3 เดือนเศษ และเดินทางออกจากเมืองไทยเมื่อต้น .. 2231 (.. 1688)

ในขณะที่คณะทูต เดอ โชมองต์ เน้นภารกิจการหว่านล้อมให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเข้าถือศาสนาคริสเตียน และดูแลให้มีการเผยแผ่สั่งสอนพระคริสต์ธรรมโดยเสรี ตลอดจนการเปิดโอกาสให้กิจการค้าของฝรั่งเศสได้รับความอนุเคราะห์จากราชการไทย คณะทูต เดอ ลา ลูแบร์ มีภารกิจหลักในการให้ฝรั่งเศสได้เข้าไปมีส่วนสำคัญในการบริหารประเทศในด้านต่างๆ ในการนี้ ฝรั่งเศสได้ คอนสแตนติน ฟอลคอน เป็นพันธมิตรสำคัญ เพราะฟอลคอนต้องการความสนับสนุนจากฝรั่งเศสให้มีความมั่นคงในตำแหน่ง และได้ปวารณาตัวที่จะเป็นข้ารองพระบาทพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

ฟอลคอนไม่มีความมั่นใจว่าจะอยู่ในเมืองไทยต่อไปได้ หากไม่มีองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และดังนั้นจึงหวังที่จะไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในฐานะคนสัญชาติฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ฟอลคอนจะไม่ยอมรับใช้ผลประโยชน์ของฝรั่งเศส หากมิได้รับผลประโยชน์ส่วนตนอย่างคุ้มค่า พฤติกรรมที่เฉลียวฉลาดของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ได้ทำให้คณะทูตฝรั่งเศสมีความแตกแยกกัน และปราศจากเอกภาพ

ในระหว่างที่ราชทูต เดอ ลาลูแบร์ อยู่ในเมืองไทย 3 เดือน นอกจากจะได้เฝ้าถวายพระราชสาส์นต่อพระมหากษัตริย์ไทย โดยได้รับเกียรติยศไม่ด้อยกว่าราชทูต เดอ โชมองต์ แล้ว ฝรั่งเศสยังได้เห็นป้อมที่บางกอกทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกอยู่ในความควบคุมของกองทหารฝรั่งเศสภายใต้ นายพล เดส์ฟาร์จ 

ป้อมที่บางกอกนี้ได้รับการออกแบบก่อสร้างโดยวิศวกรฝรั่งเศส เดอ ลามาร์ วิศวกรผู้นี้ได้จัดทำแผนผังสถานที่สำคัญๆ ในเมืองไทยเอาไว้ทั้งหมด ที่สำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ก็คือ เดอ ลาลูแบร์ ได้ใช้ความอุตสาหะวิริยะในการประมวลเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองไทยเอาไว้ทุกแง่มุม ทั้งที่ได้เห็นมาเอง และที่ได้รับการบอกเล่าจากผู้อื่น

จดหมายของลาลูแบร์ ให้ภาพการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เกือบจะครบถ้วน ขณะที่บันทึกต่างๆ ของบาทหลวงตาชารด์ก็สะท้อนสภาวะความสับสนและสถานการณ์ใกล้ล่มสลายของการเมืองและการปกครองระดับสูงในช่วงปีสุดท้ายของรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอันรุ่งโรจน์

จดหมายเหตุลาลูแบร์มีความสำคัญอย่างไร

จดหมายเหตุลาลูแบร์มีความสำคัญกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยมาก เพราะนี่คือบันทึกชั้นดีที่ร้อยเรียงเรื่องราวความเป็นไปของผู้คนในสมัยอยุธยาไว้อย่างละเอียด เรียกว่าทุกๆ เรื่องของสังคมอยุธยาในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ถูกจารึกลงในบันทึกเล่มนี้ไว้ทั้งหมด ราวกับว่าหากลาลูแบร์เป็นมนุษย์ที่อยู่ในโลกที่มีโซเชียลแบบปี 2021 เขา ...

จดหมายเหตุลาลูแบร์ กล่าวถึงอะไร

หนังสือจดหมายเหตุลาลูแบร์ (ฝรั่งเศษ : Du Royaume de Siam แปลตามตัวคือ "ว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม") เป็นจดหมายเหตุพงศาวดารที่กล่าวถึงราชขอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2533 โดย ซีมงเดอลา ลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศษ ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณนาถึงกรุง ...

จดหมายเหตุลาลูแบร์ถือเป็นหลักฐานประเภทใด

สิ่งที่สำคัญของลา ลูแบร์ ก็คือ จดหมายเหตุลา ลูแบร์บอกถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หลายสิ่งหลายอย่างของคนในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรอีกด้วย

จดหมายเหตุโหรกล่าวถึงเรื่องอะไร

๑) จดหมายเหตุโหร เป็นจดหมายเหตุที่โหรได้จดบันทึกไว้เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เกิดขึ้น โหรจะจัดทำปฏิทินโหรบอกวันและฤกษ์ยามเป็นรายวันล่วงหน้าไว้ตลอดปี และมีที่ว่างไว้ สำหรับจดบันทึกเหตุการณ์สำคัญไว้ในปฏิทิน เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น โหรจะจดไว้ในปฏิทิน ตรงช่องวันนั้น หากวันใดไม่มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นก็จะปล่อยว่างไว้ ถือ ...