การประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร




1. ความพอเพียงตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

     - ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี  พ.. 2517  เพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงสายกลางของชีวิต เพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฎีของการพัฒนาที่ยั่งยืน

   

    
- จุดเด่น  คือ  แนวทางที่สมดุลโดยธรรมชาติสามารถก้าวทันสมัยสู่ความเป็นสากลได้โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ซึ่งคนไทยจะสามารถเลี้ยงชีพโดยอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง

  

      - ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง  คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงในประเทศและเป็นที่มาของนิยาม  3  ห่วง  2  เงื่อนไข  ซึ่งประกอบด้วย

        1. ความพอประมาณ   คือ  ความพอดี  ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป  โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

        2. ความมีเหตุผล  คือ  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุผลปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

       3. มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง    คือ  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ

วงรี: พอประมาณ 



วงรี: มีภูมิคุ้มกันวงรี:    มีเหตุผล                                              


 



           






                                เงื่อนไขความรู้                                        เงื่อนไขคุณธรรม

                                        รอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง                            ซื่อสัตย์  สุจริต  ขยัน  อดทน  แบ่งเป็น

                                                                            

                                                         ชีวิต  เศรษฐกิจ  สังคม

                                                           สมดุล  มั่นคง  ยั่งยืน








2. การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้

    การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในประเทศ  ถูกบรรจุลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10

(พ.. 2550 – 2554 )  เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล   ยั่งยืน  มีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่ยั่งยืนต่อไป

    - การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในต่างประเทศ    ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (  สพร. )   มีหน้าที่คอยประสานงานรับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่าง ๆจากต่างประเทศมาสู่ภาครัฐแล้วถ่ายทอดต่อไปยังภาคประชาชนและยังส่งผ่านความรู้ที่มีไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ

     - การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน    สามารถนำไปใช้ได้กับสังคมโดยรวมไม่ใช่เฉพาะครอบครัวหรือชุมชนเท่านั้น    ซึ่งก็คือเราสามารถนำวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในระดับบุคคลทั่วไป ก็คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างไม่เดือดร้อน  มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะโดยสามารถเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของการประหยัด


3.  การวางแผนการประกอบอาชีพแบบพอเพียง

     -  กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

             การที่ต้องการให้ทุกคนพยามยามที่จะหาความรู้และสร้าง ตนเองให้มั่นคงนี้ เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า มีความสุข พอมีพอกินเป็นชั้นหนึ่งและขั้นต่อไป ก็คือ ให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง

             พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัวเอง ทำลายผู้อื่น  พยายามลด  พยายามละความชั่วที่ตนเองมีอยู่

             พยามยามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ   พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้นให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น


       - หลักสำคัญของความพอดี  5  ประการ

             1.  ความพอดีด้านจิตใจ  :  ต้องเข้มแข็ง  พึ่งตนเองได้  มีจิตสำนึกที่ดี  เอื้ออาทร  นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

             2. ความพอดีด้านสังคม  :  ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน  รู้จักผนึกกำลัง  และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง

             3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   :  รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาด รอบคอบ  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด

             4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี  :  รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านก่อน

            5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ  :  เพิ่มรายได้  ลดรายจ่าย  ดำรงชีวิตอย่างพอควร  พออยู่ พอมี สมควรตามอัตตภาพและฐานะของตน


          -   ทฤษฎีใหม่      เป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด

            วิธีการแก้ก็คือ  แบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น




วงรี:        30 %
-ขุดสระกักเก็บน้ำไว้เพาะปลูก
วงรี:        30 %
- พื้นที่ปลูกข้าว

 






                                                             วิธีการแบ่งเนื้อที่การเกษตร

วงรี:         10 %
- ถนนหนทาง    คูน้ำ /ที่อยู่อาศัย
วงรี:        30 %
-  พื้นที่ปลูก
      พืชไร่

 





       



ขั้นที่  1  ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น

             สถานะพื้นฐานทางการเกษตร  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต  เมื่อเข้าใจหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามจนได้ผลแล้ว  เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น  พออยู่พอกิน   ไปสู่  ขั้นพออันมีจะกิน


 ขั้นที่ 2  ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง   จะเป็นการรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน

            - ด้านการผลิต       - ด้านการตลาด      - ด้านความเป็นอยู่   -  ด้านสวัสดิการ  - ด้านการศึกษา

            - ด้านสังคมและศาสนา


ขั้นที่ 3  ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า   เกษตรกรจะมีรายได้ ฐานะมั่นคง  อาจพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นติดต่อประสานงานเพื่อจัดหาทุนหรือแหล่งทุน


4.    เครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง

           ในการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น  เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน  คือ  ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อนด้วยวิธีการที่ประหยัด  ระมัดระวังแต่ถูกต้องตามหลักวิชา

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพมีอะไรบ้าง

แนวทางการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้  ยึดหลักสามพอ พออยู่พอกิน พอใช้  ประหยัด  ประกอบอาชีพสุจริต  เน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง  ทามาหากินก่อน ทามาค้าขาย  ใช้ภูมิป๎ญญาพื้นบ้าน ที่ดิน คืนทุนสังคม  ตั้งสติมั่นคง ทางานอย่างรู้ตัวไม่ประมาท  ใช้ป๎ญญาใช้ความรู้แท้  รักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งกายและใจ

อะไรบ้างที่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มที่ตัวเอง.
- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้.
- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ.
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต.
- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย.
- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง.
- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย.

ข้อใดเป็นการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ยึดหลักประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน ลด ละ ความฟุ่มเฟื่อยในการดำรงชีวิต.
ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ.
ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่รุนแรงและไม่ถูกต้อง.

เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายว่าอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ