จดหมายเหตุลาลูแบร์อยู่ในยุคอะไร

จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม (ปกแข็ง) ***สินค้าหมด***

ISBN: 9786167146607

แปลจากหนังสือ : The Kingdom of Siam Simon de La Loubere

ผู้แต่ง : มองซิเออร์ เดอะ ลาลูแบร์

ผู้แปล : สันต์ ท. โกมลบุตร

สำนักพิมพ์ : ศรีปัญญา

ปีที่พิมพ์ : 2561

จำนวนหน้า : 688

ราคาพิเศษ ฿540.00 ราคาปรกติ ฿600.00

“จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม” ฉบับนี้ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประพันธ์ขึ้นในราวปี พ.ศ. 2231 “ลาลูแบร์” ได้พรรณนาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง มีข้อความเป็นประโยชน์ชัดเจน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การกินอยู่ การแต่งงาน ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวทั่วๆ ไป ทั้งยังได้วิพากษ์วิจารณ์ไปถึงการเมืองการปกครองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ไว้ มากมาย...เรียบเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน พร้อมภาพประกอบสวยงาม เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

  • สารบัญ
  • การรีวิวสินค้า

หนังสือเล่มนี้เป็นหลักฐานชั้นต้น เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามสมัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อ 324 ปีล่วงมาแล้ว เป็นหลักฐานที่สำคัญมากเพราะว่า เขียนโดย ผู้ที่เห็นเหตุการณ์และเป็นคนฉลาดช่างสังเกต ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมสยาม โดยเฉพาะคนในกรุงศรีอยุธยาที่ละเอียดอย่างไม่เคยมีใครทำมาก่อน ในขณะที่ หลักฐานซึ่งคนไทยบันทึกมีน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ถูกเผาไปตอนเสียกรุงศรีอยุธยา ให้พม่าในพ.ศ. 2310 อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะพงศาวดารไทยมักบันทึกเรื่องของ ราชวงศ์สงครามและการเมืองแต่เรื่องของชาวบ้านชีวิตความเป็นอยู่ไม่มีใครบันทึกเอาไว้

มองซิเออร์เดอ ลา ลูแบร์(Simon de la Loubere) เป็นเอกอัครราชทูต ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่14ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองเบรสต์ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1687 เรือมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 27 กันยายน ปีเดียวกัน รวมเวลาเดินทางขามา 211 วัน เขาพำนักอยู่ในเมืองไทย 3 เดือน 6 วัน เพื่อถวายพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วออกจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ.1688 มาถึงท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่27 กรกฎาคม ปีเดียวกัน รวมเวลาเดินทางขากลับ 206 วัน

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่ยาวมาก แบ่งเนื้อหาเป็น 3 ตอนกับ 1  ภาคผนวก

ตอนที่ 1 ว่าด้วยประเทศสยาม มี 9 บท กล่าวคือลักษณะทางภูมิศาสตร์ ผลผลิตของประเทศ ป่าไม้เหมืองแร่ การเกษตร (การทำนา ทำสวน) และ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคนสยาม

ตอนที่ 2 ว่าด้วยขนบธรรมเนียมของชาวสยามโดยทั่วๆ ไป มี 15 บท ประกอบด้วย การแต่งกาย รูปร่างของชาวสยาม บ้านเรือน เครื่องเรือน ข้าวของ เครื่องใช้ยานพาหนะ การแสดงการละเล่น การแต่งงานและการหย่าร้าง การศึกษา อบรม วิชาแพทย์วิชาเคมีวิชาคำนวณ ดนตรีกรีฑา การช่าง การค้าขาย และอุปนิสัย ของชาวสยาม

ตอนที่ 3 ว่าด้วยจารีตของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่างๆ ขุนนาง ตุลาการและระบบการศาล เสนาบดีฝ่ายพลเรือน ฝ่ายทหาร พระคลังและการคลัง พระราชลัญจกร พระมหาอุปราช พระบรมมหาราชวัง กองทหารรักษาพระองค์ สตรีในพระบรมมหาราชวัง กรมภูษามาลา ธรรมเนียมในราชสำนัก การทูต ชาวต ่างประเทศที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสยาม พระภิกษุ และสังฆาวาส ลัทธิศาสนาของภิกษุ การปลงศพของชาวสยามและชาวจีน ความบรมสุขและ บรมทุกข์ของชาวสยาม ข้อควรระวังในการเผยแพร่ศาสนาของชาวตะวันตก

สารบัญ

ตอนที่ 1 ว่าด้วยประเทศสยาม
บทที่ 1 ว่าด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์
บทที่ 2 ว่าด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์
บทที่ 3 ว่าด้วยประวัติศาสตร์
บทที่ 4 ผลิตผลของประเทศสยามเเละข้อเเรกคือป่าไม้
บทที่ 5 ว่าด้วยเหมืองเเร่ในประเทศสยาม
ฯลฯ

ตอนที่ 2 ว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี ของชาวสยามโดยทั่วๆ ไป
บทที่ 1 ว่าด้วยเครื่องนุ่งห่มเเละรูปร่างหน้าตาของชาวสยาม
บทที่ 2 ว่าด้วยบ้านเรือนของชาวสยามเเละฝีมือการก่อสร้าง
บทที่ 3 ว่าด้วยเครื่องเรือนของชาวสยาม
บทที่ 4 ว่าด้วยสำรับกับข้าวของชาวสยาม
บทที่ 5 ว่าด้วยรถเเละยานพาหนะทั่วไปของชาวสยาม
ฯลฯ

ตอนที่ 3 ว่าด้วยจารีตของชาวสยาม ตามชั้นบุคคลในฐานะต่างๆ
บทที่ 1 ว่าด้วยชั้นบุคคลต่างๆ ของชาวสยาม
บทที่ 2 ว่าด้วยประชาชนพลเมืองชาวสยาม
บทที่ 3 ว่าด้วยขุนนางเเห่งราชอาณาจักรสยาม โดยทั่วๆ ไป
บทที่ 4 ว่าด้วยตำเเหน่งตุลาการ
บทที่ 5 ว่าด้วยเเบบเเผนการตุลาการ
ฯลฯ

ราชอาณาจักรสยาม

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง

จดหมายเหตุลาลูแบร์อยู่ในยุคอะไร

จดหมายเหตุลาลูแบร์อยู่ในยุคอะไร
ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (ฝรั่งเศส: Simon de La Loubère; 21 เมษายน พ.ศ. 2185-26 มีนาคม พ.ศ. 2272) เป็นราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้เดินทางมาประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย โดยเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยาพร้อมกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และทหารของฝรั่งเศสจำนวนประมาณ 600 อัง
จดหมายเหตุลาลูแบร์อยู่ในยุคอะไร
เดอ ลา ลูแบร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสร่วมกับโกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล (Claude Céberet du Boullay) เดินทางมาอยุธยาเพื่อเจรจาเรื่องศาสนาและการค้าของฝรั่งเศสในอาณาจักรอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2230 ในการเจรจานั้นอยุธยาไม่สู้จักยินยอมรับข้อเสนอของฝรั่งเศส ทำให้เสียเวลาในการเจรจาหลายสัปดาห์ ในที่สุดฝ่ายไทยก็ยินยอมรับข้อเสนอตามความประสงค์ของฝรั่งเศสและทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาการค้าที่เมืองลพบุรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม
จดหมายเหตุลาลูแบร์อยู่ในยุคอะไร
นอกจากจะเป็นหัวหน้าคณะทูตจากฝรั่งเศสแล้ว เดอ ลา ลูแบร์ ยังได้รับคำสั่งให้สังเกตเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับอาณาจักรอยุธยาและบันทึกข้อสังเกตทั้งหลายเหล่านั้นกลับไปรายงานให้ราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้รับทราบด้วย จดหมายเหตุเหล่านี้ได้กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อแวดวงวิชาประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา เพราะกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หลายสิ่งหลายอย่างของคนในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร

จดหมายเหตุลาลูแบร์อยู่ในยุคอะไร

ภาพจากจดหมายเหตุลา ลูแบร์ พ.ศ. 2236
ที่มาภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/ซีมง_เดอ_ลา_ลูแบร์

จดหมายเหตุลาลูแบร์อยู่ในยุคอะไร

https://th.wikipedia.org/wiki/ซีมง_เดอ_ลา_ลูแบร์

จดหมายเหตุลาลูแบร์อยู่ในยุคอะไร