การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรโลกมีลักษณะอย่างไรและส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรโลกมีลักษณะอย่างไรและส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

จากสถิติข้อมูลในปี 2019 จำนวนประชากรโลก 7,713 ล้านคน พบว่า ประชากรในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนสูงถึง 1,016 ล้านคน ซึ่งองค์การสหประชาชาติยังได้คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นถึง 1 ใน 5 ของประชากรโลก

สำหรับประเทศไทยบ้านเราช่วงปี 2562 มีอัตราจำนวนเกิดลดต่ำลงเหลือเพียง 6.1 แสนคน ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 1.3 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มคนในวัยนี้ให้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” โดยจะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2576 จะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คือมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจะสร้างผลกระทบในระดับบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยแรงงานที่มีภาระในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทุกวันนี้ประเทศไทยเรามีสัดส่วนของ กำลังแรงงาน : ผู้สูงอายุ : เด็ก อยู่ที่ 4 : 1 : 1 คาดว่าในปี 2579 จะปรับลงไปอยู่ที่ 2 : 1 : 1 และยังกระทบในเรื่องผู้สูงอายุที่มีสภาวะขาดเงินออม ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย

สำหรับปัญหาในระดับประเทศ จะทำให้ประชากรวัยแรงงานมีแรงกดดันด้านการสร้างผลิตภาพให้ประเทศมากขึ้น ประเทศจะขาดแคลนแรงงาน รวมไปถึงทำให้เกิดวิกฤติการคลัง จากภาระรัฐบาลด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ และการเก็บภาษีที่ลดลงด้วยดังนั้น เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะสังคมสูงวัย จึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยจากแนวคิดพฤฒพลัง (Active Ageing) องค์การอนามัยโลก ได้อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการเป็น Active Ageing 3 ประการ คือ การมีสุขภาพดี มีหลักประกันและความมั่นคงในชีวิต รวมถึงมีส่วนร่วมและมีคุณค่าทางสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ (Productive Ageing) ยังคงมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางรายได้ และสามารถแก้ปัญหาภาวะขาดแคลนแรงงานของประเทศ และลดภาระพึ่งพิงสวัสดิการจากภาครัฐได้

ปัจจุบันประเทศไทยก็มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุเช่นกัน โดยกระทรวงแรงงานได้จัดทำแนวปฏิบัติสำหรับสถานประกอบการที่จ้างงานผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะต้องให้ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 45 บาทต่อชั่วโมง ระยะเวลาการทำงานต่อวันไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และลักษณะงานต้องปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับสถานประกอบการที่มีค่าใช้จ่ายจ้างงานผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และในส่วนของบริษัทเอกชนที่มีนโยบายจ้างงานผู้สูงอายุจะต้องปรับเปลี่ยนลักษณะงาน และระยะเวลาการทำงานให้เหมาะสม

สำหรับการดำเนินการของ สอวช. เกี่ยวกับประเด็น “สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด” อยู่ระหว่างศึกษารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มลักษณะอาชีพในอนาคตที่เป็นโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุ โดยวิเคราะห์ร่วมกับบริบทโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และมุ่งเน้นไปที่อาชีพที่เป็นการทำงานนอกระบบที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ในแต่ละกลุ่มที่มีระดับทักษะและบริบทพื้นที่ที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปสู่การใช้ศักยภาพของการอุดมศึกษา เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อเตรียมพร้อมด้านทักษะ และความรู้สำหรับการทำงานให้กับผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุ รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และกลไกการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดสังคมที่อยู่ร่วมกับความแตกต่างในช่วงวัยได้อย่างมีความสุข

รู้แบบนี้…ก็ถึงเวลาถามตัวเองแล้วว่า ทุกวันนี้คุณมีแผนสำหรับการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้วหรือยัง?

ขอบคุณข้อมูลจาก :

-รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)

-ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

-WHO (2002) Active Ageing, A Policy Framework. Geneva, World Health Organization.

-ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขอความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำ

-ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 290) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป

เมื่อโลกมีผู้สูงวัยมากกว่าเด็ก ชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างไร

4 เมษายน 2019

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรโลกมีลักษณะอย่างไรและส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

ที่มาของภาพ, Getty Images

ข้อมูลของสหประชาชาติ ระบุว่า นี่เป็นครั้งแรกที่โลกของเรามีผู้สูงวัยมากกว่าคนในวัยเด็ก

ปลายปี 2018 ตัวเลขผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี (ราว 705 ล้านคน) พุ่งสูงมากกว่าเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ (ราว 680 ล้านคน) เป็นครั้งแรก

คาดกันว่า ภายในปี 2050 สัดส่วนคนอายุมากกว่า 65 ปี ต่อ คนอายุ 0-4 ขวบ จะอยู่ที่ ถึง 2 : 1 นี่เป็นแนวโน้มที่ผู้ศึกษาด้านประชากรศาสตร์สังเกตการณ์มาหลายทศวรรษแล้ว และในประเทศส่วนใหญ่ คนมีอายุยืนขึ้น และก็มีลูกกันน้อยเกินไป

  • ชี้อายุคาดเฉลี่ยคนประเทศอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในปี 2030
  • ผู้หญิงสุขภาพดีกว่าผู้ชายจริงหรือ?
  • มาทายกัน คุณจะมีอายุยืนแค่ไหน?

ที่มาของภาพ, Getty Images

แนวโน้มนี้จะส่งผลกระทบต่อเราอย่างไร

คริสโตเฟอร์ เมอร์เรย์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการวัดและการประเมินผลสุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน บอกกับบีบีซีว่า การมีเด็กน้อยลง และคนชราอายุมากกว่า 65 ปี มากขึ้น จะทำให้การคงไว้ซึ่งสังคมโลกเป็นไปได้ยาก

"ลองคิดถึงผลกระทบในเชิงสังคมและเศรษฐกิจสำหรับสังคมที่มีปู่ย่าตายายน้อยกว่าหลานดู" เมอร์เรย์ กล่าว

ข้อมูลจากธนาคารโลกระบุว่า ในปี 1960 สัดส่วนการมีบุตรอยู่ที่ ผู้หญิง 1 คน มีลูก 5 คน แต่เกือบ 60 ปี ให้หลัง ตัวเลขลดลงเหลือเพียง เด็ก 2.4 ต่อแม่ 1 คน

ในขณะเดียวกัน ความได้เปรียบทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นประโยชน์ต่อคนในยุคสมัยใหม่ ในปี 1960 คนมีอายุคาดเฉลี่ย 52 ปีกว่า ๆ แต่อายุคาดเฉลี่ยของประชากรในปี 2017 อยู่ที่ 72 ปี

นั่นหมายความว่าเรามีชีวิตที่ยาวนานมากขึ้น และต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้น สร้างแรงกดดันด้านเงินบำนาญและระบบสาธารณสุข

คนสูงอายุ

ประเทศที่พัฒนาแล้วมีปัญหาเรื่องประชากรสูงอายุมากกว่า ประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มที่มีอัตราการเกิดต่ำ เนื่องจาก มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมากกว่า มีอัตราการเสียชีวิตของเด็กต่ำกว่า เข้าถึงการคุมกำเนิดง่ายกว่า และต้องใช้เงินในการเลี้ยงลูกมาก

ในประเทศเหล่านี้ ผู้หญิงมักจะมีลูกตอนอายุมากแล้ว และก็มีแนวโน้มที่จะมีลูกน้อยกว่าด้วย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ในปี 2018 ญี่ปุ่นมีประชากรอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นสัดส่วนถึง 27 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเยอะที่สุดในโลก

ญี่ปุ่นคือตัวอย่างที่ดีประเทศหนึ่ง อายุคาดเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่เกือบ 84 ปี และในปี 2018 มีคนอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นสัดส่วนถึง 27 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเยอะที่สุดในโลก

ส่วนอัตราส่วนของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี อยู่ที่ 3.85 เปอร์เซ็นต์

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ไนเจอร์ก็มีอัตราการเสียชีวิตของเด็กสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง

จำนวนลูก หรือ สุขภาพเด็ก

ประเทศในแอฟริกาเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของปัญหาเรื่องจำนวนและสุขภาพของเด็กแรกเกิด ยกตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐไนเจอร์ เป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดสูงที่สุดในโลก คิดเป็นเด็ก 7.2 คน ต่อ ผู้หญิง 1 คน

อย่างไรก็ตาม ไนเจอร์ก็มีอัตราการเสียชีวิตของเด็กสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง มีเด็กเสียชีวิตคิดเป็น 85 คน ต่อการเกิด 1,000 คน

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

2.1 คืออัตราการเกิดที่นักประชากรศาสตร์บอกว่าจำเป็นสำหรับการทดแทนกันเองของประชากรเด็กและประชากรผู้สูงอายุ

การทดแทน

2.1 คืออัตราการเกิดที่นักประชากรศาสตร์บอกว่าจำเป็นสำหรับการทดแทนกันเองของประชากรเด็กและประชากรผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลโดยสหประชาชาติระบุว่า มีจำนวนประเทศในโลกมากกว่าครึ่งเพียงนิดเดียวเท่านั้นที่มีอัตราการเกิดตามนั้น คือ 113 ประเทศ

แม้ว่าคาดกันว่าภายในปี 2024 เราจะมีประชากรโลกถึง 8 พันล้านคน แต่อัตราการเกิดที่ต่ำลง ทำให้จำนวนประชากรในหลาย ๆ ประเทศลดน้อยลงมาก

ตัวอย่างที่ชัดคือรัสเซีย ซึ่งผู้หญิงมีอัตราการมีลูก 1.75 ต่อคน และตัวเลขจากสหประชาชาติชี้ว่า ประชากรชาวรัสเซียจะลดจาก 143 ล้านคน เหลือ 132 ล้านคน ภายในปี 2050

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ตัวเลขจากสหประชาชาติชี้ว่า ประชากรชาวรัสเซียจะลดจาก 143 ล้านคน เหลือ 132 ล้านคน ภายในปี 2050

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

จำนวนประชากรที่น้อยลง คนสูงอายุมากขึ้น ทำให้มีคนทำงานน้อยลงและประสิทธิภาพในการผลิตต่ำลงไปด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของประเทศ

พ.ย. ที่แล้ว กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ เตือนว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นสามารถหดตัวได้มากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 40 ปีต่อจากนี้ เนื่องจากประชากรสูงวัย

การเมืองและนโยบาย

ทุกคนต่างเห็นพ้องต้องกันว่ารัฐบาลต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อรับมือกับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เป็นปัญหาคุกคามโลกราวกับ "ระเบิดเวลา"

ในปี 2015 จีนประกาศยกเลิกนโยบายลูกคนเดียว และในปี 2018 ก็ส่งสัญญาณว่าจะยกเลิกการจำกัดจำนวนลูกโดยทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 จีนมีจำนวนเด็กแรกเกิด 15.2 ล้านคน ซึ่งต่ำที่สุดในรอบกว่า 60 ปี

นักวิชาการจีนบอกว่าอัตราการเกิดที่ต่ำลงเป็นผลมาจากผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ และครอบครัวที่เลื่อนเวลาการมีลูกออกไปด้วยเหตุผลทางการเงิน โดยเฉพาะในครอบครัวที่ผู้หญิงมีการศึกษา และไม่อยากจะเล่นบทบาทเป็นแม่บ้านตามขนบประเพณี

ที่มาของภาพ, Getty Images

แก่ขึ้น แข็งแรงขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์ระบุว่า นโยบายที่ส่งเสริมสุขภาพของคนสูงวัยจะมีส่วนสำคัญในการลดผลกระทบของประชากรสูงวัยที่เพิ่มมากขึ้นได้ เพราะเมื่อคนสามารถทำงานได้นานขึ้น มีพลังมากขึ้น ก็เท่ากับว่าจะเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลน้อยลง

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีลักษณะอย่างไร

สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) จะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 7 ขึ้นไป

เมื่อโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะส่งผลกระทบอย่างไร

ทางด้านอุปทาน การเป็นสังคมผู้สูงอายุอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต เนื่องจากอัตราการเกิดที่ต่ำและการชราภาพของแรงงานจะทำให้กำลังแรงงานในอนาคตมีจำนวนที่ลดลง และยิ่งประชากรมีอายุมากขึ้นเลยวัยกลางคนก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานน้อยลง ทั้งนี้ ในกลุ่มของผู้สูงวัยจากสถิติมีเพียงร้อยละ 37.9 ของ ...

ปัจจัยใดที่ส่งผลต่อการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

สำหรับสาเหตุที่ทำให้มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเนื่องจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเจริญก้าวหน้าทำให้สามารถเพิ่มสวัสดิการแก่ประชาชนได้มากขึ้น มีการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข อนามัยโรงพยาบาลและการคมนาคมขนส่งได้อย่างทั่วถึง ขณะที่ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ มีการศึกษารู้จักดูแล ...

ข้อใดเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหาภาคของสังคมผู้สูงอายุ ประชากรวัยแรงงานลดลง ▪ การออมลดลง ▪ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง